Credit: Howstuffworks.com Organic Light Emitting Diodes หรือ OLED เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลแบบใหม่ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์สวมใส่และโทรทัศน์ เป็นต้น มองไปข้างหน้าทศวรรษหน้าจะนำเทคโนโลยีที่เหนือชั้นและความก้าวหน้า การสแกนใบหน้า, ลายนิ้วมือและสแกนจอประสาทตาที่ดูเหมือนยากในอดีตแต่ในปัจจุบันมันเรื่องที่สามารถพบเจอได้ง่ายมากๆบนอุปกรณ์มือถือมากมาย การพัฒนาของ OLED จะเปลี่ยนวิธีพื้นฐานการผลิตหน้าจอประสิทธิภาพสูงและในไม่ช้าการแสดงผลแบบสามมิติและการเพิ่มประสิทธิภาพของจอแสดงผลแบบสามมิติสำหรับผู้บริโภคจะกลายเป็นภาพที่พบบ่อยเช่นเดียวกับการสแกนลายนิ้วมือบนมือถือในปัจจุบัน ข้อดีของ OLED คือไม่ต้องใช้แบล็คไลท์ (Backlight) ฉะนั้นจะทำให้จอแสดงผลนั้นบางลงและไม่เปล่งแสงบริเวณที่เป็นสีดำทำให้ใช้พลังงานน้อยลงเช่นกัน (สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OLED ได้ที่ Howstuffworks.com) ความสว่างของจอแสดงผล OLED ถูกพิจารณาจากระดับขนาดพิกเซลซึ่งแต่ละพิกเซลประกอบด้วย Sub-pixel สามสี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งเมื่อส่องสว่างในระดับต่างๆ ก็จะสามารถสร้างสรรค์ออกมาเป็นสีต่างๆได้การปรับปรุงความสว่างและความสม่ำเสมอของสีในจอแสดงผล OLED สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพิกเซลย่อยแต่ละสีแยกกัน ขั้นตอนทั่วไปเริ่มต้นจากการเปิดพิกเซลย่อยสีเดียวกันทั้งหมด แล้วจึงถ่ายภาพโดยใช้เครื่องมือแบบ imaging colorimeter ซึ่งผู้ใช้สามารถวัดและบันทึกความสว่างของแต่ละ sub-pixel หลังจากนั้นกระบวนการนี้จะทำซ้ำสำหรับสีที่เหลืออยู่ ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านซ้ายมือ…
-
-
เคล็ด(ไม่)ลับและเทคนิคสำหรับการวัดและควบคุมคุณภาพของสัญญาณไฟแบ็คไลท์ (Backlit Symbol)
ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ไปจนถึงโรงภาพยนต์ขนาดใหญ่หรือแผงควบคุมของรถยนต์ไปจนถึงสัญลักษณ์การคาดเข็มขัดนิรภัย Backlit Symbol หรือสัญญาณไฟแบ็คไลท์ อยู่รอบๆตัวเราในชีวิตประจำวัน สัญญาณไฟแบคไลท์ส่องสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงที่อยู่พื้นผิวด้านหลัง ที่เรียกว่า Backlight unit (BLU) สัญลักษณ์และตัวอักษร จะถูกตัดให้แสดง เพื่อบอกความหมายต่างๆ โดยใช้แสงสว่างจากแหล่งกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น ป้าย EXIT ที่ติดอยู่ที่ทางออกของโรงภาพยนต์ สัญญาณไฟแบ็คไลท์ถูกใช้และถูกให้ความสำคัญมากในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบินและยานพาหนะ ซึ่งต้องทำให้มั่นใจว่าสัญญาณไฟที่ปรากฎนั้นสามารถแสดงต่อผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนและถูกต้องแม้ในสภาวะแวดล้อมที่อาจจะมีข้อจำกัดในที่มืดหรือแสงน้อย โดยผู้ผลิตสัญญาณไฟแบ็คไลท์ต้องให้ความสำคัญการตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์สัญญาณไฟแบ็คไลท์ เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆด้านประสิทธิภาพและเพื่อให้ภาพชัดเจนตามที่ต้องการ สัญลักษณ์ไฟแบ็คไลท์เหล่านั้นจึงจำเป็นต้องถูกทดสอบอย่างรอบคอบและระมัดระวังทั้งด้านความสว่าง (luminance), สีของสัญลักษณ์, ลักษณะรูปร่างที่ปรากฎ, ความสม่ำเสมอของภาพ (ทั้งในบริเวณของสักษณ์นั้นๆและภาพใกล้เคียง) รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจถูกทดสอบด้วย ProMetric® Imaging Photometers ของ Radiant Vision System ได้ถูกนำมาใช้ในรูปแบบของการทดสอบอย่างแม่นยำสัญลักษณ์ backlit นี้สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างในอุตสาหกรรมต่างๆที่นำมาใช้ร่วมกับทั้งProMetric®ซอฟแวร์และTrueTest™อัตโนมัติภาพซอฟแวร์การตรวจสอบ Tips & Tricks ในชุดของคลิปวิดีโอด้านล่างผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Radiant แสดงให้เห็นถึงการทดสอบและคุณสมบัติที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่อย่างสำหรับการทดสอบสัญลักษณ์เรืองแสงในแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของเรา Automatic Points of Interest (Auto-POI) ฟังก์ชั่น Auto-POI ที่มีอยู่ในทั้งแพลตฟอร์ม ProMetric และ TrueTest สามารถวัดค่าของสัญลักษณ์แบ็คไลท์ (backlit symbols)ได้ง่ายยิ่งขึ้น…
-
ภาษาแสง
ภาพโดย David Mark จาก Pixabay ก่อนจะพูดถึงการวัดค่าของแสงนั้น เรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแสงหรือเรียกอีกอย่างว่าภาษาของแสง แสง (Light) คืออะไร ? สิ่งที่ให้เราสมารถมองเห็นได้ (ประสาท/การสัมผัส)การรับรู้ได้ด้วยการกระตุ้นตัวรับภาพ(แสง) รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกความยาวคลื่นใดๆที่เคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตร (ประมาณ 186,000 ไมล์) ต่อวินาที โดยเฉพาะช่วงที่มองเห็นได้ด้วยสายตามนุษย์ นอกจากคำจำกัดความข้างต้นเรายังสามารถอธิบายปริมาณและคุณภาพของแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งในช่วงที่ตามองเห็นและมองไม่เห็นให้แม่นยำได้อย่างไร? การแผ่รังสีของแสงเกิดขึ้นจากอนุภาคในอะตอมที่เรียกว่า photons ซึ่งเราสามารถอธิบายความหมายของมันได้ด้วยค่าของพลังงานตามช่วงความยาวคลื่น ความเป็นจริงก็คือ แสงไม่เหมือนส่วนประกอบของอะตอมอื่น (ส่วนประกอบของอะตอม คือ อิเล็กตรอน, นิวตรอน และโฟตรอน) โฟตรอนมีมวลเป็นศูนย์และเป็นเพียงตัวนำของรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น เมื่อเราพิจารณาสเปกตรัมของรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะของความยาวคลื่น เราพบว่ามีพลังงานของรังสีแกมม่าในช่วงที่มีความยาวคลื่นสั้นมีพลังงานสูง และในช่วงความยาวคลื่นยาวมีพลังงานต่ำคือคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุ โดยจะมีสเปกตรัมของแสงเพียงแคบๆช่วงหนึ่งที่อยู่ระหว่างกลางเป็นช่วงที่สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ แสงช่วงที่มองเห็นได้นี้มีความยาวคลื่นประมาณ 380 นาโนเมตร ถึง 830 นาโนเมตร โดยอยู่ระหว่างรังสีอัตราไวโอเลต (UV) ที่ความยาวคลื่นต่ำ และรังสีอินฟราเรด (IR) ที่ความยาวคลื่นสูง แถบด้านบนแสดงสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกช่วงความยาวคลื่น ตั้งแต่ช่วงคลื่นที่ตามองไม่เห็น เช่น รังสีเอ็กซเรย์, ไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ เรียงลำดัจากความยาวคลื่นสั้นไปจนถึงความยาวคลื่นยาว…
-
สีเมล็ดกาแฟมีผลต่อกลิ่นหอมของกาแฟ
กลิ่นหอมของกาแฟเป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกของผู้บริโภคกาแฟ การคั่วเมล็ดกาแฟจะช่วยทำให้มีกลิ่นหอมของเมล็ดกาแฟออกมา ในระหว่างที่คั่วกาแฟนั้น กลิ่นของกาแฟจะค่อยๆเปลี่ยนไปจากกลิ่นหอมคล้ายดอกไม้เป็นกลิ่นหอมที่ถูกเผาไหม้เมื่อเมล็ดมีสีเข้มขึ้น เพื่อให้ได้กลิ่นหอมที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสีเมล็ดกาแฟอย่างระมัดระวัง การตรวจสอบสีเมล็ดกาแฟสามารถทำได้โดยใช้สายตาหรือใช้เครื่องวัดสี ซึ่งวิธีการตรวจสอบด้วยสายตานั้นจะขึ้นอยู่กับการรับรู้สีของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันและหากคั่วเมล็ดกาแฟในปริมาณมากหรือปริมาณการผลิตสูงการตรวจสอบด้วยสายตาจะทำให้ใช้เวลามากเพื่อให้ได้คั่วกาแฟที่ต้องการ ในขณะที่เครื่องวัดสีนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวัดสีได้อย่างแม่นยำและอ่านค่าเป็นตัวเลขได้จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการผลิตที่ต้องการควบคุมคุณภาพกาแฟ ในปัจจุบันมีเครื่องวัดสีมากมายหลายรุ่น แต่รุ่นที่อยากแนะนำสำหรับการวัดสีเมล็ดกาแฟคือ เครื่องวัดสี Konica Minolta รุ่น CR-410C ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตเมล็ดกาแฟโดยเฉพาะสามารถวัดสีได้อย่างเที่ยงตรง โดยใช้ดัชนีกาแฟของสมาคมกาแฟประเทศสหรัฐอเมริกา The Specialty Coffee Association of America (SCAA) เพื่อวัดสีระดับการคั่วเมล็ดกาแฟ และมีฟังก์ชั่น pass/fail ตามค่าการยอมรับได้ที่ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เองร่วมกับแผนภูมิสของการคั่วกาแฟของสมาคมกาแฟประเทศสหรัฐอเมริกา( SCAA ) ทำให้การวัดสีเมล็ดการแฟโดยใช้ CR-410C ให้ผลการวัดที่แม่นยำและเที่ยงตรงยิ่งขึ้น เครื่องวัดสี Konica Minolta รุ่น CR-410C หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ
-
การใช้เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์สำหรับวัดสีเซรามิค
ภาพโดย Jean-Paul Verpeaux จาก Pixabay เซรามิคผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไปเช่น เซรามิคที่ใช้ในบ้านจำพวก แจกัน ถ้วย ชาม ของตกแต่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีการออกแบบและการใส่สี หากมีการผลิตในปริมาณมากการควบคุมสีระหว่างกระบวนการผลิตนั้น เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญค่อนข้างมากลดปัญหาของสีที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต แม้กระทั่ง เซรามิคด้านทันตกรรมซึ่งเซรามิคที่ใช้สำหรับงานทันตกรรมจำเป็นต้องใช้เฉดสีขาวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสีของเซรามิคเพียงเล็กน้อยจะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติและเห็นได้ชัดเมื่อวางไว้ใกล้ฟันซี่อื่นๆ เครื่องมือวัดสีแบบใดที่เหมาะกับงานเซรามิคหรืองานที่ต้องการความละเอียดสูง ? การประเมินสีของเซรามิคที่ถูกต้องควรใช้เครื่องวัดสีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ซึ่งมีการแยกความละเอียดของสีได้มากเครื่องวัดสีคัลเลอร์มิเตอร์ ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างของเครื่องวัดสีคัลเลอร์มิเตอร์และเครื่องสเปคโตโฟโตมิเตอร์ ได้ที่นี้ เครื่องสเปคโตโฟโตมิเตอร์จะช่วยตรวจสอบสีของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับแบบของผลิตภัณฑ์ที่ได้ถูกกำหนดไว้โดยประเมินและแสดงสีในรูปแบบตัวเลขที่แม่นยำสูงนี้จะช่วยลดของเสียและเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นซึ่งส่งผลให้ผู้ผลิตได้กำไรเพิ่มขึ้นด้วย ผู้ผลิตสามารถควบคุมเม็ดสีในรูปแบบสีที่โปร่งใสและสีที่ทึบแสงรวมไปถึงความขาวของเซรามิคได้ด้วยเครื่องวัดสีรุ่นเหล่านี้ ซึ่งเป็นแบรนด์ Konica Minolta CR-400 Chroma Meter CM-600d Spectrophotometer CR-400 Chroma Meter รุ่นนี้เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิคเนื่องจากสามารถแยกสีที่แตกต่างได้ง่ายในระหว่างขั้นตอนการผลิต คุณสมบัติที่สำคัญ ความสามารถในการบันทึกข้อมูลการวัด 2,000 รายการ การประเมินผ่าน/ไม่ผ่าน (Pass/Fail) ได้อย่างรวดเร็ว แสดงข้อมูลโดยตรงบนหน้าจอ LCD ความคล่องตัวในการวัดผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน และมีพื้นผิวที่หลากหลาย CM-600d Spectrophotometer เครื่องมือวัดสีแบบพกพารุ่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ที่มีความแม่นยำสูงในการวัดการผลิตเซรามิค คุณสมบัติที่สำคัญ ค่าการยอมรับของค่าความถูกต้อง (Inter-Instrument) ระหว่างเครื่องทำให้สายการผลิตแต่ละที่สามารถสื่อสารสีได้อย่างแม่นยำ การประเมินผ่าน/ไม่ผ่าน (Pass/Fail) สามารถคัดเกรดได้ สามารถแสดงข้อมูลเป็นได้ทั้งแบบตัวเลขและกราฟเพื่อแสดงค่าความแตกต่างของสีในวัตถุทึบแสง สามารถส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้บลูทูธ หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664…
-
วิธีการวัดสีซุปกระป๋อง
ภาพโดย Aline Ponce จาก Pixabay วิธีการวัดสีซุปกระป๋อง สีของอาหารมีอิทธิพลอย่างมากต่อการบ่งบอกรสชาติและความชอบของผู้บริโภคการควบคุมสีให้ถูกต้องและสม่ำเสมอนั้นเป็นสิ่งสำคัญแต่ท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาหารเช่น ซุปกระป๋อง ซึ่งต้องการสัดส่วนที่แม่นยำของสีส่วนผสมเนื่องจากสีของส่วนผสมอาหารมีผลต่อสีโดยรวมของซุปดังนั้นการตรวจสอบสีของส่วนผสมต่างๆจะช่วยลดความแปรปรวนของสีที่จะเกิดขึ้นในกกระบวนการผลิตทำให้ลดเวลาการผลิตและยังเป็นการเพิ่มปริมาณการผลิตได้ ดังนั้นการวัดสีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญควรวัดด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม และการใช้สายตามนุษย์ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม เหตุใดไม่ควรวัดสีด้วยสายตา? การวัดสีด้วยสายตานั้นจะเกิดความลำเอียงสูงมากเนื่องจากการรับรู้สีของผู้สังเกตมีความแตกต่างกันดังนั้นเครื่องมือวัดสีจะแสดงตัวเลขซึ่งผู้ใช้งานสามารถวัดปริมาณสีได้อย่างเป็นกลางและลดความคลาดเคลื่อนจากปัจจัยต่างๆของการใช้สายตาอ่านค่าสี ลักษณะของตัวอย่างที่ต่างกัน วัดเหมือนกัน ? ตัวอย่างวัตถุดิบส่วนผสมมีรูปแบบต่างๆ เช่น ทึบแสง, โปร่งแสงหรือ โปร่งใส ข้อมูลการวัดสีที่ถูกต้องนั้นต้องเลือกใช้โหมดการวัดที่เหมาะสมกับลักษณะของตัวอย่าง เช่น โหมดการวัดแบบสะท้อนแสงใช้วัดตัวอย่างที่มีลักษณะทึบแสง โหมดการวัดแบบส่องผ่านใช้วัดตัวอย่างที่มีลักษณะโปร่งใสและโปร่งแสง เครื่องวัดที่แนะนำสำหรับการวัดสีซุปกระป๋อง Spectrophotometer CM-5 ของแบรนด์ Konica Minolta ที่มีความสามารถในการวัดการสะท้อนแสงและการวัดแบบส่องผ่านและการเปลี่ยนโหมดการใช้งานก็ทำได้ง่ายดาย ทำให้รุ่นนี้เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้งานง่าย ? มีหน้าจอ LED ขนาดใหญ่ หน้านี้สามารถดูความแตกต่างของสีเนื่องจากรุ่นนี้มีแถบสีแสดงที่หน้าจอทันทีที่วัด มีช่อง USB สามารถเชื่อมต่อคีบอร์ด ช่วยให้คุณพิมพ์ง่ายยิ่งขึ้น อุปกรณ์เสริมมีหลายรูปแบบ เช่น ภาชนะแก้วสำหรับใส่ตัวอย่างที่เป็นผงและของเหลวทึบแสง (Petri dish) และภาชนะแก้วสำหรับใส่ตัวอย่างที่เป็นของเหลวใส (Glass cell) ยังมีฟังก์ชั่นที่น่าสนใจเกี่ยวกับรุ่นนี้อีกมาก สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ คลิก โหมดการวัดแบบส่องผ่านใช้วัดตัวอย่างที่มีลักษณะโปร่งแสงในสถานะของเหลวใส่ glass cell โหมดการวัดแบบส่องผ่านใช้วัดตัวอย่างที่มีลักษณะโปร่งแสงในสถานะของแข็ง โหมดการวัดแบบสะท้อนแสงใช้วัดตัวอย่างที่มีลักษณะทึบแสง ใส่…
-
เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2020
ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay ปี 2020 ก้าวสู่ทศวรรษใหม่เป็นช่วงเวลาที่เราจะคาดการณ์และจับตาดูเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะมาเป็นกระแสในปี 2020 และในอนาคตแนวโน้มของเทคโนโลยีในบทความนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่คงต้องให้ระยะเวลาเป็นคนตัดสินซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงบางเทคโนโลยี เช่น IT, AR/VR, หน้าจอแสดงผล, ยานยนต์ ภาพรวมแนวโน้มของเทคโนโลยี จากผลวิจัยของ Gartner (บริษัทวิจัยและให้ปรึกษาข้อมูลเชิงลึกกับองค์กรธุกิจ) คาดการณ์สำหรับ 10 “Strategic technology trends” แนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงกับสังคมในปี 2020 นี้ Gartner วิเคราะห์ถึงเทคโนโลยีที่กำลังจะมีบทบาททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอีก 5 ข้างหน้า แนวโน้วที่ Gartner กล่าวถึงมีดังนี้ Hyperautomation – เทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกันระหว่าง machine learning (ส่วนการเรียนรู้ของเครื่องมือ เป็นสมองของ AI), โปรแกรมสำเร็จรูป, และเครื่องมืออัตโนมัตที่ทำงานแทนมนุษย์ 2. Human Augmentation – การนำเทคโนโลยีรู้แบบใหม่มาช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกายภาพ หรือความรู้ความเข้าใจ หรือมาช่วยเรื่องสภาพแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ เช่น อุปกรณ์ส่วมใส่รูปแบบใหม่ที่สามารถช่วยเพิ่มความสามารถของมนุษย์นด้านต่างๆได้ Autonomous Things – นอกจากการทำงานที่เชื่อต่อกันของสถาปัตยกรรมกับ IoT แล้ว ในอนาคตอุปกรณ์หลากหลายชนิดรอบตัวเราจะใช้ปัญญาประดิษฐ์…
-
อบขนมปังอย่างไรให้สีสม่ำเสมอ?
ภาพโดย Pexels จาก Pixabay สีมีความสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหาร ซึ่งมีสีผลค่อนข้างมากต่อความรู้สึกของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภครู้สึกหิวหรือแม้แต่อยากทานอาหารเหล่านั้น ซึ่งผู้ผลิตเข้าใจถึงความสำคัญในเรื่องสีของอาหาร ทำให้ผู้ผลิตชั้นนำต่างๆ เลือกที่จะควบคุมสีของอาหารตั้งแต่สีของวัตถุดิบที่ใช้ ในบทความนี้จะพูดถึงการอบขนมปัง สีสันของขนมปังที่อบมานั้นมีผลต่อการเลือกซื้อและแน่นอนว่า การจะควบคุมสีของขนมปังที่อบนั้น จึงเริ่มควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบเช่น แป้ง สีของแป้งจะถูกตรวจสอบโดยใช้เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่าความขาวของแป้งนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดและในทำนองเดียวกันสีของส่วนผสมอื่นๆจะได้รับการตรวจสอบก่อนผสมเช่นเดียวกัน การวัดสีจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้แน่ใจว่าได้สีที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ หลายบริษัททั่วโลกมีการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีเพื่อควบคุมคุณภาพและวัดสีอาหารอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพสีของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการต่อลูกค้าทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว Konica Minolta Spectrophotometer CM-5 พร้อมโหมดการวัดแบบส่องผ่านและวัดแบบสะท้อนแสงมีความสามารถในการวัดสีได้หลากหลายสถานะทั้งของเหลว,ของแข็ง ดังนั้นแป้ง, แป้งโดว์หรือส่วนผสมอื่นที่ใช้ในกระบวนการผลิตจึงสามารถวัดค่าสีได้ตลอดกระบวนการผลิต อีกทั้งยังมีดัชนีของสี ( color index ) ให้เลือกใช้ให้เหมาะสำหรับการวัด ดัชนีของสี (color index) ที่มีใน Konica Minolta Spectrophotometer CM-5 WI ASTM E313-73: Whiteness index (ASTM E313-73) WI ASTM E313-96: Whiteness index (ASTM E313-96) WI Hunter: Whiteness index (Hunter) YI…
-
สี : ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี
ภาพโดย Alexandr Ivanov จาก Pixabay บทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของ “สี” มีผลต่อการสร้างความรู้สึกให้กับมนุษย์ได้หลายอย่าง เช่น สีส่งผลต่อรสชาติของอาหารและเรื่องของการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ด้วย ซึ่งสีแตกต่างจากวัตถุที่มีขนาดหรือน้ำหนักที่เราสามารถวัดได้ด้วยไม้บรรทัดหรือสเกลที่ใช้ในการวัดออกมาได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดถึง “สีน้ำเงิน” กับตัวอย่างใดๆ ผู้คนต่างจินตนาการถึงสีน้ำเงินที่ต่างกันไป บ้างคนอาจพูดว่านั้นเป็น น้ำเงินเข้ม, น้ำเงินคราม, น้ำเงินอ่อน เป็นต้น แต่ละคนก็ยังแปลสีที่เราเห็นแตกต่างกันออกไป เราใช้ไม้บรรทัดวัดความยาว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนัก แล้วเราใช้อะไรวัดสี ? สภาวะต่างๆที่มีผลต่อการมองเห็นสีด้วยตา แหล่งกำเนิดแสงต่างกัน ทิศทางการมองเห็น ขนาดของวัตถุ พื้นหลังที่ต่างกัน ผู้สังเกตุที่ต่างกัน ความจำของผู้สังเกตุ ความแปรปวนด้านอารมณ์ของผู้สังเกตุ เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีเครื่องมือ ที่จะช่วยในการวัดสี คือ คัลเลอร์ริมิเตอร์ (Colorimeter) และ เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometers) ที่แปลผลการวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ แหล่งกำเนิดแสงที่ต่างต่างกัน ทำให้การมองเห็นสีแตกต่างกัน ขนาดของวัตถุที่ต่างกันทำให้มองเห็นสีต่างกันไปด้วย สีของพื้นหลังต่างกัน ส่งผลให้การมองเห็นสีต่างกัน แม้ว่าสีนั้นจะเป็นสีเดียวกัน ความจำของผู้สังเกตุมีผลต่อการบอกค่าสี เมื่อเวลาผ่านไปความจำของผู้สังเกตุอาจจะทำให้สีที่อ่านค่าออกมาไม่ตรงกับความจริง คนแต่ละคนมีความทรงจำและประสบการณ์เกี่ยวกับสีหรือเฉดสีต่างกัน ทำให้การอ่านค่าสีต่างกัน หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ
-
ความสำคัญของการจัดการสีในอุตสาหกรรมงานพิมพ์
ภาพโดย Gino Crescoli จาก Pixabay สีเป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมงานพิมพ์และการแสดงสีออฟเซ็ตและการพิมพ์ดิจิตัลที่ถูกต้องและสอดคล้องกันนั้นมีความสำคัญสูงสุด ช่วยแยกสีพิมพ์ที่ดีและไม่ดีออกจากกันได้อย่างชัดเจนดังนั้นการจัดการสีตลอดกระบวนการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวัดสีเป็นเอกลักษณ์เนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกันระหว่างบุคคล ปัจจัยต่างๆเช่น ความแตกต่างในสภาพแวดล้อมของแสง มุมมองการมองเห็น สีพื้นหลังของวัตถุที่มองอาจส่งผลต่อการรับรู้สีของงานพิมพ์ แม้แต่ปัจจัยด้านอารมณ์และความจำในเรื่องของสีของบุคคล แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จะนำไปใช้กับขั้นตอนการพิมพ์: ใช้สเปกโตรโฟโตมิเตอร์วัดปริมาณสีและสื่อสารข้อมูล CIE L * a * b * เพื่อการประเมินและทำความเข้าใจได้ง่าย Spectrodensitometer ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าสภาพแสงที่แตกต่างกันสำหรับการประเมินสีภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดแสงมีผลต่อสีดังนั้นขอแนะนำให้ใช้ Lightbox หรือย้ายไปยังสภาพแวดล้อมแสงที่แตกต่างเพื่อประเมินสี ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณปรับเทียบมาตรฐานเครื่องพิมพ์ทุกวันเพื่อให้ได้สีที่สม่ำเสมอ ประเมินค่าสีระหว่างเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างเสมอ ใช้ colorimeter เพื่อตรวจสอบความแตกต่างของสีและปรับสีเพื่อให้ตรงกับสีเป้าหมายอย่างใกล้ชิด หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ