• บทความ

    Case Study : กรณีศึกษาการทดสอบเทคโนโลยีแสดงผล HUD บนกระหน้ารถ

    A typical after-market HUD: the display area is limited to a small transparent screen mounted on the dashboard, nicknamed a “dashboard wart” by one industry commentator. (Image: © NAVDY) Head-up displays (HUDs) เป็นเทคโนโลยีแสดงผลบนกระหน้ารถ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเห็นข้อมูลการขับขี่ได้ โดยจะออกแบบให้มองเห็นพอดีกับสายตาขณะขับขี่บนท้องถนน โดยไม่จำเป็นต้องก้มลงมองแผงหน้าปัดรถยนต์                 Head-up displays (HUDs) ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในทศวรรษที่ 1940 และถูกใช้โดยนักบินทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดที่สำคัญไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับเครื่องบินหรือรถยนต์ HUDs จะฉายข้อมูลกึ่งโปร่งใสโดยตรงในมุมมองของผู้ขับขี่ โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิธีการฉายภาพและเทคโนโลยีการแสดงผลได้ถูกพัฒนามากขึ้น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เราได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจากหน้าจอ 2D…

  • บทความ

    เกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของจอแสดงผลในปัจจุบัน

    ทุกวันนี้เราแทบจะนึกถึงยุคที่เรายังไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายเหมือนเช่นทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคมินเลเนี่ยมหรือวัยรุ่นในปัจจุบันที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือใช้กันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปัจจุบันนี้มีคนจำนวนไม่น้อยกว่า 2.71 พันล้านคนที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอย่างน้อย 1 เครื่อง              ทุกวันนี้จอแสดงผลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก มีการนำไปใช้ในหลายสถานที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทั้งสภาพแสงและมุมมองก็แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือในห้องนอนที่มืดสนิท, การใช้ระบบนำทางบนท้องถนนที่สภาพแสงดวงอาทิตย์จ้า, การใช้จอคอมพิวเตอร์ภายใต้หลอดไฟในสำนักงาน หรือรวมไปจนถึงการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือขณะที่อยู่ใต้แสงกระพริบของป้ายโฆษณาใจกลางเมือง     ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์แสดงผลเหล่านี้มีคุณสมบัติตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้ในทุกๆสภาพการใช้งานในปัจจุบัน โดยการตรวจสอบด้วยสายตาคือส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานของผู้ผลิตจอภาพ (Display panel makers) และผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงผล (Device manufacturers) ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติพื้นฐานและการปรับจอแสดงผลให้สอดคล้องกับสายตาของผู้บริโภค  ตัวอย่างการใช้จอแสดงผลของผู้คนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามวิธีการทดสอบในขั้นตอนของการออกแบบและการผลิตได้ควบคุมปัจจัยสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น การวัดในห้องมืดควบคุมไม่ให้มีแสงจากภายนอก, กำหนดระยะห่างในการทดสอบ, กำหนดมุมที่ตรวจสอบแสงของจอ หรือการโฟกัส เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการบ่งบอกถึงความสว่าง, สีของจอ หรือคุณสมบัติอื่นๆได้สอดคล้องกับสายตา แค่ในสภาพการใช้งานจริงๆแล้วผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนหรือจอแสดงผลเคลื่อนที่อื่นๆไม่ได้ใช้งานภายใต้สภาวะที่กำหนดเช่นเดียวกับบผู้ผลิตได้       DXOMARK บริษัทสัญชาติฝรั่งเศลผู้ให้บริการทางด้านวิศวกรรม เป็นบริษัทที่ให้ความสนใจถึงเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลภายใต้การทดสอบในสภาวะการใช้งานจริง DXOMARK เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคและผู้ผลิตมาอย่างยาวนานในฐานะผู้ให้ข้อมูลการจัดอันดับและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลรุ่นใหม่ในท้องตลาด โดยใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ตามการใช้งานจริง การประเมินคุณภาพของอุปกรณ์แสดงผลจากประสบการณ์ผู้ใช้งาน       เมื่อไม่นานนี้ DXOMARK ได้พัฒนาระบบการทดสอบ Display Bench…

  • บทความ

    การวัดแสงจอป้ายโฆษณา LED ดิจิทัล (Digital LED Billboards)

                     ป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลเป็น สื่อโฆษณาประเภทหนึ่งใช้สำหรับกลางแจ้ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันซึ่งต่างจากป้ายโฆษณาทั่วไปที่เป็นภาพนิ่ง เนื่องจากสามารถสื่อสารข้อมูลต่างๆให้กับผู้รับข้อมูลได้มากขึ้นและยังสร้างความน่าสนใจมากกว่าป้ายโฆษณาแบบทั่วไป ป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลต้องการความสว่างในระดับสูงเพื่อให้อ่านได้ชัดเจน เมื่อสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงอาจมีความส่องสว่างหลายพันแคนเดลาต่อตารางเมตร (cd / m 2 ) หรือ หลายพันnits หากใช้ความส่องสว่างระดับเดียวกันในเวลากลางคืนป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลโดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนอาจเป็นภัยคุกคามต่อทัศนวิสัยของผู้ขับขี่และความปลอดภัยในการจราจร นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองไฟฟ้าและอาจทำให้เกิดการสึกหรอบนจอแสดงผลโดยไม่จำเป็นเนื่องจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น เพื่อจัดการข้อกังวลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีการวัดความส่องสว่างของป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลโดยใช้เครื่อง Luminance Meter ในการระบุความส่องสว่างสูงสุดของป้ายโฆษณา           โดยจะทำการวัดค่าในขณะที่ปรับให้ป้าย LED เป็นสีขาวและค่ากำลังไฟปรับเป็นค่าสูงสุด เนื่องจากป้ายโฆษณาสามารถแสดงภาพหลายสี เช่น แดง, น้ำเงิน ซึ่งแต่ละสีล้วนมีค่าความส่องสว่างที่น้อยกว่าสีขาวทั้งสิ้น  สำหรับการวัดความส่องสว่างทั้งหมดของพื้นที่ป้ายโฆษณา เนื่อจากป้ายมีขนาดที่ใหญ่มาก เราสามารถทำการวัดได้โดยแยกการวัดออกเป็นแต่ละส่วนของป้าย ทำการวัดในช่วงเวลาเดียวกันแล้วจึงนำค่าที่ได้ในแต่ละส่วนมาเฉลี่ยเป็นค่าของพื้นที่ป้ายทั้งหมด          การวัดและปรับค่าความสว่างป้ายโฆษณา LED ดิจิทัล เพื่อความสว่างที่เหมาะสมที่สุดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน…

  • บทความ

    การปรับเทียบจอแสดงผล

    จอภาพประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น LED, LCD หรือ OLED ที่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และทีวี การปรับเทียบจอแสดงผลเหล่านี้ช่วยให้แน่ใจว่าการสร้างสีของทั้งวิดีโอและภาพถ่ายมีความถูกต้องและสม่ำเสมอ สำหรับการปรับเทียบจอแสดงผลการตรวจสอบ มีประเด็นสำคัญที่จะพูดในบทความนี้คือการปรับจุดสีขาวและแกมมา จุดสีขาว (White point) หรือที่เรียกว่าอุณหภูมิสี (color temperature)  ของจอแสดงผลใช้เพื่ออธิบายสีของแสงสีขาวที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสง ในจอแสดงผลเอาต์พุตแสงสำหรับสีแดง (R) สีเขียว (G) และสีน้ำเงิน (B) จะถูกปรับเพื่อให้ได้สีขาวที่ต้องการซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานอ้างอิงของอุตสาหกรรม แกมมาคือการวัดระดับความสว่างตั้งแต่เฉดสีที่อ่อนที่สุดไปจนถึงเฉดสีเข้มที่สุด เนื่องจากการสร้างสีของจอแสดงผลขึ้นอยู่กับการรวมกันของ RGB การได้รับความสม่ำเสมอจึงจำเป็นต้องแก้ไขช่องสามสีภายในแต่ละเฉดสีทีละสี เครื่องมือปรับเทียบจอภาพและการแสดงผลเช่น Konica Minolta Display Color Analyzer CA-410   สามารถช่วยให้ผู้ใช้ตรวจสอบและปรับจุดสีขาวและแกมม่าได้อย่างง่ายดาย     หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา     ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี

  • บทความ

    การทดสอบอินเทอร์เฟซหน้าจอและอุปกรณ์ (Screen And Devices Testing)

    หน้าจอสัมผัสเป็นมาตรฐานใน สมาร์ทโฟน, เครื่องคิดเงิน, ตู้ให้ข้อมูลอัตโนมัติ(information kiosks),อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้นำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจนและถูกต้อง ประสิทธิภาพและคุณภาพของจอแสดงผลจึงมีความสำคัญมาก จอแสดงผลต้องสามารถนำเสนอข้อมูลที่อ่านได้ภายใต้สภาพภาพที่แตกต่างกัน หากต้องการใช้อุปกรณ์ในสภาพแวดล้อมที่มืดหรือมีแสงน้อย จอแสดงผลจะต้องเปล่งแสงเพียงพอเพื่อลดความเครียดในการปรับตัวและแสงสะท้อนที่ไม่สบายตาในขณะเดียวกันยังคงความชัดเจนไว้ หากต้องใช้อุปกรณ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้าหน้าจอต้องมีคอนทราสต์เพียงพอที่จะอ่านได้ ความคมชัดและสีเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประสิทธิภาพของจอแสดงผลและทั้งสองอย่างจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญภายใต้มุมมองและสภาพแสงที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือต้องทำการวัดในช่วงของมุมต่างๆที่ผู้ใช้อาจใช้ภายใต้ระดับแสงแวดล้อมต่างๆ นอกจากความคมชัดสีและมุมมองแล้วการวัดประสิทธิภาพของจอแสดงผลยังมี การตรวจสอบสมดุลสีขาว การตรวจสอบแกมมา / ระดับสีเทา การวัดการสั่นไหว การวัดช่วงสี การตรวจสอบข้อบกพร่องของพิกเซล การประเมินเอฟเฟกต์ประกายไฟป้องกันแสงสะท้อน ด้วยเทคโนโลยีการแสดงผลที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วการทดสอบการแสดงผลจึงมีความซับซ้อนและสร้างความสับสนให้กับนักพัฒนามากขึ้น ไม่ว่าคุณกำลังมองหาข้อมูลหรือที่กำลังมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่จะอธิบายลักษณะการแสดงผลของตรวจสอบ ทางเราขอแนะนำเครื่องตรวจสอบหน้าจอเครื่องทดสอบหน้าจอที่ทาง Konica Minolta, Radiant Vision System และ Instrument Systems พัฒนามาเพื่อการวัดหน้าจอโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น  spectroradiometers หรือการวัดด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพ colorimeters/photometers ทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาสำหรับการวัดหน้าจอ     หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา     ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี

  • บทความ

    วิธีทดสอบหน้าจอแสดงผลแบบ OLED

    Credit: Howstuffworks.com Organic Light Emitting Diodes หรือ OLED เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลแบบใหม่ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์สวมใส่และโทรทัศน์ เป็นต้น          มองไปข้างหน้าทศวรรษหน้าจะนำเทคโนโลยีที่เหนือชั้นและความก้าวหน้า การสแกนใบหน้า, ลายนิ้วมือและสแกนจอประสาทตาที่ดูเหมือนยากในอดีตแต่ในปัจจุบันมันเรื่องที่สามารถพบเจอได้ง่ายมากๆบนอุปกรณ์มือถือมากมาย        การพัฒนาของ OLED จะเปลี่ยนวิธีพื้นฐานการผลิตหน้าจอประสิทธิภาพสูงและในไม่ช้าการแสดงผลแบบสามมิติและการเพิ่มประสิทธิภาพของจอแสดงผลแบบสามมิติสำหรับผู้บริโภคจะกลายเป็นภาพที่พบบ่อยเช่นเดียวกับการสแกนลายนิ้วมือบนมือถือในปัจจุบัน          ข้อดีของ OLED คือไม่ต้องใช้แบล็คไลท์ (Backlight) ฉะนั้นจะทำให้จอแสดงผลนั้นบางลงและไม่เปล่งแสงบริเวณที่เป็นสีดำทำให้ใช้พลังงานน้อยลงเช่นกัน (สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OLED ได้ที่ Howstuffworks.com) ความสว่างของจอแสดงผล OLED ถูกพิจารณาจากระดับขนาดพิกเซลซึ่งแต่ละพิกเซลประกอบด้วย Sub-pixel สามสี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งเมื่อส่องสว่างในระดับต่างๆ ก็จะสามารถสร้างสรรค์ออกมาเป็นสีต่างๆได้การปรับปรุงความสว่างและความสม่ำเสมอของสีในจอแสดงผล OLED สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพิกเซลย่อยแต่ละสีแยกกัน ขั้นตอนทั่วไปเริ่มต้นจากการเปิดพิกเซลย่อยสีเดียวกันทั้งหมด แล้วจึงถ่ายภาพโดยใช้เครื่องมือแบบ imaging colorimeter ซึ่งผู้ใช้สามารถวัดและบันทึกความสว่างของแต่ละ sub-pixel หลังจากนั้นกระบวนการนี้จะทำซ้ำสำหรับสีที่เหลืออยู่ ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านซ้ายมือ…

  • บทความ

    ปรากฏการณ์Metamerismในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

    ปรากฏการณ์  Metamerism  คือ ปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเราเห็นสีของวัตถุ 2 ชิ้น เหมือนกันภายใต้แหล่งกำเนิดแสงเดียวกัน แต่สีของวัตถุทั้ง 2 ชิ้นนั้นกลับแตกต่างกัน เมื่อเปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงไปเป็นอีกแหล่งกำเนิดแสงหนึ่ง ซึ่งการเกิดปรากฏการณ์นี้ สร้างความยากสำหรับการควบคุมคุณภาพสีของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยสาเหตุเกิดจากการเลือกใช้เม็ดสี (pigment) สีย้อม (dyestuff) หรือวัตถุดิบ (material) ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้แม่สีให้เหมือนเดิมทุกครั้งสำหรับการผสมสูตรสีเพื่อหลีกเลี่ยงปรากฎการณ์ Metamerism นั้น แทบจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากลักษณะของวัตถุที่ต่างกัน เช่น พื้นผิวของวัตถุที่เป็นกระดาษ , พื้นผิวพลาสติก, พื้นผิวชุบสีหรือพ่นสี การกำหนดกระบวนการกำหนดสูตรสี จึงเป็นส่วนที่จะช่วยให้เกิดปรากฎการณ์ Metamerism น้อยที่สุด เครื่องมือวัดสีแบบ Spetrophotometer ซึ่งสามารถให้ค่าสเปกตรัมของการสะท้อนค่าสี สามารถช่วยในการบ่งบอกและเปรียบเทียบปรากฎการณ์ Metamerism ได้ เมื่อเส้นโค้งของสเปกตรัมของวัตถุทั้งสองชนิดเข้าใกล้กัน วัตถุทั้งสองชนิดนั้นจะถูกพิจารณาว่าเกิดปรากฎการณ์ Metamerism และเมื่อเชื่อมต่อเครื่องมือกับ Color QC Software Metamerism Index (MI) จะถูกคำนวณออกมาเป็นดัชนีความแตกต่างระหว่างวัตถุสองชนิด เพื่อระบุโอกาสในการเกิด Metamerism สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งานเครื่องแบบ Spetrophotometer และ Color QC Software ได้ที่ [email protected] เบอร์…