• บทความ

    พารามิเตอร์การวัดหน้าจอที่สำคัญ : Display Mura

                 อุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆในปัจจุบันต้องการคุณภาพและความคมชัดของจอแสดงผลมากขึ้น ตั้งแต่สมาร์ทโฟน , โทรทัศน์ไปจนถึงVR headsets และแผงหน้าปัดรถยนต์  ซึ่งนอกเหนือจากความสว่าง , chromaticity , ความคมชัด, uniformity และมุมมองการวัด viewing angle ล้วนเป็นพารามิเตอร์การวัดหน้าจอที่สำคัญ แต่ยังมีอีกพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญอีกอย่างก็คือ จอแสดงผลมูร่า (display mura)  Mura มาจากคำภาษาญี่ปุ่นหมายถึง คราบ, ความมัวหมองหรือสิ่งผิดปกติ ซึ่งในอุตสาหกรรมการแสดงผล mura ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายความผิดปกติและขุ่นมัว มีผลต่อการแสดงผล LCDs หรือหน้าจอแบบ OLEDs โดยทั่วไปแล้ว Display mura จะเป็นจุดที่มีคอนทราสต์ต่ำหรือมีรอยเปื้อนที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์ในการตรวจสอบและนั่นอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการแสดงผลหรือฟังก์ชันการทำงาน           โดยทั่วไปแล้ว Display mura เกิดจากข้อบกพร่องของกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการประกอบและขั้นตอนการเชื่อมด้วยแสง โดยทั่วไปแล้วจอแสดงผลประกอบด้วยวัสดุหลายชั้นและวัสดุพิมพ์ที่ยึดติดกัน น่าเสียดายที่ไม่สามารถเชื่อมต่อเลเยอร์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำตลอดเวลา นอกจากนี้สิ่งสกปรกหรืออนุภาคปนเปื้อนในระหว่างการผลิตความไม่สม่ำเสมอของแสงพื้นหลังและความไม่สอดคล้องกัน  pixels/sub-pixelsของเอาต์พุต เป็นสาเหตุของการเกิด Display mura    …

  • บทความ

    การวัดค่าแสงไฟกระพริบหรือที่รู้จักกันว่า Flickering ในหน้าจอ

                 แสงไฟกระพริบ หรือที่เรียกว่า Flickering ในหน้าจอแสดงผล เป็นปรากฎการณ์ที่สามารถมองเห็นได้บนพื้นหลังของหน้าจอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับประเภทของเทคโนโลยีการผลิตหน้าจอ ซึ่งแม้ผูต้ใช้งานหน้าจอไม่สามารถมองเห็นหรือสังเกตุได้ แต่แสงกระพริบ (Flicker) อาจจะส่งผลให้ผู้ใช้งานหน้าจอมีความอ่อนล้าทางสายตา นั่นเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตหลายรายพยายามแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อให้ผู้ใช้งานพึงพอใจในสินค้ามากที่สุด ภาพที่ 1 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มของแสงคงที่ ลักษณะหน้าจอแบบนี้จะไม่มีแสงกระพริบ ภาพที่ 2 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มแสงคงที่ แต่มีบางช่วงขาดหายไป หน้าจอลักษณะนี้จะปรากฎแสงกระพริบ ภาพที่ 3 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มของแสง ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ หน้าจอในลักษณะนี้จะปรากฎแสงกระพริบ เมื่อความเข้มของการปล่อยแสงเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอระหว่างเฟรม จะเกิดแสงกระพริบที่มีความถี่สูง เนื่องจากความถี่ที่เกิดขึ้นนี้ สูงกว่าความถี่ที่เรามองเห็น จึงแทบจะสังเกตไม่เห็นด้วยสายตา ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดความผันผวนในเฟรม ได้แก่  – ไม่มีการปล่อยแสงในระหว่างการรีเฟรช  – การปรับความกว้างพัลส์ (PWM)  – การควบคุมความเข้ม (ความสว่างต่ำ) ในหน้าจอ OLED  – การรั่วไหลของวงจรเปล่งแสง  สำหรับการแสดงผล LCD การเกิดแสงกระพริบ เกิดจากการกลับขั้วเมื่อตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าทั้งบวกและลบ ดังนั้นขั้วของสัญญาณภาพที่ส่งไปยัง LCD จะกลับด้านทุกเฟรม (ระยะเวลาการซิงโครไนซ์แนวตั้ง)…

  • บทความ

    Correlated Color Temperature (CCT) คืออะไร?

            อุณหภูมิสี (Color Temperature) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสีจากแหล่งกำเนิดแสงและถูกคำนวนโดยใช้เส้น Isotemperature ในไดอะแกรมสี ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานจากกล่องดำ (Black body) หน่วยของพลังงานคือ เคลวิน (K) ซึ่งจะไม่ใช่พลังงานความร้อน (heat) ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง การปล่อยพลังงานจากกล่องดำ (Black body) หรือในทางฟิสิกส์ที่เรียกว่ากฎพลังงานของพลังค์เป็นเส้นพลังงานในไดอะแกรมสี CIE 1931 เพื่อแสดงค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยจะเริ่มจากโทนสีแดงเมื่ออุณหภูมิต่ำ ไปจนโทนสีส้ม เหลืองขาว ขาว และสูงสุดที่โทนสีน้ำเงินขาวเมื่ออุณภูมิสูงสุด คำว่า อุณหภูมิสี ใช้เพื่อระบุปริมาณสีของแหล่งกำเนิดแสงที่เกิดจากการแผ่รังสีของกล่องดำเช่น อุณหภูมิสีมากกว่า 6,000K เรียกว่าสีเย็น (สีขาวอมฟ้า) อุณหภูมิสีต่ำกว่า (1,500 – 3,500 K) เรียกว่าโทนสีอบอุ่น (สีแดงถึงสีขาวอมเหลือง) อุณหภูมิสีไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับแสงสีเขียวหรือแสงสีม่วงเนื่องจากสีเหล่านี้จะไม่ตกอยู่ในบริเวณของกล่องดำ ภาพโดย Pexels จาก Pixabay อุณหภูมิสี เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการใช้งาน เช่นการให้แสงสว่างการถ่ายภาพ การทำวิดีโอ หรือกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการให้แสง ยกตัวอย่าง แสงของดวงอาทิตย์ ตั้งแต่เช้าจรดเย็นสีของแสงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะแตกต่างกัน มันอาจเป็นสีแดงสีส้มสีเหลืองหรือสีขาวขึ้นอยู่กับต่ำแหน่งของมันแสงแดดเปลี่ยนสีในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของวัน ซึ่งเป็นผลมาจากการกระเจิงของแสงและไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการแผ่รังสีดำ…

  • บทความ

    มาทำความเข้าใจผลกระทบของค่าความเงา (Gloss) ในการวัดค่าสี

    ค่าความเงาหรือที่เราเรียกว่า ค่า Gloss ของวัตถุ 2 ชิ้นที่แตกต่างกัน มีผลทำให้วัตถุจำนวน 2 ชิ้น ที่มีค่าสี L*a*b* ใกล้เคียงดูแตกต่างกันได้อย่างเห็นได้ชัด จากรูปด้านบน เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีเข้มหรือมืดมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน เนื่องจากพื้นผิวที่มันวาวมีลักษณะเรียบ การเกิดสะท้อนแสงแบบ Specular มาก และ การสะท้อนแสงแบบ diffuse น้อย ในทางกลับกัน เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน ไม่มันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีสว่างมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมัมวาวเนื่องจากพื้นผิวที่ด้าน ไม่มีความมันวาว มีลักษณะไม่เรียบ ทำให้เกิดการเกิดสะท้อนแสงแบบ diffuse มาก และ การสะท้อนแสงแบบ Specular น้อย ทริค!! วิธีมองจุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular คือ เมื่อเรามองวัตถุที่มีความมันวาว จุดที่เรามองเห็นการสะท้อนแสงมากที่สุด นั่นคือ จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular ด้วยเหตุนี้ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจการความควบคุมทั้งสีและความเงาไปพร้อมๆกัน แน่นอนว่า ถ้าพูดถึงเครื่องวัดสีที่วัดเฉพาะสี  หรือ เครื่องวัดความเงา หลายๆคนคงรู้จักมาบ้างแล้ว แต่ถ้าเครื่องวัดสีที่สามารถวัดความเงาได้นั้น วันนี้ขอแนะนำเครื่องวัดสี…

  • บทความ

    ภาษาแสง

    ภาพโดย David Mark จาก Pixabay ก่อนจะพูดถึงการวัดค่าของแสงนั้น เรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแสงหรือเรียกอีกอย่างว่าภาษาของแสง แสง (Light) คืออะไร ? สิ่งที่ให้เราสมารถมองเห็นได้ (ประสาท/การสัมผัส)การรับรู้ได้ด้วยการกระตุ้นตัวรับภาพ(แสง) รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกความยาวคลื่นใดๆที่เคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตร (ประมาณ 186,000 ไมล์) ต่อวินาที โดยเฉพาะช่วงที่มองเห็นได้ด้วยสายตามนุษย์    นอกจากคำจำกัดความข้างต้นเรายังสามารถอธิบายปริมาณและคุณภาพของแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งในช่วงที่ตามองเห็นและมองไม่เห็นให้แม่นยำได้อย่างไร? การแผ่รังสีของแสงเกิดขึ้นจากอนุภาคในอะตอมที่เรียกว่า photons ซึ่งเราสามารถอธิบายความหมายของมันได้ด้วยค่าของพลังงานตามช่วงความยาวคลื่น ความเป็นจริงก็คือ แสงไม่เหมือนส่วนประกอบของอะตอมอื่น (ส่วนประกอบของอะตอม คือ อิเล็กตรอน, นิวตรอน และโฟตรอน) โฟตรอนมีมวลเป็นศูนย์และเป็นเพียงตัวนำของรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น       เมื่อเราพิจารณาสเปกตรัมของรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะของความยาวคลื่น เราพบว่ามีพลังงานของรังสีแกมม่าในช่วงที่มีความยาวคลื่นสั้นมีพลังงานสูง และในช่วงความยาวคลื่นยาวมีพลังงานต่ำคือคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุ โดยจะมีสเปกตรัมของแสงเพียงแคบๆช่วงหนึ่งที่อยู่ระหว่างกลางเป็นช่วงที่สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ แสงช่วงที่มองเห็นได้นี้มีความยาวคลื่นประมาณ 380 นาโนเมตร ถึง 830 นาโนเมตร โดยอยู่ระหว่างรังสีอัตราไวโอเลต (UV) ที่ความยาวคลื่นต่ำ และรังสีอินฟราเรด (IR) ที่ความยาวคลื่นสูง แถบด้านบนแสดงสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกช่วงความยาวคลื่น ตั้งแต่ช่วงคลื่นที่ตามองไม่เห็น เช่น รังสีเอ็กซเรย์, ไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ เรียงลำดัจากความยาวคลื่นสั้นไปจนถึงความยาวคลื่นยาว…