ทำความรู้จัก CIE L*C*h Color Space

แชร์หน้านี้

      หน่วยสี (color space) ใช้อธิบายและสื่อสารสีของวัตถุโดยใช้ตัวเลข ซึ่งมี Commission Internationale de l’Eclairage (CIE) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับระดับสากล  ได้กำหนดขอบเขตสี รวมถึงหน่วยสีในระบบต่างๆ เช่น CIE XYZ, CIE L*a*b* และ CIE L*C *h สำหรับสื่อสารและแสดงสีของวัตถุ  ระบบเหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้ในการประเมินคุณลักษณะสี,คัดแยกหรือระบุส่วนที่ไม่สอดคล้องกันและถูกต้องแม่นยำ

         หน่วยสี (color space)  L*C*h ซึ่งคล้ายกับ CIELAB เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม หรือที่บางคนอาจจะรู้จักหรือคุ้นหูหน่วยสี L*a*b*  เนื่องจากระบบนี้มีความสอดคล้องกับการรับรู้สีของดวงตามนุษย์ และมีไดอะแกรมเช่นเดียวกับหน่วยสี L*a*b* แต่ใช้พิกัดทรงกระบอกแทนพิกัดสี่เหลี่ยม ดังรูปด้านซ้ายมือ

ในหน่วยสี (color space)  นี้

L* หมายถึงความสว่าง

C* หมายถึง ความเข้มของสี

หรือหากพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ C หรือ Chroma เป็น ความสดของสี หรือระยะทางจากศุนย์กลางของชาร์ต L*a*b* ยิ่งค่ามากสียิ่งสด (ระยะทางไม่มีติดลบ)

h คือมุมของสี
หรือหากพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ h หรือ Hue ค่าเฉดสี หรือมุมที่กวาดไปตามเส้นรอบวงของชาร์ต L*a*b* เริ่มต้นที่มุม 0 สีแดง
(มุมไม่มีติดลบ)

ความแตกต่างของสี: ตัวอย่างตรงกับมาตรฐานมากน้อยเพียงใด?

       ความแตกต่างของสีถูกกำหนดให้เป็นการเปรียบเทียบเชิงตัวเลขของตัวอย่างกับมาตรฐาน เรียกว่าเดลต้า (Δ) แสดงถึงความแตกต่างในพิกัดสีสัมบูรณ์ เดลต้าสำหรับความสว่าง (ΔL*), โครมา (ΔC*) และฮิว (ΔH*) อาจเป็นค่าบวก (+) หรือค่าลบ (–)

ΔL* = ความแตกต่างของความสว่างและความมืด (+ หมายถึง สว่างกว่า (lighter), – หมายถึง มืดกว่า (darker))

ΔC* = ความแตกต่างของสี (+ หมายถึง สว่างกว่า (brighter), – หมายถึง ความหมองคล้ำ (duller) )

ΔH* = ความแตกต่างของเฉดสี

        เครื่องมือวัดสีสามารถตรวจจับความแตกต่างที่สายตามนุษย์มองไม่เห็น จากนั้นจึงแสดงความแตกต่างเหล่านี้ทันทีในรูปแบบตัวเลขหรือบนกราฟการสะท้อนสเปกตรัม หลังจากระบุความแตกต่างของสีโดยใช้ค่า L*C*h แล้วควรพิจารณาว่าตัวอย่างเป็นที่ยอมรับหรือไม่

ความคลาดเคลื่อนของสี: ยอมรับความแตกต่างของสีหรือไม่?

      ค่าความคลาดเคลื่อนของสีเป็นการจำกัดความต่างของสีระหว่างตัวอย่างกับมาตรฐานเพื่อให้พิจารณาว่าตัวอย่างยอมรับได้ โดยทั่วไปควรกำหนดความคลาดเคลื่อนสำหรับแต่ละองค์ประกอบ ΔL*, ΔC* และ ΔH* เพื่อระบุว่าพิกัดใดเกินขีดจำกัด ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนนี้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนนี้โดยอิงตามมาตรฐานของลูกค้าหรือการตัดสินใจจากผู้ใช้งานเอง หลายคนอาจจะคุ้นเคยการสร้างขอบเขตของความคลาดเคลื่อนของการวัด หากผลต่างยังคงอยู่ในขอบเขตนั่นหมายถึง ยอมรับได้

หากไม่อยู่ในขอบเขต อยู่นอกเหนือขอบเขต นั่นหมายถึง ไม่ผ่านมาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งที่ค่าใกล้กับขอบเขตของความคลาดเคลื่อนนี้อาจเป็นที่ยอมรับในเชิงตัวเลข แต่ผู้สังเกตุไม่สามารถยอมรับได้ทางสายตา

การใช้ค่า ΔL*, ΔC*, ΔH* และปัจจัยการถ่วงน้ำหนักที่คำนวณได้ ต่อมาได้มีการกำหนดสูตรความแตกต่างของสี CIE2000 เพื่อแก้ไขจุดอ่อนนี้ สูตรของมันสอดคล้องกับวิธีที่ดวงตามนุษย์มองเห็นสีมากขึ้น และให้ความแม่นยำที่สูงขึ้น

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี