บทความนี้ขอยกตัวอย่างวงการเภสัชกรรมเพื่อให้เห็นภาพชัด ในวงการเภสัชกรรมที่จำเป็นต้องมีการประเมินสารประกอบของยาเหลวและตรวจหาสิ่งเจือปน ในแต่ละขั้นตอนแน่นอนว่าผลที่ได้ต้องแม่นยำและถูกต้อง หากใช้สายตาในการประเมินสีของของเหลว นอกจากจำเป็นจะต้องใช้คนที่มีประสบการณ์สูงในการประเมินสีแต่วิธีนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินสีมาก (อ่านปัจจัยในการประเมินสีด้วยสายตา) ในหลายๆที่หันมาใช้เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินสีเพื่อเช็คความบริสุทธิ์ในของเหลว เนื่องจากมีความแม่นยำ ถูกต้อง และรวดเร็วมากกว่า การใช้สายตาประเมินสี นอกจากเครื่องวัดสีแล้ว ดัชนี APHA คิดค้นโดยนักเคมีชื่อ A. Hazen ในปี 1892 ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ในประเมินความบริสุทธิ์ของของเหลว ในปัจจุบัน หลายอุตสาหกรรม รวมถึงเภสัชกรรม เคมี ปิโตรเลียม ใช้เครื่องวัดสีและใช้ดัชนี APHA เป็นแนวทางและมาตรวัดสี ดัชนี APHA หรือเรียกอีกอย่างว่าสเกล Hazen หรือ Platinum Cobalt (Pt/Co) เป็นสเกลสีตัวเลขเดียวที่มีตั้งแต่ 0 (ไม่มีสีชัดเจน) ถึง 500 (สีเหลืองอ่อน) ซึ่งเดิมทีได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการประเมินคุณภาพน้ำด้วยการประเมินด้วยสายตาโดยเปรียบเทียบกับการเจือจางของสารละลายมาตรฐานทองคำขาว – โคบอลต์ อ่านเพิ่มเติม การใช้…
-
-
การควบคุมสีของยา
การจัดยาหรือการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ความชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการผิดพลาดในการจ่ายยา และสีเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับการจัดการยาซึ่งทำให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ นอกจากประโยชน์ด้านความปลอดภัยแล้ว สีของยามีผลต่อการรับรู้ของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาอีกด้วย จากการศึกษาพบว่ายาเม็ดสีขาวหรือสีน้ำเงินมีรสขม ในขณะที่เม็ดสีชมพูมีรสหวานกว่าเม็ดสีแดง การศึกษาอื่นๆพบว่าผู้ป่วยมักจะหยุดกินยาตามใบสั่งแพทย์เมื่อยามีการเปลี่ยนแปลงสี สำหรับผู้ผลิตยา การพัฒนาสีและเฉดสีของยาแต่ละรุ่นอย่างแม่นยำและสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ การประเมินสีด้วยสายตาอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างเฉดสีมักจะมองเห็นและแยกความแตกต่างได้ยากด้วยตาเปล่าของมนุษย์ เครื่องวัดสีแบบสเปคโตรโฟโตมิเตอร์มีความสามารถในการแยกแยะสีและเฉดสีที่ละเอียดอ่อน ให้ความแม่นยำสูง และมีความสามารถในการวัดซ้ำ ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนานั้น ผู้ผลิตยาสามารถใช้สเปคโตรโฟโตมิเตอร์เพื่อวิเคราะห์หรือปรับแต่งสูตรเพื่อพัฒนาสีและเฉดสีของยา ด้วยข้อมูลการวัดสีจากสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อน เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าสีและเฉดสีที่ต้องการนั้นมีความถูกต้องและสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถระบุความแตกต่างของสีและเฉดสีที่ไม่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในระหว่างการตรวจสอบสีขั้นสุดท้าย ทำให้ช่วยดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วหากมีข้อผิดพลาด ในการวัดสีและเฉดสีของยา เครื่องวัดสีรุ่น Spectrophotometer CM-5 พร้อมอุปกรณ์เสริม เช่น หน้ากากวัด(Target Mask) ขนาด 3…
-
การวัดสีและความโปร่งใสของยาชนิดเหลว
อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมจำเป็นต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด และต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่เข้มงวด เพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งการวัดสีเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมนี้ หากพูดถึงการวัดสียานั้น หลายคนๆคนอาจจะรู้จัก European Pharmacopoeia (EP) และ US Pharmacopeia (USP) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดค่าสีที่ใช้กันทั่วไปในการประเมินและตรวจสอบสียาที่เป็นของเหลว โดยตัวชี้วัดทั้ง EP และ USP ต้องอาศัยการตัดสินของมนุษย์เพื่อช่วยเปรียบเทียบสี (ใช้สายตาประเมินค่าสี) วิธีการนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ สำหรับยาชนิดของเหลวที่มีความโปร่งใส การเกิดความขุ่นมัวอาจบ่งบอกถึงสูตรหรือกระบวนการแปรรูปผิดปกติ เช่น ความผิดปกติของสารหรือการละลายที่ไม่สมบูรณ์ การใช้หน่วยสี CIE L*a*b* สามารถช่วยให้ผู้ผลิตยาทราบปัญหาและดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที โดยเน้นความสำคัญที่ค่า L* ยิ่งมีค่าสูง ความชัดเจนก็จะยิ่งดีขึ้น เครื่องวัดสีรุ่น Spectrophotometer CM-5 สามารถวัดสียาชนิดของเหลว ซึ่งช่วยผู้ผลิตยาในการควบคุมคุณภาพตามข้อกำหนดได้ เนื่องจากเครื่องวัดสีรุ่นนี้มีฟังก์ชั่นใช้งานที่สามารถวัดสีในหน่วย CIE L*a*b* และ color index (ดัชนี) EP และUSP ทำให้ง่ายต่อการดูค่าในหน่วยดังกล่าว ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวัดสียาชนิดของเหลวได้อย่างแม่นยำและทำซ้ำได้ นอกจากนี้ยังมีดัชนีสีมาตรฐานในอุตสาหกรรมอื่นๆ และระบบสีหลัก เช่น APHA/Hazen, Gardner,…
-
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับcolor scale ในอุตสาหกรรมยา
Color scale ในอุตสาหกรรมยา European Pharmacopoeia (EP) และ US Pharmacopeia (USP) มักใช้เพื่อตรวจสอบสีและลักษณะของยาเหลวและอำนวยความสะดวกในการสื่อสารสีภายในอุตสาหกรรม Color scale ใน EP ประกอบด้วยสีอ้างอิง 37 สี: สีน้ำตาล (B1 – B9) น้ำตาล / เหลือง (BY1 – BY7) สีเหลือง (Y1 – Y7) เขียว / เหลือง (GY1 – GY7) แดง (R1 – R7) สารละลายอ้างอิงหรือที่หลายคนเรียกว่า “สารละลายมาตรฐาน” 37 สีนี้สร้างขึ้นจากการผสมและเจือจางของเหลวหลัก 3 ชนิดของโคบอลต์คลอไรด์ (สีแดง) เฟอร์ริก (III) คลอไรด์ (สีเหลือง) และคอปเปอร์ซัลเฟต (สีน้ำเงิน) Color scale ใน USP ใช้ของเหลวหลัก…
-
การใช้ APHA color scale ในอุตสาหกรรมเคมี
สารเคมีที่ใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตของผลิตภัณฑ์ เช่น พลาสติก, ยาง, สี และชิ้นส่วนยานยนต์ สารเคมีที่ใช้ไม่เพียงแต่ต้องมีคุณภาพตามที่กำหนด แต่ยังต้องมีความจำเพาะเจาะจงต่อคุณสมบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนอกจากนี้สีเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ หน่วยสีพื้นฐาน (color space) เช่น CIE L * a * b *และCIE L * C * h ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการควบคุมสี แต่การวัดสีหรือการคัดแยกผลิตภัณฑ์เคมีเหลวที่มีสีใสหรือมีสีเหลืองเล็กน้อย นิยมใช้มาตราส่วนสีมาตรฐานเช่น APHA Color หรือ Gardner Color Scale ในบทความนี้เราจะพูดถึง APHA Color สี APHA หรือเรียกอีกอย่างว่าสเกล Hazen หรือ Platinum Cobalt (Pt/Co) เป็นสเกลสีตัวเลขเดียวที่มีตั้งแต่ 0 (ไม่มีสีชัดเจน) ถึง 500 (สีเหลืองอ่อน) เดิมได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการประเมินคุณภาพน้ำด้วยการประเมินด้วยสายตาโดยเปรียบเทียบกับการเจือจางของสารละลายมาตรฐานทองคำขาว – โคบอลต์ และวิธีนี้ได้ขยายไปใช้กับ สารเติมแต่งพอลิเมอร์(polymer additives), สารละลายเรซินและตัวทำละลายต่างๆ เช่น กลีเซอรอล และ…
-
การวัดสีสารเคมีโดยใช้ Gardner Color Scale
เวอร์ชั่น ภาษาไทย Version English การวัดสีในอุตสาหกรรมเคมีโดยทั่วไป นิยมใช้ APHA color หรือที่เรียกว่า Platinum Cobalt (Pt /Co) scale หรือ Hazen ซึ่งมักใช้กับผลิตภัณฑ์เคมีเหลวที่มี สีใสหรือมีสีเหลืองเล็กน้อย แต่สำหรับสารเคมีเหลวที่มีระดับความเหลืองสูงกว่านั้น จำเป็นต้องใช้สเกลแยก เช่น Gardner Color Scale Gardner Color Scale การวัดสีสารเคมีโดยใช้ Gardner Color Scale เป็นวิธีการที่ดีขึ้นสำหรับการประเมินสีของน้ำมัน, oil-based varnishes, แลคเกอร์, กรดไขมัน และสารเคมีที่มีสีเหลืองไปจนถึงแดง โดยแรกเริ่ม Gardner Color Scale ประกอบด้วยสารละลาย 18 เฉดสีโดยแต่ละเฉดสีที่แตกต่างกันเล็กน้อย ตั้งแต่สีเหลืองอ่อน (Gardner 1) ไปจนถึงสีแดง (Gardner 18) แต่เมื่อเวลาผ่านไปสารละลายเหล่านี้จะการเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องเตรียมใหม่เป็นประจำ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเตรียมสารใหม่ๆ และพัฒนาให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นจึงมีการนำแก้วสีมาตรฐานมาใช้แทน สีเหลืองอ่อน (Gardner 1) ไปจนถึงสีแดง (Gardner 18) แก้วสีมาตรฐาน แต่ไม่ว่าจะใช้แบบสารละลายหรือแบบแก้วล้วน แต่ใช้สายตาในการประเมินสี ซึ่งการประเมินสีด้วยสายตานั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การอ่านค่าสี เกิดความคลาดเคลี่อน อ่านปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินสีด้วยสายตาที่นี้ คลิก เราจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ?…