• บทความ

    จอแสดงผลรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าจำนวนล้อรถยนต์

                  จอแสดงผลในรถยนต์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในรถยนต์รุ่นใหม่เทรนของการนำเทคโนโลยีการดูข้อมูลทางจอแสดงผลของผู้ขับขี่และผู้โดยสารนี้กำลังเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในความเป็นจริงแล้วนั้นมีการคาดการณ์ว่าตลาดของหน้าจอแสดงผลในรถยนต์จะเติบโตขึ้น 19% ต่อปี (CAGR) อย่างไรก็ตามภายในปี 20261 จะมีการเพิ่มขึ้นถึง 65% ของจอแสดงผลรถยนต์ในระหว่างปี 2016 ถึง 2021 ภาพด้านซ้าย : แบบจำลองหน้าจอแสดงผลต่างๆภายในห้องโดยสารรถยนต์ร่วมกับ ADAS (ระบบช่วยเหลือประมวลผลวิสัยทัศน์รอบตัวรถให้ผู้ขับขี่มีความปลอดภัยมากขึ้น) รวมไปถึงหน้าจอแสดงผลบนพวงมาลัย, จอแสดงผลบนกระจกหน้า (HUD) และกระจกมองข้างรถที่มีระบบการตรวจจับด้วยกล้อง (camera monitoring system: CMS) จอแสดงผลกำลังมีการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ภายในส่วนต่างๆของรถยนต์ ดังเช่น แผงหน้าปัด/แผงควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในห้องโดยสาร จอแสดงผลบนกระจกหน้ารถยนต์ จอแสดงผลบนพวงมาลัยขับเคลื่อน จอแสดงผลระบบแผงควบคุม, ข้อมูลและความบันเทิงบนคอนโซลกลาง ประกอบด้วย ข้อมูลการนำทาง การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร ระบบควบคุมเสียง/วิทยุ ฟังก์ชันอื่นๆของรถยนต์ เช่น กล้องแสดงภาพในขณะที่รถถอยหลัง กระจกมองด้านหลังและด้านข้างรถที่มีระบบการตรวจจับด้วยกล้อง (CMS) NOTE: ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกาจะมาพร้อมกับกล้องตรวจจับของกระจกมองด้านหลัง และสามารถหาซื้อและติดตั้งได้ในรถยนต์รุ่นที่ออกมาก่อน จอแสดงความบันเทิงด้านหลังเบาะสำหรับผู้โดยสารด้านหลัง จอแสดงผลระบบแผงควบคุมบนคอนโซลกลางของ Porsche 916 Spider (ซ้าย) และ Tesla…

  • บทความ

    วิธีการวัดสีของไอศกรีม

    ไอศกรีมเป็นของหวานทำมาจากนม, ครีม และเป็นที่ชื่นชอบของคนส่วนใหญ่ทั่วโลกซึ่งมีรสชาติที่หลากหลายและการส่วนผสมต่างๆเช่น  ผลไม้, โกโก้ และสี ซึ่งมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคดังนั้นการวัดสีและการควบคุมสีของไอศกรีมจึงเป็นสิ่งจำเป็น การนำวิธีการจัดการสีไปใช้ตลอดกระบวนการผลิตไอศกรีมช่วยให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ สีของส่วนผสมที่มีอิทธิพลสีโดยรวมของไอศครีม ดังนั้นการตรวจสอบว่าค่า L * a * b * ค่าอยู่ในช่วงที่ต้องการช่วยลดความแปรปรวนของสี เนื่องจากไอศกรีมมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพอย่างต่อเนื่องเมื่อละลายจึงแนะนำให้วัดสีของไอศกรีมในสถานะของเหลวเพื่อให้ได้การประเมินที่แม่นยำและสม่ำเสมอ Konica Minolta Spectrophotometer CM-5  สามารถทำการวัดได้ทั้งการสะท้อนแสงและการส่งผ่านซึ่งสามารถวัดตัวอย่างได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมที่เป็นของแข็งมหรือส่วนผสมของไอศครีมเหลว อุปกรณ์เสริมที่หลากหลายเพื่อสามารถเลือกใช้ให้หมาะกับตัวอย่าง หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การควบคุมเฉดสีในเครื่องสำอางกลุ่มครีมรองพื้น

    ในตลาดเครื่องสำอางในปัจจุบันความต้องการความหลากหลายเฉดสีพื้นฐานเป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากโทนสีผิวของกลุ่มผู้บริโภคมีหลากหลายและเพื่อรองรับโทนสีผิวทุกประเภท  สำหรับผู้บริโภคเมื่อมีเฉดสีใช้ได้กับโทนสีผิวแล้วนั้น กลุ่มผู้บริโภคมักจะใช้โทนสีเดิมของสินค้าแบรนด์นั้น สำหรับผู้ผลิตจึงมีเฉดสีที่สามารถใช้กับโทนสีผิวที่หลากหลายเหล่านี้ในการผลิตการควบคุมเฉดสีและความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์จึงเป็นเครื่องที่ความจำเป็น เม็ดสีเช่นไททาเนียมไดออกไซด์และซิงค์ออกไซด์เป็นส่วนผสมหลักที่ให้สีของรองพื้น ยิ่งปริมาณเม็ดสีที่ใช้มากขึ้นเท่าไหร่เฉดสีรองพื้นก็จะเข้มขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมอื่นๆเพิ่มเติม แม้กระทั่งสารป้องกันรังสียูวีก็สามารถมีอิทธิพลต่อสี การวัดสีของครีมรองพื้นไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของครีม, แป้งรองพื้นอัดแข็ง/ผง หรืออิมัลชันต้องใช้วิธีการวัดที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้ได้ข้อมูลสีที่เชื่อถือได้  การวัดในรูปแบบผง วัดได้ดีที่สุดโดยใช้วิธีการสะท้อนแสง ในขณะที่ของเหลวขึ้นอยู่กับระดับความโปร่งใสนั้นวัดได้ดีที่สุดโดยใช้วิธีการส่งผ่านหรือการสะท้อนแสง เนื่องจากความแตกต่างระหว่างเฉดสีอาจมีความละเอียดอ่อนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรองพื้นที่มีเฉดสีที่หลากหลายการสร้างขอบเขตของเฉดสีจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรับรองความถูกต้องและความสม่ำเสมอของเฉดสี Konica Minolta Spectrophotometer CM-5สามารถในการวัดทั้งการสะท้อนแสงและการส่งผ่านซึ่งเป็นโซลูชันที่คุ้มค่ามีอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อคลอบคลุมตัวอย่างที่หลากหลายรูปแบบ หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง หรือสาธิตการใช้งานเครื่องวัดสี Spectrophotometer CM-5 ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การวัดสีของสีย้อมผม

      ปัจจุบันการย้อมผมได้กลายเป็นเรื่องที่ทำกันเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสีตามแฟชั่นหรือต้องการปกปิดผมขาวและผมเทา ผลิตภัณฑ์สีย้อมผมทั้งแบบถาวรหรือแบบชั่วคราวนั้นมีหลายเฉดสี มีผลการวิจัยที่แพร่หลายที่เกี่ยวกับการรวมกันของสารเคมีหลายประเภท    สำหรับผู้ผลิตสีย้อมผมต้องทำการทดสอบอย่างเข้มงวดเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ แต่ยังมันใจได้ว่ามันจะผลิตสีย้อมผมที่ถูกต้องและความมันเงาได้ตามที่ต้องการในระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากการประเมินสีย้อมผมด้วยสายตา เพื่อประสิทธิภาพของสีและความคงทนของสีแล้ว การใช้เครื่องวัดสีสามารถให้ข้อมูลสีที่ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตระบุความแตกต่างของเฉดสีได้ คำแนะนำในการวัดสีของสีย้อมผม             มัดผมเป็นกระจุกเพื่อสร้างความหนาให้มีขนาดใหญ่พอที่จะสามารถครอบคลุมหัววัดของเครื่องวัดสีได้ใช้แรงที่สม่ำเสมอโดยใช้แผ่นกระเบื้องสีขาวสำหรับการวัดแต่ละครั้งปัญหาที่ผู้ผลิตต้องเผชิญเป็นประจำคือความยากลำบากในการวัดสีย้อมผมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกเครื่องมือวัดสีที่เหมาะสมเช่น Spectrophotometer CM-5 และ Spectrophotometer CM-700d โดยใช้จิ๊กจับชิ้นงานทำให้สามารถวัดได้ง่ายขึ้นทำให้การวัดสีของสีย้อมผมและการประเมินความคงทนของสีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีของเราและให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดค่าสีแบบ SCIและSCE

               ลักษณะของพื้นผิวของตัวอย่างที่วัดมีผลต่อการวัดค่าสีของวัตถุ วัตถุที่มีผิวมันวาว (high-gloss surface) เราจะมองเห็นสีมีความอิ่มตัวมากกว่าตัวอย่างที่มีผิวมันวาวน้อยกว่า (non-glossy) ตัวอย่างที่มีผิวมันเงาน้อยเราจะมองเห็นสีของวัตถุชิ้นนั้นเป็นสีทึมๆหรือดูไม่อิ่มตัว            Specular Light คือแสงที่มุมตกกระทบเท่ากับแสงที่มุมสะท้อน คล้ายกับการเด้งกลับของลูกบอลที่กระทบกับกำแพง ซึ่งจะพบมากในวัตถุที่มีพื้นผิวมันวาวและพื้นเรียบและแสงที่กระจายออกจากวัตถุทุกทิศทาง เราจะเรียกแสงนั้นว่า Diffuse Light จะเกิดขึ้นมากในวัตถุที่เป็นพื้นผิวหยาบ (ไม่มันวาว) และพื้นไม่เรียบ                 การวัดสีที่ต้องการเฉพาะเนื้อสีของวัตถุ ไม่สนใจพื้นผิวว่าจะมันวาวหรือผิวหยาบ แนะนำให้ใช้โหมดการวัดสีแบบ SCI (Specular Component Included) ซึ่งการวัดโหมดสี จะเป็นการวัดสีที่รวมแสงทั้ง 2 ลักษณะ (Specular Light และ Diffuse Light)  เป็นวิธีวัดสีที่ใช้ในการกระบวนการ Color matching และควบคุมคุณภาพของสี การวัดสีจะรวมแสงสะท้อนสเปกคูลาร์เมื่อช่องดักแสงปิด เซ็นเซอร์จะรับทั้งค่าแสงกระเจิงและแสงสเปกคูลาร์ SCI เหมาะกับการแยกแยะส่วนประกอบของสีในครั้งแรกก่อนที่จะเริ่มการผลิต  …

  • บทความ

    ปรากฏการณ์Metamerismในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

    ปรากฏการณ์  Metamerism  คือ ปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเราเห็นสีของวัตถุ 2 ชิ้น เหมือนกันภายใต้แหล่งกำเนิดแสงเดียวกัน แต่สีของวัตถุทั้ง 2 ชิ้นนั้นกลับแตกต่างกัน เมื่อเปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงไปเป็นอีกแหล่งกำเนิดแสงหนึ่ง ซึ่งการเกิดปรากฏการณ์นี้ สร้างความยากสำหรับการควบคุมคุณภาพสีของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยสาเหตุเกิดจากการเลือกใช้เม็ดสี (pigment) สีย้อม (dyestuff) หรือวัตถุดิบ (material) ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้แม่สีให้เหมือนเดิมทุกครั้งสำหรับการผสมสูตรสีเพื่อหลีกเลี่ยงปรากฎการณ์ Metamerism นั้น แทบจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากลักษณะของวัตถุที่ต่างกัน เช่น พื้นผิวของวัตถุที่เป็นกระดาษ , พื้นผิวพลาสติก, พื้นผิวชุบสีหรือพ่นสี การกำหนดกระบวนการกำหนดสูตรสี จึงเป็นส่วนที่จะช่วยให้เกิดปรากฎการณ์ Metamerism น้อยที่สุด เครื่องมือวัดสีแบบ Spetrophotometer ซึ่งสามารถให้ค่าสเปกตรัมของการสะท้อนค่าสี สามารถช่วยในการบ่งบอกและเปรียบเทียบปรากฎการณ์ Metamerism ได้ เมื่อเส้นโค้งของสเปกตรัมของวัตถุทั้งสองชนิดเข้าใกล้กัน วัตถุทั้งสองชนิดนั้นจะถูกพิจารณาว่าเกิดปรากฎการณ์ Metamerism และเมื่อเชื่อมต่อเครื่องมือกับ Color QC Software Metamerism Index (MI) จะถูกคำนวณออกมาเป็นดัชนีความแตกต่างระหว่างวัตถุสองชนิด เพื่อระบุโอกาสในการเกิด Metamerism สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งานเครื่องแบบ Spetrophotometer และ Color QC Software ได้ที่ [email protected] เบอร์…

  • บทความ

    การวัดสีภายนอกรถยนต์สำหรับบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กและมีผิวโค้ง

    สำหรับผู้ผลิตยานยนต์การผลิตสีของตัวรถให้มีความสม่ำเสมอและใกล้เคียงกันในบริเวณพื้นที่ของชิ้นงานที่อยู่ติดกันไม่เพียงแต่เป็นการการันตีคุณภาพของรถเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงคุณภาพของแบรนด์และความน่าเชื่อถือของรถยนต์ยี่ห้อนั้นด้วยซึ่งความยากหนึ่งของกระบวนการผลิตคือการวัดสีสำหรับชิ้นงานส่วนที่เล็กและโค้ง เมื่อต้องการวัดสีของชิ้นงานที่มีพื้นที่ขนาดเล็กหรือมีผิวโค้ง ดังเช่น เสาอากาศ กระจกข้าง และมือจับประตู ลักษณะพื้นผิวโค้งของตัวชิ้นงานทำให้เกิดความยากต่อการจัดวางเครื่องมือสำหรับการวัดให้เหมาะสม เกิดเป็นช่องว่างขนาดเล็กที่ไม่แนบสนิทกับชิ้นงาน ส่งผลให้ค่าสีที่วัดได้มีความไม่น่าเชื่อถือและไม่เที่ยงตรง ดังนั้น เครื่องมือวัดที่มีพื้นที่สำหรับการวัดขนาดเล็ก จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก Spectrophotometer CM-M6 เป็นเครื่องมือวัดสีที่มีพื้นที่การวัดเพียง 6 mm ง่ายต่อการวัดสีเมทัลลิก ให้ค่าการวัดสีทั้งหมด 6 มุม ประกอบไปด้วยมุม -15 °, 15 °, 25 °, 45 °, 75 °และ 110 ° ครอบคลุมการวัดสีที่มีลักษณะของสีที่เปลี่ยนไปตามมุมที่สนใจ รวมทั้งครอบคลุมการวัดชิ้นงานสีเมทัลลิกที่มีขนาดเล็กและพื้นผิวโค้งอีกด้วย นอกจากนี้  Spectrophotometer CM-M6 ยังถูกออกแบบมาพร้อมระบบที่เรียกว่า double-path โดยสามารถให้มุมของแหล่งกำเนิดแสงต่อมุมมองของเครื่องมือแบบทั้ง 2 ด้าน ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ การวัดสีของชิ้นงานที่มีลักษณะโค้งแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น (r > 300) สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมสาธิตการใช้งานเครื่อง Spectrophotometer CM-M6 ได้ที่  [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การวัดสารเติมแต่งสีเครื่องสำอาง

    สารเติมแต่งสีมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดเฉดสีใหม่ๆของเครื่องสำอางมากมายในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางส่วนใหญ่ผลิตขึ้นโดยใช้สารเติมแต่งสีที่หลากหลายเนื่องจากเฉดสีที่หลากหลายของสารเติมแต่งสีมีความใกล้เคียงในแต่ละชุดการใช้สารเติมแต่งสีที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้ผลิตเครื่องสำอางและนักเคมีสามารถสร้างเฉดสีที่ต้องการ และได้สีที่สม่ำเสมอ เช่นนั้นแล้ว เครื่องวัดสีจึงมีประโยชน์ในการกำหนดอัตราส่วน สารเติมแต่งสีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสามารถใช้เป็น เม็ดสี, สีย้อม, หรือส่วนผสมของทั้งสองแบบสีย้อมสามารถละลายน้ำได้และให้สีด้วยการดูดซับแสงเม็ดสีมักจะไม่ละลายน้ำและเปลี่ยนสีได้ด้วยการดูดซับและกระจายแสง พื้นผิวของสารเติมแต่งเหล่านี้มีหลายรูปแบบ เช่น ผง, เม็ด หรือของเหลว สำหรับแต่ละรูปแบบจำเป็นต้องมีโหมดการวัดที่เป็นโหมดเฉพาะไม่ว่าจะเป็นการวัดแบบส่องผ่าน (transmittance) หรือการวัดแบบสะท้อน (reflectance) เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลสีที่ได้มีความถูกต้องและสามารถวัดซ้ำได้ ครื่องวัดสี Konica Minolta Spectrophotometer รุ่น CM-5  สามารถวัดได้ทั้ง 2 โหมด คือ การวัดแบบสะท้อน (reflectance) และการวัดแบบส่องผ่าน (transmittance) ซึ่งให้ความคุ้มค่าในการแก้ปัญหาเรื่องสีสำหรับผู้ผลิตเครื่องสำอางและนักเคมี ดาวน์โหลดคู่มือของเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นฐานของการวัดสี สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งานเครื่องวัดสี Konica Minolta Spectrophotometer รุ่น CM-5 ได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    พื้นผิวของภาพเปรียบเทียบกับคุณภาพของการสะท้อน

    พื้นผิวของภาพ(DOI) และ คุณภาพของการสะท้อน(RIQ) เป็นพารามิเตอร์ที่ใช้สำหรับวัดพื้นผิวที่มีความเงาสูง,การเคลือบผิวหรือพื้นผิวโครเมี่ยม  ซึ่งค่า DOI 100 หมายถึง การสะท้อนภาพที่สมบูรณ์แบบและค่าลดลงด้วยเอฟเฟกต์เปลือกส้ม, ความขุ่น (รอยขนแมว,รอยขีดข่วน, และฝุ่นละออง) บนพื้นผิวพารามิเตอร์ทั้งสองคำนวณปริมาณความเบี่ยงเบนของการกระเจิงแสงสะท้อนที่มีแสงกระจัดกระจายมากขึ้นจะทำให้ภาพที่สะท้อนออกมาเบลอ DOI เป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อประเมินพื้นผิว เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการเคลือบผิวและค่า DOI มีความไวต่อการตรวจจับเปลือกส้ม โดยสามารถตรวจสอบผิวเปลือกส้มที่มี DOI สูงได้ RIQ มีความละเอียดสูงสำหรับช่วงกว้างของพื้นผิวมันวาวต่ำถึงสูง ซึ่งเครื่องสามารถแยกแยะแสง specular หรือ diffuse ได้เสมือนกับสายตาของมนุษย์ ตัวอย่างด้านบนเปลือกส้มมีค่า DOI เท่ากับ 77.5 (คุณภาพของภาพดี) แต่ RIQ แสดงให้เห็นเพียง 65.1 (สูงกว่าคุณภาพของภาพโดยเฉลี่ย) ตัวอย่างด้านบนเปลือกส้มมีค่า DOI เท่ากับ 77.5 (คุณภาพของภาพดี) แต่ RIQ แสดงให้เห็นเพียง 65.1 (สูงกว่าคุณภาพของภาพโดยเฉลี่ย) สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งาน ได้ที่ [email protected]  เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    ค่าความต่างระหว่างตัวเครื่อง(Inter-Instrument Agreement)คืออะไร

           เคยสังเกตุไหม ? ว่าในสเปคของเครื่องวัดสีรุ่นใหม่ๆในปัจจุบัน จะมีค่า IIA หรือ ค่า Inter Instrument Agreement ซึ่งค่านี้เป็นค่าที่สำคัญมากๆ และจากการพูดคุยกับผู้เข้ามาติดต่อสอบถามหรือขอคำแนะนำ เราพบว่าหลายๆคำถาม เป็นขีดจำกัดของเครื่องวัดสีรุ่นนั้นๆ ซึ่งหลายๆคน มองข้ามความสำคัญของค่า IIA ไป  ค่า IIA มีประโยชน์อย่างไร ?          ค่า IIA หรือ ค่า Inter Instrument Agreement  คือค่าความแตกต่างระหว่างเครื่อง ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น หากคุณมีเครื่องวัดสีมากกว่า 1 เครื่อง แล้วต้องการนำค่าสีของแต่ละเครื่องมาเปรียบเทียบกัน แต่พบว่าค่าสีของแต่ละเครื่องนั้นไม่เท่ากัน แม้ว่าเครื่องวัดสีเหล่านั้นจะวัดค่าสีในหน่วยสีระบบเดียวกันและเป็นรุ่นเดียวกัน  นั่นเพราะค่าความแตกต่างระหว่างเครื่องของเครื่องวัดสีเหล่านั้น มีค่า IIA มาก ซึ่งในทางกลับกัน หากค่า IIA น้อย จะทำให้สามารถเปรียบเทียบค่าสีจากหลายๆเครื่องในรุ่นเดียวกันได้ ซึ่งค่าสีของเครื่องวัดสีเหล่านั้้นจะเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากกว่าเครื่องที่มีค่า IIA มาก (แต่ถึงอย่างไร คำว่ามากหรือน้อยของชิ้นงานแต่ละชิ้นมีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน การยอมรับค่าความแตกต่างของแต่ละคนหรือบริษัทย่อมต่างกัน) ในทางอุตสาหกรรม…