มาทำความเข้าใจผลกระทบของค่าความเงา (Gloss) ในการวัดค่าสี

แชร์หน้านี้

ค่าความเงาหรือที่เราเรียกว่า ค่า Gloss ของวัตถุ 2 ชิ้นที่แตกต่างกัน มีผลทำให้วัตถุจำนวน 2 ชิ้น ที่มีค่าสี L*a*b* ใกล้เคียงดูแตกต่างกันได้อย่างเห็นได้ชัด

จากรูปด้านบน เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีเข้มหรือมืดมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน เนื่องจากพื้นผิวที่มันวาวมีลักษณะเรียบ การเกิดสะท้อนแสงแบบ Specular มาก และ การสะท้อนแสงแบบ diffuse น้อย ในทางกลับกัน

เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน ไม่มันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีสว่างมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมัมวาวเนื่องจากพื้นผิวที่ด้าน ไม่มีความมันวาว มีลักษณะไม่เรียบ ทำให้เกิดการเกิดสะท้อนแสงแบบ diffuse มาก และ การสะท้อนแสงแบบ Specular น้อย

ทริค!! วิธีมองจุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular

คือ เมื่อเรามองวัตถุที่มีความมันวาว จุดที่เรามองเห็นการสะท้อนแสงมากที่สุด นั่นคือ จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular

ด้วยเหตุนี้ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจการความควบคุมทั้งสีและความเงาไปพร้อมๆกัน แน่นอนว่า ถ้าพูดถึงเครื่องวัดสีที่วัดเฉพาะสี  หรือ เครื่องวัดความเงา หลายๆคนคงรู้จักมาบ้างแล้ว แต่ถ้าเครื่องวัดสีที่สามารถวัดความเงาได้นั้น

วันนี้ขอแนะนำเครื่องวัดสี รุ่นใหม่ จาก Konica Minolta คือเครื่องวัดสี Spectrophotometer รุ่น CM-26dG  

จุดเด่นที่สำคัญของ เครื่อง Spectrophotometer CM-26dG คือ

มาพร้อมกับสเปคที่มีค่า Inter-Instrument agreement (IIA) ที่แคบถึง ∆E*ab< 0.12 (โดยเฉลี่ยจากแผ่นกระเบื้องมาตรฐาน BCRA 12 สี) และ ±0.2 GU (0 – 10 GU)
ซึ่งผู้ผลิตสามารถมั่นใจได้ว่าค่าสีและค่าความมันเงาที่ต้องการสามารถจัดการหรือควบคลุมได้อย่างง่ายดายตลอดทั้งซัพพลายเชน

ต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีของเรา และให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

ัYOUTUBE