การวัดปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืช

แชร์หน้านี้

               สำหรับการวัดปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืชเป็นอีกเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากนักวิจัยและเกษตรกร เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีสำคัญของพืชอย่างมาก ซึ่งคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นเม็ดสีที่พบในใบพืช มีหน้าที่สังเคราะห์แสง  นอกจากนี้ปริมาณคลอโรฟิลล์ยังสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดทางอ้อมของระดับไนโตรเจนในปุ๋ย เพื่อป้องกันการเพิ่มประมาณที่มากเกินความจำเป็น

                 โดยปกติการวัดคลอโรฟิลล์ทำได้โดยใช้วิธีการสกัดสารเคมีเปียก ซึ่งทำโดยการสกัดเนื้อเยื่อพืชก่อนและส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์  วิธีการนี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายแก่ใบพืชเท่านั้น แต่ยังใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งแตกต่างจากวิธีการใช้เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยมากในปัจจุบันเนื่องจากสามารถวัดคลอโรฟิลล์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องตัดตัวอย่างใบ ทำให้ใบหรือตัวอย่างไม่เกิดความเสียหายและยังประหยัดค่าใช้จ่าย

             เครื่องวัดคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll Meter) จากแบรนด์ Konica Minolta  รุ่น SPAD-502Plus ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาจาก SPAD-502 ซึ่งหลายๆคนอาจจะคุ้นเคยในชื่อ เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ Minolta SPAD-502 นั่นเอง และครื่องวัดคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll Meter) รุ่น SPAD-502Plus ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อนักวิจัยและเกษตรกรผู้ที่ต้องการวัดค่าคลอโรฟิลล์จากพืช ซึ่งเครื่องวัดสีรุ่นนี้สามารถวัดคลอโรฟิลล์ได้ทันทีและไม่ทำลายตัวอย่างของใบพืช SPAD-502Plus วัดปริมาณคลอโรฟิลล์ได้โดยการวัดการดูดกลืนแสงของใบในบริเวณความยาวคลื่นสองแห่ง ทำให้นักวิจัยและเกษตรกร สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างง่ายมากขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของพวกเขา 

ในบทความนี้จะขอแนะนำ งานวิจัย (บางส่วน) ที่ได้มีการนำเครื่องวัดคลอโรฟิลล์ ของแบรนด์ Konica Minolta มาใช้ในการศึกษาและทำการวิจัย ทั้งนี้เผื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาข้อมูลและสนใจ

การประเมินระดับคลอโรฟิลล์ในใบข้าวโพดโดยการใช้Chlorophyll meter และความสัมพันธ์กับน้ําหนักแห่งมวลชีวภาพและผลผลิต โดย

  • เจ้าของผลงาน : สืบสกุล ศิริยุทธ์
  • เจ้าของผลงานร่วม : ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา
  • หน่วยงาน :  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เจ้าของผลงาน : สุภาณี ชนะวีวรรณ และ สายัณห์ สดุดี
  • หน่วยงาน :  มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์

การพัฒนาดัชนีชี้วัดระดับไนโตรเจนในใบข้าวที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและผลผลิต

  • เจ้าของผลงาน :
    • ศิริภรณ์ จรินทร,
    • ดร.ศักดิ์ดา จงแกววัฒนา
    • ดร.อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง 
  • หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือและการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี