เครื่องวัดสีช่วยเช็คความบริสุทธิ์ในของเหลวได้ อย่างไร

แชร์หน้านี้

         บทความนี้ขอยกตัวอย่างวงการเภสัชกรรมเพื่อให้เห็นภาพชัด ในวงการเภสัชกรรมที่จำเป็นต้องมีการประเมินสารประกอบของยาเหลวและตรวจหาสิ่งเจือปน ในแต่ละขั้นตอนแน่นอนว่าผลที่ได้ต้องแม่นยำและถูกต้อง หากใช้สายตาในการประเมินสีของของเหลว นอกจากจำเป็นจะต้องใช้คนที่มีประสบการณ์สูงในการประเมินสีแต่วิธีนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินสีมาก (อ่านปัจจัยในการประเมินสีด้วยสายตา) ในหลายๆที่หันมาใช้เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินสีเพื่อเช็คความบริสุทธิ์ในของเหลว เนื่องจากมีความแม่นยำ ถูกต้อง และรวดเร็วมากกว่า การใช้สายตาประเมินสี

        นอกจากเครื่องวัดสีแล้ว ดัชนี APHA คิดค้นโดยนักเคมีชื่อ A. Hazen ในปี 1892 ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ในประเมินความบริสุทธิ์ของของเหลว ในปัจจุบัน หลายอุตสาหกรรม รวมถึงเภสัชกรรม เคมี ปิโตรเลียม ใช้เครื่องวัดสีและใช้ดัชนี APHA เป็นแนวทางและมาตรวัดสี

        ดัชนี APHA หรือเรียกอีกอย่างว่าสเกล Hazen หรือ Platinum Cobalt (Pt/Co) เป็นสเกลสีตัวเลขเดียวที่มีตั้งแต่ 0 (ไม่มีสีชัดเจน) ถึง 500 (สีเหลืองอ่อน) ซึ่งเดิมทีได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการประเมินคุณภาพน้ำด้วยการประเมินด้วยสายตาโดยเปรียบเทียบกับการเจือจางของสารละลายมาตรฐานทองคำขาว – โคบอลต์  

อ่านเพิ่มเติม

  1. การใช้ APHA color scale ในอุตสาหกรรมเคมี
  2. การวัดสีสารเคมีโดยใช้ Gardner Color Scale

 

หากจะเลือกเครื่องวัดสีสักเครื่องควรเลือกอย่างไร ?

นอกจากราคาแล้ว อยากแนะนำให้ดูการใช้งานของผู้ใช้ ลักษณะตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่า และที่สำคัญที่สุดคือหน่วยสีที่ต้องการ มีบางคนเลือกเครื่องวัดสี หรือ เครื่องวัดเฉดสี เป็นเครื่องที่สามารถวัดได้เฉพาะค่า APHA แต่เมื่อเวลาผ่านไปหรือมีงานที่ต้องการพัฒนา หรืองานวิจัยเพิ่มเติมแล้วต้องการเปรียบเทียบสีของของเหลวกับหน่วยงานอื่น ที่ไม่ได้มีการใช้แค่ APHA ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบค่ากันได้เนื่องจากหน่วยต่างกัน จะดีกว่าหากเลือกเครื่องวัดสี ที่สามารถวัดค่าสีได้ในหลายๆหน่วยที่เป็นสากล ในหลายๆบทความที่เราเขียนเราจะแนะนำ เครื่องวัดสีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ รุ่น CM-5 เพราะตัวเครื่องมีหน่วยสีที่ครอบคลุมการวัด เตรียมตัวอย่างง่าย

ดูคลิปด้านล่างเพื่อดูการทำงานของ CM-5

หน่วยสีที่ CM-5 สามารถวัดค่าได้

L*a*b*, L*C*h, Hunter Lab, Yxy, XYZ, Munsell ซึ่งหน่วยเหล่านี้ล้วนเป็นหน่วยสีที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างสากล

ดัชนีสีที่ CM-5 สามารถวัดได้

การวัดแบบสะท้อน (Reflectance)

  • MI
  • WI (ASTM E 313-73, ASTM E 313-96)
  • YI (ASTM E 313-73, ASTM E 313-96,
  • ASTM D 1925)
  • ISO Brightness
  • B (ASTM E 313-73)

การวัดแบบส่องผ่าน ( Transmittance)

  • Gardner
  • Iodine Color Number
  • Hazen/APHA
  • European Pharmacopoeia
  • US Pharmacopeia

CM-5 จะทำให้ผู้ใช้งานประหยัดเวลามากขึ้น ในการกดวัด 1 ครั้งสามารถวัดได้ทุกหน่วยสีและดัชนีที่เครื่องรองรับ จากคลิปจะเห็นได้ว่าการเตรียมตัวอย่างง่ายมาก หรือหากกังวลเรื่องปริมาณตัวอย่างที่ใช้ในการวัด CM-5 มีเซลล์ใส่ตัวอย่างขนาด 2 mm

หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี