• บทความ

    สอบเทียบเครื่องวัดสีต่างจากการสอบเทียบเครื่องมือวัดทั่วไปต่างกันอย่างไรบ้าง

              เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือวัด ที่มีความเฉพาะ ไม่แนะนำให้สอบเทียบกับศูนย์สอบเทียบทั่วไป เนื่องจากการสอบเทียบที่ศูนย์สอบเทียบทั่วไป เป็นเพียงการวัดหรือการเทียบค่าการวัดสีเท่านั้น  ไม่สามารถตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องวัดสีได้ ไม่สามารถปรับแก้ไขค่าต่างๆเมื่อทำการสอบเทียบแล้วค่าผิดปกติ ไม่ตรงตามมาตรฐาน ไม่สามารถตรวจเช็คอะไหล่ต่างๆภายในเครื่องวัดสี ไม่สามารถซ่อมแซมอาการผิดปกติต่างๆของเครื่องวัดสี แม้จะเป็นห้องแลปที่ได้รับการรับรอง ISO 17025 แต่ความเฉพาะของเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์ใช้ อุปกรณ์ในการสอบเทียบแตกต่างกัน ไม่มีอุปกรณ์สอบเทียบที่สามารถสอบเทียบเครื่องวัดสีได้ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ การสอบเทียบตามศูนย์สอบเทียบทั่วไปจริงเป็นเพียงการวัดค่าเทียบกับแผ่นสีสอบเทียบ และหากการสอบเทียบได้ค่าผิดเพื้ยนไป จะไม่สามารถปรับค่าให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเราได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายและการสอบเทียบ การซ่อม จากแบรนด์ Konica Minolta โดยตรงทำให้เรามีขั้นตอนการสอบเทียบเช่นเดียวกับผู้ผลิต อุปกรณ์การสอบเทียบ อะไหล่ทั้งหมด อยู่ภายใต้มาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องวัดสีพร้อมมีการตรวจสอบอยู่เสมอ ขั้นตอนที่แตกต่างจากการสอบเทียบทั่วไป (สอบเทียบเครื่องวัดสี) Functions Check           เครื่องวัดสีจะมีหลักการทำงานใกล้เคียงการในหลายๆแบรนด์ แต่จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์แตกต่างกัน เมื่อฟังก์ชั่นการทำงานมีความผิดปกติเกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อการวัดค่าสี การสอบเทียบเครื่องมือวัดทั่วไป ไม่สามารถตรวจเช็คฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องวัดสีได้ จะดีกว่าไหมหากเครื่องวัดสีของเราได้รับการตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานอยู่สม่ำเสมอ เพื่อหาการทำงานที่ผิดปกติ และเพื่อให้เครื่องวัดสีมีค่าการวัดสีที่ถูกต้องและแม่นยำอยู่เสมอ Backup Data           เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือวัดที่มีการเก็บข้อมูลการวัดสีไว้ภายในเครื่อง ซึ่งในบางรุ่นหากไม่มีโปรแกรมเพิ่มเติม จะไม่สามารถดึงข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ได้ทำให้ข้อมูลการวัดค่าสีทั้งหมดอยู่ภายในตัวเครื่องวัดสีเท่านั้น…

  • บทความ

    เรื่องที่ต้องรู้ เมื่อต้องการวัดค่าสีหรือบอกปริมาณสี

               สีเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือการประเมินคุณภาพของสินค้าหรือตรวจสอบคุณภาพ และหลายคนอาจจะยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอ บทความนี้เราจะขอแนะนำสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ เมื่อต้องการบอกปริมาณสีหรือวัดค่าสี นั่นคือ แหล่งกำเนิดแสง (Light Source – Illuminant) , มาตรฐานการมอง (Observer) 2o หรือ 10o  , มาตรฐานวีธีวัดค่า (Measurement Method) เรามาทำความเข้าใจองค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้ โดยเริ่มจาก  แหล่งกำเนิดแสง (Light Source – Illuminant) ว่าแต่ละชนิดหมายถึงแสงลักษณะใด เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม   มาตรฐานแหล่งกำเนิดแสง (Light Source – Illuminant)  ชื่อของแหล่งกำเนิด อุณหภูมิของสี (Color Temp : K) คำอธิบาย D65 6504 K CIE Standard Illuminant D65 เป็นตัวแทนของแสงอาทิตย์เฉลี่ยรวมรังสี UV D50 5003 K…

  • บทความ

    เลือกภาชนะใส่ตัวอย่างให้เหมาะกับตัวอย่างสำหรับงานวัดสี

              เครื่องวัดสีเป็นเป็นเครื่องมือวัดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งภาคอุตสาหกรรมหรืองานวิจัยด้านต่างๆ ซึ่งตัวอย่างที่วัดสี ก็มีความหลากหลายยิ่งกว่า ทั้งสถานะและลักษณะทางกายภาพของตัวอย่าง การเลือกใช้ภาชนะใส่ตัวอย่างมีเกณฑ์การเลือกที่สอดคล้องกับการเลือกเครื่องวัดสี          สำรวจลักษณะตัวอย่าง ความโปร่งแสง / ทึบแสง หรือลักษณะตัวอย่างเป็น ของเหลว ของแข็ง รวมไปถึงขนาดของตัวอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เม็ดพลาสติก, ผงเครื่องปรุงต่างๆ, แป้ง, ครีม, ซอส, น้ำ หรือของเหลวอื่นๆ ตัวอย่างเหล่านี้จำเป็นต้องวัดผ่านภาชนะใส่ตัวอย่าง เพื่อผลที่ถูกต้องแม่นยำและป้องกันความเสียหายต่อเครื่องวัดสี ในกรณีที่ตัวอย่างหกหรือล่วงหล่น เข้าไปภายในตัวเครื่องวัดสี ในปัจจุบันอาจจะมีหลายท่านที่ใช้ ถุงพลาสติกใส่ตัวอย่างแล้ววัดสีตัวอย่างผ่านถุงพลาสติกนั้น แม้จะสามารถทำได้แต่เป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก หากต้องการค่าสีที่ถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากถุงพลาสติกแต่ละชิ้น มีความหนา ความใส หรือแม้แต่เฉดสีต่างกัน หากกำลังคิดว่า “งั้นก็ใช้ถุงจากห่อเดียวกัน lotผลิตเดียวกัน” แต่ถุงเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ใช้แล้วทิ้ง เมื่อหมดถุงเหล่านั้นก็ไม่ได้เหมือนกัน หากจะทำความสะอาดล้างถุง แน่นอนว่าคราบหรือรอยของถุงจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการวัดอย่างแน่นอน         หากไม่ใช้พลาสติก ส่วนใหญ่จะนิยมใส่ใน Petri dish หรือ Glass…

  • บทความ

    เลือกเครื่องวัดสีอย่างไรให้เหมาะกับงาน ตอนที่ 1

            เครื่องวัดสีคืออะไร? จำเป็นแค่ไหน? ไม่มีได้หรือไม่? หากยังมีคำถามเหล่านี้กวนใจ อยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักเครื่องวัดสีเพิ่มอีกสักนิด อาจจะลองกดแท็ก วัดสี เพื่ออ่านบทความที่เครื่องวัดสีช่วยในการวัดสีในแต่ละอุตสาหกรรมได้มากน้อยแค่ไหน           ส่วนคำถามว่า จำเป็นแค่ไหน เครื่องวัดสีเป็นเหมือนเครื่องวัดชนิดหนึ่ง แต่มีความพิเศษด้วยเทคโนโลยี ช่วยวัดค่าสีที่ให้ค่าในระบบค่าสีที่ใช้สากลได้ คำว่าสากลนี้ หมายถึง เราสามารถสื่อสารหรือบอกรายละเอียดของสีได้กับทุกคนที่ใช้ระบบสีเดียวกัน (ระบบหน่วยสี L*a*b* คือหน่วยที่ความนิยมใช้อย่างกว้างขวาง) นอกจากความสะดวกในการสื่อสารแล้ว (อ่านบทความเกี่ยวข้อง ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี) แล้วไม่มีเครื่องวัดสีได้ไหม อยากใช้สายตาในการประเมินค่าสีก็สมารถทำได้ หากสามารถควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านค่าสีด้วยสายได้ ( อ่านบทความเกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา)           โดยส่วนใหญ่เมื่อใช้สายตาวัดสี มักจะใช้ ตู้เทียบสี เพื่อควบคุมแหล่งแสง และ ใช้ pantone เป็นการระบุค่าสี ซึ่งค่าที่ได้ก็จะไม่ใช่ค่าจริงๆของสีตัวอย่าง  และบางคนที่ต้องการปรับแก้ไขค่าสีในงาน R&D อาจจะมีการใช้ปรแกรมต่างๆเพิ่มเข้ามา แต่ข้อควรระวังสำหรับวิธีนี้ นอกจากการควบคุมตัวแปรที่ส่งผลต่อการวัดสีด้วยสายตาแล้ว อีกปัจจัยที่ต้องระวังคือ แผ่นpantone นั้นมีอายุการใช้งานเมื่อเวลาผ่านไป สีจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาโดยที่สายตาไม่สามารถแยกแยะได้ทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่เสมอ…

  • บทความ

    ทำความรู้จัก Error code บนเครื่องวัดสีCR-400/CR-410

    Error code ที่อาจพบได้ในเครื่องวัดสี CR-400/CR-410 ซึ่งสามารถเกิดได้จากการใช้งาน หรือการตั้งค่าที่ผิดปกติ หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆอย่างเสียบสายไม่แน่น ก็อาจทำให้เกิด Error code บนเครื่องวัดสีของคุณได้ วันนี้เราจะมาอธิบาย Error code บนเครื่องวัดสีพร้อมวิธีการแก้ไขเบื้องต้นด้วยตัวเอง มาดูกันว่า แต่ละcode หมายความว่าอะไรบ้าง *DP หมายถึง data processor หรือหลายคนเรียกว่าเครื่องปริ้น , HD หมายถึง หัววัด * ERROR CODE สาเหตุ แนวทางแก้ไข ER00 COMMUNICATION ERROR การสื่อสารผิดพลาด สายเคเบิ้ลหลวม อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง DP กับHPผิดปกติ light source ระหว่าง DP กับ HD ตั้งค่าไม่เหมือนกัน ให้ลูกค้าตรวจเช็คสายเคบิ้ลระหว่าง DP กับ HD เช็คการตั้งค่า light source ระหว่าง DP กับ HD ว่าตรงกันหรือไม่ ER01…

  • บทความ

    วิธีเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับงานของคุณ

    จะซื้อเครื่องวัดสีให้คุ้มต้องดูอะไรบ้าง ? 1.ดูตัวอย่างของเราที่ต้องการวัดสี : ลักษณะตัวอย่างของแต่ละคนไม่เหมือนกันเช่นเดียวกับเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นที่มีความแตกต่าง ของแข็ง/ของเหลว? โปร่งแสง/ทึบแสง? สีลักษณะพิเศษ? อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทเครื่องวัดสี : ( เลือกเครื่องวัดสีอย่างไรให้เหมาะกับงาน ตอนที่ 1 )            เริ่มต้นด้วยการดูตัวอย่างของคุณว่ามีลักษณะเป็นของแข็งหรือของเหลว หลังจากนั้นต้องดูความโปร่งแสง หรือทึบแสง ของตัวอย่างที่มีความโปร่งแสงเหมาะกับการวัดแบบส่องผ่าน (transmittance) และ ตัวอย่างที่มีความทึบแสงเหมาะกับการวัดแบบสะท้อน (reflectance) ตัวอย่างที่เป็นของเหลวหลักการวัด ใช้เช่นเดียวกับของแข็งแต่การเตรียมตัวอย่างต่างกันจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมเช่น petri dish glass cell อุปกรณ์อื่นๆเพื่อปรับให้สอดคล้องกับเครื่องวัดสีแต่ละรุ่น สีลักษณะพิเศษ เช่น สีมุก, สีเมทาลิค ฯลฯ สีประเภทนี้เหมาะกับเครื่องวัดสีที่ประเภท Multi-angle Spectrophotometer ที่สามารถวัดได้หลายมุม เนื่องจากสีเหล่านี้แต่ละมุมจะแสดงสีที่ต่างกัน นอกจากลักษณะเหล่านี้แล้วสิ่งที่ต้องนำมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเครื่องวัดสี คือ “ขนาดของชิ้นงาน” จุดนี้ก็มีความจำเป็นต่อการเลือกเครื่องวัดสีเพราะพื้นที่การวัดสีของเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นไม่เหมือนกันแน่นอนว่าหากคุณเลือกเครื่องวัดสีที่พื้นการวัดที่ไม่สัมพันธ์กับตัวอย่างของคุณ ค่าสีที่ได้จะไม่ใช่ค่าที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น  ขนาดตัวอย่าง น้อยกว่า พื้นที่การวัดของเครื่องวัดสี หรือ พื้นที่การวัดของเครื่องวัดสี มากกว่า พื้นที่ของตัวอย่างที่ต้องการวัด จะทำให้เครื่องอ่านค่าสี พื้นที่อื่นๆนอกจากตัวอย่างที่ต้องการวัด ทำให้ค่าที่ได้ ไม่ใช่ค่าสีของตัวอย่างนั้นจริงๆ 2. ดูหน่วยสีที่ต้องการวัดค่าสี มีหน่วยสีใดบ้าง? ที่ต้องการใช้งานแน่นอนว่าฟังก์ชั่นที่ครบ…

  • บทความ

    การเลือกใช้เครื่องมือวัดสี Spectrophotometer สำหรับควบคุมคุณภาพพลาสติก

    การวัดสีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมพลาสติก เพราะสีและลักษณะที่ปรากฎนั้นเป็นสิ่งแรกที่สามารถประเมินได้จากสายตาของผู้ประเมิน หรือลูกค้า โดยงานพลาสติกมีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะ คือ พลาสติกแบบทึบ พลาสติกแบบโปร่งแสง พลาสติกแบบโปร่งใส ซึ่งพลาสติกแต่ละชนิดต้องการเครื่องมือวัดแบบ Spectrophotometer ที่แตกต่างกัน พลาสติกทึบแสง สำหรับพลาสติกทึบแสง แสงจะไม่สามารถทะลุผ่านตัวงานได้ สามารถใช้เครื่องมือ Spectrophotometer ได้ทั้งแบบ Sphere-base หรือ 45/0 การวัดค่าสีของพลาสติกแบบทึบแสงให้ใกล้เคียงกับการมองเห็น พลาสติกแบบโปร่งใสและโปร่งแสง สำหรับพลาสติกแบบโปร่งใสและโปร่งแสง แสงสามารถทะลุผ่านตัวงานได้ สามารถใช้โหมดการวัดได้ทั้งแบบ Transmittance (ส่องผ่าน) และ Reflectance (สะท้อน) โดยขึ้นอยู่กับระดับของความสามารถที่แสงสามารถส่องผ่านได้ ตัวอย่างเครื่องวัดสีที่แนะนำ Spectrophotometer CM-600d/CM-700d จุดเด่น เครื่องวัดสี spectrophometer แบบพกพา ออกแบบมาให้จับได้ถนัดมือยิ่งขึ้น อ่านค่าวัดสีได้ง่ายด้วยหน้าจอ LCD สามารถเชื่อมต่อกับบูลธูทปริ้นเตอร์ได้ Spectrophotometer CM-5 จุดเด่น เครื่องวัดสี spectrophometer แบบตั้งโต้ะ อ่านค่าวัดสีได้ง่ายด้วยหน้าจอ LCD สามารถเชื่อมต่อกับบูลธูทปริ้นเตอร์ได้ วัดค่าได้ทั้งแบบTransmittance (ส่องผ่าน) และ Reflectance (สะท้อน) เชื่อมต่อกับคีบอร์ดได้ ทำให้พิมพ์ข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น…

  • บทความ

    แนวปฏิบัติสำหรับการวัดค่าสีที่ถูกต้อง

    นอกจากการมีเครื่องวัดสีที่ที่มีค่า Inter-Instrument Agreement (IIA) ที่ดีแล้ว การกำหนดมาตรฐานของขั้นตอนการวัดสีก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าความสามารถของเครื่องมือวัดสีทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความถูกต้องของการวัดค่าสีในแต่ละครั้งและเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องสม่ำเสมอ ข้อกำหนดด้านล่างเป็นแนวทางปฏิบัติของการวัดสีรวมถึงการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่าสีด้วย ตรวจสอบว่าความหนาของตัวอย่าง,ขนาดและปริมาณ เท่ากันในทุกๆครั้งที่มีการวัดค่าสีหรือไม่  สำหรับตัวอย่างที่โปร่งแสงหรือโปรงใส ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าแสงไม่มีการส่องผ่านตัวอย่างโดยการพับหรือทบตัวอย่างจนทึบ หากตัวอย่างไม่สามารถพับได้ควรหาวัตถุมารองรับเป็นฉากหลังที่แสงส่องผ่านซึ่งแนะนำว่าควรเซรามิกสีขาว  สำหรับอุปกรณ์การวัดที่มีลักษณะใส เช่น ถ้วยแก้วบรรจุตัวอย่างแบบผงหรือแบบของเหลว ควรบรรจุตัวอย่างให้เต็มพื้นที่ที่มีแสงเดินทางผ่าน ไม่ควรเหลือช่องว่างในภาชนะอุปกรณ์  ตัวอย่างที่มีการผลิตออกมาจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ควรทิ้งให้ตัวอย่างเย็นลงเพื่อลดความเบี่ยงเบนของสีเกิดมาจากผลของอุณหภูมิหรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ อุณหภูมิมีผลต่อการวัดสี  ตรวจสอบตัวอย่างที่จะวัดทุกครั้งจะต้องไม่มีการปนเปื้อนของคราบน้ำมัน,สิ่งสกปรกหรือฝุ่นผงใดๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลทำให้การวัดสีผิดเพี้ยน ทุกครั้งที่มีการวัดตรวจสอบบพื้นที่ของตัวอย่างที่ต้องการวัดควรครอบคลุมพื้นที่ของรูรับแสงของเครื่องมือวัดสีอย่างสมบูรณ์เพื่อค่าสีที่ถูกต้องที่สุด  สำหรับตัวอย่างที่มีลวดลายหรือแพทเทิร์นควรวางตัวอย่างในทิศทางเดียวกัน หากจำเป็น ควรหมุนเปลี่ยนทิศทางของตัวอย่าง 90 องศาเพื่อวัดสีในทิศทางต่างๆของตัวอย่าง ต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีของเราและให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    สี : ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี

    ภาพโดย Alexandr Ivanov จาก Pixabay บทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของ “สี” มีผลต่อการสร้างความรู้สึกให้กับมนุษย์ได้หลายอย่าง เช่น สีส่งผลต่อรสชาติของอาหารและเรื่องของการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ด้วย  ซึ่งสีแตกต่างจากวัตถุที่มีขนาดหรือน้ำหนักที่เราสามารถวัดได้ด้วยไม้บรรทัดหรือสเกลที่ใช้ในการวัดออกมาได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดถึง “สีน้ำเงิน” กับตัวอย่างใดๆ ผู้คนต่างจินตนาการถึงสีน้ำเงินที่ต่างกันไป บ้างคนอาจพูดว่านั้นเป็น น้ำเงินเข้ม,  น้ำเงินคราม, น้ำเงินอ่อน เป็นต้น แต่ละคนก็ยังแปลสีที่เราเห็นแตกต่างกันออกไป เราใช้ไม้บรรทัดวัดความยาว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนัก แล้วเราใช้อะไรวัดสี ? สภาวะต่างๆที่มีผลต่อการมองเห็นสีด้วยตา แหล่งกำเนิดแสงต่างกัน ทิศทางการมองเห็น ขนาดของวัตถุ พื้นหลังที่ต่างกัน ผู้สังเกตุที่ต่างกัน ความจำของผู้สังเกตุ ความแปรปวนด้านอารมณ์ของผู้สังเกตุ เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีเครื่องมือ ที่จะช่วยในการวัดสี คือ คัลเลอร์ริมิเตอร์ (Colorimeter) และ เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometers)  ที่แปลผลการวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ แหล่งกำเนิดแสงที่ต่างต่างกัน ทำให้การมองเห็นสีแตกต่างกัน ขนาดของวัตถุที่ต่างกันทำให้มองเห็นสีต่างกันไปด้วย สีของพื้นหลังต่างกัน ส่งผลให้การมองเห็นสีต่างกัน แม้ว่าสีนั้นจะเป็นสีเดียวกัน ความจำของผู้สังเกตุมีผลต่อการบอกค่าสี เมื่อเวลาผ่านไปความจำของผู้สังเกตุอาจจะทำให้สีที่อ่านค่าออกมาไม่ตรงกับความจริง คนแต่ละคนมีความทรงจำและประสบการณ์เกี่ยวกับสีหรือเฉดสีต่างกัน ทำให้การอ่านค่าสีต่างกัน หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การดูแลรักษาเครื่องเบื้องต้นตอนที่ 1

    การดูแลรักษาตัวเครื่อง (The Instrument) ไม่ควรทำตัวเครื่องตกกระแทกหรือสั่นสะเทือน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลงหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบอิเลคทรอนิกของเครื่อง ให้ระมัดระวัง ป้องกันสิ่งสกปรกทั้งก่อนทำการวัดและหลังทำการวัด ป้องกันการกระแทกอย่างรุนแรงกับส่วนหัววัด ส่วนหัววัดต้องถูกปิดด้วย Protective Cap เสมอเมื่อไม่ใช้งาน   การดูแลรักษาในขณะใช้วัด (Measurement) เมื่อใช้งานเครื่องเป็นเวลานาน ค่าที่วัดได้อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนของสภาวะแวดล้อมที่ใช้งาน ควรทำการสอบเทียบด้วยแผ่น  White Calibration Plate ทุก ๆ สองชั่วโมง เมื่อมีการใช้งานต่อเนื่องโดยไม่ต้องวัด target ซ้ำเพราะเครื่องจะทำการปรับค่าให้โดยอัตโนมัติ   และเมื่อทำการวัดอย่างต่อเนื่องควรใช้ AC adapter แทนการใช้ถ่าน alkaline การดูแลรักษา แผ่น White Calibration Plate แผ่น White Calibration Tile จะวางอยู่กลาง Plate ฉะนั้นเมื่อต้องการสอบเทียบให้ใช้พื้นที่บริเวณที่ใกล้ส่วนกลางของแผ่นมากที่สุด  ห้ามเกิดริ้วรอยขูดขีดสกปรก กับแผ่น White Calibration Plate โดยเด็ดขาด เมื่อไม่ใช้งาน ต้องปิดฝาครอบเสมอเพื่อป้องกันการกระทบถูกแสงโดยตรงซึ่งบริเวณที่ถูกแสงจะทำสีเปลี่ยนไป บริษัท Centasia เรามั่นใจในความสามารถของเราในการให้บริการ ส่งข้อความ เข้ามาสอบถามเราได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730…