มุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล

แชร์หน้านี้

ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) ระดับโลก มีการเพิ่มความซับซ้อนในการรับรองคุณภาพสีของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ตัวอย่างชิ้นงานทางกายภาพจำนวนมากในห่วงโซ่อุปทาน (supply chains)  จึงจำเป็นที่จะต้องถูกตรวจสอบคุณภาพสีอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการจำนวนมากในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสีและการเคลือบพื้นผิว รวมไปถึงอุตสาหกรรมพลาสติก กำลังมุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล เพื่อลดตัวอย่างทางกายภาพที่มีราคาแพงและปรับปรุงประสิทธิภาพ

ขั้นตอนแรกในการดำเนินการจัดการข้อมูลสีดิจิตอลคือ การกำหนดวิธีการวัดสีแล้วแบ่งปันให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ตัวอย่างของวิธีการที่กำหนดไว้อย่างดีรวมถึง

  1. กำหนดรุ่นของเครื่องมือที่ใช้ และระบุระบบ (Geometry) ของการวัดของเครื่องมือรุ่นนั้นๆ
  2. กำหนดมุมมองมาตรฐาน (Observer) และแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐาน ที่เลือกใช้ (Illuminant)
  3. กำหนดหน่วยสีที่ใช้ (Color space) และ ค่าขอบเขตการยอมรับ (Tolerance)
  4. กำหนดขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่า และวิธีการนำเสนอ
  5. กำหนดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ตรวจสอบตัวอย่างด้วยสายตา

ซึ่ง 1 ในข้อกำหนดในการจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล คือ การใช้เครื่องมือที่มีค่า Inter Intrument Agreement (IIA) ที่แคบ นั่นคือ ความสามารถในการวัดค่าได้ใกล้เคียงกันระหว่างเครื่องวัดสีโมเดลนั้นๆ
และค่าความสามารถในการวัดซ้ำ(Repeatability) ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลการวัดค่าสีดิจิตอลของเครื่องมือหลายๆเครื่อง ในรุ่นเดียวกันยังคงที่และเชื่อถือได้ในทุกตำแหน่ง

วิธีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสีและความเงาภายในซัพพลายเชน (Supply Chain)

            ในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) มีสายการผลิตหลากหลายแห่งและมีซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ซึ่งการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นจนถึงขั้นสุดท้ายก่อนถึงมือลูกค้า จึงเป็นเรื่องที่มีความท้าทายและควรมีลักษณะที่สอดคล้องกัน

              นอกจากนี้หากมีการใช้เครื่องมือวัดในที่ละที่ใช้มีความแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงานอาจมีความแตกต่างของข้อมูลการวัดสีและความเงา สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การทำใหม่และเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อลดความเลี่ยงของปัญหาที่อาจจะตามมาโดยใช้เครื่องมือวัดสีใช้ภายในองค์กรและตลอดห่วงโซ่อุปทานให้มีความคล้ายคลึงกัน และ ดียิ่งกว่าหากเครื่องมือวัดรุ่นนั้น มีค่าความแตกต่างระหว่างเครื่องมือในรุ่นเดียวกันน้อยหรือแทบไม่มีเลย นั้นหมายถึงสามารถใช้เครื่องมือรุ่นเดียวกันตลอด supply chain ได้ไม่ต้องกังวลความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือแม้จะไม่ใช่เครื่องเดียวกัน

เครื่องมือแต่ละเครื่องมีการกำหนดค่าเฉพาะไว้ IIA จะกำหนดว่าเครื่องมือทั้งสองที่เป็นรุ่นเดียวกัน สามารถอ่านค่าสีและความเงาได้อย่างไร สามารถอ่านความหมายของ IIA ได้ที่นี้

               ด้วยค่า IIA  จากผู้ผลิตจึงมั่นใจได้ว่าเครื่องมือของรุ่นเดียวกันจะให้ได้การวัดที่สอดคล้องกันรวมถึงข้อมูลจำเพาะของสีและความเงา สามารถสื่อสารแบ่งปันและประสานงานได้อย่างราบรื่นทั่วทั้งเครือข่ายซัพพลายเชน

          ยกตัวอย่างเครื่องวัดสีของแบรนด์ Konica Minolta ใหม่ sphere Spectrophotometer แบบพกพา d: 8 ° CM-26dG เป็นเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบสองในหนึ่งเดียวที่สามารถวัดได้ทั้งสีและความเงาพร้อมกัน

ด้วยค่าเฉลี่ย IIA ของ ∆E * ab <0.12 (ค่าเฉลี่ยของกระเบื้อง BCRA 12) และ± 0.2 GU (0 – 10 GU) CM-26dG ช่วยให้มั่นใจได้ว่าสีและความมันวาวที่ต้องการวัดและสื่อสารภายในห่วงโซ่อุปทานยังคงสอดคล้องกัน

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี