• บทความ

    การตรวจสอบการเกิดเมทาเมอริซึม(Metamerism)ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์

    เมทาเมอริซึม เกิดขึ้นมื่อวัตถุสองชิ้นที่มีสีเหมือนกันอยู่ภายใต้แหล่งกำเนิดแสงเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันเมื่ออยู่ภายใต้แหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น เสื้อและกางเกงที่มีสีดำ มองเห็นสีคล้ายกันเมื่ออยู่ภายใต้แสงของร้านค้านั้น แต่จะมองเห็นเป็นน้ำเงินเข้มและสีเทาดำตามลำดับภายใต้แหล่งแสงดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์นี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเม็ดสี(Pigmenrs), วัตถุดิบต่างกัน และชนิดของสูตรผสม(formulation) จากการเกิดปรากฏการณ์เมทาเมอริซึม (Metamerism) การได้สีที่ถูกต้องและมีความสม่ำเสมอ เป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้ผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีการประกอบผลิตภัณฑ์โดยใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ จากซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกันซึ่งแต่ละที่จะมีสูตรสีของตัวเอง ส่งผลทำให้สีที่ได้จะไม่ตรงกัน ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขที่ไม่จำเป็นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการยอมรับของลูกค้าอีกด้วย เพื่อลดหรือป้องกันปัญหาเหล่านี้สิ่งสำคัญคือต้องประเมินสีของวัตถุ เพื่อตรวจสอบการเกิดเมทาเมอริซึม ดังนั้นการใช้เครื่องมือสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ แสดงการสะท้อนสเปกทรัลของแหล่งกำหนดแสงหลายแหล่ง ซึ่งจะเป็นช่วยในการจัดการกับปัญหาที่การเกิดเมทาเมอริซึม(Metamerism) ได้ สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ยังสามารถแสดงเส้นกราฟการสะท้อนแสงสเปกทรัลของตัวอย่างทั้งสอง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งาน ทราบได้เลยว่า สีวัตถุสองชนิดแตกต่างกันอย่างไร วัตถุนั้นเกิดปรากฏการณ์เมทาเมอริซึม(Metamerism)หรือไม่ โดยดูจากการที่ส่วนโค้งของกราฟตัดกันอย่างน้อย 3 ครั้ง Konica Minolta Sensing ขอนำเสนอเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ที่หลากหลาย มีทั้งแบบพกพาและแบบตั้งโต๊ะเพื่อตอบสนองความต้องการและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน และเมื่อใช้กับซอฟต์แวร์ควบคุมคุณภาพสี SpectraMagic NX ผู้ใช้จะสามารถดูดัชนีค่าเมทาเมอริซึม(metamerism) ค่า MI นั้นเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ว่าวัตถุนั้นกิดเมทาเมอริซึมหรือไม่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เมทาเมอริซึม(metamerism) หรือการเลือกเครื่องมือวัดสีสามารถเขียนข้อความถึงเราที่ [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

  • บทความ

    แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา

    การวัดสีด้วยเครื่องมือและการรับรู้ด้วยสายตานั้นควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่แนะนำเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลค่าสีในรูปแบบดิจิตอล สอดคล้องกับการรับรู้ด้วยสายตา 1. เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม  (Environmental Conditions) ระดับแสงสว่าง ควรอยู่ในช่วง 2,000 ถึง 4,000 ลักซ์ แสงสว่างของสิ่งแวดล้อม (แสงของห้อง) มีผลต่อแสงจากตู้ไฟเทียบสี 2. ผู้สังเกตการณ์ (Observer) การมองเห็นสีปกติ ผู้สังเกตการณ์ควรได้รับการทดสอบเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการทดสอบการมองเห็นสี แว่นสายตา ผู้สังเกตการณ์ไม่ควรสวมแว่นตา ที่มีเลนส์สี ซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้สี เสื้อผ้า ผู้สังเกตการณ์ควรสวมเสื้อโทนสีเดียว (สีขาว, เทา, ดำ) เพื่อให้แสงที่สะท้อนออกจากเสื้อผ้าไม่มีผลต่อตัวอย่างระหว่างการทดสอบ 3. การเปรียบเทียบสี (Color Comparison) พื้นหลัง รักษาตู้ไฟเทียบสี ให้สะอาด ไม่มีวัตถุอื่นๆ วางไว้ นอกจากวัตถุที่จะทดสอบขนาดตัวอย่าง ใช้ขนาดตัวอย่าง ที่มีขนาดเท่ากัน• หลีกเลี่ยง ขนาดตัวอย่างที่มีขนาดเล็กจนเกินไป ตำแหน่งตัวอย่าง มีการจัดแนวด้านขอบให้ชนกันกับด้านขอบของตัวอย่างที่จะทดสอบ มีการวางในแนวระนาบเดียวกัน ตัวอย่างควรอยู่ที่ประมาณ 400 ถึง 600 มิลลิเมตร จากสายตาของผู้สังเกตการณ์ ควรสลับตัวอย่างในการวาง ที่ตำแหน่งต่างๆ เช่น ด้านซ้ายขวา…

  • บทความ

    หน่วยสีพื้นฐานที่ควรรู้ ตอนที่ 2

    หน่วยสีระบบ  L*a*b*  (L*a*b* color space)  บางครั้งเรียกว่า CIELAB เป็นอีกระบบหนึ่งที่นิยมกันมากในการนำมาใช้วัดค่าสีและใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในหลายๆ วงการ  โดยหน่วยสีนี้เป็นประเภทที่มีสเกลสม่ำเสมอ (Unifrom) ซึ่งได้ถูกกำหนดโดย CIE  ในปี 1976  เพื่อแก้ปัญหาการแปลค่าสีที่เกิดขึ้นในระบบ  Yxy  เนื่องจากพบว่าระยะห่างระหว่าง  x กับ y  บนไดอะแกรมสีจะไม่สอดคล้องกับความแตกต่างของสีที่เกิดจากการมองเห็นจริง ในระบบสี L*a*b* นี้ ค่า L* จะหมายถึงความสว่าง  ส่วน a* และ b*  จะเป็นค่าสัมประสิทธิ์สี ดังแสดงในรูปที่  1 ไดอะแกรมดังกล่าว  ค่า a*  และ b*  จะบอกถึงทิศทางของสี  ดังนี้ +a*  หมายถึง อยู่ในทิศของสีแดง -a*  หมายถึง อยู่ในทิศของสีเขียว +b*  หมายถึง อยู่ในทิศของสีเหลือง –b*  หมายถึง อยู่ในทิศของสีน้ำเงิน พื้นที่ตรงกลางจะไม่สามารถแยกสีได้ (achromatic)  เมื่อค่า  a*  และ b* …

  • บทความ

    หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 1 : มาศึกษาเรื่องปริภูมิสีกันเถอะ(Color space)

    เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สีจะประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ คือ สีสัน (Hue) ความสว่าง (Lightness) ความอิ่มตัว (Saturation)  ลักษณะเหล่านี้ถูกนำมาสร้างแบบจำลองสีหลังจากนั้นได้มีการคิดค้นหาวิธีการวัดสีในเชิงตัวเลขเพื่อให้คนสามารถสื่อสารเรื่องสีได้อย่างง่ายขึ้นและแม่นยำ โดยองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสีและแสง คือ The  Commission International  Del’ Eclairage (CIE)  มีระบบที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุดอยู่  2  ระบบคือ ระบบ Yxy ซึ่งเริ่มใช้ในปี ค.ศ.1931  คำนวณจากค่าไตรสติมูลลัส  XYZ  ตามมาตรฐานของ  CIE  ระบบ  L*a*b* เริ่มนำมาใช้ในปี  1976  ซึ่งทำให้ความแตกต่างของสีมีระยะสัมพันธ์ใกล้กับความแตกต่างที่มองเห็นด้วยสายตามากขึ้น ปริภูมิ (Color Space) เหล่านี้ ถูกนำมาใช้ในสื่อสารในระบบสีของโลกอยู่ในปัจจุบัน ค่า L*เป็นค่าความสว่าง ซึ่งค่า L*สามารถมีค่ามากกว่า 100 ได้ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ภายในตัวอย่างมีส่วนประกอบที่สามารถสะท้อนแสงได้(สีเมทาลิค) ทำให้ค่า L เกิน 100 แต่กรณีนี้ไม่ค่อยพบในอุตสาหกรรมอาหาร  ค่า a* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี            …

  • บทความ

    การใช้สายตาในการตรวจสอบสี

    การประเมินสีที่เหมาะสม จำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้ การเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ถูกต้อง ( Light Source Selection ) ในแต่ละอุตสาหกรรมมีการกำหนดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้งานแตกต่างกัน  ดังนั้นควรเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงที่เหมาะสมกับชิ้นงาน เหมาะสมกับการนำไปใช้  เช่น สีของแสง (Color Tempreature)  , SPD , CRI  เพื่อให้ทุกคนเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงและวิธีการดูสีที่เหมือนกัน มุมมอง  ( Viewing Geometry ) สีของวัตถุจะเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขมุมที่ใช้มอง รวมทั้งมุมของแหล่งกำหนดแสง  ดังนั้นมุมที่ใช้ในการสังเกตวัตถุและมุมของแหล่งกำเนิดแสงจะต้องคงที่  เพื่อให้การสื่อสารสมีความถูกต้อง เงื่อนไขของสภาพแวดล้อม  ( Environmental Conditions ) แหล่งกำเนิดแสง  ควรใช้อย่างน้อย 2 แหล่งกำหนดแสงในการเปรียบเทียบ เพื่อเช็คปรากฏการณ์ เมทาเมอริซึม ( Metamerism ) ความส่องสว่าง  ต้องมีความส่องสว่างสม่ำเสมอ  อยู่ในช่วง  2,000lx – 4,000lx  และตู้ไฟต้องมีพื้นที่ขนาดโหญ่กว่า ตัวอย่างที่ต้องการวัดดูสี พื้นหลัง  ตู้ไฟ ควรเป็นผนังด้าน  ไม่มีความมันเงา สีของผนังควรมีความสว่าง อยู่ที่   L* = 50…

  • บทความ

    Mesometric Photometry คืออะไร?

    บนพื้นฐานของ CIE 191: 2010 – ระบบแนะนำสำหรับการวัดแสงแบบ Mesopic โดยอาศัยประสิทธิภาพการมองเห็นการมองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ในระหว่างการมองเห็นแบบสโกเทคและโฟโต้ไลท์ สายตามนุษย์มีสองประเภทของเซลล์รับแสงที่เรียกว่าแท่งและกรวย กรวยใช้งานได้ดีที่สุดโดยมี ค่าความสว่างที่ปรับได้มากกว่าประมาณ 5 cd / m2 (เรียกว่าโฟโตว์วิชั่น) ความไวแสงของโฟโต้วิชั่นเป็นลักษณะ V (λโค้งและถึงความไวสูงสุด (683 lm / W)  ที่ประมาณ 555 นาโนเมตรที่แสงปรับตัวต่ำกว่าประมาณ 0.005 cd / m2 เฉพาะแท่งทำงาน (เรียกว่า scotopic วิสัยทัศน์ scotopic เป็นลักษณะของ V ‘ (เส้นโค้งλถึงความไวสูงสุด (1700 lm / W) ที่ประมาณ 507nm ที่ระดับความสว่างปรับตัวระหว่าง 0.005 cd / m2 ถึง 5 cd / m2 ทั้งสอง (เรียกว่าวิสัยทัศน์ mesopic)  จากระดับความสว่างสูงถึงต่ำกิจกรรมของแท่งกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งขึ้น…

  • บทความ

    ซีรี่ส์การศึกษาสี (CES)

    Centasia เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสีนำเสนอแพลตฟอร์ม CES แก่มือใหม่และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสีที่สร้างชุมชนสีที่ตอบสนองต่อความต้องการ ลองพูดคุยเกี่ยวกับโมดูล CES สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม: การสื่อสารสีที่แม่นยำ: – การแนะนำแนวคิดพื้นฐานของวิทยาศาสตร์สี การรับรู้ของสีที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดแสงปฏิสัมพันธ์ของแสงและสายตามนุษย์ – มาตรฐานสีและเครื่องมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับการจัดการสี การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสี: – เพื่อให้เข้าใจถึงความท้าทายด้านสีที่ต้องเผชิญกับอุตสาหกรรมต่างๆ – เพื่อให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับแง่มุมทางเทคนิคที่สำคัญแนวความคิดสอดคล้องกับการประยุกต์ใช้แสงและสี การประยุกต์ใช้สีเฉพาะ: – ให้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์การประยุกต์ใช้สีที่สำคัญเช่น SCI & SCE, การสะท้อนและการวัดค่าการสลายตัว – รวมถึงการจำแนกประเภทของการเคลือบโลหะและความท้าทายที่เกิดจากเม็ดสี (โลหะและไข่มุก) ที่เกิดขึ้นเช่นความโปร่งแสงเนื้อสัมผัสและความเงางามในการใช้สี การสัมมนาสี / การประชุม: กำหนดเวิร์กโฟลว์การควบคุมสีที่เป็นเอกภาพและเริ่มต้นจากซัพพลายเชน – การสื่อสารสีได้อย่างแม่นยำช่วยเพิ่มความสอดคล้องกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ