คำถามที่พบบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเครื่องวัดสี การส่งสอบเทียบหรือบริการด้านต่างๆ ทางเราได้รวบรวมคำถาม-ตอบต่างๆไว้เพื่อความเข้าใจมากขึ้น
คลิกเลือกหมวดหมู่คำถามด้านล่างค่ะ หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้ที่นี้ คลิก
Q: ส่งเมลล์มาแล้วแต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ ไม่ทราบว่าต้องการให้ส่งเอกสารมาที่อีเมลล์ไหนคะ?
A: ติดต่อ [email protected] หรือ Line Official account https://lin.ee/6cpcTtD
Q: ทำไมสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้เครดิตคะ? ต้องดำเนินการอย่างไร หรือมีขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ?
A: เนื่องจากยอดสั่งซื้อไม่ถึง 5,000 บาท ทางบริษัทจึงขอให้โอนชำระเงินก่อนทำการส่งของค่ะ
โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ทาง CENTASIA จะส่งใบแจ้งหนี้ไปให้
- ลูกค้าโอนเงินชำระค่าสินค้าเข้าบัญชีธนาคารบริษัทพร้อมส่งหลักฐานการโอนมาที่เมลล์นี้[email protected] ,[email protected]
- เมื่อได้รับหลักฐานยืนยันการโอนแล้ว จะส่งสินค้าให้ ทางไปรษณีย์ ค่ะ
Q: ขอเครดิตงานสอบเทียบเป็น 90 วันเหมือนงานเคมีได้หรือไม่?
A: เนื่องจาก Centasia มีสินค้าหลายประเภท หากเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัดและงานบริการ ลูกค้าจะได้รับเครดิต 30 วัน ซึ่งต่างจากสินค้าที่เป็น material ค่ะ
Q: ทำไม DP-400 ของฉันไม่เชื่อมต่อกับหัววัด CR-400/CR-410 ?
A: ตรวจสอบให้แน่ใจว่า CR-400 ไม่ได้อยู่ในโหมด PC หากต้องการนำ CR-400 ออกจากโหมดพีซีให้กดปุ่ม Escape
Q: ทำไมเครื่องวัดสี CR-400/CR-410 ไม่สามารถเปลี่ยนแหล่งแสงได้ ?
A: การเปลี่ยนแหล่งแสงจะสามารถทำได้เมื่อ Reset เครื่องแล้วเท่านั้น การ reset เครื่องทำได้โดยกดปุ่ม delete/undo ค้างไว้แล้วกดปุ่มเปิดเครื่องพร้อมกัน จะมีข้อความแสดงว่า initial set OK? กด Enter เพื่อยืนยัน **โปรดระวัง** การ re-set เครื่องจะทำให้ข้อมูลที่บันทึกไว้ลบออกไป
Q: ข้อมูลวัดค่าสีในเครื่องหายไปทั้งหมด สามารถกู้กลับให้ได้หรือไม่ ?
A; ได้ค่ะ ทุกครั้งที่มีการส่งเครื่องมาสอบเทียบกับเรา ทางเราจะมีการ back up ข้อมูลไว้ให้ แต่ข้อมูลหลังจากที่มีการส่งเครื่องกลับจนถึงวันที่ข้อมูลหายข้อมูลส่วนนั้นจะไม่ได้สามารถกู้ได้ เนื่องจากยังไม่ถูกสำรองข้อมูล
Q: ควรเลือกแผ่นที่วางตัวอย่างอย่างไรให้เหมาะสมกับตัวอย่าง ?
A: เครื่องวัดสีบางรุ่นมีขนาดหัววัดตัวอย่าง (Target Mask) หลายขนาด มีหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้เพื่อได้ค่าสีที่สอดคล้องกับสายตา ดังนี้
ขนาดของชิ้นงานที่ต้องการวัด เนื่องจากชิ้นงานต้องสามารถปิดหัววัดได้สนิท เช่น
- การวัดสีผิวของผลมะม่วง ควรใช้หัววัดขนาดประมาณ 3 หรือ 8 มิลลิเมตร
- การวัดสีพวงมาลัยรถยนต์ ควรใช้หัววัดขนาดประมาณ 3 หรือ 8 มิลลิเมตร
ความสม่ำเสมอของพื้นผิว/ของสี เช่น การวัดสีเนื้อหมูที่มีไขมันแทรกในเนื้อแดง ควรใช้หัววัดขนาดใหญ่ประมาณ 50 มิลลิเมตร เพื่อเฉลี่ยทั้งสีแดงของเนื้อและสีขาวของไขมันได้
Q: SCI กับ SCE แตกต่างกันยังไง ?
A: Specular Component Included: SCI : เปรียบเทียบชิ้นงานมีสีเดียวกันที่มีลักษณะของพื้นผิวแตกต่างกัน ค่าที่ได้จะใกล้เคียงกัน
Specular Component Excluded: SCE : เปรียบเทียบชิ้นงานมีสีเดียวกันที่มีลักษณะของพื้นผิวแตกต่างกัน ค่าที่ได้จะแตกต่างกันด้วย
Q: ทำไมเครื่องวัดสีแบบ d/0, d/8 จึงวัด Metallic ไม่สอดคล้องกับสายตา ?
A: เนื่องจากชิ้นงานสี Metallic จะเปลี่ยนสีไปเมื่อมุมในการมองเปลี่ยน การวัดสีด้วยเครื่องแบบ Diffuse เป็นการวัดแสงจากทุกทิศทาง ไม่สามารถแยกความแตกต่างสีแต่ละมุมมองได้ หากใช้เครื่องแบบ Multi Angle จะสามารถบ่งบอกได้ถึงลักษณะการจัดเรียงตัวของ Metallic ที่อยู่ในสีได้
Q: อะไรเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการวัดสี ?
A:
- สภาพแวดล้อม : อุณหภูมิ, ความชื้น, ของเหลว
- การเลือกระบบการวัดให้เหมาะกับตัวอย่าง (Measurement Type) : reflectance, transmittance
- โหมดการวัดค่า SCI/SCE
- วิธีการเตรียมตัวอย่าง / อุปกรณ์สำหรับใส่ตัวอย่าง
- ลักษณะของตัวอย่างแต่ละชนิด
Q: ค่าวัดแต่ละรุ่น วัดค่าได้ใกล้เคียงกันหรือไม่ ?
A: เครื่องวัดสีแต่ละรุ่น แม้จะเป็นแบรนด์เดียวกันจะวัดค่าไม่เท่ากันเนื่องจาก
- ระบบการวัดที่แตกต่างกัน
- ประเภทของเซ็นเซอร์ที่แตกต่างกัน
- Viewing Systems หรือตำแหน่งของเซ็นเซอร์ที่แตกต่างกัน
- Observer ที่แตกต่างกัน
Q: ความแม่นยำของเครื่องวัดสีดูได้จากอะไร ?
- A: ความแม่นยำของเครื่องวัดสีดูได้จากค่า
Inter Instrument Agreement: IIA ค่าความถูกต้องของเครื่องกับเครื่อง Master Body ของผู้ผลิต โดยวัดเปรียบเทียบบนแผ่นสีมาตรฐาน 12 สี - Repeatability ค่าความแม่นยำของการวัดค่า โดยดูจากการวัดซ้ำบนแผ่นสีขาวมาตรฐานเฉลี่ย 30 ครั้ง
Q: เมื่อวัดค่าdeltaEแล้วไม่เกินค่ามาตรฐานแต่ทำไมสายตาเราจึงมองเห็นความแตกต่าง?
A: อาจเกิดได้จาก
- ชนิดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้มองขณะนั้นเหมือนหรือแตกต่าง
- ตำแหน่งของแสงและมุมที่ตามอง
- ค่าdeltaEที่ใช้อาจมีบางสีที่ไม่สอดคล้องกับสายตาเห็น เช่น สีที่สดมากๆ
- การกำหนดค่าdeltaEมีความเหมาะสมสอดคล้องหรือไม่
- ความสามารถในการแยกแยะของสายตามนุษย์แต่ละเฉดสีแตกต่างกัน
Q: ความแตกต่างของการวัดสีในระบบ L*a*b*, CMYK, RGB?
A: ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่ใช้ในจอแสดงผลต่างๆ จะถูกนำไปใช้กับสื่อที่ใช้ระบบแสดงภาพ เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ โปรเจคเตอร์ เป็นต้น
ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้สำหรับงานพิมพ์ เป็นระบบสีที่เราใช้บอกคุณสมบัติของเครื่องพิมพ์ๆ เช่น กระดาษ พลาสติก
ระบบสี L*a*b* เป็นระบบสีที่สอดคล้องกับการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งกำหนดโดย CIE เมื่อปี 1976
Q : บริษัท เซ็นเทเซีย จำกัด ได้รับ ISO/IEC 17025 หรือไม่ ?
A: ปัจจุบันเรายังไม่ได้ทำ ISO/IEC 17025 ค่ะ แต่มีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตโดยตรง ว่าสามารถให้บริการซ่อม/สอบเทียบได้ โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำการสอบเทียบได้ผ่านการรับรองจากบริษัทผู้ผลิตมาแล้วก่อนทำการสอบเทียบเครื่องวัดสีของลูกค้า
นอกจากนี้ยังสามารถสอบกลับไปยังสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ค่ะ ( National Institute of Standards and Technology (USA) )
อีกทั้งทางเรามีการส่งแผ่นสอบเทียบไปตรวจสอบที่ Konica Minolta ประจำทุกปี มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์และความพร้อมของเจ้าหน้าที่สอบเทียบ มีความพร้อมสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดสีของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
หมายเหตุ : เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือเฉพาะผู้ที่สามารถให้บริการสอบเทียบได้ ต้องเป็นตัวแทนผู้ให้บริการจากโรงงานผลิตเท่านั้น, หากเป็น Lab สอบเทียบทั่วไปจะไม่มีเครื่องมือที่สามารถใช้สอบเทียบได้ถูกต้องค่ะ
ดาวน์โหลดเอกสารรับรองจาก Konica Minolta และใบรับรองห้องปฎิบัติการของโรงงานผู้ผลิต ISO17025/2017 คลิก
Q: White Calibration Plate มีรอยขีดข่วนจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือไม่ ?
A: หาก White Calibration Plate มีรอยขีดข่อยหรือได้รับความเสียหาย ลูกค้าควรเปลี่ยนเนื่องจากมีผลต่อการ Calibration ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการวัดค่าสี สามารถส่งมาในทางบริษัทตรวจสอบดูก่อนว่า สมควรเปลี่ยนหรือไม่
Q: ที่ชาร์ต (Adapter) ที่ใช้แต่ไม่ใช่ของ Konica Minolta จะมีผลอะไรกับเครื่องวัดสีหรือไม่ ?
A: หากใช้งานต่อไปเรื่อยๆ อาจส่งผลระยะยาวต่อตัวเครื่อง และอาจก่อให้เกิดตัวเครื่องเสียหายและเกิดการช๊อตภายในตัวเครื่องได้ , เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
ซึ่งปัจจุบันเราพบเคสที่เครื่องวัดสีเกิดความเสียหายจากการใช้ Adapter ทั่วไปกับเครื่องวัดสีแล้วเกิดการช็อตภายในวงจรไฟฟ้าของเครื่องวัดสี
Q: ควรส่งสอบเทียบบ่อยแค่ไหน?
A: Konica Minolta แนะนำให้คุณส่งเครื่องของคุณมาสอบเทียบทุกปี เพื่อตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆที่อาจจะเกิดการชำรุดและเพื่อตรวจสอบความเสียหายของแผ่น white calibration plate ที่เกิดจากการใช้งาน
**ความถี่ในการส่งนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามการใช้งานของคุณ** อ่านเพิ่มเติม
Q: จำเป็นต้องทำการสอบเทียบด้วยตัวเองด้วยแผ่น white calibration plate ทุกครั้งก่อนวัดหรือไม่?
A: ใช่ค่ะ คุณควรปรับเทียบตามมาตรฐานของคุณก่อนทำการวัด เครื่องมือส่วนใหญ่จะแจ้งเตือนก่อนเสมอหากคุณยังไม่ได้ทำการสอบเทียบ
**หากมีการเปลี่ยนคอนดิชั่นหรือสภาวะโดยรอบที่มีผลต่อการวัดค่า ควรทำสอบเทียบด้วย white calibration plate เสมอ**
Q: เมื่อส่งเครื่องมาสอบเทียบ ควรส่งอะไรมาบ้าง ?
A:
- target mask
- cables สายเชื่อมต่อกับเครื่องวัดสี
- AC adapters ที่ชาร์ต
- calibration plate แผ่นสอบเทียบ
และอุปกรณ์เสริมอื่นๆที่ต้องการให้เราตรวจเช็คความเสียหายที่เกิดจากการใช้งาน