ค่าความต่างระหว่างตัวเครื่อง(Inter-Instrument Agreement)คืออะไร

แชร์หน้านี้

       เคยสังเกตุไหม ? ว่าในสเปคของเครื่องวัดสีรุ่นใหม่ๆในปัจจุบัน จะมีค่า IIA หรือ ค่า Inter Instrument Agreement ซึ่งค่านี้เป็นค่าที่สำคัญมากๆ และจากการพูดคุยกับผู้เข้ามาติดต่อสอบถามหรือขอคำแนะนำ เราพบว่าหลายๆคำถาม เป็นขีดจำกัดของเครื่องวัดสีรุ่นนั้นๆ ซึ่งหลายๆคน มองข้ามความสำคัญของค่า IIA ไป 

ค่า IIA มีประโยชน์อย่างไร ?

         ค่า IIA หรือ ค่า Inter Instrument Agreement  คือค่าความแตกต่างระหว่างเครื่อง ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น หากคุณมีเครื่องวัดสีมากกว่า 1 เครื่อง แล้วต้องการนำค่าสีของแต่ละเครื่องมาเปรียบเทียบกัน แต่พบว่าค่าสีของแต่ละเครื่องนั้นไม่เท่ากัน แม้ว่าเครื่องวัดสีเหล่านั้นจะวัดค่าสีในหน่วยสีระบบเดียวกันและเป็นรุ่นเดียวกัน  นั่นเพราะค่าความแตกต่างระหว่างเครื่องของเครื่องวัดสีเหล่านั้น มีค่า IIA มาก ซึ่งในทางกลับกัน หากค่า IIA น้อย จะทำให้สามารถเปรียบเทียบค่าสีจากหลายๆเครื่องในรุ่นเดียวกันได้ ซึ่งค่าสีของเครื่องวัดสีเหล่านั้้นจะเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากกว่าเครื่องที่มีค่า IIA มาก

(แต่ถึงอย่างไร คำว่ามากหรือน้อยของชิ้นงานแต่ละชิ้นมีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน การยอมรับค่าความแตกต่างของแต่ละคนหรือบริษัทย่อมต่างกัน)

ในทางอุตสาหกรรม ค่า IIA สำคัญมากเพราะหากใช้เครื่องที่มีค่า IIA น้อย จะสามารถอธิบายหรือสื่อสารค่าสีของชิ้นงานตัวอย่างให้ซัพพลายเออร์หรือลูกค้า หรือตลอดทั้งซัพพลายเชนได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน  การสื่อสารที่ถูกต้องแม่นยำทำให้การควบคุมคุณภาพ ,พัฒนาหรือแม้แต่แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ง่ายและที่สำคัญช่วยลดเวลามาก             

          ค่า IIA หรือ ค่า Inter Instrument Agreement   ดูจาก ค่าเดลต้าอี Delta E (∆E*ab)  ที่คำนวนจากการนำเครื่องวัดสีที่ผลิตมา วัดสีแผ่นเซรามิกมาตฐาน 12 สี, แผ่นสีขาวและแผ่นสีดำ โดยนำค่าที่ได้ไปเทียบกับค่าที่วัดได้จากเครื่องวัดสีที่เป็นเครื่องมาตรฐาน (master) แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย

 สิ่งที่ควรถูกกำหนดเมื่อต้องการสร้างมาตฐานการวัดค่าสีมีดังต่อไปนี้ 

  • ลักษณะตัวอย่างของชิ้นงานที่ต้องการวัดสี
  • แหล่งแสงที่ใช้สำหรับการตรวจสอบสีด้วยสายตา 
  • รุ่นของเครื่องวัดสีและมุมที่เครื่องสามารถอ่านค่าสีได้ (Geometry)
  • แหล่งแสงมาตฐานที่ใช้ เช่น D65, D50 และ C เป็นต้น
  • องศามาตรฐานของอ่านวัดค่าสี (  หรือ 10°)
  • หน่วยของค่าสี (ค่าปริภูมิสี) 
วิดีโอบรรยายเพิ่มเติม : องศามาตรฐานของอ่านวัดค่าสี (  หรือ 10°)
วิดีโอบรรยายเพิ่มเติม : แหล่งแสงมาตฐานที่ใช้ เช่น D65, D50 และ C 

ท้ายสุดนี้ หากคุณพอมีเวลาอยากแนะนำให้อ่านบทความด้านล่างนี้ เพื่อให้เข้าใจเครื่องวัดสีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถเลือกเครื่องวัดสีให้คุ้มค่าและเหมาะสมกับงานของคุณมากที่สุด

  1. การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.1
  2. การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.2

หรือเข้าฟัง เนื้อหาพื้นฐานที่จำเป็นต่อการวัดสี ผ่านทึกการบรรยายสด พร้อมแบบประเมินทดสอบความเข้าใจ คลิกที่นี้เพื่อเข้าฟัง

เมื่อผ่านแบบประเมินจะมีประกาศนียบัตรส่งไปให้กับทุกคนค่ะ ที่สำคัญคือ เข้าชมได้ฟรี  ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี