• บทความ

    การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม

            การตรวจจับหรือวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุ เราต้องตรวจสอบก่อนว่า แสงมีปฏิสัมพันธ์กับวัสดุอย่างไรโดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของสเปกตรัม สเปกตรัมของวัสดุแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับลายนิ้วมือของเรา สำหรับการระบุเอกลักษณ์ เราสามารถระบุได้จากสเปกตรัมของวัสดุด้วยการทำความเข้าใจปริมาณของแสงที่สะท้อน ส่องผ่าน หรือเปล่งแสงออกมาในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ          การถ่ายภาพสเปกตรัมเป็นเทคนิคที่รวมการวัดสเปกตรัมกับการถ่ายภาพดิจิทัลไว้ด้วยกัน ต่างจากกล้องทั่วไปที่จับแสงเป็นสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียวภายในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ กล้องถ่ายภาพสเปกตรัมสามารถจับแสงในช่วงความยาวคลื่นช่วงสั้นโดยเริ่มจากช่วง UV ผ่านช่วงที่มองเห็นได้ และ ช่วงอินฟราเรดของสเปกตรัม ความสามารถในการตรวจสอบสเปกตรัมที่กว้างช่วยให้ระบุและแยกแยะสารต่างๆ ที่ไม่สามารถแยกได้ด้วยสายตาในสสารตัวอย่างได้ง่ายขึ้น ด้วยสีหรือความแตกต่างทางเคมี         การถ่ายภาพสเปกตรัมสามารถแบ่งออกเป็น ภาพถ่ายแบบมัลติสเปกตรัม Multispectral Imaging (MSI) และภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral Imaging (HSI) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง MSI และ HSI คือความละเอียดของสเปกตรัม กล้อง HSI จะวัดแสงในแถบความยาวคลื่นที่แคบจำนวนมาก อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กล้อง MSI จะวัดเฉพาะแถบความยาวคลื่นจำนวนไม่ต่อเนื่องบางช่วงเท่านั้น         กล้อง HSI…

  • บทความ

    ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตัมคืออะไร

        สสารหรือวัสดุทุกชิ้นมีปฏิสัมพันธ์กับแสงในลักษณะเฉพาะ สเปกตรัมของสสาร กล่าวคือ ปริมาณแสงที่สะท้อน เปล่งออกมา หรือส่งผ่านสสารนั้นแตกต่างกันไปตามความยาวคลื่นที่แตกต่างกันอย่างไร ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเคมีของสสารและลักษณะทางกายภาพ       การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตัม Hyperspectral Imaging (HSI) เป็นเทคนิคที่ผสมผสานทั้งการวัดสเปกตรัมและการถ่ายภาพดิจิทัล ช่วยให้ระบุประเภท ชนิด ทำแผนภูมิ และคัดแยกสสารได้ง่ายตามความแตกต่างของคุณสมบัติทางชีววิทยา เคมี หรือทางกายภาพ      HSI ถูกใช้มากขึ้นในงานวิจัยมากมาย เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ การวิจัยพืชพรรณ การเกษตรที่แม่นยำ การวิเคราะห์อาหาร ฯลฯ Specim ผู้บุกเบิกและผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม มีเครื่องมือและโซลูชันการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัมที่หลากหลายซึ่งครอบคลุมความยาวคลื่น ตั้งแต่ช่วงตามองเห็นและอินฟราเรดระยะใกล้ไปจนถึงคลื่นความร้อน เทคโนโลยี HSI ของ Specim ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากในด้านการวิจัยต่างๆ สำรวจแอปพลิเคชันการวิจัยทั้งหมดของเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตัมคืออะไร ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมให้ข้อมูลอะไรบ้าง หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา     ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี

  • บทความ

    การสอบเทียบเครื่องวัดสี

            การสอบเทียบเป็นกระบวนการตรวจสอบและปรับความแม่นยำของเครื่องมือวัด  เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือวัดมีความถูกต้องและการอ่านค่าหรือการแปลผลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง หรือแม้แต่จากโรงงานแห่งหนึ่งไปอีกแห่งให้ผลที่สอดคล้องกัน หากผลการวัดค่าหรือการแปลผล แน่นอนว่าหากผลไม่สอดคล้องกันย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อต้นทุนการผลิตเป็นงานมาก เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารกันได้        เครื่องมือวัดสีที่มีราคาแพงและแม่นยำที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปหรือการใช้งานย่อมเกิดการชำรุด, เสียหายและเสื่อมสภาพ     นั่นคือความจำเป็นที่เครื่องมือวัดทุกเครื่องต้องได้รับการสอบเทียบและตรวจสอบเป็นประจำ สอดคล้องกับระบบการจัดการคุณภาพหรือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ข้อกำหนดซิกส์ซิกม่า หรือ ISO ในการตรวจสอบและปรับเทียบเครื่องมือในช่วงเวลาปกติ การสอบเทียบเครื่องวัดสี เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือวัดที่มีความเฉพาะเจาะจง และควรเป็นผู้เชี่ยญชาญที่มีความเข้าใจเครื่องวัดสีโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ภายในและภายนอก ที่มีส่วนทำให้ค่าที่วัดได้คลาดเคลื่อนหรือผิดเพี้ยน ดังนั้นการเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบนอกจากราคาที่หลายๆคนให้ความสำคัญแล้ว อุปกรณ์และมาตรฐานที่ใช้ในการสอบเทียบเครื่องวัดสีเป็นอีกปัจจัยที่ไม่สามารถละเลยได้ ทำไมต้องให้ความสำคัญอุปกรณ์ที่ใช้สอบเทียบ ? แน่นอนว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญต่อมาตรฐานที่ใช้ควบคุมคุณภาพ แต่อุปกรณ์ที่ใช้สอบเทียบนั้นมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน จะสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่า อุปกรณ์ที่ใช้สอบเทียบ สามารถใช้สอบเทียบกับเครื่องมือสีของคุณได้จริงๆ เหมาะสมหรือไม่ แน่นอนว่าเครื่องมือวัดสีแต่ละรุ่นมีข้อจำกัดที่ต่างกัน รูปทรงของเครื่อง ขนาดหัววัด สิ่งต่างๆเล็กน้อยนี้เป็นจุดที่สามารถบอกได้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้สอบเทียบเครื่องวัดสีของคุณนั้น เหมาะกับเครื่องวัดสีของคุณหรือไม่ การสอบเทียบรายวัน การสอบเทียบรายวันเป็นการสอบเทียบด้วยตัวเองของผู้ใช้งาน ซึ่งจำเป็นต้องทำการสอบรายวันอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบว่าเครื่องมือที่ใช้มีความถูกต้องแม่นยำ โดยจะทำการสอบเทียบกับแผ่นสอบเทียบที่ได้มาจากผู้ผลิต ความถี่ในการสอบเทียบนั้นควรเปิดหลังเปิดใช้งานเครื่องวัดสีในแต่ละวัน หรือทุกๆครั้งที่มีการเปลี่ยนคอนดิชั่นการวัดสี หรือสภาพแวดล้ม (ความสะอาดของแผ่นสอบเทียบเป็นสิ่งที่สำคัญ โปรดอย่าลืมตรวจสอบแผ่นสอบเทียบของคุณอยู่เสมอ) การสอบเทียบประจำปี การสอบเทียบประจำปี เป็นการสอบเทียบที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องส่งไปให้ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการการสอบเทียบ เพื่อตรวจเช็คส่วนต่างๆของเครื่องมือวัดทั้งภายในและภายนอก พูดถึงการสอบเทียบประจำปีของเครื่องวัดสี…

  • บทความ

    การวัดสีกระเบื้องเซรามิก

                 การแบ่งประเภทของเซรามิกส์เป็นกระบวนการที่สำคัญในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก สีและเฉดสีเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ใช้ในการคัดแยกคุณภาพของกระเบื้องเซรามิก ซึ่งการคัดแยกนั้นสามารถทำได้ด้วยการประเมินสีด้วยสายตา แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าการประเมินด้วยสายตานั้น มีตัวแปรที่ต้องควบคุมอีกหลายปัจจัยเพื่อให้ผลถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งการประเมินสีด้วยสายตานั้นนับเป็นความสามารถหรือความชำนาญเฉพาะบุคคล ในปัจจุบันผู้ผลิตหลายๆท่านจึงนิยมใช้เครื่องวัดสีเข้ามาประเมินสีของกระเบื้องเซรามิค คุณภาพของวัตถุดิบเซรามิก เช่น ดินเหนียว, ควอตซ์ และเฟลด์สปาร์ จะถูกกำหนดตามสี โดยจะนำตัวอย่างไปทำ ceramic bisques แล้วคัดแยกตามค่าความสว่าง L* (lightness) และค่าความเหลือง b* (yellowness  values) กระเบื้องเซรามิกเกือบทุกชิ้นมีเฉดสีที่แตกต่างกัน  อีกทั้งยังมีความแตกต่างระหว่างแผ่นกระเบื้อง การนำเครื่องวัดสีเข้ามาช่วยจัดการหรือการจำแนกเฉดสีเป็นทางเลือกที่นิยมกันเป็นอย่างมาก หน่วยสีที่นิยมใช้คือระบบ L * a * b * โดยผู้ผลิตจะกำหนดเฉดสีไว้ให้เป็นค่ามาตรฐานในระบบ L * a * b *โดยการวัดชิ้นงานมาตรฐานและหลังจากนั้นจะมีการวัดสีกระเบื้องเซรามิกเพื่อจำแนกเฉดสีต่างๆตามค่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ในลำดับแรก.            เครื่องวัดสีที่เหมาะกับการวัดสีกระเบื้องเซรามิกนั้น บทความนี้จะแนะนำเป็น เครื่องวัดสีของ Konica Minolta รุ่น Spectrophotometer CM-25d พร้อมความสามารถในการทำซ้ำ(repeatability)…

  • บทความ

    Case study : ระบบการวิเคราะห์คุณภาพที่ TUV Rheinland ประเทศญี่ปุ่นเลือกใช้

    CMS: Camera Monitor Systems – ระบบกล้องมองข้างและมองหลังภายในรถยนต์ 1 1.กล้องที่ติดตั้งภายในรถยนต์ บันทึกภาพ measurement chart ด้วยกล้องภายในรถยนต์ 2 2.จอแสดงผลที่ติดตั้งภายในรถยนต์ ฉาพภาพของ measurement chart ที่ถูกบันทึกด้วย กล้องภายในรถยนต์ 3 3.เครื่องวัดแสง ProMetric I series วัดค่าแสง-สีของภาพ measurement chart ที่ภาพบนจอภายในรถยนต์ (1) กล้องที่ติดตั้งภายในรถยนต์ บันทึกภาพ measurement chartด้วยกล้องภายในรถยนต์ (2) จอแสดงผลที่ติดตั้งภายในรถยนต์ ฉาพภาพของ measurement chart ที่ถูกบันทึกด้วยกล้องภายในรถยนต์ (3) เครื่องวัดแสง ProMetric I series วัดค่าแสง-สีของภาพ measurement chart ที่ภาพบนจอภายในรถยนต์             เมื่อมิถุนายน 2016 ที่ผ่านมา, Ministry of Land,…

  • บทความ

    显示器特性测量

    显示器都必须进行测定和校准以确保质量标准。在显示计量学中,CIE 1931和CIE 1976色彩空间广泛用于描述和指定颜色。被广泛测试的显示器项目包括白平衡,色彩色域,Gamma,对比度,均匀度以及闪烁度(Flicker)。   CIE 1931 Yxy CIE 1976 Yu’v’ 白平衡 显示器的色温必须在整个亮度范围内保持一致。白平衡的调整有助于确保显示能精确反映被摄物的色彩状况。白平衡调整涉及建立显示器的白平衡点,并调整红色,绿色和蓝色(RGB)的光输出,从而正确地重现白平衡点。 色彩色域 若想让显示器准确地显示多种颜色,色域评估是必需的。色域涵盖范围与面积是通过各RGB坐标在CIE 1931和CIE 1976色彩空间上所形成的三角形。三角形越大就代表显示器的重现色彩的能力高。sRBG, Adobe RGB 和DCI–P3是应用最广泛的色域标准。 Gamma 显示器通过信号(输入)产生亮度(输出)。输入信号与输出亮度的比例关系并非线性。输入信号增加50%并不等于亮度增加50%,而是取决于gamma。若想让显示器在整个亮度范围内都能准确地显示真实色彩,gamma校正是必需的。亮度范围0-100%内测量每一阶的亮度,并且确保白色在整个亮度范围内始终是中性的。 对比度 对比度指的是显示器能产生的最亮的白色与最暗的黑色的比率。对比度越大,显示器能产生的图像将显得清晰醒目以及色彩鲜明艳丽。若对比度小,显示器能产生的图像会显得灰蒙蒙的。测试对比度是通过测量16点黑白相间色块,并且取得8个白色区域亮度平均值和8个黑色区域亮度平均值之间的比值。由于对比度高度依赖于最暗的图案亮度水平,因此需要能测量极低亮度的显示测试仪器。 均匀度 均匀度测试分为亮度均匀性,色度均匀性和对比度均匀性。广泛均匀度测试位置与位置定义规则分为5点、9点和13点。公式如下所述: 亮度均匀性 均匀度 = (Lmin / Lmax) x 100% 非均匀度 = ((Lmax – Lmin) / Lmax) x 100% 色度均匀性 Δu‘v’ = ((u’1 – u’2)2 + (v’1 – v’2)2)1/2 比度均匀性5点、9点和13点 非均匀度 = ((Cmax – Cmin) / Cmax)…

  • บทความ

    如何测量金属漆或珠光漆部件表面较小或弯曲的颜色

          对于汽车制造商来说,确保所有相关部件的颜色一致性不仅是对其产品质量的一种声明,而且对他们的品牌也很重要。测量汽车颜色是一个具有挑战性的过程。其中一个挑战就是部件表面较小或弯曲的颜色。 在测量部件表面较小或弯曲(鲨鱼鳍天线,倒车雷达和车把手)的颜色时,它们的小型表面或曲率让普通测色计不能完全的覆盖测量面积。这引起了间隙的问题,从而导致不可靠的颜色数据。若要克服这个问题,客户需要采用测量口径较小的测色计。 柯尼卡美能达多角度分光测色计CM-M6专为金属、珠光漆以及塑料的色彩测量而设计。此款仪器不仅拥有6 mm的测量口径,它还能一次进行六个角度测量 (-15°,15°,25°,45°,75°和110°) ,最适合测量金属漆或珠光漆部件表面较小或弯曲的颜色。 采用了“镜面对称双光路系统”,即使在测量期间多角度分光测色计CM-M6轻微倾斜,此系统也可确保较高的测量精准度和稳定地测量半径R=300以上的曲面。 若想要解更多有关多角度分光测色计CM-M6的信息,请观看此视频。 有兴趣想了解更多关于汽车颜色与光评估管理和解决方案,请点击这网页。 有关于颜色测量和评估管理的问题吗?需要测量汽车颜色或是搜找合适你们应用的测色计的协助吗?请与我们的色彩专家联系 进行免费咨询和推荐。 Email: [email protected] Tel. 02-361-3730 Line : https://lin.ee/6cpcTtD

  • บทความ

    การวัดสีของเสื้อผ้าสะท้อนแสง

    การวัดสีของเสื้อผ้าสะท้อนแสง          เสื้อผ้าที่มีการสะท้อนแสง (HVC) หรือเครื่องแต่งกายด้านความปลอดภัยต่างๆที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน นิยมใช้เป็นเนื้อผ้าที่มีความสะท้อนแสงเพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่มักพบเห็นเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุฉุกเฉิน  ตั้งแต่เสื้อยืดไปจนถึงเสื้อแจ็คเก็ตและกางเกงขายาวประกอบด้วยวัสดุเรืองแสงและวัสดุสะท้อนแสงเป็นหลัก วัสดุเหล่านี้มีคุณสมบัติสะท้อนแสงสูง ซึ่งสังเกตเห็นได้ในทุกสภาพแวดล้อม         HVC จะต้องได้รับการรับรองและผ่านการรับรองก่อนที่จะใช้งานและมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ HVC เป็น  มาตรฐาน ISO 20471 มาตรฐานนี้แบ่งออกเป็นสามคลาสการออกแบบขั้นพื้นฐานโดยสรุปข้อกำหนดขั้นต่ำด้านประสิทธิภาพและวิธีการทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่ามีการมองเห็นที่ชัดเจน ข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพครอบคลุมพื้นที่ เช่น สีและตำแหน่งของวัสดุ            วัสดุพื้นหลังของ HVC ต้องเป็นสีเหลืองเขียวส้มแดงส้มหรือแดง ต้องตรวจสอบสีและความส่องสว่างทั้งก่อนและหลังการซักอย่างน้อย 5 รอบ พารามิเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบ HVC เป็น  L * a * b * ,  yxy  พิกัดสีและปัจจัยที่มีความสว่าง          เพื่อให้สีของ HVC มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพสีตามที่ระบุไว้ใน ISO 20471…

  • บทความ

    การประเมินคุณสมบัติสีของแสง

    แสงสว่างมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานจำนวนมาก แสงที่เหมาะสมจะช่วยให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกหรือให้การมองเห็นที่เหมาะสมสำหรับศัลยแพทย์ในห้องผ่าตัด การจัดแสงที่ดีมักเกี่ยวข้องกับความสว่างและความสว่างสม่ำเสมอ แต่นอกเหนือจากการประเมินการส่องสว่างของแหล่งกำเนิดแสงแล้วการประเมินอุณหภูมิสี (CCT) และคุณสมบัติการแสดงสีก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน อุณหภูมิสี ในอุตสาหกรรมแสงสว่างCCTจะระบุลักษณะสี / คุณลักษณะของแหล่งกำเนิดแสง แสดงในหน่วยของอุณหภูมิสัมบูรณ์ที่เรียกว่าเคลวิน (K) แสงจะปรากฏเป็นสีน้ำเงินหาก CCT มีค่ามากกว่า 4000k และสิ่งที่อยู่ด้านล่างจะมีลักษณะเป็นสีแดง ดัชนีการแสดงผลสี (CRI) CRIได้รับการพัฒนาโดย International Commission on Illumination (CIE) ในปี 1965 และแก้ไขในปี 1974 โดยจะวัดความสามารถของแหล่งกำเนิดแสงในการแสดงสีของวัตถุอย่างแม่นยำโดยเปรียบเทียบกับแหล่งอ้างอิงที่รู้จักกันทั่วไป เช่น แสงกลางวัน CRI ประกอบด้วยสีมาตรฐาน 8 สี (R1 ถึง R8) และสีพิเศษ 7 สี (R9 ถึง R15) CRI (Ra) โดยเฉลี่ยคำนวณจากค่าเฉลี่ยของสีมาตรฐานทั้งหมด (R1 ถึง R8) และค่าที่สูงกว่าจะแสดงถึงคุณภาพของแสงที่ดีกว่าโดย 100 เป็นค่าสูงสุด มาถึงตรงนี้สิ่งที่จะไม่กล่าวถึงคงจะไม่ได้ นั่นคือ เครื่องที่สามารถวัดค่าเหล่านี้ได้ ทางเราจะแนะนำเป็นเครื่อง Konica Minolta…

  • บทความ

    เกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของจอแสดงผลในปัจจุบัน

    ทุกวันนี้เราแทบจะนึกถึงยุคที่เรายังไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายเหมือนเช่นทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคมินเลเนี่ยมหรือวัยรุ่นในปัจจุบันที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือใช้กันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปัจจุบันนี้มีคนจำนวนไม่น้อยกว่า 2.71 พันล้านคนที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอย่างน้อย 1 เครื่อง              ทุกวันนี้จอแสดงผลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก มีการนำไปใช้ในหลายสถานที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทั้งสภาพแสงและมุมมองก็แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือในห้องนอนที่มืดสนิท, การใช้ระบบนำทางบนท้องถนนที่สภาพแสงดวงอาทิตย์จ้า, การใช้จอคอมพิวเตอร์ภายใต้หลอดไฟในสำนักงาน หรือรวมไปจนถึงการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือขณะที่อยู่ใต้แสงกระพริบของป้ายโฆษณาใจกลางเมือง     ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์แสดงผลเหล่านี้มีคุณสมบัติตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้ในทุกๆสภาพการใช้งานในปัจจุบัน โดยการตรวจสอบด้วยสายตาคือส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานของผู้ผลิตจอภาพ (Display panel makers) และผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงผล (Device manufacturers) ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติพื้นฐานและการปรับจอแสดงผลให้สอดคล้องกับสายตาของผู้บริโภค  ตัวอย่างการใช้จอแสดงผลของผู้คนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามวิธีการทดสอบในขั้นตอนของการออกแบบและการผลิตได้ควบคุมปัจจัยสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น การวัดในห้องมืดควบคุมไม่ให้มีแสงจากภายนอก, กำหนดระยะห่างในการทดสอบ, กำหนดมุมที่ตรวจสอบแสงของจอ หรือการโฟกัส เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการบ่งบอกถึงความสว่าง, สีของจอ หรือคุณสมบัติอื่นๆได้สอดคล้องกับสายตา แค่ในสภาพการใช้งานจริงๆแล้วผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนหรือจอแสดงผลเคลื่อนที่อื่นๆไม่ได้ใช้งานภายใต้สภาวะที่กำหนดเช่นเดียวกับบผู้ผลิตได้       DXOMARK บริษัทสัญชาติฝรั่งเศลผู้ให้บริการทางด้านวิศวกรรม เป็นบริษัทที่ให้ความสนใจถึงเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลภายใต้การทดสอบในสภาวะการใช้งานจริง DXOMARK เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคและผู้ผลิตมาอย่างยาวนานในฐานะผู้ให้ข้อมูลการจัดอันดับและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลรุ่นใหม่ในท้องตลาด โดยใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ตามการใช้งานจริง การประเมินคุณภาพของอุปกรณ์แสดงผลจากประสบการณ์ผู้ใช้งาน       เมื่อไม่นานนี้ DXOMARK ได้พัฒนาระบบการทดสอบ Display Bench…