อุตสาหกรรมอาหารให้ปัจจุบัน มีการแข่งขันสูงและใส่ใจคุณภาพเป็นอย่างมาก การประเมินและวิเคราะห์คุณสมบัติภายในและลักษณะภายนอกของเนื้อสัตว์ เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับผู้ผลิตเนื้อสัตว์รวมไปถึงผู้ผลิตอาหารแปรรูป ปัจจัยสำคัญต่อการคัดแยกและรับรองคุณภาพของเนื้อสัตว์ คุณสมบัติภายในเช่น ปริมาณไขมัน และปริมาณน้ำมีผลต่อรสชาติของเนื้อสัตว์ โดยที่คุณสมบัติภายนอกเช่น สี ผู้บริโภคนิยมใช้เพื่อบ่งบอกถึงความสด ใหม่และคุณภาพของเนื้อสัตว์ การประเมินคุณภาพของเนื้อสัตว์มีวิธีการที่หลากหลาย เช่น ตรวจสอบด้วยสายตา, ตรวจสอบด้วยสีจากกล้องที่มีฟิลเตอร์โดยเฉพาะ หรือทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินและวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้มักจะต้องทำลายตัวอย่าง ใช้เวลานานและไม่เหมาะในการผลิตที่ต้องการความรวดเร็ว นอกจากนั้นยังต้องสุ่มตัวอย่างในพื้นที่หรือ ปริมาณน้อยเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันเราสามารถประเมินคุณภาพเนื้อสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำลายตัวอย่างและมีความแม่นยำได้ด้วย กล้องถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral Imaging (HSI) กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมรุ่น Specim IQ และ FX series ให้ความละเอียดของสเปกตรัมสูงทั้งในช่วงสเปกตรัมที่ตามนุษย์มองเห็น (VIS) และช่วงอินฟราเรดระยะใกล้ (NIR) สามารถแสดงความแตกต่างได้มากกว่าสิ่งที่ดวงตามองเห็น นอกจากนี้กล้องเหล่านี้สามารถวัดช่วงสเปกตรัมที่แคบและต่อเนื่องกันจำนวนมาก ดังนั้นจึงสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับคุณสมบัติภายในและภายนอกของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี …
-
-
กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมบันทึกข้อมูลได้อย่างไร
ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral imaging (HSI) เป็นการวัดแบบไม่ทำลายตัวอย่างซึ่งสามารถให้สเปกตรัมการสะท้อนแสงแบบสองมิติที่มีรายละเอียดสูงของสสารตัวอย่างในวัสดุเป้าหมาย เราสามารถใช้กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อรวบรวมข้อมูลสเปกตรัมของสสารตัวอย่างโดยบันทึกสเปกตรัมนับพันหรือหลายแสนสเปกตรัมแทนที่จะเป็นสเปกตรัมเพียงค่าเดียว ในหนึ่งภาพถ่ายจะเป็นการรวบรวมสเปกตรัมของแต่ละพิกเซล ฉนั้นในแต่ละพิกเซลจะมีสเปกตรัมที่สมบูรณ์และรวบรวมเป็นภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมที่สมบูรณ์ ก่อนบันทึกข้อมูลด้วยกล้องไฮเปอร์สเปกตรัม จำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบหลักสามประการ ได้แก่ ความยาวคลื่นของกล้องไฮเปอร์สเปกตรัม แหล่งกำเนิดแสงใช้ในการส่องสว่าง และแผ่นสีขาวมาตราฐานในการอ้างอิงการสะท้อนแสง ชมวิดีโอการศึกษาด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมบันทึกข้อมูลได้อย่างไร? ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จจำนวนมากขึ้นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเอนกประสงค์ของไฮเปอร์สเปกตรัมถูกใช้ในการวิจัยอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างของสสารตัวอย่างที่นำมาวัดได้แก่ พืช, ผลไม้, ปฐพีวิทยา, โดยสเปกตรัมการสะท้อนจะแสดงถึงโปรไฟล์สเปกตรัมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ช่วยให้ตรวจจับพารามิเตอร์ที่สำคัญในการผลิตอาหาร ธรณีวิทยาและการเกษตรที่แม่นยำ หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี
-
การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ในการวิจัยพืชและการเกษตร
เมื่อพืชต้องเผชิญกับสภาวะความเครียด เช่น แสงที่มีความเข้มสูง และขาดสารอาหาร อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืชและผลผลิต จากการศึกษาพบว่าการสะสมของเม็ดสี เช่น แอนโธไซยานิน มีความสัมพันธ์ กับความเครียดประเภทต่างๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องระบุอาการเครียดในพืช เช่น ตั้งแต่เริ่มมีการสะสมของแอนโธไซยานิน การเริ่มปรากฏของแอนโธไซยานินและเม็ดสีประเภทอื่น ๆ มักจะเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ ทำให้ยากต่อการระบุ หรือประเมินด้วยสายตา วิธีการที่ใช้อยู่ในการหาปริมาณแอนโธไซยานิน และเม็ดสีประเภทอื่นๆ มักจะอาศัยการประเมินด้วยสายตา หรือการวิเคราะห์ทางเคมี ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจมีความซับซ้อน ใช้เวลานาน ต้องทำลายตัวอย่าง และมีค่าใช้จ่ายสูง กล้องที่ใช้ระบบการอ้างอิงจากภาพ โดยใช้สีและฟิลเตอร์ และ การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม (HSI) กำลังได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถตรวจสอบสิ่งที่ต้องการ โดยไม่ต้องไม่ต้องทำลายตัวอย่าง กล้องที่ใช้ระบบการอ้างอิงจากภาพ โดยใช้สีและฟิลเตอร์ สามารถจำแนกลักษณะของวัตถุตามสี หรือรูปร่างได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสามารถบันทึกแสงได้ เฉพาะในช่วงที่ตาคนมองเห็น คือ สีแดง เขียว และน้ำเงิน (RGB) ความสามารถในการระบุชนิดของสสารจึงน้อยมาก …
-
บรรยายกาศ”ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร”
สถานการณ์โรคโควิด-19 (COVID -19) เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ลูกค้าหลายท่านได้มีการ Work Form Home หรือในบางพื้นที่เพิ่มมาตรการการเข้า-ออกของบริษัทและองค์กรต่างๆ แน่นอนว่าการอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการวัดสีและการแนะนำวิธีการใช้เครื่องวัดสีจะเป็นเรื่องยากมากขึ้นและใช้เวลามากขึ้น ทีมงานของเราจึงได้มีการจัดสัมมนาออนไลน์ขึ้นมาซึ่งบรรยายเนื้อหาต่างๆ สาธิตการใช้งาน และแนะนำการใช้งานเครื่องวัดสี ในการสัมมนาออนไลน์นี้ ผู้เข้าร่วมสามารถถามคำตอบที่เกี่ยวข้องกับการวัดสีกับทีมของเราได้ทันที กิจจกรรมนี้เป็นประโยชน์มากกับผู้ใช้งานเครื่องวัดสีหรือผู้สนใจ ภายในกิจกกรรมอาจจะทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดไอเดียใหม่ๆจากคำถามของผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนั้นๆได้ หรือแม้แต่บางข้อสงสัยที่จะได้ความชัดเจนและเห็นภาพมากขึ้นจากกิจรรมนี้ คลิปด้านล่างเป็นบรรยายกาศบางส่วนของการสัมมนา สามารถติดตามเราทาง Line Official Account เพื่อไม่พลาดกิจกรรมต่างๆนี้ คลิปบรรยายกาศ สัมมนาออนไลน์ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร วันที่ 27/08/2021 และ 02/09/2021 จัดโดยทีม IIE & Service จากบริษัท เซ็นเทเซีย จำกัด หัวข้อการบรรยาย • ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีและหน่วยวัดสี• วิธีการเลือกใช้เครื่องวัดสี• แนะนำสินค้าและบริการของบริษัท• สาธิตการใช้งานเครื่องวัดสี• คำถามจากผู้ลงทะเบียน หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา …
-
การวัดปริมาณคลอโรฟิลล์อย่างแม่นยำด้วยการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม
คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุหรือเม็ดสีที่สำคัญของพืชที่ดูดซับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง พืชที่มีสุขภาพดีโดยทั่วไปจะมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูง และปริมาณจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อช่วงอายุของใบเพิ่มขึ้นหรือเมื่อพืชอยู่ภายใต้ความเครียด[1] ดังนั้น เราจึงมักใช้ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อตรวจสอบและศึกษาความสมบูรณ์ สุขภาพและการเจริญเติบโตของพืช เช่น ความเครียด ภาวะโภชนาการของพืช เป็นต้น นอกจากนี้ คลอโรฟิลล์ยังสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางอ้อมของธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นพารามิเตอร์สำคัญที่ใช้กันทั่วไปในการบริหารจัดการทางการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด วิธีดั้งเดิมในการตรวจวัดปริมาณคลอโรฟิลล์คือ วิธีทางเคมีซึ่งต้องทำในห้องปฏิบัติการ โดยมีขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการเก็บเกี่ยวใบจากพืชตัวอย่างและการสกัดคลอโรฟิลล์โดยใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ หลังจากนั้นจะใช้ HPLC โครมาโตกราฟี เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสกัดที่ยุ่งยาก ซึ่งทำลายใบพืชและไม่สามารถตรวจสอบ ติดตามลักษณะของพืชเมื่อเวลาผ่านไป ในทางตรงกันข้าม ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม hyperspectral imaging (HSI)[2] เป็นเทคโนโลยีใหม่โดยวัดปริมาณคลอโรฟิลล์แบบไม่ทำลายตัวอย่าง ตรวจวัดรวดเร็ว และเที่ยงตรง HSI เป็นการผสมผสานระหว่างการวัดสเปกตรัมและการถ่ายภาพดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี HSI โครงสร้างทางกายภาพของพืช เช่น ใบและลำต้น สามารถรตรวจวัดได้จากเทคนิคการถ่ายภาพดิจิทัล และข้อมูลทางสรีรวิทยาหรือชีวเคมีจากการวัดสเปกตรัม โดยตรวจวัดด้วยช่วงสเปกตรัมที่แคบและต่อเนื่องกันแล้วนำมาเชื่อมต่อกันได้เป็นสเปกตรัมที่สมบูรณ์จำนวนมาก กล้องถ่ายภาพ HSI มีหลากหลายประเภท เช่น แบบสแกนเชิงเส้น (push…
-
การทำความเข้าใจในพื้นฐานของการวัดสี
สีเป็นองค์ประกอบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม สีสามารถมีอิทธิพลต่อการซื้อและมักใช้เป็นตัวแปรในการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ เมื่อสีของผลิตภัณฑ์อยู่นอกช่วงสีที่คาดหวังหรือแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ติดกันบนชั้นวาง เรามักจะมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องหรือคุณภาพต่ำ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของเราในที่สุด ด้วยพลังของสีในการบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และกระตุ้นการซื้อ เจ้าของแบรนด์หรือผู้ผลิตจะต้องทำการผลิตสินค้าที่ได้สีที่ต้องการอย่างแม่นยำและสม่ำเสมอ แต่การสื่อสารด้วยสีที่แม่นยำอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากสีเป็นรูปแบบหนึ่งของการรับรู้และต้องอาศัยการตีความของแต่ละคน แม้ว่าคนสองคนกำลังดูวัตถุเดียวกัน แต่ละคนจะใช้การอ้างอิงและประสบการณ์ของตนเองเพื่ออธิบายหรือเรียกสีที่เห็นแตกต่างกัน ด้วยหลากหลายวิธีในการแสดงสี เราจะสามารถสื่อสารสี หรือ อธิบายสีที่ต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจตรงกับเราได้อย่างไร ? เพื่อการสื่อสารสีที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ อันดับแรกเราต้องเข้าใจคุณลักษณะทั้ง 3 ของสี ได้แก่ เฉดสี ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี เฉดสี เป็นคำทั่วไปที่ใช้อธิบายสี เช่น สีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน ความสว่าง อธิบายถึงความสว่างหรือความมืดของเฉดสีนั้นๆ ความอิ่มตัวของสี (Hue) อธิบายถึงความสดใสหรือความหมองคล้ำ ด้วยคุณสมบัติ 3 ประการนี้ เราสามารถสื่อถึงสีของผลิตภัณฑ์ เช่น ลิปสติกสีแดง เป็นสีแดงสดและที่มีความสดใส แม้ว่าการสื่อสารด้วยสีรูปแบบนี้สามารถช่วยอธิบายสีได้ดีขึ้น แต่ก็ยังกว้างเกินไปสำหรับการสื่อสารสีที่แม่นยำ ตัวอย่างเช่น หากสีของผลิตภัณฑ์เข้มกว่าที่ตั้งใจไว้มาก เราจะระบุความสว่างที่แม่นยำผ่านระบบสีมาตรฐานที่รู้จักและใช้งานในระดับสากลได้อย่างไร? เช่นเดียวกับน้ำหนักหรือขนาดที่เราสามารถวัดด้วยมาตราส่วนจริง สีสามารถแสดงเป็นตัวเลขได้โดยใช้ระบบที่เรียกว่าหน่วยสี CIE L*a*b* พื้นที่สี CIE…
-
การควบคุมสีของยา
การจัดยาหรือการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ความชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการผิดพลาดในการจ่ายยา และสีเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับการจัดการยาซึ่งทำให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ นอกจากประโยชน์ด้านความปลอดภัยแล้ว สีของยามีผลต่อการรับรู้ของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาอีกด้วย จากการศึกษาพบว่ายาเม็ดสีขาวหรือสีน้ำเงินมีรสขม ในขณะที่เม็ดสีชมพูมีรสหวานกว่าเม็ดสีแดง การศึกษาอื่นๆพบว่าผู้ป่วยมักจะหยุดกินยาตามใบสั่งแพทย์เมื่อยามีการเปลี่ยนแปลงสี สำหรับผู้ผลิตยา การพัฒนาสีและเฉดสีของยาแต่ละรุ่นอย่างแม่นยำและสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ การประเมินสีด้วยสายตาอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างเฉดสีมักจะมองเห็นและแยกความแตกต่างได้ยากด้วยตาเปล่าของมนุษย์ เครื่องวัดสีแบบสเปคโตรโฟโตมิเตอร์มีความสามารถในการแยกแยะสีและเฉดสีที่ละเอียดอ่อน ให้ความแม่นยำสูง และมีความสามารถในการวัดซ้ำ ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนานั้น ผู้ผลิตยาสามารถใช้สเปคโตรโฟโตมิเตอร์เพื่อวิเคราะห์หรือปรับแต่งสูตรเพื่อพัฒนาสีและเฉดสีของยา ด้วยข้อมูลการวัดสีจากสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อน เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าสีและเฉดสีที่ต้องการนั้นมีความถูกต้องและสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถระบุความแตกต่างของสีและเฉดสีที่ไม่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในระหว่างการตรวจสอบสีขั้นสุดท้าย ทำให้ช่วยดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วหากมีข้อผิดพลาด ในการวัดสีและเฉดสีของยา เครื่องวัดสีรุ่น Spectrophotometer CM-5 พร้อมอุปกรณ์เสริม เช่น หน้ากากวัด(Target Mask) ขนาด 3…
-
ทำความรู้จัก CIE L*C*h Color Space
หน่วยสี (color space) ใช้อธิบายและสื่อสารสีของวัตถุโดยใช้ตัวเลข ซึ่งมี Commission Internationale de l’Eclairage (CIE) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับระดับสากล ได้กำหนดขอบเขตสี รวมถึงหน่วยสีในระบบต่างๆ เช่น CIE XYZ, CIE L*a*b* และ CIE L*C *h สำหรับสื่อสารและแสดงสีของวัตถุ ระบบเหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้ในการประเมินคุณลักษณะสี,คัดแยกหรือระบุส่วนที่ไม่สอดคล้องกันและถูกต้องแม่นยำ หน่วยสี (color space) L*C*h ซึ่งคล้ายกับ CIELAB เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม หรือที่บางคนอาจจะรู้จักหรือคุ้นหูหน่วยสี L*a*b* เนื่องจากระบบนี้มีความสอดคล้องกับการรับรู้สีของดวงตามนุษย์ และมีไดอะแกรมเช่นเดียวกับหน่วยสี L*a*b* แต่ใช้พิกัดทรงกระบอกแทนพิกัดสี่เหลี่ยม ดังรูปด้านซ้ายมือ ในหน่วยสี (color space) นี้ L* หมายถึงความสว่าง C* หมายถึง ความเข้มของสี หรือหากพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ C หรือ Chroma เป็น ความสดของสี…
-
การตรวจสอบคุณภาพของผักและผลไม้ด้วยการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม
การประเมินคุณภาพของผักและผลไม้ มีความสำคัญต่อการได้ผลผลิตที่ดีขึ้น อายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นและลดของเสียลง การประเมินคุณภาพอย่างครอบคลุมหมายถึงการตรวจสอบทั้งลักษณะภายนอก และคุณลักษณะภายในของผักและผลไม้ ข้อบกพร่องภายนอก เช่น รอยช้ำ รอยด่าง หรือความแน่นของเนื้อ เป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพอย่างหนึ่ง คุณลักษณะภายใน เช่น ปริมาณความชื้น มีความสัมพันธ์กับรสชาติและกลิ่น ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมของผักและผลไม้ โดยทั่วไป การตรวจสอบลักษณะภายนอกของผักและผลไม้ ด้วยตัวบุคคลนั้นใช้เวลานานและมีความไม่แน่นอน ในขณะเดียวกัน วิธีที่ใช้ในการประเมินคุณลักษณะภายในที่แท้จริงของผักและผลไม้นั้น มักต้องทำลายตัวอย่าง หรือต้องใช้การวิเคราะห์ทางเคมีที่มีราคาแพง ปัจจุบันผู้ผลิตผักและผลไม้หลายรายกำลังเปลี่ยนมาใช้กระบวนการตรวจสอบด้วย เทคโนโลยีไฮเปอร์สเปกตัม hyperspectral imaging (HSI) [1] เพื่อการประเมินที่รวดเร็ว แม่นยำ และไม่ทำลายตัวอย่าง เทคโนโลยี HSI เช่น กล้อง Specim IQ และ FX series เป็นวิธีการที่รวดเร็ว คุ้มค่า และไม่ต้องทำลายตัวอย่าง ในการประเมินคุณภาพของผักและผลไม้ กล้อง Specim IQ และ FX series จะวัดทั้งช่วงสเปกตรัมที่ตาคนมองเห็นได้ และช่วงความยาวคลื่นที่ตาของเรามองไม่เห็น นอกจากนี้ ยังสามารถวัดช่วงความยาวคลื่นแคบๆ จำนวนมากในช่วงสเปกตรัมที่ต่อเนื่อง ทำให้สามารถระบุลักษณะพื้นผิวภายนอกและองค์ประกอบทางเคมีได้แม่นยำยิ่งขึ้น กล้อง Specim IQ[2]…
-
Case study : ระบบการประเมินการมองเห็นของจอแสดงผลชนิด Head-Up Display (จอแสดงผลบนกระจก)
ฟังก์ชันการประเมินคุณภาพของจอภาพแบบอัตโนมัติที่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่ ระบบการประเมินการมองเห็นของจอแสดงผลชนิด Head-Up Display (จอแสดงผลบนกระจก) SAE J1757-2 มาตรฐานอุตสาหรรมแรกที่ได้รับการตีพิมพ์สำหรับการวิเคราะห์การมองเห็นจอแสดงผลบนกระจก (Head-Up Display, HUD) ได้กำหนดวิธีการประเมินการมองเห็นภาพเสมือนจริงของ HUD จากมุมมองของคนขับขี่Konica Minolta ได้สร้างระบบการประเมินที่เป็นไปตามมาตรฐาน SAE J1757-2 ด้วยเครื่องวัดสีของแสงที่ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายและโปรแกรมเฉพาะที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเฉพาะสำหรับแอพพิเคชั่นนี้ SAE J1757-2 ระบบการมองเห็นจอแสดงผลบนกระจกของยานยนต์: Optical System HUD for Automotive ที่สอดคล้องกับ[ระบบการประเมินการมองเห็นของจอแสดงผลบนกระจก]โดยการวัดทางด้านภาพทั้งหมดจากระบบจอ HUD ที่รวดเร็วและความละเอียดสูง ProMetric Series เครื่องวัดความส่องสว่างและสีของแสงด้วยเทคโนโลยีภาพถ่าย พร้อม TrueTest (HUD module) โปรแกรมการตรวจสอบอัตโนมัติ Radiant Vision System ProMetric มาพร้อมกับเลนส์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจับภาพเสมือนจริงจากจอ HUD ได้ถูกต้องแม่นยำ สำหรับการติดตั้งระบบด้วยเครื่องวัด ProMetric series จะถูกติดตั้งในตำแหน่งสายตาที่ผู้ขับขี่มอง (eye box) เพื่อวัดภาพเสมือนจริงที่ถูกฉายและปรากฎบนกระจกหน้ารถยนต์ (Windscreen) หรือปรากฎบนจอกระจก (Combiner)กับโปรแกรม TrueTest ที่พัฒนาเฉพาะเพื่อรูปแบบการทดสอบที่สามารถประเมินค่าของภาพเสมือนจริงบนจอภาพได้ เช่น การผิดเพี้ยนไปจากตำแหน่ง, ภาพซ้อน (Ghosting…