• บทความ

    การตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์ได้ในการวัดค่าเพียงครั้งเดียวทั้งความสว่าง, สีและความผิดปกติอื่นๆ

    สัญญาณไฟแบคไลท์บนแผงหน้าปัดรถยนต์ (ซ้าย) และแบคไลท์ภายในห้องโดยสารเครื่องบิน (ขวา)               สัญญาณไฟแบคไลท์ (Backlit signs) หรือปุ่มสัญลักษณ์ที่มีแสงไฟส่องจากด้านหลังมีอยู่มากมายรอบๆตัวเรา เช่น ปุ่มกด, สัญลักษณ์, ลูกบิด, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิก และแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ สัญญาณไฟแบคไลท์ถูกนำมาใช้ในหลากหลายแอพพลิเคชั่นที่ต้องการให้สามารถมองแสงได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่มีแสงหรือแสงน้อย เช่น ภายในห้องโดยสารของเครื่องบินและรถยนต์ ในอุตสาหกรรมมีการควบคุมคุณภาพความสว่าง, สีของแสงของสัญญาณไฟแบคไลท์อย่างเข้มงวดเนื่องจากเป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้และและความปลอดภัยของผู้โดยสาร การประเมินคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์และปุ่มสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นความท้าทาย เนื่องจากคุณภาพการมองเห็นแต่ละสัญลักษณ์ถูกกำหนดด้วยคุณสมบัติด้านการวัดแสงและสี (Photometric) ที่ต้องสอดคล้องกับสายตา และความถูกต้องของรูปร่าง, ขนาดของสัญลักษณ์ ซึ่งจำเป็นต้องถูกทดสอบอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและฟังก์ชันการทำงานถูกต้อง การวัดความสว่าง, สี, ขนาด, รูปร่าง, ความสม่ำเสมอ (ทั้งภายในหนึ่งสัญลักษณ์และระหว่างสัญลักษณ์ในชิ้นงานชุดเดียวกัน) เป็นสิ่งสำคัญซึ่งจำเป็นต้องสามารถแยกความแตกต่างระหว่างบริเวณที่แสงสว่างกับพื้นหลังของสัญลักษณ์ได้แม่นยำเพื่อที่จะบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ในปัจจุบันมีระบบการวัดและวิเคราะห์ค่าแสงและสี (Photometric measurement systems) ที่สอดคล้องกับสายตา แต่ยังคงไม่สามารถระบุรูปร่างของสัญลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกันหรือไม่สามารถตรวจสอบตัวอักษรได้แม่นยำ ในทางกลับกันเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้หลักการตรวจสอบทางกายภาพ (Machine vision equipment) ก็สามารถตรวจสอบได้เพียงความถูกต้องของการระบุตำแหน่งพื้นที่ของสัญลักษณ์และความแตกต่างกันของรูปร่าง แต่ไม่สามารถบอกคุณสมบัติทางด้านแสงและสีได้ ระบบการวัดและวิเคราะห์ค่าแสงและสี (Photometric measurement systems) ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินพื้นที่การกระจายตัวแสงและสีของแหล่งกำเนิด หรือการประเมินแสงและสีของจอแสดงผลสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นการที่จะตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์จำเป็นต้องสอดคล้องกับสายตามนุษย์มีการใช้งานร่วมกันระหว่างเครื่องมือและโปรแกรมวิเคราะห์…

  • บทความ

    วิธีทดสอบหน้าจอแสดงผลแบบ OLED

    Credit: Howstuffworks.com Organic Light Emitting Diodes หรือ OLED เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลแบบใหม่ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์สวมใส่และโทรทัศน์ เป็นต้น          มองไปข้างหน้าทศวรรษหน้าจะนำเทคโนโลยีที่เหนือชั้นและความก้าวหน้า การสแกนใบหน้า, ลายนิ้วมือและสแกนจอประสาทตาที่ดูเหมือนยากในอดีตแต่ในปัจจุบันมันเรื่องที่สามารถพบเจอได้ง่ายมากๆบนอุปกรณ์มือถือมากมาย        การพัฒนาของ OLED จะเปลี่ยนวิธีพื้นฐานการผลิตหน้าจอประสิทธิภาพสูงและในไม่ช้าการแสดงผลแบบสามมิติและการเพิ่มประสิทธิภาพของจอแสดงผลแบบสามมิติสำหรับผู้บริโภคจะกลายเป็นภาพที่พบบ่อยเช่นเดียวกับการสแกนลายนิ้วมือบนมือถือในปัจจุบัน          ข้อดีของ OLED คือไม่ต้องใช้แบล็คไลท์ (Backlight) ฉะนั้นจะทำให้จอแสดงผลนั้นบางลงและไม่เปล่งแสงบริเวณที่เป็นสีดำทำให้ใช้พลังงานน้อยลงเช่นกัน (สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OLED ได้ที่ Howstuffworks.com) ความสว่างของจอแสดงผล OLED ถูกพิจารณาจากระดับขนาดพิกเซลซึ่งแต่ละพิกเซลประกอบด้วย Sub-pixel สามสี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งเมื่อส่องสว่างในระดับต่างๆ ก็จะสามารถสร้างสรรค์ออกมาเป็นสีต่างๆได้การปรับปรุงความสว่างและความสม่ำเสมอของสีในจอแสดงผล OLED สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพิกเซลย่อยแต่ละสีแยกกัน ขั้นตอนทั่วไปเริ่มต้นจากการเปิดพิกเซลย่อยสีเดียวกันทั้งหมด แล้วจึงถ่ายภาพโดยใช้เครื่องมือแบบ imaging colorimeter ซึ่งผู้ใช้สามารถวัดและบันทึกความสว่างของแต่ละ sub-pixel หลังจากนั้นกระบวนการนี้จะทำซ้ำสำหรับสีที่เหลืออยู่ ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านซ้ายมือ…

  • บทความ

    จอแสดงผลรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าจำนวนล้อรถยนต์

                  จอแสดงผลในรถยนต์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในรถยนต์รุ่นใหม่เทรนของการนำเทคโนโลยีการดูข้อมูลทางจอแสดงผลของผู้ขับขี่และผู้โดยสารนี้กำลังเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในความเป็นจริงแล้วนั้นมีการคาดการณ์ว่าตลาดของหน้าจอแสดงผลในรถยนต์จะเติบโตขึ้น 19% ต่อปี (CAGR) อย่างไรก็ตามภายในปี 20261 จะมีการเพิ่มขึ้นถึง 65% ของจอแสดงผลรถยนต์ในระหว่างปี 2016 ถึง 2021 ภาพด้านซ้าย : แบบจำลองหน้าจอแสดงผลต่างๆภายในห้องโดยสารรถยนต์ร่วมกับ ADAS (ระบบช่วยเหลือประมวลผลวิสัยทัศน์รอบตัวรถให้ผู้ขับขี่มีความปลอดภัยมากขึ้น) รวมไปถึงหน้าจอแสดงผลบนพวงมาลัย, จอแสดงผลบนกระจกหน้า (HUD) และกระจกมองข้างรถที่มีระบบการตรวจจับด้วยกล้อง (camera monitoring system: CMS) จอแสดงผลกำลังมีการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ภายในส่วนต่างๆของรถยนต์ ดังเช่น แผงหน้าปัด/แผงควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในห้องโดยสาร จอแสดงผลบนกระจกหน้ารถยนต์ จอแสดงผลบนพวงมาลัยขับเคลื่อน จอแสดงผลระบบแผงควบคุม, ข้อมูลและความบันเทิงบนคอนโซลกลาง ประกอบด้วย ข้อมูลการนำทาง การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร ระบบควบคุมเสียง/วิทยุ ฟังก์ชันอื่นๆของรถยนต์ เช่น กล้องแสดงภาพในขณะที่รถถอยหลัง กระจกมองด้านหลังและด้านข้างรถที่มีระบบการตรวจจับด้วยกล้อง (CMS) NOTE: ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกาจะมาพร้อมกับกล้องตรวจจับของกระจกมองด้านหลัง และสามารถหาซื้อและติดตั้งได้ในรถยนต์รุ่นที่ออกมาก่อน จอแสดงความบันเทิงด้านหลังเบาะสำหรับผู้โดยสารด้านหลัง จอแสดงผลระบบแผงควบคุมบนคอนโซลกลางของ Porsche 916 Spider (ซ้าย) และ Tesla…