• บทความ

    วัดความเงาชิ้นงานที่มีขนาดเล็กหรือลักษณะโค้งได้อย่างไร

                     สำหรับชิ้นงานที่มีขนาดเล็กและทำให้เกิดช่องว่างเมื่อวัดชิ้นงานตัวอย่างที่มีลักษณะโค้ง  เครื่องวัดความเงาโดยทั่วไปจะถูกออกแบบสำหรับการวัดชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่และเรียบเท่านั้น ทำให้เมื่อนำมาวัดชิ้นงานที่มีลักษณะโค้งความเงาที่สะท้อนจากชิ้นงานจะไม่สะท้อนเข้าเซ็นเซอร์ได้ทั้งหมด เพื่อให้สามารถวัดความเงาของชิ้นงานที่มีขนาดเล็กและโค้งมากให้ได้ความเที่ยงตรงนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความเงาที่มีหัววัดขนาดเล็กและอีกหนึ่งสิ่งสำคัญเมื่อต้องการวัดเทียบค่าความเงาระหว่างชิ้นงานประเภทนี้คือเราจำเป็นต้องวัดเทียบชิ้นงานที่มีรูปล่างลักษณะเดียวกันโดยวัดเทียบค่าในตำแหน่งเดียวกัน                เมื่อต้องการวัดชิ้นงานที่มีขนาดเล็กหรือลักษณะโค้ง เครื่องวัดลักษณะพื้นผิวรุ่น Rhopoint IQ Flex 20 จะช่วยทำให้คุณสามารถวัดความเงาของชิ้นงานได้ค่าที่คงที่และแม่นยำด้วยหัววัดที่มีให้เลือกถึง 3 ขนาดคือ 6 มิลลิเมตร 4 มิลลิเมตร และ 2 มิลลิเมตร                Rhopoint IQ Flex 20 ไม่เพียงแต่จะบอกค่าความเงาของชิ้นงานแต่ยังสามารถบอกถึงคุณภาพของพื้นผิวของชิ้นงานได้ สามารถบอกถึงความขุ่นของพื้นผิว (Haze) ความแตกต่างของภาพที่สะท้อนจากชิ้นงาน (DOI: Distinctness of image) และคุณภาพของภาพที่สะท้อนจากชิ้นงาน (RIQ: Reflected Image Quality) สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งานเครื่อง Rhopoint IQ Flex 20 ได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การวัดสีเครื่องดื่มประเภทโยเกิร์ตและนมเปรี้ยว

    สีเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากสำหรับผู้บริโภคในการบอกถึงคุณภาพของอาหาร โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มักใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ต่างๆเพื่อบอกถึงคุณภาพของสินค้าและความปลอดภัยจากการใช้สินค้านั้นๆ สำหรับผู้ผลิตเครื่องดื่มประเภทโยเกิร์ติและนมเปรี้ยวเองนั้นความสามารถในการผลิตเครื่องดื่มให้ได้สีที่สม่ำเสมอไม่แต่จะช่วยให้สินค้าดูมีคุณภาพแต่ยังเป็นการช่วยสร้างแบรนด์ของสินค้าไปในเวลาเดียวกัน ในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องวัดสีมักถูกนำมาใช้ในการวิเคาระห์และควบคุมสีให้ได้สีที่ต้องการและสม่ำเสมอโดยในช่วงระหว่างการพัฒนาสินค้าเองนั้นผู้ผลิตยังสามารถนำเครื่องวัดสีมาช่วยในขั้นตอนปรับแต่งสูตรต่างๆให้กับเครื่องดื่มประเภทโยเกิร์ติและนมเปรี้ยวได้ นอกจากนั้นเรายังสามารถใช้เครื่องวัดสีในการควบคุมสีในขั้นแต่ละขั้นตอนของการผลิตโดยเริ่มตั้งขั้นตอนการควบคุมสีของวัตถุดิบเช่นนมผงขาดมันเนย สีและกลิ่นต่างๆ ก่อนนำไปใช้ในการผลิต  ขั้นตอนการผสมวัตถุดิบรวมไปถึงขั้นตอนสุดท้ายในการตรวจวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์/สินค้า หน่วยวัดสีที่มักถูกนำมาใช้ในการควบคุมคุณภาพสีของเครื่องดื่มประเภทโยเกิร์ติและนมเปรี้ยวคือหน่วย CIE L*a*b* และ CIE L*C*h เครื่องวัดสีรุ่น CM-5  เป็นเครื่องวัดสีประเภทตั้งโต๊ะที่ใช้งานง่ายและมีอุปกรณ์เสริมต่างๆทำให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มประเภทโยเกิร์ติและนมเปรี้ยวสามารถควบคุมคุณภาพได้อย่างง่ายดาย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งานเครื่อง CM-5 ได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การดูแลรักษาเครื่องเบื้องต้นตอนที่ 2

    การเก็บรักษา (Note on Storage) เครื่องควรจัดเก็บที่ที่อุณหภูมิระหว่าง 0 ถึง 40 องศาเซลเซียส และที่ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 85% ห้ามเก็บเครื่องไว้ในสถานที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วหรือสถานที่ที่อาจเกิดการควบแน่น เพื่อความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น แนะนำให้ใช้สารดูดความชื้น เช่น silica gel และเก็บที่อุณหภูมิห้อง  ห้ามใช้งานใกล้อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก เช่น ลำโพง    เป็นต้น การทำความสะอาด (Note on Cleaning) เมื่อตัวเครื่องสกปรกให้เช็ดด้วยผ้าแห้ง ที่สะอาดและอ่อนนุ่ม เบา ๆ ห้ามใช้ตัวทำละลายเช่น thinner benzene  เมื่อแผ่น White calibration plate สกปรกให้เช็ดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์หรือผ้าแห้ง ที่สะอาดและอ่อนนุ่ม เบา ๆ ถ้าสิ่งสกปรกหลุดออกยากให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดเลนส์หรือ ethyl alcohol เช็ดด้วยผ้า จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง และเช็ดด้วยผ้าแห้งอีกครั้งหนึ่ง การส่งเครื่องมือไปทำการสอบเทียบ (Calibration) เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการใช้เครื่องมือ แนะนำให้ทำการสอบเทียบทุกวงรอบ 12 เดือนหรือทุกๆ 1 ปี ลูกค้าสามารถคำนวณรอบของการสอบเทียบได้จากการพบว่าเครื่องมีการเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานเมื่อทำการทวนสอบด้วยแผ่นมาตรฐานสีขาว เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือวัดที่จะนำไปใช้งานหรือใช้งานอยู่แล้วมีค่าที่แม่นยำและเชื่อถือได้อยู่ไม่ บริษัท…

  • บทความ

    การดูแลรักษาเครื่องเบื้องต้นตอนที่ 1

    การดูแลรักษาตัวเครื่อง (The Instrument) ไม่ควรทำตัวเครื่องตกกระแทกหรือสั่นสะเทือน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลงหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบอิเลคทรอนิกของเครื่อง ให้ระมัดระวัง ป้องกันสิ่งสกปรกทั้งก่อนทำการวัดและหลังทำการวัด ป้องกันการกระแทกอย่างรุนแรงกับส่วนหัววัด ส่วนหัววัดต้องถูกปิดด้วย Protective Cap เสมอเมื่อไม่ใช้งาน   การดูแลรักษาในขณะใช้วัด (Measurement) เมื่อใช้งานเครื่องเป็นเวลานาน ค่าที่วัดได้อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนของสภาวะแวดล้อมที่ใช้งาน ควรทำการสอบเทียบด้วยแผ่น  White Calibration Plate ทุก ๆ สองชั่วโมง เมื่อมีการใช้งานต่อเนื่องโดยไม่ต้องวัด target ซ้ำเพราะเครื่องจะทำการปรับค่าให้โดยอัตโนมัติ   และเมื่อทำการวัดอย่างต่อเนื่องควรใช้ AC adapter แทนการใช้ถ่าน alkaline การดูแลรักษา แผ่น White Calibration Plate แผ่น White Calibration Tile จะวางอยู่กลาง Plate ฉะนั้นเมื่อต้องการสอบเทียบให้ใช้พื้นที่บริเวณที่ใกล้ส่วนกลางของแผ่นมากที่สุด  ห้ามเกิดริ้วรอยขูดขีดสกปรก กับแผ่น White Calibration Plate โดยเด็ดขาด เมื่อไม่ใช้งาน ต้องปิดฝาครอบเสมอเพื่อป้องกันการกระทบถูกแสงโดยตรงซึ่งบริเวณที่ถูกแสงจะทำสีเปลี่ยนไป บริษัท Centasia เรามั่นใจในความสามารถของเราในการให้บริการ ส่งข้อความ เข้ามาสอบถามเราได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730…

  • บทความ

    ลักษณะเด่นของเครื่องวัดสีColorimetersและSpectrophotometer

    เครื่องคัลเลอร์ริมิเตอร์ (Color readers) ใช้เซ็นเซอร์ 3 คือ สีแดง, เขียว, และน้ำเงิน ที่มีความไวคล้ายกับที่ดวงตาของเรามองเห็นสี เพื่อวัดแสงที่สะท้อนหรือส่งผ่านของวัตถุ ส่วนใหญ่จะใช้ในการปรับองค์ประกอบสีหรือเปรียบเทียบสีกับตัวอย่างอ้างอิง(reference) หรือตัวอย่างมาตรฐาน (standard) ไม่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์สีที่ซับซ้อน เช่น ปรากฏการณ์  Metamerism เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometers)  ใช้ตัวเซ็นเซอร์วัดสีจำนวนมาก เพื่อวัดสีการสะท้อนแสงของสเปกตรัมในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็น (400 นาโนเมตร ถึง 700 นาโนเมตร) ซึ่งแต่ละตัวจะไวต่อความยาวคลื่นแตกต่างกันไป แปลงไปเป็นค่าสีระบบต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ถึงมีความแม่นยำมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง Color Readers  จึงทำให้มีราคาแพงกว่า เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับการตรวจสอบควบคุมคุณภาพของสี, การกำหนดสูตรสี, และการวิเคราะห์สีที่ซับซ้อน เช่น ปรากฏการณ์ Metamerism หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    วิธีการวัดสีของมะพร้าวขูด

    มะพร้าวขูด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเนื้อมะพร้าวสด เป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายของการทำอาหารเอเชีย ด้วยคุณสมบัติที่มีคุณค่าทางอาหาร ดังนั้นปัจจุบัน จึงมีการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เช่น โรยหน้าขนมเค็ก โรยหน้าอาหารบางชนิด เป็นต้น มะพร้าวขูด ผลิตโดยการอบแห้งเนื้อมะพร้าวที่ขูดออกมา แล้วนำมาบดเป็นเกล็ดหรือขูดเป็นชิ้น มะพร้าวที่ผ่านการอบแห้งมักจะถูกคัดเกรดตามแบบตัดแถบยาวและบางหรือแยกตามขนาดการขูดเนื้อมะพร้าว สีและลักษณะภายนอกของมะพร้าวขูด เป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพ มะพร้าวขูดที่มีคุณภาพที่ดีควรเป็นสีขาวและไม่มีการเปลี่ยนสี เช่น จุดสีเหลืองหรือจุดด่างดำปน การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเรื่องสีนั้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคล เนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแสงและขนาดตัวอย่าง ที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่เรารับรู้สี เครื่องมือวัดสีจึงเป็นช่วยในการตรวจสอบและทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว หน่วยพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปในการวัดคุณภาพสีของอาหารคือ CIE L * a * b *เพื่อใช้เป็นดัชนี  ในการกำหนดคุณภาพสีของผลิตภัณฑ์ การเตรียมตัวอย่างและเทคนิคการวัดสีมะพร้าวขูดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากตัวอย่างที่จะวัดมีลักษณะที่เป็นผง จึงควรเลือกใช้อุปกรณ์เสริมให้เหมาะสมกับตัวอย่างที่จะใช้วัด เช่น  petri dish หรือ cell เครื่องสเปคโตโฟโตมิเตอร์ รุ่น CM-5 สามารถช่วยให้คุณทำการวัดสีของมะพร้าวขูดได้ เมื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริม เช่น petri dishes และ cells ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาในการวัด เรียนรู้วิธีใช้เครื่องสเปคโตโฟโตมิเตอร์ รุ่น CM-5 ได้ที่นี่…

  • บทความ

    วิธีการเลือกเครื่องมือวัดสีที่เหมาะสม

    การจัดการสี มีความสำคัญในหลายๆด้านของการผลิต เช่น ยานยนต์, สีเคลือบและสี,พลาสติก, และอาหาร เครื่องมือวัดสีกลุ่มสเปกโตรโฟโตมิเตอร์(Spectrophotometers)และกลุ่มคัลเลอร์มิเตอร์(Colorimeters) ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อช่วยให้สามารถวัดความแตกต่างของสีได้อย่างแม่นยำขึ้น ในขณะที่ดวงตาของเราไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometers) และ เครื่องคัลเลอริมิเตอร์ (Colorimeters)       เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ มีเซ็นเซอร์หลายตัว, วัดสีสะท้อนแสงสเปกตรัมผ่านสเปกตรัมความยาวคลื่นที่มองเห็น (400 นาโนเมตร ถึง 700 นาโนเมตร) เครื่องมือเหล่านี้มีความถูกและแม่นยำสูง เหมาะสำหรับการผสมสูตรสี, การควบคุมคุณภาพสีและการวิเคราะห์สีที่มีความซับซ้อน      เครื่องคัลเลอริมิเตอร์ หรือ เครื่องวัดสี ใช้เซ็นเซอร์ 3 คือ สีแดง, เขียว, และน้ำเงิน ที่มีความไวคล้ายกับที่ดวงตาของเรามองเห็นสี เพื่อวัดแสงที่สะท้อนหรือส่งผ่านของวัตถุ ส่วนใหญ่จะใช้ในการปรับองค์ประกอบสีหรือเปรียบเทียบสีกับตัวอย่างอ้างอิง(reference) หรือตัวอย่างมาตรฐาน(standard) โหมดของการวัด  (Measurement Mode) เมื่อแสงกระทบวัตถุ โดยทั่วไปวัตถุสะท้อนและและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้  วัตถุแต่ละชนิดจะมีการดูดกลืนและสะท้อนแสงในสัดส่วนที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุที่ทำให้วัตถุมีสีที่แตกต่างกัน ตัวอย่างที่ต้องการวัด ไม่ว่าจะเป็นของแข็งหรือของเหลว จำเป็นต้องเลือกใช้โหมดการวัดให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลสีที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างที่เป็นของแข็ง ที่มีลักษณะที่แสงผ่านไม่ได้ จะเลือกใช้การวัดในโหมดการสะท้อนแสง (reflectance mode) ตัวอย่างที่เป็นของเหลว…

  • บทความ

    การตรวจสอบการเกิดเมทาเมอริซึม(Metamerism)ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์

    เมทาเมอริซึม เกิดขึ้นมื่อวัตถุสองชิ้นที่มีสีเหมือนกันอยู่ภายใต้แหล่งกำเนิดแสงเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันเมื่ออยู่ภายใต้แหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น เสื้อและกางเกงที่มีสีดำ มองเห็นสีคล้ายกันเมื่ออยู่ภายใต้แสงของร้านค้านั้น แต่จะมองเห็นเป็นน้ำเงินเข้มและสีเทาดำตามลำดับภายใต้แหล่งแสงดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์นี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเม็ดสี(Pigmenrs), วัตถุดิบต่างกัน และชนิดของสูตรผสม(formulation) จากการเกิดปรากฏการณ์เมทาเมอริซึม (Metamerism) การได้สีที่ถูกต้องและมีความสม่ำเสมอ เป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้ผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีการประกอบผลิตภัณฑ์โดยใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ จากซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกันซึ่งแต่ละที่จะมีสูตรสีของตัวเอง ส่งผลทำให้สีที่ได้จะไม่ตรงกัน ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขที่ไม่จำเป็นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการยอมรับของลูกค้าอีกด้วย เพื่อลดหรือป้องกันปัญหาเหล่านี้สิ่งสำคัญคือต้องประเมินสีของวัตถุ เพื่อตรวจสอบการเกิดเมทาเมอริซึม ดังนั้นการใช้เครื่องมือสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ แสดงการสะท้อนสเปกทรัลของแหล่งกำหนดแสงหลายแหล่ง ซึ่งจะเป็นช่วยในการจัดการกับปัญหาที่การเกิดเมทาเมอริซึม(Metamerism) ได้ สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ยังสามารถแสดงเส้นกราฟการสะท้อนแสงสเปกทรัลของตัวอย่างทั้งสอง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งาน ทราบได้เลยว่า สีวัตถุสองชนิดแตกต่างกันอย่างไร วัตถุนั้นเกิดปรากฏการณ์เมทาเมอริซึม(Metamerism)หรือไม่ โดยดูจากการที่ส่วนโค้งของกราฟตัดกันอย่างน้อย 3 ครั้ง Konica Minolta Sensing ขอนำเสนอเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ที่หลากหลาย มีทั้งแบบพกพาและแบบตั้งโต๊ะเพื่อตอบสนองความต้องการและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน และเมื่อใช้กับซอฟต์แวร์ควบคุมคุณภาพสี SpectraMagic NX ผู้ใช้จะสามารถดูดัชนีค่าเมทาเมอริซึม(metamerism) ค่า MI นั้นเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ว่าวัตถุนั้นกิดเมทาเมอริซึมหรือไม่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เมทาเมอริซึม(metamerism) หรือการเลือกเครื่องมือวัดสีสามารถเขียนข้อความถึงเราที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การควบคุมสีของกระเบื้องเซรามิก

    เซรามิกส์เป็นอโลหะที่เป็นของแข็ง ซึ่งผ่านกรรมวิธีขั้นตอน ที่อยู่ภายใต้อุณหภูมิสูงในเตาเผา เพื่อให้วัตถุนั้นหนักขึ้นหนาแน่นขึ้นและมีรูพรุนน้อย เหมาะสำหรับใช้ในบ้านและนอกอาคาร เมื่อพูดถึงการทำกระเบื้องเซรามิกกระบวนการโดยทั่วๆไป จะเกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุดิบ เช่น ดิน(clay),  ซิลิกา(silica), ควอตซ์(quartz), เฟลด์สปาร์(Feldespar), และเซอร์โคเนียม(zirconium) ก่อนการเริ่มต้นกระบวนการ คือการจัดหาวัตถุดิบ ดินที่ขุดขึ้นมาจากแหล่งกำเนิดธรรมชาติหรือเตรียมจากกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า ฟิวชัน (fusion)  เพื่อผลิตวัตถุดิบในงานชั้นสูง ที่ต้องการความบริสุทธิ์ และส่วนผสมที่เหมาะสม และขนาดของผงต้องเล็กละเอียด ในอุตสาหกรรมเซรามิกในปัจจุบันผู้ผลิตทำงานร่วมกับผู้จัดหาวัตถุดิบ เพื่อให้มั่นใจว่าได้วัตถุดิบที่ต้องการมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดก่อนที่จะใช้วัสดุ   เครื่องมือวัดสีจึงเป็นตัวช่วยที่สามารถประเมินคุณภาพของวัตถุดิบที่จัดหาได้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบของตัวอย่าง สำหรับการวิเคราะห์ทางกายภาพและการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ก่อนที่จะถูกส่งนำไปทำการขึ้นรูปเซรามิก การจำแนกสีมีความสำคัญเนื่องจากวัตถุดิบมีราคาแตกต่างกันไปตามสี ขอแนะนำให้ตรวจสอบและจัดเรียงประเภท ตามค่า L * และ b * ซึ่งแสดงถึงปริมาณของความสว่างและความเหลือง Konica Minolta Spectrophotometer CM-25d เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดเซรามิกตามค่า CIE L * a * b * โดยทั่วไปสำหรับเฟลด์สปาร์(Feldespar) ค่าความสว่างสูง (L*> 78) และ (b* ช่วง 4 ถึง 5) ถือว่าจัดเป็นวัสดุเกรด…

  • บทความ

    แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา

    การวัดสีด้วยเครื่องมือและการรับรู้ด้วยสายตานั้นควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่แนะนำเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลค่าสีในรูปแบบดิจิตอล สอดคล้องกับการรับรู้ด้วยสายตา 1. เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม  (Environmental Conditions) ระดับแสงสว่าง ควรอยู่ในช่วง 2,000 ถึง 4,000 ลักซ์ แสงสว่างของสิ่งแวดล้อม (แสงของห้อง) มีผลต่อแสงจากตู้ไฟเทียบสี 2. ผู้สังเกตการณ์ (Observer) การมองเห็นสีปกติ ผู้สังเกตการณ์ควรได้รับการทดสอบเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการทดสอบการมองเห็นสี แว่นสายตา ผู้สังเกตการณ์ไม่ควรสวมแว่นตา ที่มีเลนส์สี ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้สี เสื้อผ้า ผู้สังเกตการณ์ควรสวมเสื้อโทนสีเดียว (สีขาว, เทา, ดำ) เพื่อให้แสงที่สะท้อนออกจากเสื้อผ้าไม่มีผลต่อตัวอย่างระหว่างการทดสอบ 3. การเปรียบเทียบสี (Color Comparison) พื้นหลัง รักษาตู้ไฟเทียบสี ให้สะอาด ไม่มีวัตถุอื่นๆ วางไว้ นอกจากวัตถุที่จะทดสอบขนาดตัวอย่าง ใช้ขนาดตัวอย่าง ที่มีขนาดเท่ากัน• หลีกเลี่ยง ขนาดตัวอย่างที่มีขนาดเล็กจนเกินไป ตำแหน่งตัวอย่าง มีการจัดแนวด้านขอบให้ชนกันกับด้านขอบของตัวอย่างที่จะทดสอบ มีการวางในแนวระนาบเดียวกัน ตัวอย่างควรอยู่ที่ประมาณ 400 ถึง 600 มิลลิเมตร จากสายตาของผู้สังเกตการณ์ ควรสลับตัวอย่างในการวาง ที่ตำแหน่งต่างๆ เช่น ด้านซ้ายขวา…