• บทความ

    การวัดสีถุงมือยาง ตอนที่ 2

    การควบคุมคุณภาพสีของถุงมือยาง คุณภาพของถุงมือยาง มักเกี่ยวข้องกับความสม่ำเสมอของสี  ดังนั้นจึงมีการให้ความสำคัญของการระบุสีของถุงมือยางแต่ละชนิดเพิ่มมากขึ้น   ส่งผลทำให้การดูเรื่องความสม่ำเสมอของสีสำหรับถุงมือยางมีความเข้มงวดมากขึ้น   ผู้ผลิตจำนวนมากในอุตสาหกรรม เช่น ทางด้านการแพทย์ และ ทางด้านอาหาร กำลังขยับไปสู่ ระบบการวัดค่าสีแบบตัวเลข โดยการใช้เครื่องมือวัดสี เพื่อให้แน่ใจว่าได้สีที่มีความสม่ำเสมอกัน การใช้เครื่องมือวัดสีจะเป็นตัวช่วยในการ ควบคุมค่าสีมาตรฐาน  เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตถุงมือยางได้สีที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการ   นอกจากนี้ยังช่วยลดความผิดพลาดในเรื่องสีของถุงมือยางและลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ไปโดยเปล่าประโยชน์    โดยส่วนโหญ่แล้วถุงมือยางไม่ได้เป็นสีทึบแสง   จึงแนะนำว่าให้พับถุงมือยางหลายทบก่อนการวัดสี  เพื่อให้แน่ใจว่าถุงมือยางทึบแสงแล้ว  สำหรับถุงมือยางที่มีลักษณะใสหรือขุ่น      แนะนำให้ใช้วัสดุรองเป็นพื้นสีขาว , กระเบื้องเซรามิคหรือแผ่น  Drawdown เป็นพื้นผิวที่นิยมใช้กันทั่วไป ค่า  Opacity  หรือ ค่า Opacity index   สามารถดูได้จากการสะท้อนการส่องสว่างของถุงมือยางบนพื้นผิวสีดำเทียบกับการสะท้อนการส่องสว่างของถุงมือยางบนพื้นผิวสีขาว  จะเห็นว่าถุงมือยางยิ่งมีลักษณะใสมากๆ ค่า  Opacity   ก็จะมีค่าน้อย เครื่องวัดสี  Konica Minolta  รุ่น  CR-20 หน่วยที่นิยมใช้ในการวัดสี คือ  CIE L*a*b*  และ   Yxy เป็นเครื่องวัดสีแบบพกพาและใช้งานง่าย  เหมาะสำหรับการวัดค่าสีทั้งในหน้างานและขั้นตอนการผลิตหรือถุงมือสำเร็จรูป  นอกจากนี้ยังสามารถแสดงค่า pass/fail  ได้ด้วย สามารถดู เกี่ยวกับสินค้าของบริษัทเซ็นเทเซีย เพิ่มเติมได้  ที่นี่…

  • บทความ

    การวัดสีถุงมือยาง ตอนที่ 1

    ถุงมือยางแบบใช้แล้วทิ้ง  ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม  เช่น  ด้านสุขภาพ  ด้านอาหาร  นอกจากนี้ยังใช้สำหรับป้องกันอันตรายส่วนบุคคลหรือการป้องกันการปนเปื้อน  ถุงมือยางแบบใช้แล้วทิ้งมักจะทำจากยางสังเคราะห์  เช่น ยางไนไตรล์ หรือ ไวนิล และน้ำยางธรรมชาติ ตามปกติแล้วสีของถุงมือยางแบบใช้แล้วทิ้งจะมีเฉพาะสีขาวหรือสีน้ำเงินเท่านั้น    แต่ในปัจจุบันมีการเพิ่มความสำคัญของการระบุสีของถุงมือยาง เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวบ่งบอกถึงการใช้งาน  จึงทำให้ถุงมือยางมีสีสันหลากหลายมากขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ซ้ำ โดยการใช้สีเป็นสัญญลักษณ์  เพื่อลดการปนเปื้อนของอาหารสด อาหารพร้อมปรุง หรืออาหารแต่ละประเภท ในอุตสาหกรรมอาหารนั้น ถุงมือยางสีจะช่วยลดการปนเปื้อนในอุตสหกรรมอาหารได้ (Cross-Contamination) ซึ่งมีสาเหตุมาการปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่เป็นอันตราย ในขณะที่สัมผัสอาหาร และในด้านอุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ ถุงมือยางสีมักจะเป็นตัวช่วยแยกความแตกต่างระหว่างถุงมือยางไนไตรล์และถุงมือยางธรรมชาติ  ในกระบวนการผลิตถุงมือยางสิ่งที่มีผลทำให้ถุงมือยางมีคุณภาพดี            มักเกี่ยวข้องกับความเหนียวและการควบคุมคุณภาพสี   การประเมินสีของถุงมือยางสีด้วยสายตาเป็นเรื่องยาก  เนื่องจากสายตามนุษย์มองเห็นและรับรู้แตกต่างกัน นอกจากนี้ปัจจัยต่างๆ เช่น สภาวะแวดล้อม แสง สี ในบริเวณโดยรอบ และขนาดของชิ้นงาน ก็มีผลต่อการมองเห็นของผู้ตรวจสอบ หน่วยที่นิยมใช้ในการวัดสี คือ CIE L*a*b*  เครื่องวัดสีสามารถช่วยประเมินค่าสีที่ถูกต้องและแม่นยำ ทำให้ได้ถุงมือยางที่มีสีสม่ำเสมอ ถุงมือยางส่วนใหญ่มีสีที่ไม่ทึบแสงเนื่องจากวัสดุหรือความหนา แนะนำให้พับถุงมือยางหลายทบก่อนการวัดสีเพื่อให้แน่ใจว่าถุงมือยางทึบแสงแล้ว สามารถดู เกี่ยวกับสินค้าของบริษัทเซ็นเทเซีย เพิ่มเติมได้  ที่นี่ สามารถดูบทความอื่นๆ เกี่ยวกับของเครื่องวัดสีได้ ที่นี่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมส่งอีเมล์ถึงเราได้ที่…

  • บทความ

    การใช้สายตาในการตรวจสอบสี

    การประเมินสีที่เหมาะสม จำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้ การเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ถูกต้อง ( Light Source Selection ) ในแต่ละอุตสาหกรรมมีการกำหนดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้งานแตกต่างกัน  ดังนั้นควรเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงที่เหมาะสมกับชิ้นงาน เหมาะสมกับการนำไปใช้  เช่น สีของแสง (Color Tempreature)  , SPD , CRI  เพื่อให้ทุกคนเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงและวิธีการดูสีที่เหมือนกัน มุมมอง  ( Viewing Geometry ) สีของวัตถุจะเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขมุมที่ใช้มอง รวมทั้งมุมของแหล่งกำหนดแสง  ดังนั้นมุมที่ใช้ในการสังเกตวัตถุและมุมของแหล่งกำเนิดแสงจะต้องคงที่  เพื่อให้การสื่อสารสมีความถูกต้อง เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม  ( Environmental Conditions ) แหล่งกำเนิดแสง  ควรใช้อย่างน้อย 2 แหล่งกำหนดแสงในการเปรียบเทียบ เพื่อเช็คปรากฏการณ์ เมทาเมอริซึม ( Metamerism ) ความส่องสว่าง  ต้องมีความส่องสว่างสม่ำเสมอ  อยู่ในช่วง  2,000lx – 4,000lx  และตู้ไฟต้องมีพื้นที่ขนาดโหญ่กว่า ตัวอย่างที่ต้องการวัดดูสี พื้นหลัง  ตู้ไฟ ควรเป็นผนังด้าน  ไม่มีความมันเงา สีของผนังควรมีความสว่าง อยู่ที่   L* = 50…

  • บทความ

    มาตรฐานการวัดแสงสว่างของโคมไฟห้องผ่าตัด

                  โคมไฟผ่าตัด จำเป็นต้องเป็นไปตามมาตรฐานและแนวทางที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยการลดระดับความเสี่ยงในระหว่างการผ่าตัด โคมไฟต้องมีความสว่างสูงและการแสดงสีที่ดีและช่วยให้สามารถประเมินช่องผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้งานได้ในระดับที่เหมาะสม ข้อกำหนดเกี่ยวกับแสง ได้แก่ lux, อุณหภูมิสีและดัชนีการแสดงผลสี ในปีพ. ศ. 2552 IEC ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ได้สร้างมาตรฐาน IEC 60601-2-41 “IEC 60601-2-41″ ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับความปลอดภัยของโคมไฟและโคมไฟที่ใช้ในการผ่าตัด สำหรับการวินิจฉัย ” ต่อไปนี้คือจุดสำคัญที่ระบุไว้ในมาตรฐาน IEC 60601-2-41: ความสว่าง (Lux): ความสว่างกลางควรอยู่ระหว่าง 40,000 lux ถึง 160,000 lux อุณหภูมิสีที่สัมพันธ์กัน (CCT): ระหว่าง 3500k ถึง 6700 k (สีขาวเป็นสีเหลืองอมเหลือง) หลังจากการกรอง             ดัชนีการแสดงผลสี (CRI): ดัชนีการแสดงผลสี (Ra) ควรอยู่ระหว่าง 85 ถึง…

  • บทความ

    การวัดอุณหภูมิสีของแสงไฟ LED บนท้องถนน

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแสงสีขาว (LED) ได้กลายเป็นตัวเลือกที่นิยมสำหรับไฟถนนที่ทันสมัย แสง LED เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดีขึ้นและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแสงประเภทอื่น ๆ ถึงแม้จะมีประโยชน์มาก แต่ American Medical Association (AMA = สมาคมการแพทย์ของอเมริกา) แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้โคมไฟ LED สีขาวที่มีค่าอุณหภูมิสีสูง (Color Temperature; CT) หน่วยอุณหภูมิ  Kelvin (K) และ CT เป็นพารามิเตอร์ที่ใช้ในการแสดงลักษณะสีของแสงตัวเลข ค่า CT สูงจะบ่งบอกว่าแสงมีปริมาณสีน้ำเงินมากขึ้นซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเรตินาของมนุษย์ในช่วงเวลาอันยาวนาน AMA ขอแนะนำให้ CT ของแสงไฟถนนไม่ควรสูงกว่า 3000 เคลวิน (K) การวัด CT เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอเนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงการรับรู้สีของมนุษย์ LED สีขาวสองดวงที่มีค่า CT เดียวกันอาจมีลักษณะแตกต่างจากที่อื่นซึ่งอาจมีปริมาณสีน้ำเงินมากกว่าสีอื่น การใช้พารามิเตอร์การวัดเช่นอุณหภูมิสีที่สัมพันธ์กัน (CCT) และการแจกแจงสเปกตรัม (SPD) ให้การประเมินที่ครอบคลุมมากขึ้นว่าไฟ LED จะส่งแสงสีน้ำเงินภายในช่วงที่ปลอดภัยหรือไม่ ด้วยความช่วยเหลือของเครื่องมือวัดแสงเช่น  Konica Minolta Illuminance Spectrophotometer CL-500A หรือ CRI Illuminance…

  • บทความ

    การวัดปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืช

                   สำหรับการวัดปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืชเป็นอีกเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากนักวิจัยและเกษตรกร เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีสำคัญของพืชอย่างมาก ซึ่งคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นเม็ดสีที่พบในใบพืช มีหน้าที่สังเคราะห์แสง  นอกจากนี้ปริมาณคลอโรฟิลล์ยังสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดทางอ้อมของระดับไนโตรเจนในปุ๋ย เพื่อป้องกันการเพิ่มประมาณที่มากเกินความจำเป็น                  โดยปกติการวัดคลอโรฟิลล์ทำได้โดยใช้วิธีการสกัดสารเคมีเปียก ซึ่งทำโดยการสกัดเนื้อเยื่อพืชก่อนและส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์  วิธีการนี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายแก่ใบพืชเท่านั้น แต่ยังใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งแตกต่างจากวิธีการใช้เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยมากในปัจจุบันเนื่องจากสามารถวัดคลอโรฟิลล์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องตัดตัวอย่างใบ ทำให้ใบหรือตัวอย่างไม่เกิดความเสียหายและยังประหยัดค่าใช้จ่าย              เครื่องวัดคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll Meter) จากแบรนด์ Konica Minolta  รุ่น SPAD-502Plus ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาจาก SPAD-502 ซึ่งหลายๆคนอาจจะคุ้นเคยในชื่อ เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ Minolta SPAD-502 นั่นเอง และครื่องวัดคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll Meter) รุ่น SPAD-502Plus ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อนักวิจัยและเกษตรกรผู้ที่ต้องการวัดค่าคลอโรฟิลล์จากพืช ซึ่งเครื่องวัดสีรุ่นนี้สามารถวัดคลอโรฟิลล์ได้ทันทีและไม่ทำลายตัวอย่างของใบพืช SPAD-502Plus วัดปริมาณคลอโรฟิลล์ได้โดยการวัดการดูดกลืนแสงของใบในบริเวณความยาวคลื่นสองแห่ง ทำให้นักวิจัยและเกษตรกร…

  • บทความ

    การวัดสีของน้ำมัน

    น้ำมันที่สามารถบริโภคได้ เช่น น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันปาล์ม จะถูกแบ่งเกรดตามระดับการปรับแต่ง การแบ่งเกรดน้ำมันสามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบสีกับสีอ้างอิง อย่างไรก็ตามการประเมินสีโดยใช้สายตาอย่างเดียวเป็นเรื่องยากในการแบ่งเกรดสีน้ำมัน ปัจจัยเช่น สภาวะแสง, ขนาดของตัวอย่าง และความเมื่อยล้าของสายตาจะส่งผลต่อการรับรู้สี เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันที่สามารถบริโภคได้ มีการแบ่งเกรดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดสีเข้ามาควบคุม โดยทั่วไปน้ำมันสำหรับบริโภคมีความโปร่งแสงหรือโปร่งใสตามธรรมชาติ ดังนั้นวิธีการวัดสีที่เหมาะสมที่สุดคือการใช้เครื่องวัดสีแบบส่องผ่าน โดยมีการกำหนดค่ามาตรฐาน L*a*b* เพื่อกำหนดค่าอ้างอิงเริ่มต้น และทำการวัดค่าตัวอย่างน้ำมันเพื่อตรวจสอบว่าค่า L*a*b* อยู่ในช่วงที่ต้องการหรือไม่ การใช้เครื่องชั่งในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้ในการค้าขายน้ำมัน ในขณะที่เครื่องวัดสี และเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ใช้ในการกำหนดค่าสีและวัดสีอย่างแม่นยำ ภาชนะบรรจุน้ำมันสำหรับผู้บริโภคก็จะถูกควบคุมสีอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้สีที่ถูกต้อง โดยมีการใช้เครื่องวัดสีรุ่นโครมามิเตอร์ (Chroma Meter) และ สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer) ในโรงงานผลิตจำนวนมาก เพื่อให้ได้สีที่แม่นยำและสม่ำเสมอ เครื่องวัดสี Konica Minolta รุ่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ CM-5 มีห้องสำหรับวัดตัวอย่างของเหลวโปร่งแสงและโปร่งใสได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้เครื่องวัดสีรุ่น CM-5 ยังสามารถให้ข้อมูล pass/fail ตามค่าความคลาดเคลื่อนที่ผู้ผลิตกำหนดขึ้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าน้ำมันบริโภคได้มีการแบ่งเกรดอย่างแม่นยำ โดยมีอุปกรณ์เสริมที่หลากหลาย เช่น cuvette และ cell เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถวัดตัวอย่างน้ำมันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีน้ำมันบริโภค ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 …

  • บทความ

    การวัดสีซูริมิ (Surimi)

             ซูริมิเป็นอาหารประเภทอาหารแปรรูปที่สามารถพบได้ในอาหารแถบเอเชีย มักทำมาจากการบดปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นๆอย่างละเอียดจะมีลักษณะเป็นของเหลวหนืด และจะมีรสชาติที่ต่างกันตามที่ต้องการเมื่อเติมสารปรุงแต่งลงไปด้วยปริมาณที่ต่างกัน ถ้าซูริมิถูกบรรจุและแช่แข็งแล้ว สารถนอมอาหาร เช่น สารที่เพิ่มการป้องกันการรั่วซึม จะถูกนำมาใช้ในระหว่างขั้นตอนการผสมแป้ง เพื่อรักษาคุณภาพและความสดใหม่                ในอุตสาหกรรมอาหาร สีไม่ได้เป็นตัวบอกเพียงแค่คุณภาพและความสดใหม่ มันยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลือกบริโภคของผู้บริโภค ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีการประเมินสีของเครื่องวัดสีในการผลิตซูริมิสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพสีและผลผลิตได้                ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (R&D) เครื่องวัดสีจะช่วยกำหนดปริมาณของสารเติมแต่งเพื่อลดเม็ดสีเหลือง และยังช่วยศึกษาอายุการเก็บรักษาซูริมิ ในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ เครื่องวัดสีจะช่วยตรวจสอบสีของซูริมิในระหว่างการผสมส่วนผสม ตลอดจนการตรวจสอบและการแบ่งเกรดของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สุดท้ายของซูริมิ หน่วยสีที่นิยมใช้คือ CIE L*a*b* ค่าความเป็นสีเหลืองที่เราไม่ต้องการให้อยู่ในซูริมินั้นสามารถกำหนดได้จากค่า *b ค่าความเป็นสีแดงถูกระบุอยู่ในค่า a* ซึ่งสามารถใช้เพื่อกำหนดความสดใหม่ของวัตถุดิบได้ โดยปกติความแปรปรวนของความขาวจะแสดงด้วยดัชนีความขาว เช่น WIhunter = L* – 3b* WIJUDD = 100 – [(100 – L*)²…

  • บทความ

    การวัดสีช็อคโกแลต

    ช็อคโกแลตมีหลายรูปแบบและนิยมใช้เป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มรสชาติในผลิตภัณฑ์ขนมต่างๆ คุณสมบัติ เช่น สีและรูปร่างที่ปรากฎเป็นคุณลักษณะที่สำคัญในการบอกคุณภาพของช็อคโกแลต ในอุตสาหกรรมช็อคโกแลตนั้น การเกิดคราบไขมันสีขาวบนผิวช็อคโกแลต (fat bloom) เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากข้อผิดพลาดในระหว่างการผลิต เช่น การใช้อุณหภูมิ  ขั้นตอนการทำให้เย็นตัว หรือสภาวะการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม เครื่องวัดสีใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่วัดค่าสีได้แม่นยำและสม่ำเสมอ ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (R&D) การใช้เครื่องวัดสีจะทำให้ผู้ผลิตช็อคโกแลตสามารถวิเคราะห์และปรับแต่งสูตรของตนได้ ในขั้นตอนการควบคุมสีนั้น เครื่องวัดสีสามารถใช้เพื่อตรวจสอบสีในระหว่างการผสมและการทำให้เข้ากัน ทำให้ได้สีช็อคโกแลตที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ พารามิเตอร์ที่นิยมใช้ในการกำหนดค่าสีของอาหาร คือ หน่วยสีของ CIE L*a*b* และดัชนีความขาว (Whiteness index – WI) เป็นตัวแปรที่ช่วยวัดการเกิดคราบสีขาวบนผิวช็อคโกแลต (fat bloom) ด้วยเครื่องวัดสี เช่น เครื่องวัดสี Konica Minolta รุ่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ CM-5 ทำให้ผู้ผลิตช็อคโกแลตสามารถวัดสีได้ง่าย และช่วยเพิ่มคุณภาพและผลผลิตดีขึ้น หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีช็อคโกแลต ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    การวัดสีแผ่นกระเบื้องเซรามิค

    เซรามิคเป็นของแข็งประเภทอโลหะที่ถูกเผาด้วยอุณหภูมิสูงในเตาเผา เพื่อทำให้มีความแข็งแรงเนื้อมีความหนาแน่นไม่มีโพรงอากาศ สำหรับนำมาผลิตเป็นของใช้ภายในบ้านและนอกบ้าน เมื่อกล่าวถึงการผลิตกระเบื้องเซรามิค กระบวนการทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ เช่น ดินเหนียว ซิลิกา ควอทซ์ เฟลด์สปาร์ และเซอร์โคเนียม เริ่มต้นจากการจัดหาวัตถุดิบคือ ดินที่ยังไม่บริสุทธิ์ซึ่งขุดจากแหล่งดินตามธรรมชาติหรือการทำขึ้นมาโดยการหลอมสารเคมีเพื่อผลิตเป็นผงแป้งที่มีความบริสุทธิ์สูง ในอุตสาหกรรมเซรามิคปัจจุบัน ผู้ผลิตทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์วัตถุดิบของตน เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนจะนำเข้ามาในกระบวนการผลิต เครื่องวัดสีจะทำให้พวกเขาสามารถคัดเกรดสีของวัตถุดิบได้ เพื่อกำหนดคุณภาพของวัตถุดิบ ตัวอย่างจะถูกนำมาขึ้นรูปให้มีลักษณะกลมแบนก่อนส่งไปยังห้องแล็ปเพื่อทดสอบคุณสมบัติด้านกายภาพต่างๆ การจำแนกสีเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาต่างกันตามเฉดของสี ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ตรวจสอบและจำแนกสีโดยใช้ค่า L*และ b* เพื่อตรวจสอบค่าความสว่างและค่าความเหลือง เครื่องวัดสี Konica Minolta รุ่นสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ CM-2500d เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการวัดตัวอย่างเซรามิคตามมาตรฐาน CIE L*a*b* โดยทั่วไปสำหรับวัตถุดิบอย่าง เฟลด์สปาร์ มีค่าความสว่างสูง (L*>78) และ (b* อยู่ในช่วง 4-5) จัดเป็นวัตถุดิบเกรด A และสามารถนำไปใช้ในการผลิตเซรามิคเกรดพรีเมียมได้ หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีแผ่นกระเบื้องเซรามิค ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ