• บทความ

    วิธีการเลือกเครื่องมือวัดสีที่เหมาะสม

    การจัดการสี มีความสำคัญในหลายๆด้านของการผลิต เช่น ยานยนต์, สีเคลือบและสี,พลาสติก, และอาหาร เครื่องมือวัดสีกลุ่มสเปกโตรโฟโตมิเตอร์(Spectrophotometers)และกลุ่มคัลเลอร์มิเตอร์(Colorimeters) ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อช่วยให้สามารถวัดความแตกต่างของสีได้อย่างแม่นยำขึ้น ในขณะที่ดวงตาของเราไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometers) และ เครื่องคัลเลอริมิเตอร์ (Colorimeters)       เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ มีเซ็นเซอร์หลายตัว, วัดสีสะท้อนแสงสเปกตรัมผ่านสเปกตรัมความยาวคลื่นที่มองเห็น (400 นาโนเมตร ถึง 700 นาโนเมตร) เครื่องมือเหล่านี้มีความถูกและแม่นยำสูง เหมาะสำหรับการผสมสูตรสี, การควบคุมคุณภาพสีและการวิเคราะห์สีที่มีความซับซ้อน      เครื่องคัลเลอริมิเตอร์ หรือ เครื่องวัดสี ใช้เซ็นเซอร์ 3 คือ สีแดง, เขียว, และน้ำเงิน ที่มีความไวคล้ายกับที่ดวงตาของเรามองเห็นสี เพื่อวัดแสงที่สะท้อนหรือส่งผ่านของวัตถุ ส่วนใหญ่จะใช้ในการปรับองค์ประกอบสีหรือเปรียบเทียบสีกับตัวอย่างอ้างอิง(reference) หรือตัวอย่างมาตรฐาน(standard) โหมดของการวัด  (Measurement Mode) เมื่อแสงกระทบวัตถุ โดยทั่วไปวัตถุสะท้อนและและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้  วัตถุแต่ละชนิดจะมีการดูดกลืนและสะท้อนแสงในสัดส่วนที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุที่ทำให้วัตถุมีสีที่แตกต่างกัน ตัวอย่างที่ต้องการวัด ไม่ว่าจะเป็นของแข็งหรือของเหลว จำเป็นต้องเลือกใช้โหมดการวัดให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลสีที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างที่เป็นของแข็ง ที่มีลักษณะที่แสงผ่านไม่ได้ จะเลือกใช้การวัดในโหมดการสะท้อนแสง (reflectance mode) ตัวอย่างที่เป็นของเหลว…

  • บทความ

    แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา

    การวัดสีด้วยเครื่องมือและการรับรู้ด้วยสายตานั้นควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่แนะนำเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลค่าสีในรูปแบบดิจิตอล สอดคล้องกับการรับรู้ด้วยสายตา 1. เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม  (Environmental Conditions) ระดับแสงสว่าง ควรอยู่ในช่วง 2,000 ถึง 4,000 ลักซ์ แสงสว่างของสิ่งแวดล้อม (แสงของห้อง) มีผลต่อแสงจากตู้ไฟเทียบสี 2. ผู้สังเกตการณ์ (Observer) การมองเห็นสีปกติ ผู้สังเกตการณ์ควรได้รับการทดสอบเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการทดสอบการมองเห็นสี แว่นสายตา ผู้สังเกตการณ์ไม่ควรสวมแว่นตา ที่มีเลนส์สี ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้สี เสื้อผ้า ผู้สังเกตการณ์ควรสวมเสื้อโทนสีเดียว (สีขาว, เทา, ดำ) เพื่อให้แสงที่สะท้อนออกจากเสื้อผ้าไม่มีผลต่อตัวอย่างระหว่างการทดสอบ 3. การเปรียบเทียบสี (Color Comparison) พื้นหลัง รักษาตู้ไฟเทียบสี ให้สะอาด ไม่มีวัตถุอื่นๆ วางไว้ นอกจากวัตถุที่จะทดสอบขนาดตัวอย่าง ใช้ขนาดตัวอย่าง ที่มีขนาดเท่ากัน• หลีกเลี่ยง ขนาดตัวอย่างที่มีขนาดเล็กจนเกินไป ตำแหน่งตัวอย่าง มีการจัดแนวด้านขอบให้ชนกันกับด้านขอบของตัวอย่างที่จะทดสอบ มีการวางในแนวระนาบเดียวกัน ตัวอย่างควรอยู่ที่ประมาณ 400 ถึง 600 มิลลิเมตร จากสายตาของผู้สังเกตการณ์ ควรสลับตัวอย่างในการวาง ที่ตำแหน่งต่างๆ เช่น ด้านซ้ายขวา…

  • บทความ

    การใช้สายตาในการตรวจสอบสี

    การประเมินสีที่เหมาะสม จำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้ การเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ถูกต้อง ( Light Source Selection ) ในแต่ละอุตสาหกรรมมีการกำหนดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้งานแตกต่างกัน  ดังนั้นควรเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงที่เหมาะสมกับชิ้นงาน เหมาะสมกับการนำไปใช้  เช่น สีของแสง (Color Tempreature)  , SPD , CRI  เพื่อให้ทุกคนเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงและวิธีการดูสีที่เหมือนกัน มุมมอง  ( Viewing Geometry ) สีของวัตถุจะเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขมุมที่ใช้มอง รวมทั้งมุมของแหล่งกำหนดแสง  ดังนั้นมุมที่ใช้ในการสังเกตวัตถุและมุมของแหล่งกำเนิดแสงจะต้องคงที่  เพื่อให้การสื่อสารสมีความถูกต้อง เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม  ( Environmental Conditions ) แหล่งกำเนิดแสง  ควรใช้อย่างน้อย 2 แหล่งกำหนดแสงในการเปรียบเทียบ เพื่อเช็คปรากฏการณ์ เมทาเมอริซึม ( Metamerism ) ความส่องสว่าง  ต้องมีความส่องสว่างสม่ำเสมอ  อยู่ในช่วง  2,000lx – 4,000lx  และตู้ไฟต้องมีพื้นที่ขนาดโหญ่กว่า ตัวอย่างที่ต้องการวัดดูสี พื้นหลัง  ตู้ไฟ ควรเป็นผนังด้าน  ไม่มีความมันเงา สีของผนังควรมีความสว่าง อยู่ที่   L* = 50…