อุณหภูมิสี (Color Temperature) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสีจากแหล่งกำเนิดแสงและถูกคำนวนโดยใช้เส้น Isotemperature ในไดอะแกรมสี ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานจากกล่องดำ (Black body)
หน่วยของพลังงานคือ เคลวิน (K) ซึ่งจะไม่ใช่พลังงานความร้อน (heat) ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง
การปล่อยพลังงานจากกล่องดำ (Black body) หรือในทางฟิสิกส์ที่เรียกว่ากฎพลังงานของพลังค์เป็นเส้นพลังงานในไดอะแกรมสี CIE 1931 เพื่อแสดงค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยจะเริ่มจากโทนสีแดงเมื่ออุณหภูมิต่ำ ไปจนโทนสีส้ม เหลืองขาว ขาว และสูงสุดที่โทนสีน้ำเงินขาวเมื่ออุณภูมิสูงสุด
คำว่า อุณหภูมิสี ใช้เพื่อระบุปริมาณสีของแหล่งกำเนิดแสงที่เกิดจากการแผ่รังสีของกล่องดำเช่น
- อุณหภูมิสีมากกว่า 6,000K เรียกว่าสีเย็น (สีขาวอมฟ้า)
- อุณหภูมิสีต่ำกว่า (1,500 – 3,500 K) เรียกว่าโทนสีอบอุ่น (สีแดงถึงสีขาวอมเหลือง)
อุณหภูมิสีไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับแสงสีเขียวหรือแสงสีม่วงเนื่องจากสีเหล่านี้จะไม่ตกอยู่ในบริเวณของกล่องดำ
อุณหภูมิสี เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการใช้งาน เช่นการให้แสงสว่างการถ่ายภาพ การทำวิดีโอ หรือกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการให้แสง
ยกตัวอย่าง แสงของดวงอาทิตย์ ตั้งแต่เช้าจรดเย็นสีของแสงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะแตกต่างกัน มันอาจเป็นสีแดงสีส้มสีเหลืองหรือสีขาวขึ้นอยู่กับต่ำแหน่งของมันแสงแดดเปลี่ยนสีในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของวัน
ซึ่งเป็นผลมาจากการกระเจิงของแสงและไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการแผ่รังสีดำ สำหรับแต่ละสีของแสงแดดอุณหภูมิสีจะแตกต่างกัน เช่น
- ดวงอาทิตย์ยามเช้า มีอุณหภูมิสีเท่ากับ 2000K – 3000K จะให้สีส้มหรือสีแดงไปจนถึงถึงสีขาวอบอุ่น
- ในตอนเที่ยงจะมีอุณหูมิสีอยู่ที่ 5500K – 6500K ให้สีขาวหรือสีขาวนวล
- ในตอนเย็นอุณหภูมิสีจะลดลงถึง 1850K – 2000K
ต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา
ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่
ได้ที่อีเมล [email protected]
เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664
Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ
สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี