แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา

แชร์หน้านี้

การวัดสีด้วยเครื่องมือและการรับรู้ด้วยสายตานั้นควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่แนะนำเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลค่าสีในรูปแบบดิจิตอล สอดคล้องกับการรับรู้ด้วยสายตา

1. เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม  (Environmental Conditions)

  • ระดับแสงสว่าง ควรอยู่ในช่วง 2,000 ถึง 4,000 ลักซ์
  • แสงสว่างของสิ่งแวดล้อม (แสงของห้อง) มีผลต่อแสงจากตู้ไฟเทียบสี

2. ผู้สังเกตการณ์ (Observer)

  • การมองเห็นสีปกติ ผู้สังเกตการณ์ควรได้รับการทดสอบเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการทดสอบการมองเห็นสี
  • แว่นสายตา ผู้สังเกตการณ์ไม่ควรสวมแว่นตา ที่มีเลนส์สี ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้สี
  • เสื้อผ้า ผู้สังเกตการณ์ควรสวมเสื้อโทนสีเดียว (สีขาว, เทา, ดำ) เพื่อให้แสงที่สะท้อนออกจากเสื้อผ้าไม่มีผลต่อตัวอย่างระหว่างการทดสอบ

3. การเปรียบเทียบสี (Color Comparison)

พื้นหลัง

  • รักษาตู้ไฟเทียบสี ให้สะอาด ไม่มีวัตถุอื่นๆ วางไว้ นอกจากวัตถุที่จะทดสอบขนาดตัวอย่าง
  • ใช้ขนาดตัวอย่าง ที่มีขนาดเท่ากัน• หลีกเลี่ยง ขนาดตัวอย่างที่มีขนาดเล็กจนเกินไป

ตำแหน่งตัวอย่าง

  • มีการจัดแนวด้านขอบให้ชนกันกับด้านขอบของตัวอย่างที่จะทดสอบ
  • มีการวางในแนวระนาบเดียวกัน
  • ตัวอย่างควรอยู่ที่ประมาณ 400 ถึง 600 มิลลิเมตร จากสายตาของผู้สังเกตการณ์
  • ควรสลับตัวอย่างในการวาง ที่ตำแหน่งต่างๆ เช่น ด้านซ้ายขวา ด้านบนล่าง เป็นต้น

ปรากฏการณ์ เมทาเมอริซึม (Metamerism)

  • เป็นการประเมินการเห็นสีที่เหมือนกันในแหล่งกำเนิดแสงเดียวกัน แต่จะเห็นสีต่างกันเมื่อเปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงชนิดอื่น

4. มุมการสังเกต (Observation Angle)

  • เมื่อดูตัวอย่างที่มีลักษณะเคลือบเงา ควรหลีกเลี่ยงการมองชิ้นงานบริเวณที่แสงของหลอดไฟตกกระทบ
  • เมื่อใช้ตู้ไฟเทียบสี ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามุมระหว่างตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงและผู้สังเกตคือ 45 °

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมส่งอีเมล์ถึงเราได้ที่ [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ