ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดค่าสีแบบ SCIและSCE

แชร์หน้านี้

           ลักษณะของพื้นผิวของตัวอย่างที่วัดมีผลต่อการวัดค่าสีของวัตถุ วัตถุที่มีผิวมันวาว (high-gloss surface) เราจะมองเห็นสีมีความอิ่มตัวมากกว่าตัวอย่างที่มีผิวมันวาวน้อยกว่า (non-glossy) ตัวอย่างที่มีผิวมันเงาน้อยเราจะมองเห็นสีของวัตถุชิ้นนั้นเป็นสีทึมๆหรือดูไม่อิ่มตัว

           Specular Light คือแสงที่มุมตกกระทบเท่ากับแสงที่มุมสะท้อน คล้ายกับการเด้งกลับของลูกบอลที่กระทบกับกำแพง ซึ่งจะพบมากในวัตถุที่มีพื้นผิวมันวาวและพื้นเรียบและแสงที่กระจายออกจากวัตถุทุกทิศทาง เราจะเรียกแสงนั้นว่า Diffuse Light จะเกิดขึ้นมากในวัตถุที่เป็นพื้นผิวหยาบ (ไม่มันวาว) และพื้นไม่เรียบ     

           การวัดสีที่ต้องการเฉพาะเนื้อสีของวัตถุ ไม่สนใจพื้นผิวว่าจะมันวาวหรือผิวหยาบ แนะนำให้ใช้โหมดการวัดสีแบบ SCI (Specular Component Included) ซึ่งการวัดโหมดสี จะเป็นการวัดสีที่รวมแสงทั้ง 2 ลักษณะ (Specular Light และ Diffuse Light)  เป็นวิธีวัดสีที่ใช้ในการกระบวนการ Color matching และควบคุมคุณภาพของสี

  • การวัดสีจะรวมแสงสะท้อนสเปกคูลาร์เมื่อช่องดักแสงปิด
  • เซ็นเซอร์จะรับทั้งค่าแสงกระเจิงและแสงสเปกคูลาร์
  • SCI เหมาะกับการแยกแยะส่วนประกอบของสีในครั้งแรกก่อนที่จะเริ่มการผลิต

            ส่วนโหมดวัดสีแบบ SCE (Specular Component Excluded) จะเป็นการวัดสีแบบไม่รวม แสงสะท้อน (Specular Light) ซึ่งจะใช้สำหรับการวัดค่าสีที่สอดคล้องกับสายตามนุษย์ โดยจะนำเอาลักษณะของพื้นผิวของวัตถุมาคำนวณค่าสีให้คลายคลึงกับที่ตามนุษย์มองเห็นวิธีการนี้ใช้ควบคุมสีและประเมินว่าค่าสีที่วัดได้ เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการตรวจสอบสีโดยสายตาหรือไม่

  • การวัดสีจะไม่รวมแสงสะท้อนสเปกคูลาร์เมื่อช่องดักแสงเปิดออก
  • เซ็นเซอร์จะรับค่าแสงกระเจิงเท่านั้น
  • SCE เหมาะกับการตรวจเช็คสีวัตถุกับตัวอย่างในระหว่างสายการผลิต สีที่ได้จะเหมือนกับสีที่ผู้สังเกตุเห็นจากวัตถุ

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี