• บทความ

    วิธีเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับงานของคุณ

    จะซื้อเครื่องวัดสีให้คุ้มต้องดูอะไรบ้าง ? 1.ดูตัวอย่างของเราที่ต้องการวัดสี : ลักษณะตัวอย่างของแต่ละคนไม่เหมือนกันเช่นเดียวกับเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นที่มีความแตกต่าง ของแข็ง/ของเหลว? โปร่งแสง/ทึบแสง? สีลักษณะพิเศษ? อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทเครื่องวัดสี : ( เลือกเครื่องวัดสีอย่างไรให้เหมาะกับงาน ตอนที่ 1 )            เริ่มต้นด้วยการดูตัวอย่างของคุณว่ามีลักษณะเป็นของแข็งหรือของเหลว หลังจากนั้นต้องดูความโปร่งแสง หรือทึบแสง ของตัวอย่างที่มีความโปร่งแสงเหมาะกับการวัดแบบส่องผ่าน (transmittance) และ ตัวอย่างที่มีความทึบแสงเหมาะกับการวัดแบบสะท้อน (reflectance) ตัวอย่างที่เป็นของเหลวหลักการวัด ใช้เช่นเดียวกับของแข็งแต่การเตรียมตัวอย่างต่างกันจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมเช่น petri dish glass cell อุปกรณ์อื่นๆเพื่อปรับให้สอดคล้องกับเครื่องวัดสีแต่ละรุ่น สีลักษณะพิเศษ เช่น สีมุก, สีเมทาลิค ฯลฯ สีประเภทนี้เหมาะกับเครื่องวัดสีที่ประเภท Multi-angle Spectrophotometer ที่สามารถวัดได้หลายมุม เนื่องจากสีเหล่านี้แต่ละมุมจะแสดงสีที่ต่างกัน นอกจากลักษณะเหล่านี้แล้วสิ่งที่ต้องนำมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเครื่องวัดสี คือ “ขนาดของชิ้นงาน” จุดนี้ก็มีความจำเป็นต่อการเลือกเครื่องวัดสีเพราะพื้นที่การวัดสีของเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นไม่เหมือนกันแน่นอนว่าหากคุณเลือกเครื่องวัดสีที่พื้นการวัดที่ไม่สัมพันธ์กับตัวอย่างของคุณ ค่าสีที่ได้จะไม่ใช่ค่าที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น  ขนาดตัวอย่าง น้อยกว่า พื้นที่การวัดของเครื่องวัดสี หรือ พื้นที่การวัดของเครื่องวัดสี มากกว่า พื้นที่ของตัวอย่างที่ต้องการวัด จะทำให้เครื่องอ่านค่าสี พื้นที่อื่นๆนอกจากตัวอย่างที่ต้องการวัด ทำให้ค่าที่ได้ ไม่ใช่ค่าสีของตัวอย่างนั้นจริงๆ 2. ดูหน่วยสีที่ต้องการวัดค่าสี มีหน่วยสีใดบ้าง? ที่ต้องการใช้งานแน่นอนว่าฟังก์ชั่นที่ครบ…

  • เม็ดสีชนิดพิเศษ
    บทความ

    การวัดค่าสีสำหรับเม็ดสีชนิดพิเศษ(Effect Pigments)

    การวัดค่าสีสำหรับเม็ดสีชนิดพิเศษ เราต้องมาทำความรู้จัก เม็ดสีชนิดพิเศษ หรือ Effect Pigments กัน เม็ดสีชนิดพิเศษ (Effect Pigments) คือ เม็ดสีที่เกิดการเปลี่ยนของสี หรือ ความสว่างเมื่อมุมมองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การพ่นสีหรือเคลือบสีด้วยเม็ดสีชนิดพิเศษนี้ มีความยากและความท้าทายในการควบคุม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า Color Travel หรือ เรียกอีกอย่างนึงว่า การเคลื่อนที่ของสี  นั่นคือสาเหตุทำให้ การวัดเม็ดสีชนิดพิเศษ (Effect Pigments)  เป็นเรื่องที่ท้าทาย เม็ดสีชนิดพิเศษ (Effect Pigments) ไม่ว่าจะเป็น Pearlescent, Liquidmetal, Candy Color, Metallic Color เป็นต้น ล้วนแต่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสีเหล่านี้สามารถทำให้สินค้าต่างๆมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูมีมิติมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงเมื่อความสว่างและมุมมองเปลี่ยนไป ทำให้เกิดการสะท้อนในลักษณะที่เกิดความวาวมากกว่าปกติ ซึ่งเครื่องมือวัดสีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ทั่วไปแบบ 45/0 จะมีตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงอยู่ที่ 45 องศา และตำแหน่งของเซ็นเซอร์รับค่าการสะท้อนอยู่ที่ 0 องศา ซึ่งนิยมใช้กับการวัดค่าสีแบบสีทึบ (Solid Color) สามารถวัดค่าได้ถูกต้องและแม่นยำ แต่เครื่องวัดสีแบบนี้ ไม่เหมาะสมสำหรับการวัดสีของเม็ดสีชนิดพิเศษ เนื่องจากเครื่องวัดสีทั่วไปแบบ 45/0 นี้ไม่สามารถวัดค่าในมุมอื่นๆได้ การวัดสีที่มีเม็ดสีชนิดพิเศษ…

  • บทความ

    Correlated Color Temperature (CCT) คืออะไร?

            อุณหภูมิสี (Color Temperature) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสีจากแหล่งกำเนิดแสงและถูกคำนวนโดยใช้เส้น Isotemperature ในไดอะแกรมสี ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานจากกล่องดำ (Black body) หน่วยของพลังงานคือ เคลวิน (K) ซึ่งจะไม่ใช่พลังงานความร้อน (heat) ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง การปล่อยพลังงานจากกล่องดำ (Black body) หรือในทางฟิสิกส์ที่เรียกว่ากฎพลังงานของพลังค์เป็นเส้นพลังงานในไดอะแกรมสี CIE 1931 เพื่อแสดงค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยจะเริ่มจากโทนสีแดงเมื่ออุณหภูมิต่ำ ไปจนโทนสีส้ม เหลืองขาว ขาว และสูงสุดที่โทนสีน้ำเงินขาวเมื่ออุณภูมิสูงสุด คำว่า อุณหภูมิสี ใช้เพื่อระบุปริมาณสีของแหล่งกำเนิดแสงที่เกิดจากการแผ่รังสีของกล่องดำเช่น อุณหภูมิสีมากกว่า 6,000K เรียกว่าสีเย็น (สีขาวอมฟ้า) อุณหภูมิสีต่ำกว่า (1,500 – 3,500 K) เรียกว่าโทนสีอบอุ่น (สีแดงถึงสีขาวอมเหลือง) อุณหภูมิสีไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับแสงสีเขียวหรือแสงสีม่วงเนื่องจากสีเหล่านี้จะไม่ตกอยู่ในบริเวณของกล่องดำ ภาพโดย Pexels จาก Pixabay อุณหภูมิสี เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการใช้งาน เช่นการให้แสงสว่างการถ่ายภาพ การทำวิดีโอ หรือกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการให้แสง ยกตัวอย่าง แสงของดวงอาทิตย์ ตั้งแต่เช้าจรดเย็นสีของแสงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะแตกต่างกัน มันอาจเป็นสีแดงสีส้มสีเหลืองหรือสีขาวขึ้นอยู่กับต่ำแหน่งของมันแสงแดดเปลี่ยนสีในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของวัน ซึ่งเป็นผลมาจากการกระเจิงของแสงและไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการแผ่รังสีดำ…

  • บทความ

    มาทำความเข้าใจผลกระทบของค่าความเงา (Gloss) ในการวัดค่าสี

    ค่าความเงาหรือที่เราเรียกว่า ค่า Gloss ของวัตถุ 2 ชิ้นที่แตกต่างกัน มีผลทำให้วัตถุจำนวน 2 ชิ้น ที่มีค่าสี L*a*b* ใกล้เคียงดูแตกต่างกันได้อย่างเห็นได้ชัด จากรูปด้านบน เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีเข้มหรือมืดมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน เนื่องจากพื้นผิวที่มันวาวมีลักษณะเรียบ การเกิดสะท้อนแสงแบบ Specular มาก และ การสะท้อนแสงแบบ diffuse น้อย ในทางกลับกัน เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน ไม่มันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีสว่างมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมัมวาวเนื่องจากพื้นผิวที่ด้าน ไม่มีความมันวาว มีลักษณะไม่เรียบ ทำให้เกิดการเกิดสะท้อนแสงแบบ diffuse มาก และ การสะท้อนแสงแบบ Specular น้อย ทริค!! วิธีมองจุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular คือ เมื่อเรามองวัตถุที่มีความมันวาว จุดที่เรามองเห็นการสะท้อนแสงมากที่สุด นั่นคือ จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular ด้วยเหตุนี้ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจการความควบคุมทั้งสีและความเงาไปพร้อมๆกัน แน่นอนว่า ถ้าพูดถึงเครื่องวัดสีที่วัดเฉพาะสี  หรือ เครื่องวัดความเงา หลายๆคนคงรู้จักมาบ้างแล้ว แต่ถ้าเครื่องวัดสีที่สามารถวัดความเงาได้นั้น วันนี้ขอแนะนำเครื่องวัดสี…

  • บทความ

    มุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล

    ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) ระดับโลก มีการเพิ่มความซับซ้อนในการรับรองคุณภาพสีของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ตัวอย่างชิ้นงานทางกายภาพจำนวนมากในห่วงโซ่อุปทาน (supply chains)  จึงจำเป็นที่จะต้องถูกตรวจสอบคุณภาพสีอย่างสม่ำเสมอ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการจำนวนมากในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสีและการเคลือบพื้นผิว รวมไปถึงอุตสาหกรรมพลาสติก กำลังมุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล เพื่อลดตัวอย่างทางกายภาพที่มีราคาแพงและปรับปรุงประสิทธิภาพ ขั้นตอนแรกในการดำเนินการจัดการข้อมูลสีดิจิตอลคือ การกำหนดวิธีการวัดสีแล้วแบ่งปันให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ตัวอย่างของวิธีการที่กำหนดไว้อย่างดีรวมถึง กำหนดรุ่นของเครื่องมือที่ใช้ และระบุระบบ (Geometry) ของการวัดของเครื่องมือรุ่นนั้นๆ กำหนดมุมมองมาตรฐาน (Observer) และแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐาน ที่เลือกใช้ (Illuminant) กำหนดหน่วยสีที่ใช้ (Color space) และ ค่าขอบเขตการยอมรับ (Tolerance) กำหนดขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่า และวิธีการนำเสนอ กำหนดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ตรวจสอบตัวอย่างด้วยสายตา ซึ่ง 1 ในข้อกำหนดในการจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล คือ การใช้เครื่องมือที่มีค่า Inter Intrument Agreement (IIA) ที่แคบ นั่นคือ ความสามารถในการวัดค่าได้ใกล้เคียงกันระหว่างเครื่องวัดสีโมเดลนั้นๆ และค่าความสามารถในการวัดซ้ำ(Repeatability) ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลการวัดค่าสีดิจิตอลของเครื่องมือหลายๆเครื่อง ในรุ่นเดียวกันยังคงที่และเชื่อถือได้ในทุกตำแหน่ง วิธีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสีและความเงาภายในซัพพลายเชน (Supply Chain)             ในห่วงโซ่อุปทาน (supply…

  • บทความ

    แนวปฏิบัติสำหรับการวัดค่าสีที่ถูกต้อง

    นอกจากการมีเครื่องวัดสีที่ที่มีค่า Inter-Instrument Agreement (IIA) ที่ดีแล้ว การกำหนดมาตรฐานของขั้นตอนการวัดสีก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าความสามารถของเครื่องมือวัดสีทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความถูกต้องของการวัดค่าสีในแต่ละครั้งและเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องสม่ำเสมอ ข้อกำหนดด้านล่างเป็นแนวทางปฏิบัติของการวัดสีรวมถึงการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่าสีด้วย ตรวจสอบว่าความหนาของตัวอย่าง,ขนาดและปริมาณ เท่ากันในทุกๆครั้งที่มีการวัดค่าสีหรือไม่  สำหรับตัวอย่างที่โปร่งแสงหรือโปรงใส ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าแสงไม่มีการส่องผ่านตัวอย่างโดยการพับหรือทบตัวอย่างจนทึบ หากตัวอย่างไม่สามารถพับได้ควรหาวัตถุมารองรับเป็นฉากหลังที่แสงส่องผ่านซึ่งแนะนำว่าควรเซรามิกสีขาว  สำหรับอุปกรณ์การวัดที่มีลักษณะใส เช่น ถ้วยแก้วบรรจุตัวอย่างแบบผงหรือแบบของเหลว ควรบรรจุตัวอย่างให้เต็มพื้นที่ที่มีแสงเดินทางผ่าน ไม่ควรเหลือช่องว่างในภาชนะอุปกรณ์  ตัวอย่างที่มีการผลิตออกมาจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ควรทิ้งให้ตัวอย่างเย็นลงเพื่อลดความเบี่ยงเบนของสีเกิดมาจากผลของอุณหภูมิหรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ อุณหภูมิมีผลต่อการวัดสี  ตรวจสอบตัวอย่างที่จะวัดทุกครั้งจะต้องไม่มีการปนเปื้อนของคราบน้ำมัน,สิ่งสกปรกหรือฝุ่นผงใดๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลทำให้การวัดสีผิดเพี้ยน ทุกครั้งที่มีการวัดตรวจสอบบพื้นที่ของตัวอย่างที่ต้องการวัดควรครอบคลุมพื้นที่ของรูรับแสงของเครื่องมือวัดสีอย่างสมบูรณ์เพื่อค่าสีที่ถูกต้องที่สุด  สำหรับตัวอย่างที่มีลวดลายหรือแพทเทิร์นควรวางตัวอย่างในทิศทางเดียวกัน หากจำเป็น ควรหมุนเปลี่ยนทิศทางของตัวอย่าง 90 องศาเพื่อวัดสีในทิศทางต่างๆของตัวอย่าง ต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีของเราและให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    สี : ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี

    ภาพโดย Alexandr Ivanov จาก Pixabay บทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของ “สี” มีผลต่อการสร้างความรู้สึกให้กับมนุษย์ได้หลายอย่าง เช่น สีส่งผลต่อรสชาติของอาหารและเรื่องของการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ด้วย  ซึ่งสีแตกต่างจากวัตถุที่มีขนาดหรือน้ำหนักที่เราสามารถวัดได้ด้วยไม้บรรทัดหรือสเกลที่ใช้ในการวัดออกมาได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดถึง “สีน้ำเงิน” กับตัวอย่างใดๆ ผู้คนต่างจินตนาการถึงสีน้ำเงินที่ต่างกันไป บ้างคนอาจพูดว่านั้นเป็น น้ำเงินเข้ม,  น้ำเงินคราม, น้ำเงินอ่อน เป็นต้น แต่ละคนก็ยังแปลสีที่เราเห็นแตกต่างกันออกไป เราใช้ไม้บรรทัดวัดความยาว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนัก แล้วเราใช้อะไรวัดสี ? สภาวะต่างๆที่มีผลต่อการมองเห็นสีด้วยตา แหล่งกำเนิดแสงต่างกัน ทิศทางการมองเห็น ขนาดของวัตถุ พื้นหลังที่ต่างกัน ผู้สังเกตุที่ต่างกัน ความจำของผู้สังเกตุ ความแปรปวนด้านอารมณ์ของผู้สังเกตุ เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีเครื่องมือ ที่จะช่วยในการวัดสี คือ คัลเลอร์ริมิเตอร์ (Colorimeter) และ เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometers)  ที่แปลผลการวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ แหล่งกำเนิดแสงที่ต่างต่างกัน ทำให้การมองเห็นสีแตกต่างกัน ขนาดของวัตถุที่ต่างกันทำให้มองเห็นสีต่างกันไปด้วย สีของพื้นหลังต่างกัน ส่งผลให้การมองเห็นสีต่างกัน แม้ว่าสีนั้นจะเป็นสีเดียวกัน ความจำของผู้สังเกตุมีผลต่อการบอกค่าสี เมื่อเวลาผ่านไปความจำของผู้สังเกตุอาจจะทำให้สีที่อ่านค่าออกมาไม่ตรงกับความจริง คนแต่ละคนมีความทรงจำและประสบการณ์เกี่ยวกับสีหรือเฉดสีต่างกัน ทำให้การอ่านค่าสีต่างกัน หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดค่าสีแบบ SCIและSCE

               ลักษณะของพื้นผิวของตัวอย่างที่วัดมีผลต่อการวัดค่าสีของวัตถุ วัตถุที่มีผิวมันวาว (high-gloss surface) เราจะมองเห็นสีมีความอิ่มตัวมากกว่าตัวอย่างที่มีผิวมันวาวน้อยกว่า (non-glossy) ตัวอย่างที่มีผิวมันเงาน้อยเราจะมองเห็นสีของวัตถุชิ้นนั้นเป็นสีทึมๆหรือดูไม่อิ่มตัว            Specular Light คือแสงที่มุมตกกระทบเท่ากับแสงที่มุมสะท้อน คล้ายกับการเด้งกลับของลูกบอลที่กระทบกับกำแพง ซึ่งจะพบมากในวัตถุที่มีพื้นผิวมันวาวและพื้นเรียบและแสงที่กระจายออกจากวัตถุทุกทิศทาง เราจะเรียกแสงนั้นว่า Diffuse Light จะเกิดขึ้นมากในวัตถุที่เป็นพื้นผิวหยาบ (ไม่มันวาว) และพื้นไม่เรียบ                 การวัดสีที่ต้องการเฉพาะเนื้อสีของวัตถุ ไม่สนใจพื้นผิวว่าจะมันวาวหรือผิวหยาบ แนะนำให้ใช้โหมดการวัดสีแบบ SCI (Specular Component Included) ซึ่งการวัดโหมดสี จะเป็นการวัดสีที่รวมแสงทั้ง 2 ลักษณะ (Specular Light และ Diffuse Light)  เป็นวิธีวัดสีที่ใช้ในการกระบวนการ Color matching และควบคุมคุณภาพของสี การวัดสีจะรวมแสงสะท้อนสเปกคูลาร์เมื่อช่องดักแสงปิด เซ็นเซอร์จะรับทั้งค่าแสงกระเจิงและแสงสเปกคูลาร์ SCI เหมาะกับการแยกแยะส่วนประกอบของสีในครั้งแรกก่อนที่จะเริ่มการผลิต  …

  • บทความ

    ปรากฏการณ์Metamerismในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

    ปรากฏการณ์  Metamerism  คือ ปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเราเห็นสีของวัตถุ 2 ชิ้น เหมือนกันภายใต้แหล่งกำเนิดแสงเดียวกัน แต่สีของวัตถุทั้ง 2 ชิ้นนั้นกลับแตกต่างกัน เมื่อเปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงไปเป็นอีกแหล่งกำเนิดแสงหนึ่ง ซึ่งการเกิดปรากฏการณ์นี้ สร้างความยากสำหรับการควบคุมคุณภาพสีของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยสาเหตุเกิดจากการเลือกใช้เม็ดสี (pigment) สีย้อม (dyestuff) หรือวัตถุดิบ (material) ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้แม่สีให้เหมือนเดิมทุกครั้งสำหรับการผสมสูตรสีเพื่อหลีกเลี่ยงปรากฎการณ์ Metamerism นั้น แทบจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากลักษณะของวัตถุที่ต่างกัน เช่น พื้นผิวของวัตถุที่เป็นกระดาษ , พื้นผิวพลาสติก, พื้นผิวชุบสีหรือพ่นสี การกำหนดกระบวนการกำหนดสูตรสี จึงเป็นส่วนที่จะช่วยให้เกิดปรากฎการณ์ Metamerism น้อยที่สุด เครื่องมือวัดสีแบบ Spetrophotometer ซึ่งสามารถให้ค่าสเปกตรัมของการสะท้อนค่าสี สามารถช่วยในการบ่งบอกและเปรียบเทียบปรากฎการณ์ Metamerism ได้ เมื่อเส้นโค้งของสเปกตรัมของวัตถุทั้งสองชนิดเข้าใกล้กัน วัตถุทั้งสองชนิดนั้นจะถูกพิจารณาว่าเกิดปรากฎการณ์ Metamerism และเมื่อเชื่อมต่อเครื่องมือกับ Color QC Software Metamerism Index (MI) จะถูกคำนวณออกมาเป็นดัชนีความแตกต่างระหว่างวัตถุสองชนิด เพื่อระบุโอกาสในการเกิด Metamerism สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งานเครื่องแบบ Spetrophotometer และ Color QC Software ได้ที่ [email protected] เบอร์…

  • บทความ

    ลักษณะเด่นของเครื่องวัดสีColorimetersและSpectrophotometer

    เครื่องคัลเลอร์ริมิเตอร์ (Color readers) ใช้เซ็นเซอร์ 3 คือ สีแดง, เขียว, และน้ำเงิน ที่มีความไวคล้ายกับที่ดวงตาของเรามองเห็นสี เพื่อวัดแสงที่สะท้อนหรือส่งผ่านของวัตถุ ส่วนใหญ่จะใช้ในการปรับองค์ประกอบสีหรือเปรียบเทียบสีกับตัวอย่างอ้างอิง(reference) หรือตัวอย่างมาตรฐาน (standard) ไม่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์สีที่ซับซ้อน เช่น ปรากฏการณ์  Metamerism เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometers)  ใช้ตัวเซ็นเซอร์วัดสีจำนวนมาก เพื่อวัดสีการสะท้อนแสงของสเปกตรัมในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็น (400 นาโนเมตร ถึง 700 นาโนเมตร) ซึ่งแต่ละตัวจะไวต่อความยาวคลื่นแตกต่างกันไป แปลงไปเป็นค่าสีระบบต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ถึงมีความแม่นยำมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง Color Readers  จึงทำให้มีราคาแพงกว่า เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับการตรวจสอบควบคุมคุณภาพของสี, การกำหนดสูตรสี, และการวิเคราะห์สีที่ซับซ้อน เช่น ปรากฏการณ์ Metamerism หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ