ทำความเข้าใจเกี่ยวกับcolor scale ในอุตสาหกรรมยา

แชร์หน้านี้

Color scale ในอุตสาหกรรมยา European Pharmacopoeia (EP) และ US Pharmacopeia (USP) มักใช้เพื่อตรวจสอบสีและลักษณะของยาเหลวและอำนวยความสะดวกในการสื่อสารสีภายในอุตสาหกรรม

Color scale ใน EP ประกอบด้วยสีอ้างอิง 37 สี:

  • สีน้ำตาล (B1 – B9)
  • น้ำตาล / เหลือง (BY1 – BY7)
  • สีเหลือง (Y1 – Y7)
  • เขียว / เหลือง (GY1 – GY7)
  • แดง (R1 – R7)

สารละลายอ้างอิงหรือที่หลายคนเรียกว่า “สารละลายมาตรฐาน” 37 สีนี้สร้างขึ้นจากการผสมและเจือจางของเหลวหลัก 3 ชนิดของโคบอลต์คลอไรด์ (สีแดง) เฟอร์ริก (III) คลอไรด์ (สีเหลือง) และคอปเปอร์ซัลเฟต (สีน้ำเงิน)

Color scale ใน USP ใช้ของเหลวหลัก 3 ชนิด ได้แก่ โคบอลต์คลอไรด์ (สีแดง), เฟอร์ริก (III) คลอไรด์ (สีเหลือง) และคอปเปอร์ซัลเฟต แต่จะผสมและเจือจางเป็นสารละลายมาตรฐานที่แตกต่างกัน 20 สี ซึ่งเรียกโดยตัวอักษร A ถึง T

 

Color scale ใน EP และ USP ขึ้นอยู่กับการตัดสินของมนุษย์ โดยเปรียบเทียบสีของตัวอย่างการกับสีของสารละลายมาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการรับรู้สีที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและพื้นหลังโดยรอบและแสงโดยรอบอาจส่งผลต่อการตัดสินภาพ นอกจากนี้สารละลายมาตรฐานยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเลือนลางของสีเมื่อเวลาผ่านไปทำให้ต้องมีการเตรียมการอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาสีให้ได้ตามมาตรฐาน

เพื่อขจัดความเสี่ยงจากความผิดพลาดของมนุษย์และการประเมินด้วยสายตา การใช้เครื่องมือวัดสีจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับบทความนี้ ขอแนะนำเครื่องวัดสี Spectrophotometer รุ่น CM-5 ด้วยดัชนี EP และ USP ช่วยให้ผู้ใช้สามารถป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่ได้กล่าวมาและให้การวัดสีของยาเหลวที่แม่นยำและทำซ้ำได้อย่างง่ายดาย

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี