ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 แนวทางของอุตสาหกรรมสำหรับการผลิตในอนาคตอันใกล้นี้จะใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เข้ามาช่วยในการผลิต นิยมเรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ อุตสาหกรรม 4.0 คือ การนำเทคโนโลยีดิจิตอลและอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการผลิตสินค้า ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสร้างสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแก่นของอุตสาหกรรม 4.0 คือ โรงงานอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในห่วงโซ่อุปทาน และชั้นการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตหรือเจ้าของแบรนด์รถยนต์มีโรงงานผลิตกระจายตัวอยู่ทั่วโลก แบรนด์รถยนต์ชั้นนำของโลกมีโรงงานมากกว่า 100 แห่งทั่วโลก การตรวจสอบสีของชิ้นส่วนรถยนต์ให้มีความสม่ำเสมอกันจึงเป็นสิ่งท้าทาย เพราะชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาจากหลายร้อย supply chain ดังนั้นการตกลงกันเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของสเปคสี จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยมาตรฐานและตัวอย่างจำนวนมากนั้น การที่จะได้สีที่ถูกต้องตรงตามที่ต้องการนั้น อาจทำให้เกิดความสับสันและยุ่งยาก ฉะนั้นเราจึงอยากแนะนำเรื่องการวัดสีให้แก่บริษัทผลิตยานยนต์เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 อุปกรณ์ตรวจจับการวิเคราะห์ข้อมูลและการประมวลผลแบบคลาวด์ (cloud) เป็นกุญแจสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อขับเคลื่อนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สี ความมันเงา และพื้นผิว คือพื้นฐานของการวัดสีที่ใช้เซนเซอร์ และด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ เราสามารถใช้เครื่องวัดสีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ที่มีค่า Inter-instrument agreement (IIA) สูง และเครื่องวัดความมันเงา (gloss meters) และระบบวัดลักษณะภายนอก (appearance) ทั้งหมดได้ เครื่องวัดสีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ Konica Minolta รุ่น…
-
-
アピアランスアナライザーRhopoint IQ-S プラスチックと塗板の測定事例
光沢度が同じなのに違って見える? プラスチックや塗板の品質管理用途で光沢計を活用し、日常的に製品の光沢・ツヤの品質が確認されています。 同じ光沢値でも実際のサンプルが目視では違って見えることがあります。 「プラスチックと塗板の測定事例」をご覧下さい。 同じ光沢値でも見た目の違うサンプル測定の事例をご確認頂けます。 Rhopoint IQ-Sを活用し、例えば反射Haze値等の値を管理することにより 光沢値のみの管理では検知できなかった「質感」を定量化することが可能です。 -製品情報- 5種類の外観品質特性と正反射プロファイルを同時に測定することが可能 Rhopoint(ローポイント)IQシリーズは、鏡面反射(正反射)方向に反射する光をフォトダイオードアレイを使用し、受光します。 各測定項目毎に反射ピークに対して、それぞれ既定の角度の受光量を読み取り測定値演算を行います。 光沢度 Gloss (20°/60°/85° 3角度)、反射ヘイズ Reflection Haze、像鮮明度(写像性)DOI、像鮮明度(写像性)指数 RIQ、 正反射ピーク値 Rspec、正反射プロファイルを同時に測定することが可能です。 無料デモンストレーションやご相談を希望の場合はクリック下さい。
-
การควบคุมสีในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
เครื่องสำอาง หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า การแต่งหน้า คือการใช้สารเคมีหรือสารประกอบที่สามารถนำมาจากแหล่งต่างๆ เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ของร่างกายมนุษย์โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวนมากมีหลากสีและหลายเฉดสี เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เครื่องสำอางสามารถแต่งสีผิวของตนหรือปรับปรุงรูปลักษณ์และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ถือเป็นความท้าทายสำหรับผู้ผลิตเครื่องสำอางเพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพสีของผลิตภัณฑ์ของตน จะให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของตนมากขึ้น การประเมินสีสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยทั่วไปจะมีการทดสอบในลักษณะของสีที่ปรากฏและในการประยุกต์ใช้ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไม่เพียงจะต้องดูดีในชั้นวางสินค้าเท่านั้น แต่ยังต้องดูดีเมื่อมีการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสีที่ปรากฏกับการใช้งาน ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันด้วยการประเมินสี ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยใช้เครื่องวัดสี Konica Minolta Spectrophotometer CM-5 ลักษณะของสีที่ปรากฏ เมื่อทำการทดสอบลักษณะสีที่ปรากฏ จะต้องมีขั้นตอนของการทดสอบตามมาตรฐานตามที่กำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าได้สีของผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ โดยใช้เครื่องวัดสี Spectrophotometer CM-5 ทำการวัดในขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงประเภทบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวด และวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ เช่น พลาสติก, แก้ว เป็นต้น สีของการใช้งาน สำหรับการทดสอบสีของการใช้งาน ต้องมีการดูเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์มีสีที่แสดงออกมาตรงตามมาตรฐานหรือไม่ มีการวิเคราะที่แม่นยำ เช่น ในสภาวะเดียวกัน โดยใช้วิธีเดียวกันในห้องปฏิบัติการเดียวกัน เครื่องมือชุดเดียวกันและผู้วิเคราะห์คนเดียวกัน โดยปกติจะวิเคราะห์เสร็จพร้อมๆ กัน สำหรับการทดสอบ ต้องมองถึงเรื่องความทึบแสงและกลมกลืนของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ข้อมูลที่วัดได้จะเป็นข้อมูลตัวอย่าง เพื่อใช้ข้อมูลในการศึกษาประสิทธิภาพและประเมินสีของผลิตภัณฑ์เพื่อการควบคุมคุณภาพ การวัดสี เครื่องวัดสี Konica Minolta Spectrophotometer รุ่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ CM-5 เป็นเครื่องวัดสีอเนกประสงค์ที่ใช้ในการวัดค่าสีและการประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ…
-
แสงสว่างของร้านค้ามีผลต่อผู้บริโภคอย่างไร
แสงสว่าง เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่เป็นตัวช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับร้านค้า ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค มีคำอธิบายที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญเคยกล่าวไว้ว่า ร้านค้าที่มีแสงสว่างและสีสันสดใสสามารถดึงดูดผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง เนื่องจากมีการใช้พลังงานสูงและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการศึกษาล่าสุด สำรวจพบว่าความสว่างของร้านไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค การศึกษาแรก พบว่า ในขณะที่ความสว่างของร้านค้ามีความสำคัญสำหรับผู้บริโภค ยังมีเรื่องของอุณหภูมิสี และ การให้แสงและเงา ก็มีความสำคัญเช่นกัน อุณหภูมิสีของแสงที่เหมาะสม สามารถดึงดูดลูกค้าไปยังบางพื้นที่ภายในร้านหรือแม้แต่ความแตกต่างเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังพบว่าแสงสว่างที่ส่องลงมาจากเพดานจะเห็นว่ามีผลดีต่อร้านค้า การศึกษาที่สอง วิเคราะห์ปฏิกิริยาของผู้คนโดยการติดตามการเคลื่อนไหวของตา ในการตั้งค่าแสงของร้านค้าต่างๆ พวกเขาค้นพบว่าแทนที่ผู้คนจะสนใจพื้นที่ที่มีแสงสว่างมากๆ ดวงตาของผู้คนกลับถูกดึงดูดไปยังพื้นที่ที่มีแสงที่ตัดกันมากกว่า นอกจากนี้แสงสีน้ำเงินยังดึงดูดความสนใจมากกว่าสีอื่น ๆ อีกด้วย เครื่องมือวัดแสงเช่น Konica Minolta Chromo Meter CL-200A และ Illuminance Spectrophotometer CL-500A สามารถช่วยประเมินอุณหภูมิสีและความสว่างของแสงชนิดต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย สามารถดูสินค้าของเครื่องมือวัดสีและวัดแสงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ ที่นี่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมส่งอีเมล์ถึงเราได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ
-
หน่วยสีพื้นฐานที่ควรรู้ ตอนที่ 2
หน่วยสีระบบ L*a*b* (L*a*b* color space) บางครั้งเรียกว่า CIELAB เป็นอีกระบบหนึ่งที่นิยมกันมากในการนำมาใช้วัดค่าสีและใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในหลายๆ วงการ โดยหน่วยสีนี้เป็นประเภทที่มีสเกลสม่ำเสมอ (Unifrom) ซึ่งได้ถูกกำหนดโดย CIE ในปี 1976 เพื่อแก้ปัญหาการแปลค่าสีที่เกิดขึ้นในระบบ Yxy เนื่องจากพบว่าระยะห่างระหว่าง x กับ y บนไดอะแกรมสีจะไม่สอดคล้องกับความแตกต่างของสีที่เกิดจากการมองเห็นจริง ในระบบสี L*a*b* นี้ ค่า L* จะหมายถึงความสว่าง ส่วน a* และ b* จะเป็นค่าสัมประสิทธิ์สี ดังแสดงในรูปที่ 1 ไดอะแกรมดังกล่าว ค่า a* และ b* จะบอกถึงทิศทางของสี ดังนี้ +a* หมายถึง อยู่ในทิศของสีแดง -a* หมายถึง อยู่ในทิศของสีเขียว +b* หมายถึง อยู่ในทิศของสีเหลือง –b* หมายถึง อยู่ในทิศของสีน้ำเงิน พื้นที่ตรงกลางจะไม่สามารถแยกสีได้ (achromatic) เมื่อค่า a* และ b* …
-
高級車樹脂部品の実測例
見る角度によって色合いが同じに見えたり、違って見える2つのサンプルを 光沢計と積分球 (拡散光)タイプの分光測色計で測定しました。 「高級車樹脂部品の実測例」をご覧下さい。 見る角度による色の差とその数値の違いについて、ご確認頂けます。 角度特性のあるサンプルの品質管理において、多角度で色の結果を確認できる マルチアングル分光測色計のメリットを感じて頂ける結果となりました。 コニカミノルタでは、6角度マルチアングルモデルの分光測色計CM-M6開発しました。 分光測色計CM-M6を活用し、メタリック・パール色を6角度で色管理することが可能です。 また、R=300までの曲面測定、重量1.1Kg と使いやすさ・高い操作性を追求したモデルです。 無料デモンストレーションやご相談を希望の場合はクリック下さい。
-
หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 1 : มาศึกษาเรื่องปริภูมิสีกันเถอะ(Color space)
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สีจะประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ คือ สีสัน (Hue) ความสว่าง (Lightness) ความอิ่มตัว (Saturation) ลักษณะเหล่านี้ถูกนำมาสร้างแบบจำลองสีหลังจากนั้นได้มีการคิดค้นหาวิธีการวัดสีในเชิงตัวเลขเพื่อให้คนสามารถสื่อสารเรื่องสีได้อย่างง่ายขึ้นและแม่นยำ โดยองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสีและแสง คือ The Commission International Del’ Eclairage (CIE) มีระบบที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุดอยู่ 2 ระบบคือ ระบบ Yxy ซึ่งเริ่มใช้ในปี ค.ศ.1931 คำนวณจากค่าไตรสติมูลลัส XYZ ตามมาตรฐานของ CIE ระบบ L*a*b* เริ่มนำมาใช้ในปี 1976 ซึ่งทำให้ความแตกต่างของสีมีระยะสัมพันธ์ใกล้กับความแตกต่างที่มองเห็นด้วยสายตามากขึ้น ปริภูมิ (Color Space) เหล่านี้ ถูกนำมาใช้ในสื่อสารในระบบสีของโลกอยู่ในปัจจุบัน ค่า L*เป็นค่าความสว่าง ซึ่งค่า L*สามารถมีค่ามากกว่า 100 ได้ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ภายในตัวอย่างมีส่วนประกอบที่สามารถสะท้อนแสงได้(สีเมทาลิค) ทำให้ค่า L เกิน 100 แต่กรณีนี้ไม่ค่อยพบในอุตสาหกรรมอาหาร ค่า a* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี …
-
メタリック・パール色の測定事例
見る角度や方向によって色の見た目が変化した経験はありませんか?例えば自動車の外装色ではメタリック・パール色が最近のトレンドですが、対象物を見る角度と方向によって、色の見た目が大きく変わる特徴があります。 「メタリック・パール色の測定事例 」をご覧下さい。見る角度による色の差とその数値の違いについて、ご確認頂けます。 コニカミノルタでは、6角度マルチアングルモデルの分光測色計CM-M6開発しました。 分光測色計CM-M6を活用し、メタリック・パール色を6角度で色管理することが可能です。 また、R=300までの曲面測定、重量1.1Kg と使いやすさ・高い操作性を追求したモデルです。 分光測色計CM-M6に関する詳細情報及びメタリック色管理に関する情報はこちらをクリックしてください。
-
วิธีวัดสีเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
สีและลักษณะที่ปรากฏจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ผู้บริโภคมักใช้เพื่อตรวจสอบความสดและคุณภาพของเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก สีของเนื้อสัตว์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยยกตัวอย่างเช่น พันธุกรรมของสัตว์ ,วิธีการรับประทานอาหาร จึงทำให้การประเมินค่าสี เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้สามารถประมวลค่าสีของเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง การประเมินค่าสีด้วยสายตา เป็นการดูค่าสีพื้นฐาน ของผู้บริโภค ที่ใช้ดูสีของเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก วิธีการนี้เพียงอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ เนื่องจากสายตามนุษย์เรา ไม่สามารถทำการประเมิณผลซ้ำๆในรูปแบบเดียวกันได้ในแต่ละวัน และได้รับอิทธิผลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นสภาพแสง , ขนาดของตัวอย่าง และความเมื่อยล้าของดวงตาเราเอง ทำให้การสื่อสารสีจึงเป็นเรื่องที่มีท้าทายความสามารถ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าในการประเมินค่าสีและมีการสื่อสารสีที่มีความถูกต้อง เครื่องมือวัดสีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ เครื่องวัดสี จะเป็นตัวช่วยให้สามารถวัดสีและประมวลผลสีของเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกได้ โดยอาจจะพิจารณาปริมาณไขมันในเนื้อแดงโดยการหาปริมาณของไขมันที่แทรกอยู่ในกล้ามเนื้อ ในส่วนของอุตสาหกรรมสัตว์ปีก จะการประเมินค่าสีของสีเหลืองของผิวหนัง เป็นต้น หน่วยพื้นฐานที่นิยมใช้ ให้ในอธิบายสีของอาหารคือ CIE L*a* b* เครื่องวัดสี Konica Minolta Chroma Meters CR-410 จะเป็นตัวช่วยที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบสีได้อย่างรวดเร็ว น้ำหนักเบา และกะทัดรัดพกพา เครื่องวัดสี CR-410 เหมาะสำหรับการใช้งานในสถานที่และการใช้งานในห้องปฏิบัติการ ส่งข้อความ เข้ามาสอบถามเราได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ
-
การวัดสีค่าความขาว
สำหรับในอุตสาหกรรมการบริการ สีขาวมักเป็นสีที่ถูกได้รับความนิยมใช้ ตัวอย่างเช่น ผ้าปูที่นอนและผ้าเช็ดตัว เนื่องจากสีของเนื้อผ้ามีความสัมพันธ์ที่บ่งบอกถึงความใหม่และความสะอาด ยังไม่มีมาตรฐานกำหนดค่าความขาวและระดับเฉดสีของความขาว ค่าดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวและการรับรู้ของสี แต่บ่อยครั้งที่สีของผ้าเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากการใช้งานและการสัมผัสกับสารเคมีในระหว่างกระบวนการซักล้าง ส่งผลทำให้เนื้อผ้ามีสีหมองลงหรืออมเหลือง ตัวอย่าง สีของผ้าที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน – สีของผ้าที่ผ่านการใช้งาน ดังนั้นหากไม่มีการประเมิณค่าความขาวของเนื้อผ้า มักจะทำให้ผ้าถูกทิ้งไปก่อนกำหนดที่จะหมดอายุการใช้งานและเป็นการเสียค่าใช้จ่ายโดยที่ไม่จำเป็น การประเมิณและจัดระดับความขาวนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น ความเมื่อยล้าของสายตาและสภาวะของแสงที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเรา เครื่องมือวัดสี Konica Minolta รุ่น CR-20 Color Reader มีความสามารถในการวัดค่าดัชนีความขาว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจในการวัดระดับค่าความขาวได้ หน่วยที่นิยมพื้นฐานใช้ในการวัดสี คือ CIE L * a * b * จะเป็นตัวช่วยให้ประเมินค่าสีที่ถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนี้ยังรวมถึงการวัดค่าความขาว ประเภทอาหารพวก แป้ง ข้าว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้อีกด้วย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมส่งอีเมล์ถึงเราได้ที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ