• คอร์สออนไลน์

    ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร

          ก่อนหน้าเราได้มีการจัดการสัมมนาออนไลน์ ผ่าน Zoom ในหัวข้อ “ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร” เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร มีการสาธิตการใช้งานวัดตัวอย่างจริง ในเครื่องวัดสี รุ่นต่างๆ เนื้อหาครั้งนี้ เราได้รวมรวบเครื่องมือวัดสี วัดแสง วัดคลอโรฟิลด์ พร้อมสาธิตบางส่วนเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น เนื้อหาในการบรรยายเราหวังว่าจะสามารถช่วยคุณในการเลือกเครื่องวัดสีที่เหมาะกับงานของคุณได้ โดยมีหัวข้อการบรรยายดังนี้ ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีและหน่วยวัดสี วิธีการเลือกใช้เครื่องวัดสี แนะนำสินค้าและบริการของบริษัท การทดสอบวัดสีด้วยเครื่องวัดสี (สาธิตการใช้งาน) คำถามจากผู้ลงทะเบียน เนื้อหานี้เหมาะสำหรับทุกคน ที่สนใจหรือผู้ที่กำลังมองหาเครื่องวัดสีสำหรับการวัดค่าสี  ขั้นตอนการเข้าดูบันทึกบรรยาย 1.กรอกแบบฟอร์ม   คลิกที่ลิ้งค์นี้  2.หลังจากกดส่งแบบฟอร์ม มีลิ้งค์วิดีโอ ท้ายแบบฟอร์ม 3.ทำแบบทดสอบความเข้าใจ โปรดสังเกตุใต้คลิปวิดีโอมีสไลด์การบรรยายและแบบทดสอบ 4.รอรับประกาศนียบัตร เมื่อผ่าน 80% ขึ้นไป เนื่องจากไม่ใช่การบรรยายสด หากมีข้อซักถาม สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างค่ะ     หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา      ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี

  • บทความ

    ตัวช่วยควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมการเกษตร

                    ผลิตผลจากการเกษตรเป็นแหล่งอาหารที่เราทุกเราต้องการ การจะได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพด้านต่างๆ ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละสายพันธ์ หรือผลิตผลที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทมากมายที่ออกแบบเครื่องมือวัดสำหรับการนำไปใช้ในงานที่หลากหลาย เช่นเดียวกับ Konica Minolta ที่มีเครื่องมือวัดสำหรับการวัดสี แสง และhyperspectral imaging วัดแสงเพื่อการเกษตร         การทำเกษตรแบบแนวตั้ง (vertical farming) เป็นการเพาะปลูกในโรงเรือน ปลูกเป็นชั้น การเพาะปลูกในลักษณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ สามารถควบคุมปริมาณแสง ความชื้น อุณหภูมิให้พอเหมาะต่อพืชที่เพาะปลูกได้  หลายที่เลือกใช้หลอด LED เป็นแหล่งกำเนิดแสงให้กับพืชที่เพาะปลูก         การหาแสงสว่างที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญและเข้าใจผลลัพธ์และความสามารถในการจัดหาพลังงานที่จำเป็นเพื่อการเติบโตของพืช เครื่องมือวัดแสงเพื่อการเกษตร ทาง Konica Minolta มีเครื่องมีวัดแสงหลากหลายรุ่น ยกตัวอย่างเช่น  Illuminance Meter T-10A ,  Illuminance Spectrophotometer CL-500A เป็นต้น สามารถวัดค่า lux, Correlated Color…

  • บทความ

    การตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารด้วย Hyperspectral Imaging

    รูปที่ 1 HSI สามารถระบุลักษณะไขมันในเนื้อสัตว์ได้พร้อมกันและรวดเร็ว และตรวจจับวัตถุที่ไม่ต้องการ เช่น ไม้และพลาสติกจากเนื้อสัตว์              คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภค การตรวจสอบลักษณะภายนอกและองค์ประกอบต่างๆของอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยภายใต้ดูแลขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตลอดจนความคาดหวังของผู้บริโภค         การตรวจสอบมีหลายวิธี แต่วิธีการที่แพร่หลายในปัจจุบัน บางวิธีต้องการการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน นอกจากนี้ด้วยวิธีการตรวจสอบมักทำลายตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบ         ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาภาพไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging หรือ HSI) เป็นเทคนิคที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร เป็นวัดปฏิกิริยาระหว่างแสง (การสะท้อน การส่งผ่าน ฯลฯ) และวัสดุผ่านกล้องไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อให้ได้ spectral signatures หรือ spectral fingerprints วัสดุทุกชิ้นมี spectral signatures ที่เป็นเอกลักษณ์ และ spectral fingerprints เหล่านี้มีข้อมูลเชิงปริมาณ ที่สามารถใช้เพื่อระบุลักษณะ และแยกแยะวัสดุเพิ่มเติม ดังแสดงในรูปที่ 1 HSI การถ่ายภาพแบบ full-spectral imaging…

  • บทความ

    การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ในการวิจัยพืชและการเกษตร

               เมื่อพืชต้องเผชิญกับสภาวะความเครียด เช่น แสงที่มีความเข้มสูง และขาดสารอาหาร อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืชและผลผลิต จากการศึกษาพบว่าการสะสมของเม็ดสี เช่น แอนโธไซยานิน มีความสัมพันธ์ กับความเครียดประเภทต่างๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องระบุอาการเครียดในพืช เช่น ตั้งแต่เริ่มมีการสะสมของแอนโธไซยานิน การเริ่มปรากฏของแอนโธไซยานินและเม็ดสีประเภทอื่น ๆ มักจะเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ ทำให้ยากต่อการระบุ หรือประเมินด้วยสายตา วิธีการที่ใช้อยู่ในการหาปริมาณแอนโธไซยานิน และเม็ดสีประเภทอื่นๆ มักจะอาศัยการประเมินด้วยสายตา หรือการวิเคราะห์ทางเคมี ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจมีความซับซ้อน ใช้เวลานาน ต้องทำลายตัวอย่าง และมีค่าใช้จ่ายสูง          กล้องที่ใช้ระบบการอ้างอิงจากภาพ โดยใช้สีและฟิลเตอร์ และ การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม (HSI) กำลังได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถตรวจสอบสิ่งที่ต้องการ โดยไม่ต้องไม่ต้องทำลายตัวอย่าง กล้องที่ใช้ระบบการอ้างอิงจากภาพ โดยใช้สีและฟิลเตอร์ สามารถจำแนกลักษณะของวัตถุตามสี หรือรูปร่างได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสามารถบันทึกแสงได้ เฉพาะในช่วงที่ตาคนมองเห็น คือ สีแดง เขียว และน้ำเงิน (RGB) ความสามารถในการระบุชนิดของสสารจึงน้อยมาก      …

  • บทความ

    การวัดปริมาณคลอโรฟิลล์อย่างแม่นยำด้วยการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม

                 คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุหรือเม็ดสีที่สำคัญของพืชที่ดูดซับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง พืชที่มีสุขภาพดีโดยทั่วไปจะมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูง และปริมาณจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อช่วงอายุของใบเพิ่มขึ้นหรือเมื่อพืชอยู่ภายใต้ความเครียด[1] ดังนั้น เราจึงมักใช้ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อตรวจสอบและศึกษาความสมบูรณ์ สุขภาพและการเจริญเติบโตของพืช เช่น ความเครียด ภาวะโภชนาการของพืช เป็นต้น นอกจากนี้ คลอโรฟิลล์ยังสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางอ้อมของธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นพารามิเตอร์สำคัญที่ใช้กันทั่วไปในการบริหารจัดการทางการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด วิธีดั้งเดิมในการตรวจวัดปริมาณคลอโรฟิลล์คือ วิธีทางเคมีซึ่งต้องทำในห้องปฏิบัติการ โดยมีขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการเก็บเกี่ยวใบจากพืชตัวอย่างและการสกัดคลอโรฟิลล์โดยใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ หลังจากนั้นจะใช้ HPLC โครมาโตกราฟี เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสกัดที่ยุ่งยาก ซึ่งทำลายใบพืชและไม่สามารถตรวจสอบ ติดตามลักษณะของพืชเมื่อเวลาผ่านไป ในทางตรงกันข้าม ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม hyperspectral imaging (HSI)[2] เป็นเทคโนโลยีใหม่โดยวัดปริมาณคลอโรฟิลล์แบบไม่ทำลายตัวอย่าง ตรวจวัดรวดเร็ว และเที่ยงตรง            HSI เป็นการผสมผสานระหว่างการวัดสเปกตรัมและการถ่ายภาพดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี HSI โครงสร้างทางกายภาพของพืช เช่น ใบและลำต้น สามารถรตรวจวัดได้จากเทคนิคการถ่ายภาพดิจิทัล และข้อมูลทางสรีรวิทยาหรือชีวเคมีจากการวัดสเปกตรัม โดยตรวจวัดด้วยช่วงสเปกตรัมที่แคบและต่อเนื่องกันแล้วนำมาเชื่อมต่อกันได้เป็นสเปกตรัมที่สมบูรณ์จำนวนมาก กล้องถ่ายภาพ HSI มีหลากหลายประเภท เช่น แบบสแกนเชิงเส้น (push…

  • การวัดแสง LED สำหรับฟาร์มเกษตรในโรงเรือน
    บทความ

    การวัดแสง LED สำหรับฟาร์มเกษตรในโรงเรือน

    เกษตรส่วนใหญ่พบปัญหาการปลูกพืชและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น ฝนตกมากหรือน้อยเกินไป สภาพอากาศที่แปรปรวน ฝูงแมลงและตั๊กแตนต่างๆ รวมถึงความโชคร้ายจากธรรมชาติที่ทำลายพืชผลในชั่วข้ามคืน พืชผลที่สดใหม่และปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นในทุกสังคม การนำเทคโนโลยีแสง LED มาทำเกษตรในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่และปลอดภัยหลังจากที่จังหวัดมิยางิ ทางตะวันออกของญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และส่งผลให้เกิดสึนามิในปี 2011 พวกเขาพยายามหาวิธีต่างๆเพื่อให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด รวมไปถึงจัดหาอาหารสดใหม่ที่ปราศจากสารปนเปื้อนให้ประชากร Shigeharu Shimarmura ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพืชวิทยาชาวญี่ปุ่น มีความคิดค้นการใช้เทคโนโลยี LED เพื่อสร้างฟาร์มเกษตรในโรงเรือนที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยในโรงเรือนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 25,000 ตารางฟุตและเปิดใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2014 ขณะนี้มีการผลิตผักกาดหอมสดเกือบ 10,000 หัวในแต่ละวัน แสง LED ที่ใช้ ได้รับการออกแบบพิเศษโดย General Electric และปล่อยความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทั้งกลางวันและกลางคืน Shimamura ใช้ระบบ LED นี้ ปลูกผักกาดหอมที่อุดมด้วยสารอาหารได้เร็วกว่าฟาร์มกลางแจ้งถึงสองเท่าครึ่ง สภาพแวดล้อมแบบปิดจะสามารถช่วยลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด โดยลดลงจากประมาณ 50% (โดยเฉลี่ยสำหรับฟาร์มกลางแจ้ง) เหลือเพียง 10% นอกจากนี้ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้นและทำให้การใช้น้ำในฟาร์มมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เพียง 1% ของการใช้น้ำปกติในสภาพแวดล้อมแบบเปิด Shimamura เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารได้ทั่วโลก ซึ่งแน่นอนการใช้ระบบ LED นี้ แสงของ LED เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด การจะมีระบบที่ดีต้องมีการควบคุมที่ดี…

  • บทความ

    การวัดปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืช

                   สำหรับการวัดปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืชเป็นอีกเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากนักวิจัยและเกษตรกร เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีสำคัญของพืชอย่างมาก ซึ่งคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นเม็ดสีที่พบในใบพืช มีหน้าที่สังเคราะห์แสง  นอกจากนี้ปริมาณคลอโรฟิลล์ยังสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดทางอ้อมของระดับไนโตรเจนในปุ๋ย เพื่อป้องกันการเพิ่มประมาณที่มากเกินความจำเป็น                  โดยปกติการวัดคลอโรฟิลล์ทำได้โดยใช้วิธีการสกัดสารเคมีเปียก ซึ่งทำโดยการสกัดเนื้อเยื่อพืชก่อนและส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์  วิธีการนี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายแก่ใบพืชเท่านั้น แต่ยังใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งแตกต่างจากวิธีการใช้เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยมากในปัจจุบันเนื่องจากสามารถวัดคลอโรฟิลล์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องตัดตัวอย่างใบ ทำให้ใบหรือตัวอย่างไม่เกิดความเสียหายและยังประหยัดค่าใช้จ่าย              เครื่องวัดคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll Meter) จากแบรนด์ Konica Minolta  รุ่น SPAD-502Plus ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาจาก SPAD-502 ซึ่งหลายๆคนอาจจะคุ้นเคยในชื่อ เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ Minolta SPAD-502 นั่นเอง และครื่องวัดคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll Meter) รุ่น SPAD-502Plus ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อนักวิจัยและเกษตรกรผู้ที่ต้องการวัดค่าคลอโรฟิลล์จากพืช ซึ่งเครื่องวัดสีรุ่นนี้สามารถวัดคลอโรฟิลล์ได้ทันทีและไม่ทำลายตัวอย่างของใบพืช SPAD-502Plus วัดปริมาณคลอโรฟิลล์ได้โดยการวัดการดูดกลืนแสงของใบในบริเวณความยาวคลื่นสองแห่ง ทำให้นักวิจัยและเกษตรกร…