Case study : ระบบการวิเคราะห์คุณภาพที่ TUV Rheinland ประเทศญี่ปุ่นเลือกใช้

แชร์หน้านี้

CMS: Camera Monitor Systems – ระบบกล้องมองข้างและมองหลังภายในรถยนต์

1
1.กล้องที่ติดตั้งภายในรถยนต์ บันทึกภาพ measurement chart ด้วยกล้องภายในรถยนต์
2
2.จอแสดงผลที่ติดตั้งภายในรถยนต์ ฉาพภาพของ measurement chart ที่ถูกบันทึกด้วย กล้องภายในรถยนต์
3
3.เครื่องวัดแสง ProMetric I series วัดค่าแสง-สีของภาพ measurement chart ที่ภาพบนจอภายในรถยนต์

(1) กล้องที่ติดตั้งภายในรถยนต์

บันทึกภาพ measurement chart
ด้วยกล้องภายในรถยนต์

(2) จอแสดงผลที่ติดตั้งภายในรถยนต์

ฉาพภาพของ measurement chart ที่ถูกบันทึกด้วย
กล้องภายในรถยนต์

(3) เครื่องวัดแสง ProMetric I series

วัดค่าแสง-สีของภาพ measurement chart ที่ภาพบนจอภายในรถยนต์

            เมื่อมิถุนายน 2016 ที่ผ่านมา, Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism ของประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดให้ใช้มาตรฐานการทดสอบ UN R46 สำหรับกระจกมองภาพในรถยนต์ (ข้อกำหนดการอนุมัติอุปกรณ์มองภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม และข้อกำหนดของยานยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์การมองภาพเหล่านี้) ภายใต้กฎข้อบังคับที่ได้ปรับปรุงให้รถยนต์ปัจจุบันในญี่ปุ่นสามารถติดตั้งระบบกล้องแสดงผล (Camera Monitor System: CMS) แทนกระจกมองหลังแบบเดิม ได้ตามมาตรฐาน UN R46

ระบบการวิเคราะห์คุณภาพ [CMS: Camera Monitor System] ที่ TUV Rheinland ประเทศญี่ปุ่นเลือกใช้สำหรับการวิเคราะห์ในกระบวนการผลิตได้ 

ProMetric I Series เครื่องวัดความส่องสว่างและสีของแสงด้วยเทคโนโลยีภาพถ่าย

TrueTest โปรแกรมวิเคราะห์ผล

  • วัดค่าได้รวดเร็วและความแม่นยำสูง
  • สามารถวิเคราะห์คุณสมบัติเมื่อมุมมองเปลี่ยนได้ด้วยเลนส์เฉพาะ
  • ใช้งานง่ายและวิเคราะห์ผลได้รวดเร็วด้วยการใช้โปรแกรม TrueTest

TUV Rheinland ประเทศญี่ปุ่นได้นำระบบการวิเคราะห์ค่าแสงของกล้อง CMS โดยระบบนี้ประกอบด้วยเครื่องวัดแสงและสีด้วยเทคโนโลยีภาพถ่าย ProMetric I series และโปรแกรมประเมินคุณภาพจากบริษัท Radiant Visiion Systems: RVS ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบ UN R46 ซึ่งกำหนดให้มีการประเมินคุณภาพของจาก CMS เช่น ความสม่ำเสมอของจอภาพ, ความสม่ำเสมอของความส่องสว่างเมื่อมุมมองของผู้ใช้งานเปลี่ยนไป (viewing angle brightness measurement), ความส่องสว่าง และอัตราส่วนความคมชัด (contrast ratio)

TUV Rheinland ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นห้องปฏิบัติการกลางแห่งแรกที่ให้บริการทดสอบระบบ CMS ในรถยนต์ตามมาตรฐาน UN R46 โดยการนำระบบการทดสอบของ RVS มาให้บริการ

ลดระยะเวลาการทดสอบ
ด้วย Conoscope lens (เลนส์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อวัดค่าคุณสมบัติแสงเมื่อมุมมองของผู้ใช้งานเปลี่ยนไป) และเครื่องวัดแสงรุ่น ProMetric I ทำให้สามารถได้รับข้อมูลแสงในแต่ละมุมได้ภายในการวัดค่าเพียงครั้งเดียว ช่วยลดระยะเวลาในการทดสอบลงได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการทดสอบแบบเดิม (Goniometric measurement sytems)

ลดระยะเวลาการวิเคราะห์ผล
ด้วย TrueTest (โปรแกรมวิเคราะห์ผล) ร่วมกับการใช้งานเครื่องวัดแสงรุ่น ProMetric I สามารถสร้างการวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่น ทั้งในลักษณะการวิเคราะห์เพียงคุณสมบัติที่ต้องการค่าเดียว หรือการวิเคราะห์หลายคุณสมบัติพร้อมกันตามลำดับที่ต้องการวิเคราะห์ (sequence) ทำให้ใช้เวลาในการวิเคราะห์ในหลายคุณสมบัติได้ด้วยระยะเวลาอันสั้น

หัวข้อการทดสอบตามมาตรฐาน UN R46 ที่รองรับในระบบการวิเคราะห์ของ RVS

  • 6.2.2.3.3.1.1 ความสม่ำเสมอของความส่องสว่างในมุมตรงจากจอแสดงผล
  • 6.2.2.3.3.1.2 ความสม่ำเสมอของความส่องสว่างเมื่อมุมมองผู้ใช้งานเปลี่ยนไป
  • 6.2.2.3.3.2 ความส่องสว่างและความคมชัดของการแสดงผล
  • 6.2.2.3.3.3 ระดับสีเทาของการแสดงผล
  • 6.2.2.3.3.4 ความถูกต้องสีของแสง
  • 6.2.2.3.3.5.2 พื้นที่ทั้งหมดที่แสงแพร่ออกจากเลนส์
  • 6.2.2.3.3.5.3 ความสามารถในการแสดงภาพแหล่งกำเนิดแสง 2 แหล่งพร้อมกันได้ถูกต้อง
  • 6.2.2.3.3.6.1 ความคมชัด
  • 6.2.2.3.3.6.2 ระยะชัดลึก
  • 6.2.2.3.3.7 การผิดเพี้ยนของภาพที่แสดงผล
  • 16.1.3.2 ความสามารถในการแยกระดับคอนทราสต์ (เส้นดำบนพื้นขาว) ที่ MTF10

เกี่ยวกับ TUV Rheinlanad ประเทศญึ่ปุ่น
TUV Rheinland ห้องปฎิบัติการกลางชั้นนำจากประเทศเบอรมัน ได้เริ่มให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1978 โดยให้บริการทดสอบและรับรองความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณณฑ์ในอุตสาหกรรมที่ส่งออกไปยังประเทศเยอรมัน, ยุโรป และประเทศอื่นๆ

TUV ประเทศญี่ปุ่นยังได้พัฒนาการให้บริการประเมินผลผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยได้รับการรับรองจากกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักรอุตสาหกรรม, เครื่องมือแพทย์, ยานยนต์, ของเล่น และผลิตภัณฑ์อาหาร

ในฐานะสมาชิกของ TUV Rheinland Cert ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดในยุโณป TUV ประเทศญี่ปุ่นก็ได้รับการตรวจสอบและรับรองทั้งในระบบ ISO 9001 และ 14001 นอกจากนี้ยังคงให้บริการปประเมินในมาตรฐานใหม่ เช่น พลังงานหมุนเวียนด้วย