• บทความ

    การประเมินคุณภาพแป้งด้วยการวัดสี

               แป้งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับอาหาร ตั้งแต่ขนมปัง บิสกิต ไปจนถึงเส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งที่ได้จากข้าวสาลีให้ผลผลิตหลายประเภท สีของแป้งมักจะบ่งบอกถึงคุณภาพของแป้งซึ่งสามารถประเมินได้โดยการวัดความสว่างและความเหลืองของแป้ง ความสว่างได้รับผลกระทบจากปริมาณรำและกระบวนการขัดสี ส่วนความเหลืองจะเกี่ยวข้องกับเม็ดสีแคโรทีนอยด์ของข้าวสาลี เดิมทีจะมีการประเมินสีของแป้งด้วยสายตา วิธีนี้เป็นแบบเฉพาะบุคคล เนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อม ซึ่งแสงและสีโดยรอบก็อาจส่งผลต่อการประเมินค่าสี แต่ปัจจุบันเครื่องวัดสีมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นหน่วยสี CIE LAB สำหรับวัดสีของแป้ง ควรให้ความสำคัญกับค่าสี L* และ b* เพราะค่า L* คือการวัดความสว่าง โดยที่ 0 เป็นสีดำ และ 100 คือสีขาว และค่า b* หมายถึงช่วงสีน้ำเงินถึงเหลือง โดยที่ค่า b* เป็น + จะบ่งชี้ถึงความเหลือง สำหรับความสามารถในการวัดซ้ำ (repeatability)  การเตรียมตัวอย่างแป้งควรเตรียมให้เหมือนกันในทุกการวัด เช่น ขนาดตัวอย่าง ภาชนะ และอื่นๆ          เครื่องวัดสีที่แนะนำและเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมในหลายๆอุตสาหกรรม อาจจะมีหลายคนที่คุ้นเคยกับ Konica Minolta รุ่น…

  • บทความ

    ตัวช่วยควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมการเกษตร

                    ผลิตผลจากการเกษตรเป็นแหล่งอาหารที่เราทุกเราต้องการ การจะได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพด้านต่างๆ ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละสายพันธ์ หรือผลิตผลที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทมากมายที่ออกแบบเครื่องมือวัดสำหรับการนำไปใช้ในงานที่หลากหลาย เช่นเดียวกับ Konica Minolta ที่มีเครื่องมือวัดสำหรับการวัดสี แสง และhyperspectral imaging วัดแสงเพื่อการเกษตร         การทำเกษตรแบบแนวตั้ง (vertical farming) เป็นการเพาะปลูกในโรงเรือน ปลูกเป็นชั้น การเพาะปลูกในลักษณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ สามารถควบคุมปริมาณแสง ความชื้น อุณหภูมิให้พอเหมาะต่อพืชที่เพาะปลูกได้  หลายที่เลือกใช้หลอด LED เป็นแหล่งกำเนิดแสงให้กับพืชที่เพาะปลูก         การหาแสงสว่างที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญและเข้าใจผลลัพธ์และความสามารถในการจัดหาพลังงานที่จำเป็นเพื่อการเติบโตของพืช เครื่องมือวัดแสงเพื่อการเกษตร ทาง Konica Minolta มีเครื่องมีวัดแสงหลากหลายรุ่น ยกตัวอย่างเช่น  Illuminance Meter T-10A ,  Illuminance Spectrophotometer CL-500A เป็นต้น สามารถวัดค่า lux, Correlated Color…

  • บทความ

    การตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารด้วย Hyperspectral Imaging

    รูปที่ 1 HSI สามารถระบุลักษณะไขมันในเนื้อสัตว์ได้พร้อมกันและรวดเร็ว และตรวจจับวัตถุที่ไม่ต้องการ เช่น ไม้และพลาสติกจากเนื้อสัตว์              คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภค การตรวจสอบลักษณะภายนอกและองค์ประกอบต่างๆของอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยภายใต้ดูแลขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตลอดจนความคาดหวังของผู้บริโภค         การตรวจสอบมีหลายวิธี แต่วิธีการที่แพร่หลายในปัจจุบัน บางวิธีต้องการการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน นอกจากนี้ด้วยวิธีการตรวจสอบมักทำลายตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบ         ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาภาพไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging หรือ HSI) เป็นเทคนิคที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร เป็นวัดปฏิกิริยาระหว่างแสง (การสะท้อน การส่งผ่าน ฯลฯ) และวัสดุผ่านกล้องไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อให้ได้ spectral signatures หรือ spectral fingerprints วัสดุทุกชิ้นมี spectral signatures ที่เป็นเอกลักษณ์ และ spectral fingerprints เหล่านี้มีข้อมูลเชิงปริมาณ ที่สามารถใช้เพื่อระบุลักษณะ และแยกแยะวัสดุเพิ่มเติม ดังแสดงในรูปที่ 1 HSI การถ่ายภาพแบบ full-spectral imaging…

  • กิจกกรรม,  คอร์สออนไลน์

    LIVE WEBINAR : AUTOMOTIVE EXTERIOR COLOR MANAGEMENT

                  สัมมนาออนไลน์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการวัดสีในอุตสาหกรรมยานยนต์  หัวข้อการบรรยายจะพูดถึง การวัดสีรถยนต์ภายนอก (automotive exterior color management) เปรียบเทียบสเปคหรือจุดเด่นของเครื่องวัดสีแบบ multi angle spectrophotometer รุ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอย่าง Konica Minolta CM-512m3A กับรุ่นล่าสุด Konica Minolta CM-M6 Live demo สาธิตการวัดค่าสีด้วยเครื่องวัดสี การอ่านค่าสี แน่นอนว่าตัวอย่างที่ใช้สาธิตเป็นสี metallic, white pearl  สัมมนาหัวข้อนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ และผู้สนใจการบรรยายจะเปิดรอบทั่วไป ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14:00 น. – 15:30 น.  ผ่านโปรแกรม Microsoft Team *ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น* ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป https://forms.gle/ivPuuTw4xiwwGtMC6 เนื้อหาบรรยายในรอบทั่วไป จะไม่มีการลงรายละเอียดเชิงลึก หากต้องการปรึกษาการวัดสีด้วยข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบริษัทของคุณ สามารถติดต่อ…

  • บทความ

    การวัดสีชิ้นงานที่มีความเงา

    การวัดสีสินค้าสิ่งที่จำเป็น เป็นดูแลลักษณะภายนอกของสินค้าให้สวยงามและน่าซื้อ แต่การวัดสีสินค้าบางชนิด มีเอฟเฟกต์ของพื้นผิวมามีปัจจัยกับค่าสี เช่น ความมันวาว ที่ถูกนำมาใช้ให้สินค้าสองชิ้นที่มีสีใกล้เคียงกันดูแตกต่างกัน  อันที่มีระดับความมันวาวสูงกว่าจะดูเข้มและอิ่มตัวมากกว่าอีกอันหนึ่ง ในกรณีดังกล่าว การประเมินทั้งสีและความมันวาวเป็นสิ่งจำเป็นเพื่ออธิบายและวิเคราะห์ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ แม้ว่าเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์จำนวนมากสามารถอ่านค่าความเงาที่สัมพันธ์กันได้ แต่ก็ไม่ใช่การวัดความเงาที่แท้จริง นอกจากนี้ เครื่องวัดความเงาส่วนใหญ่ไม่มีการวัดมุมของความเงา จึงทำให้ผู้ใช้งานหลายคน ใช้เครื่องวัดความเงาร่วมกับเครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ การสลับไปมาระหว่างเครื่องมือนั้นอาจทำให้เป็นตำแหน่งที่วัดเปลี่ยนไป             ปัจจุบันเครื่องวัดสีแบบสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ได้พัฒนามากขึ้นทำให้สามารถวัดได้ทั้งสีและความเงา ในบทความนี้จะขอแนะนำ เครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ Konica Minolta CM-36dG เป็นรุ่นที่ออกมาใหม่ มาพร้อมเซ็นเซอร์ความเงา 60° ในตัว ทำให้สามารถวัดสีและความเงาพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ CM-36dG ออกแบบมาให้ทันสมัยมากขึ้นด้วยแผงสถานะที่อ่านง่ายและฟังก์ชันการดูตัวอย่างที่ช่วยลดข้อผิดพลาดของกระบวนการวัด พื้นที่การวัดที่แตกต่างกันสี่แบบคือ Ø4.0 มม., Ø8.0 มม., Ø16.0 มม. และ Ø25.4 มม.เพื่อตอบสนองความต้องการในการวัดที่แตกต่างกัน ค่าความต่างระหว่างตัวเครื่อง (IIA) ที่ ∆E*ab < 0.12 (ค่าเฉลี่ยของแผ่น BCRA 12 ชิ้น) และ ±0.2 GU (0…

  • บทความ

    วัดสีซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว(Citrus Fruits)

                การเลือกซื้อผลไม้ของผู้บริโภคมักใช้สีในการตัดสินใจเลือกซื้อ โดยเลือกจากสีที่สื่อถึงความสดและรสชาติของผลไม้  นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในทั้งระยะก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว          กระบวนการสุกของซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มีลักษณะเฉพาะด้วยวิวัฒนาการของสี และมักใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อกำหนดเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม โดยทั่วไปสีของผลไม้จะมีการประเมินสายตา แม้ว่าจะเป็นวิธีที่รวดเร็วและราคาไม่แพงในการประเมินสี แต่ก็มีแนวโน้มที่มนุษย์จะลำเอียงในการเลือกสี (อ่านปัจจัยที่มีผลต่อการวัดสีด้วยสายตา) นอกจากนี้ สีและแสงโดยรอบยังส่งผลต่อการประเมินสีอีกด้วย ทุกวันนี้เครื่องมือวัดสีพร้อมใช้งานและใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการประเมินสีที่รวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ และมีความสม่ำเสมอ        ด้วยเครื่องมือวัดสี สีของซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  เช่น ความเขียวและสีเหลืองของส้ม สามารถประเมินได้อย่างง่ายดายโดยใช้ หน่วยสีCIE L*a*b*และ หน่วยสี CIE L*C*h นอกจากนี้สามารถตั้งค่าขอบเขตของสี (color tolerance) เพื่อตั้งเป็นเกณฑ์ให้เครื่องวัดสี การประเมิน Pass/Fail ได้อย่างรวดเร็ว              สำหรับการวัดสีซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จะขอแนะนำเป็นเครื่องวัดสี  Konica Minolta Chroma Meter CR-400 series ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและส่วนผสม…

  • บทความ

    เลือกเครื่องวัดสีอย่างไรให้เหมาะกับงาน ตอนที่ 1

            เครื่องวัดสีคืออะไร? จำเป็นแค่ไหน? ไม่มีได้หรือไม่? หากยังมีคำถามเหล่านี้กวนใจ อยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักเครื่องวัดสีเพิ่มอีกสักนิด อาจจะลองกดแท็ก วัดสี เพื่ออ่านบทความที่เครื่องวัดสีช่วยในการวัดสีในแต่ละอุตสาหกรรมได้มากน้อยแค่ไหน           ส่วนคำถามว่า จำเป็นแค่ไหน เครื่องวัดสีเป็นเหมือนเครื่องวัดชนิดหนึ่ง แต่มีความพิเศษด้วยเทคโนโลยี ช่วยวัดค่าสีที่ให้ค่าในระบบค่าสีที่ใช้สากลได้ คำว่าสากลนี้ หมายถึง เราสามารถสื่อสารหรือบอกรายละเอียดของสีได้กับทุกคนที่ใช้ระบบสีเดียวกัน (ระบบหน่วยสี L*a*b* คือหน่วยที่ความนิยมใช้อย่างกว้างขวาง) นอกจากความสะดวกในการสื่อสารแล้ว (อ่านบทความเกี่ยวข้อง ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี) แล้วไม่มีเครื่องวัดสีได้ไหม อยากใช้สายตาในการประเมินค่าสีก็สมารถทำได้ หากสามารถควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านค่าสีด้วยสายได้ ( อ่านบทความเกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา)           โดยส่วนใหญ่เมื่อใช้สายตาวัดสี มักจะใช้ ตู้เทียบสี เพื่อควบคุมแหล่งแสง และ ใช้ pantone เป็นการระบุค่าสี ซึ่งค่าที่ได้ก็จะไม่ใช่ค่าจริงๆของสีตัวอย่าง  และบางคนที่ต้องการปรับแก้ไขค่าสีในงาน R&D อาจจะมีการใช้ปรแกรมต่างๆเพิ่มเข้ามา แต่ข้อควรระวังสำหรับวิธีนี้ นอกจากการควบคุมตัวแปรที่ส่งผลต่อการวัดสีด้วยสายตาแล้ว อีกปัจจัยที่ต้องระวังคือ แผ่นpantone นั้นมีอายุการใช้งานเมื่อเวลาผ่านไป สีจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาโดยที่สายตาไม่สามารถแยกแยะได้ทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่เสมอ…

  • บทความ

    การวัดปริมาณคลอโรฟิลล์อย่างแม่นยำด้วยการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม

                 คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุหรือเม็ดสีที่สำคัญของพืชที่ดูดซับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง พืชที่มีสุขภาพดีโดยทั่วไปจะมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูง และปริมาณจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อช่วงอายุของใบเพิ่มขึ้นหรือเมื่อพืชอยู่ภายใต้ความเครียด[1] ดังนั้น เราจึงมักใช้ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อตรวจสอบและศึกษาความสมบูรณ์ สุขภาพและการเจริญเติบโตของพืช เช่น ความเครียด ภาวะโภชนาการของพืช เป็นต้น นอกจากนี้ คลอโรฟิลล์ยังสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางอ้อมของธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นพารามิเตอร์สำคัญที่ใช้กันทั่วไปในการบริหารจัดการทางการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด วิธีดั้งเดิมในการตรวจวัดปริมาณคลอโรฟิลล์คือ วิธีทางเคมีซึ่งต้องทำในห้องปฏิบัติการ โดยมีขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการเก็บเกี่ยวใบจากพืชตัวอย่างและการสกัดคลอโรฟิลล์โดยใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ หลังจากนั้นจะใช้ HPLC โครมาโตกราฟี เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสกัดที่ยุ่งยาก ซึ่งทำลายใบพืชและไม่สามารถตรวจสอบ ติดตามลักษณะของพืชเมื่อเวลาผ่านไป ในทางตรงกันข้าม ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม hyperspectral imaging (HSI)[2] เป็นเทคโนโลยีใหม่โดยวัดปริมาณคลอโรฟิลล์แบบไม่ทำลายตัวอย่าง ตรวจวัดรวดเร็ว และเที่ยงตรง            HSI เป็นการผสมผสานระหว่างการวัดสเปกตรัมและการถ่ายภาพดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี HSI โครงสร้างทางกายภาพของพืช เช่น ใบและลำต้น สามารถรตรวจวัดได้จากเทคนิคการถ่ายภาพดิจิทัล และข้อมูลทางสรีรวิทยาหรือชีวเคมีจากการวัดสเปกตรัม โดยตรวจวัดด้วยช่วงสเปกตรัมที่แคบและต่อเนื่องกันแล้วนำมาเชื่อมต่อกันได้เป็นสเปกตรัมที่สมบูรณ์จำนวนมาก กล้องถ่ายภาพ HSI มีหลากหลายประเภท เช่น แบบสแกนเชิงเส้น (push…

  • บทความ

    การทำความเข้าใจในพื้นฐานของการวัดสี

          สีเป็นองค์ประกอบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม สีสามารถมีอิทธิพลต่อการซื้อและมักใช้เป็นตัวแปรในการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ เมื่อสีของผลิตภัณฑ์อยู่นอกช่วงสีที่คาดหวังหรือแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ติดกันบนชั้นวาง เรามักจะมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องหรือคุณภาพต่ำ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของเราในที่สุด         ด้วยพลังของสีในการบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และกระตุ้นการซื้อ เจ้าของแบรนด์หรือผู้ผลิตจะต้องทำการผลิตสินค้าที่ได้สีที่ต้องการอย่างแม่นยำและสม่ำเสมอ แต่การสื่อสารด้วยสีที่แม่นยำอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากสีเป็นรูปแบบหนึ่งของการรับรู้และต้องอาศัยการตีความของแต่ละคน แม้ว่าคนสองคนกำลังดูวัตถุเดียวกัน แต่ละคนจะใช้การอ้างอิงและประสบการณ์ของตนเองเพื่ออธิบายหรือเรียกสีที่เห็นแตกต่างกัน ด้วยหลากหลายวิธีในการแสดงสี เราจะสามารถสื่อสารสี หรือ อธิบายสีที่ต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจตรงกับเราได้อย่างไร ? เพื่อการสื่อสารสีที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ อันดับแรกเราต้องเข้าใจคุณลักษณะทั้ง 3 ของสี ได้แก่ เฉดสี ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี       เฉดสี เป็นคำทั่วไปที่ใช้อธิบายสี เช่น สีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน   ความสว่าง อธิบายถึงความสว่างหรือความมืดของเฉดสีนั้นๆ       ความอิ่มตัวของสี (Hue) อธิบายถึงความสดใสหรือความหมองคล้ำ                ด้วยคุณสมบัติ 3 ประการนี้ เราสามารถสื่อถึงสีของผลิตภัณฑ์ เช่น ลิปสติกสีแดง เป็นสีแดงสดและที่มีความสดใส แม้ว่าการสื่อสารด้วยสีรูปแบบนี้สามารถช่วยอธิบายสีได้ดีขึ้น แต่ก็ยังกว้างเกินไปสำหรับการสื่อสารสีที่แม่นยำ ตัวอย่างเช่น หากสีของผลิตภัณฑ์เข้มกว่าที่ตั้งใจไว้มาก เราจะระบุความสว่างที่แม่นยำผ่านระบบสีมาตรฐานที่รู้จักและใช้งานในระดับสากลได้อย่างไร?      เช่นเดียวกับน้ำหนักหรือขนาดที่เราสามารถวัดด้วยมาตราส่วนจริง สีสามารถแสดงเป็นตัวเลขได้โดยใช้ระบบที่เรียกว่าหน่วยสี CIE L*a*b*                พื้นที่สี CIE…

  • บทความ

    การควบคุมสีของยา

              การจัดยาหรือการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ความชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการผิดพลาดในการจ่ายยา และสีเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับการจัดการยาซึ่งทำให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ           นอกจากประโยชน์ด้านความปลอดภัยแล้ว สีของยามีผลต่อการรับรู้ของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาอีกด้วย จากการศึกษาพบว่ายาเม็ดสีขาวหรือสีน้ำเงินมีรสขม ในขณะที่เม็ดสีชมพูมีรสหวานกว่าเม็ดสีแดง การศึกษาอื่นๆพบว่าผู้ป่วยมักจะหยุดกินยาตามใบสั่งแพทย์เมื่อยามีการเปลี่ยนแปลงสี           สำหรับผู้ผลิตยา การพัฒนาสีและเฉดสีของยาแต่ละรุ่นอย่างแม่นยำและสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ การประเมินสีด้วยสายตาอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างเฉดสีมักจะมองเห็นและแยกความแตกต่างได้ยากด้วยตาเปล่าของมนุษย์          เครื่องวัดสีแบบสเปคโตรโฟโตมิเตอร์มีความสามารถในการแยกแยะสีและเฉดสีที่ละเอียดอ่อน ให้ความแม่นยำสูง และมีความสามารถในการวัดซ้ำ ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนานั้น            ผู้ผลิตยาสามารถใช้สเปคโตรโฟโตมิเตอร์เพื่อวิเคราะห์หรือปรับแต่งสูตรเพื่อพัฒนาสีและเฉดสีของยา ด้วยข้อมูลการวัดสีจากสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อน          เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าสีและเฉดสีที่ต้องการนั้นมีความถูกต้องและสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถระบุความแตกต่างของสีและเฉดสีที่ไม่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในระหว่างการตรวจสอบสีขั้นสุดท้าย ทำให้ช่วยดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วหากมีข้อผิดพลาด ในการวัดสีและเฉดสีของยา เครื่องวัดสีรุ่น Spectrophotometer CM-5 พร้อมอุปกรณ์เสริม เช่น หน้ากากวัด(Target Mask) ขนาด 3…