“ลิปสติก” เป็นอีกไอเท็มที่สาวๆทุกคนล้วนมีติดในกระเป๋าไว้เสมอ สีและลักษณะของลิปสติกล้วนบ่งบอกอารมณ์และบุคลิกของสาวๆได้เป็นอย่างดี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจึงมีการผลิตภัณฑ์และพัฒนาสีและลักษณะเนื้อสัมผัสของลิปสติกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการดึงดูดลูกค้าไว้กับแบรนด์ สำหรับผู้ผลิตนั้นแน่นอนว่าการผลิตลิปสติกจำเป็นต้องตรวจสอบคุณภาพของลิปสติก ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เพียงแค่สี แต่ยังรวมถึงความเงาหรือพื้นผิวด้าน อย่างที่เรารู้กันดีว่า สิปสติกในปัจจุบันมีหลากลาย เช่น ลิปสติกเนื้อครีม (Cream Lipstick) ลิปสติกเนื้อแมท (Matte Lipstick) ลิปสติกเนื้อเชียร์และเนื้อซาติน (Sheer and Satin Lipstick) ฟรอสตี้ลิปสติก หรือ ลิปสติกประกายมุก (Frosty หรือ Pearlescent Lipstick) ลิควิคลิปสติก ( Liquid Lipstick ) ลิปกลอส และทินส์ ( Lip Gloss and Tins ) ลิปไลเนอร์ ( Lip Liner ) ลิปบาล์มหรือลิปมัน ( Lip balm ) อ่านประเภทของลิปสติกต่อได้ที่ คลิก…
-
-
การวัดค่าสีสำหรับเม็ดสีชนิดพิเศษ(Effect Pigments)
การวัดค่าสีสำหรับเม็ดสีชนิดพิเศษ เราต้องมาทำความรู้จัก เม็ดสีชนิดพิเศษ หรือ Effect Pigments กัน เม็ดสีชนิดพิเศษ (Effect Pigments) คือ เม็ดสีที่เกิดการเปลี่ยนของสี หรือ ความสว่างเมื่อมุมมองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การพ่นสีหรือเคลือบสีด้วยเม็ดสีชนิดพิเศษนี้ มีความยากและความท้าทายในการควบคุม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า Color Travel หรือ เรียกอีกอย่างนึงว่า การเคลื่อนที่ของสี นั่นคือสาเหตุทำให้ การวัดเม็ดสีชนิดพิเศษ (Effect Pigments) เป็นเรื่องที่ท้าทาย เม็ดสีชนิดพิเศษ (Effect Pigments) ไม่ว่าจะเป็น Pearlescent, Liquidmetal, Candy Color, Metallic Color เป็นต้น ล้วนแต่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสีเหล่านี้สามารถทำให้สินค้าต่างๆมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูมีมิติมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงเมื่อความสว่างและมุมมองเปลี่ยนไป ทำให้เกิดการสะท้อนในลักษณะที่เกิดความวาวมากกว่าปกติ ซึ่งเครื่องมือวัดสีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ทั่วไปแบบ 45/0 จะมีตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงอยู่ที่ 45 องศา และตำแหน่งของเซ็นเซอร์รับค่าการสะท้อนอยู่ที่ 0 องศา ซึ่งนิยมใช้กับการวัดค่าสีแบบสีทึบ (Solid Color) สามารถวัดค่าได้ถูกต้องและแม่นยำ แต่เครื่องวัดสีแบบนี้ ไม่เหมาะสมสำหรับการวัดสีของเม็ดสีชนิดพิเศษ เนื่องจากเครื่องวัดสีทั่วไปแบบ 45/0 นี้ไม่สามารถวัดค่าในมุมอื่นๆได้ การวัดสีที่มีเม็ดสีชนิดพิเศษ…
-
ตัวช่วยในการเตรียมตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย
ข้อมูลการวัดสีที่ถูกต้องและแม่นยำ เป็นเรื่องที่ทุกคนล้วนต้องการเมื่อทำการวัดสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสินค้าต่างๆที่นิยมใช้เครื่องวัดสีตรวจเช็คคุณภาพของวัตถุดิบก่อนการผลิตรวมทั้งควบคุมคุณภาพของสินค้าทั้งกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตามการวัดสีต้องมีการเตรียมตัวอย่าง ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากต่อค่าการวัดสี และปัญหาที่อาจจะพบเจอได้บ่อยคือการเตรียมตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย เช่น ตัวอย่างที่หายาก มีราคาสูง และไม่สามารถนำกลับไปใช้เมื่อวัดสีแล้ว(โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือ ยา) ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในสำหรับตัวอย่างที่นำวัดค่าสี หากปัจจุบันคุณที่กำลังอ่านบทความนี้เป็นผู้ใช้งานเครื่องวัดสี หรือ เครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่นๆ แน่นอนว่า จะต้องคุ้นตากับ Cell holder หรือ Petri dish ที่ใช้สำหรับบรรจุตัวอย่างในการวัดสี ซึ่งทั้งสองประเภทนี้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการวัดสี โดยทั่วไปอาจคุ้นตากับ Cell holder หรือ Petri dish ขนาด 10 – 20 มม.หรือขนาดที่ใหญ่กว่านั้นและการเตรียมตัวอย่างที่ถูกต้องคือต้องใส่ตัวอย่างให้เต็มภาชนะบรรจุจึงทำให้ต้องใช้ตัวอย่างปริมาณมาก ถ้าหากพูดถึงความถูกต้องและความแม่นยำของการวัดสี บทความนี้จะขอแนะนำเครื่องวัดสีแบบ Spectrophotometer รุ่น CM-5 ของแบรนด์ Konica Minolta เนื่องจากรุ่นนี้มีอุปกรณ์เสริมสำหรับบรรจุตัวอย่างและฟังก์ชั่นที่ครอบคลุมการวัดสีของตัวอย่างได้ครอบคลุมมากที่สุด แม้แต่ตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย อุปกรณ์เสริมในรุ่นนี้ ก็มี Mini Petri dish และ Cell holder ขนาด 2 มม. ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ทำให้สามารถวัดตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยได้ ทั้งแบบการสะท้อน (Reflectance) และแบบส่องผ่าน…
-
Correlated Color Temperature (CCT) คืออะไร?
อุณหภูมิสี (Color Temperature) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของสีจากแหล่งกำเนิดแสงและถูกคำนวนโดยใช้เส้น Isotemperature ในไดอะแกรมสี ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานจากกล่องดำ (Black body) หน่วยของพลังงานคือ เคลวิน (K) ซึ่งจะไม่ใช่พลังงานความร้อน (heat) ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง การปล่อยพลังงานจากกล่องดำ (Black body) หรือในทางฟิสิกส์ที่เรียกว่ากฎพลังงานของพลังค์เป็นเส้นพลังงานในไดอะแกรมสี CIE 1931 เพื่อแสดงค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยจะเริ่มจากโทนสีแดงเมื่ออุณหภูมิต่ำ ไปจนโทนสีส้ม เหลืองขาว ขาว และสูงสุดที่โทนสีน้ำเงินขาวเมื่ออุณภูมิสูงสุด คำว่า อุณหภูมิสี ใช้เพื่อระบุปริมาณสีของแหล่งกำเนิดแสงที่เกิดจากการแผ่รังสีของกล่องดำเช่น อุณหภูมิสีมากกว่า 6,000K เรียกว่าสีเย็น (สีขาวอมฟ้า) อุณหภูมิสีต่ำกว่า (1,500 – 3,500 K) เรียกว่าโทนสีอบอุ่น (สีแดงถึงสีขาวอมเหลือง) อุณหภูมิสีไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับแสงสีเขียวหรือแสงสีม่วงเนื่องจากสีเหล่านี้จะไม่ตกอยู่ในบริเวณของกล่องดำ ภาพโดย Pexels จาก Pixabay อุณหภูมิสี เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการใช้งาน เช่นการให้แสงสว่างการถ่ายภาพ การทำวิดีโอ หรือกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการให้แสง ยกตัวอย่าง แสงของดวงอาทิตย์ ตั้งแต่เช้าจรดเย็นสีของแสงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะแตกต่างกัน มันอาจเป็นสีแดงสีส้มสีเหลืองหรือสีขาวขึ้นอยู่กับต่ำแหน่งของมันแสงแดดเปลี่ยนสีในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของวัน ซึ่งเป็นผลมาจากการกระเจิงของแสงและไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการแผ่รังสีดำ…
-
การตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์ได้ในการวัดค่าเพียงครั้งเดียวทั้งความสว่าง, สีและความผิดปกติอื่นๆ
สัญญาณไฟแบคไลท์บนแผงหน้าปัดรถยนต์ (ซ้าย) และแบคไลท์ภายในห้องโดยสารเครื่องบิน (ขวา) สัญญาณไฟแบคไลท์ (Backlit signs) หรือปุ่มสัญลักษณ์ที่มีแสงไฟส่องจากด้านหลังมีอยู่มากมายรอบๆตัวเรา เช่น ปุ่มกด, สัญลักษณ์, ลูกบิด, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิก และแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ สัญญาณไฟแบคไลท์ถูกนำมาใช้ในหลากหลายแอพพลิเคชั่นที่ต้องการให้สามารถมองแสงได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่มีแสงหรือแสงน้อย เช่น ภายในห้องโดยสารของเครื่องบินและรถยนต์ ในอุตสาหกรรมมีการควบคุมคุณภาพความสว่าง, สีของแสงของสัญญาณไฟแบคไลท์อย่างเข้มงวดเนื่องจากเป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้และและความปลอดภัยของผู้โดยสาร การประเมินคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์และปุ่มสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นความท้าทาย เนื่องจากคุณภาพการมองเห็นแต่ละสัญลักษณ์ถูกกำหนดด้วยคุณสมบัติด้านการวัดแสงและสี (Photometric) ที่ต้องสอดคล้องกับสายตา และความถูกต้องของรูปร่าง, ขนาดของสัญลักษณ์ ซึ่งจำเป็นต้องถูกทดสอบอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและฟังก์ชันการทำงานถูกต้อง การวัดความสว่าง, สี, ขนาด, รูปร่าง, ความสม่ำเสมอ (ทั้งภายในหนึ่งสัญลักษณ์และระหว่างสัญลักษณ์ในชิ้นงานชุดเดียวกัน) เป็นสิ่งสำคัญซึ่งจำเป็นต้องสามารถแยกความแตกต่างระหว่างบริเวณที่แสงสว่างกับพื้นหลังของสัญลักษณ์ได้แม่นยำเพื่อที่จะบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ในปัจจุบันมีระบบการวัดและวิเคราะห์ค่าแสงและสี (Photometric measurement systems) ที่สอดคล้องกับสายตา แต่ยังคงไม่สามารถระบุรูปร่างของสัญลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกันหรือไม่สามารถตรวจสอบตัวอักษรได้แม่นยำ ในทางกลับกันเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้หลักการตรวจสอบทางกายภาพ (Machine vision equipment) ก็สามารถตรวจสอบได้เพียงความถูกต้องของการระบุตำแหน่งพื้นที่ของสัญลักษณ์และความแตกต่างกันของรูปร่าง แต่ไม่สามารถบอกคุณสมบัติทางด้านแสงและสีได้ ระบบการวัดและวิเคราะห์ค่าแสงและสี (Photometric measurement systems) ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินพื้นที่การกระจายตัวแสงและสีของแหล่งกำเนิด หรือการประเมินแสงและสีของจอแสดงผลสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นการที่จะตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์จำเป็นต้องสอดคล้องกับสายตามนุษย์มีการใช้งานร่วมกันระหว่างเครื่องมือและโปรแกรมวิเคราะห์…
-
มาทำความเข้าใจผลกระทบของค่าความเงา (Gloss) ในการวัดค่าสี
ค่าความเงาหรือที่เราเรียกว่า ค่า Gloss ของวัตถุ 2 ชิ้นที่แตกต่างกัน มีผลทำให้วัตถุจำนวน 2 ชิ้น ที่มีค่าสี L*a*b* ใกล้เคียงดูแตกต่างกันได้อย่างเห็นได้ชัด จากรูปด้านบน เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีเข้มหรือมืดมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน เนื่องจากพื้นผิวที่มันวาวมีลักษณะเรียบ การเกิดสะท้อนแสงแบบ Specular มาก และ การสะท้อนแสงแบบ diffuse น้อย ในทางกลับกัน เมื่อมองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวด้าน ไม่มันวาว ที่ไม่ใช่จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular จะเห็นสีสว่างมากกว่า มองสีที่วัตถุที่มีพื้นผิวมัมวาวเนื่องจากพื้นผิวที่ด้าน ไม่มีความมันวาว มีลักษณะไม่เรียบ ทำให้เกิดการเกิดสะท้อนแสงแบบ diffuse มาก และ การสะท้อนแสงแบบ Specular น้อย ทริค!! วิธีมองจุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular คือ เมื่อเรามองวัตถุที่มีความมันวาว จุดที่เรามองเห็นการสะท้อนแสงมากที่สุด นั่นคือ จุดที่มีการสะท้อนแสงแบบ Specular ด้วยเหตุนี้ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจการความควบคุมทั้งสีและความเงาไปพร้อมๆกัน แน่นอนว่า ถ้าพูดถึงเครื่องวัดสีที่วัดเฉพาะสี หรือ เครื่องวัดความเงา หลายๆคนคงรู้จักมาบ้างแล้ว แต่ถ้าเครื่องวัดสีที่สามารถวัดความเงาได้นั้น วันนี้ขอแนะนำเครื่องวัดสี…
-
มุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล
ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) ระดับโลก มีการเพิ่มความซับซ้อนในการรับรองคุณภาพสีของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ตัวอย่างชิ้นงานทางกายภาพจำนวนมากในห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) จึงจำเป็นที่จะต้องถูกตรวจสอบคุณภาพสีอย่างสม่ำเสมอ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการจำนวนมากในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสีและการเคลือบพื้นผิว รวมไปถึงอุตสาหกรรมพลาสติก กำลังมุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล เพื่อลดตัวอย่างทางกายภาพที่มีราคาแพงและปรับปรุงประสิทธิภาพ ขั้นตอนแรกในการดำเนินการจัดการข้อมูลสีดิจิตอลคือ การกำหนดวิธีการวัดสีแล้วแบ่งปันให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ตัวอย่างของวิธีการที่กำหนดไว้อย่างดีรวมถึง กำหนดรุ่นของเครื่องมือที่ใช้ และระบุระบบ (Geometry) ของการวัดของเครื่องมือรุ่นนั้นๆ กำหนดมุมมองมาตรฐาน (Observer) และแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐาน ที่เลือกใช้ (Illuminant) กำหนดหน่วยสีที่ใช้ (Color space) และ ค่าขอบเขตการยอมรับ (Tolerance) กำหนดขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่า และวิธีการนำเสนอ กำหนดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ตรวจสอบตัวอย่างด้วยสายตา ซึ่ง 1 ในข้อกำหนดในการจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล คือ การใช้เครื่องมือที่มีค่า Inter Intrument Agreement (IIA) ที่แคบ นั่นคือ ความสามารถในการวัดค่าได้ใกล้เคียงกันระหว่างเครื่องวัดสีโมเดลนั้นๆ และค่าความสามารถในการวัดซ้ำ(Repeatability) ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลการวัดค่าสีดิจิตอลของเครื่องมือหลายๆเครื่อง ในรุ่นเดียวกันยังคงที่และเชื่อถือได้ในทุกตำแหน่ง วิธีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสีและความเงาภายในซัพพลายเชน (Supply Chain) ในห่วงโซ่อุปทาน (supply…
-
แนวปฏิบัติสำหรับการวัดค่าสีที่ถูกต้อง
นอกจากการมีเครื่องวัดสีที่ที่มีค่า Inter-Instrument Agreement (IIA) ที่ดีแล้ว การกำหนดมาตรฐานของขั้นตอนการวัดสีก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าความสามารถของเครื่องมือวัดสีทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความถูกต้องของการวัดค่าสีในแต่ละครั้งและเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องสม่ำเสมอ ข้อกำหนดด้านล่างเป็นแนวทางปฏิบัติของการวัดสีรวมถึงการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่าสีด้วย ตรวจสอบว่าความหนาของตัวอย่าง,ขนาดและปริมาณ เท่ากันในทุกๆครั้งที่มีการวัดค่าสีหรือไม่ สำหรับตัวอย่างที่โปร่งแสงหรือโปรงใส ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าแสงไม่มีการส่องผ่านตัวอย่างโดยการพับหรือทบตัวอย่างจนทึบ หากตัวอย่างไม่สามารถพับได้ควรหาวัตถุมารองรับเป็นฉากหลังที่แสงส่องผ่านซึ่งแนะนำว่าควรเซรามิกสีขาว สำหรับอุปกรณ์การวัดที่มีลักษณะใส เช่น ถ้วยแก้วบรรจุตัวอย่างแบบผงหรือแบบของเหลว ควรบรรจุตัวอย่างให้เต็มพื้นที่ที่มีแสงเดินทางผ่าน ไม่ควรเหลือช่องว่างในภาชนะอุปกรณ์ ตัวอย่างที่มีการผลิตออกมาจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ควรทิ้งให้ตัวอย่างเย็นลงเพื่อลดความเบี่ยงเบนของสีเกิดมาจากผลของอุณหภูมิหรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ อุณหภูมิมีผลต่อการวัดสี ตรวจสอบตัวอย่างที่จะวัดทุกครั้งจะต้องไม่มีการปนเปื้อนของคราบน้ำมัน,สิ่งสกปรกหรือฝุ่นผงใดๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลทำให้การวัดสีผิดเพี้ยน ทุกครั้งที่มีการวัดตรวจสอบบพื้นที่ของตัวอย่างที่ต้องการวัดควรครอบคลุมพื้นที่ของรูรับแสงของเครื่องมือวัดสีอย่างสมบูรณ์เพื่อค่าสีที่ถูกต้องที่สุด สำหรับตัวอย่างที่มีลวดลายหรือแพทเทิร์นควรวางตัวอย่างในทิศทางเดียวกัน หากจำเป็น ควรหมุนเปลี่ยนทิศทางของตัวอย่าง 90 องศาเพื่อวัดสีในทิศทางต่างๆของตัวอย่าง ต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีของเราและให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ
-
วิธีทดสอบหน้าจอแสดงผลแบบ OLED
Credit: Howstuffworks.com Organic Light Emitting Diodes หรือ OLED เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลแบบใหม่ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ สมาร์ทโฟน, อุปกรณ์สวมใส่และโทรทัศน์ เป็นต้น มองไปข้างหน้าทศวรรษหน้าจะนำเทคโนโลยีที่เหนือชั้นและความก้าวหน้า การสแกนใบหน้า, ลายนิ้วมือและสแกนจอประสาทตาที่ดูเหมือนยากในอดีตแต่ในปัจจุบันมันเรื่องที่สามารถพบเจอได้ง่ายมากๆบนอุปกรณ์มือถือมากมาย การพัฒนาของ OLED จะเปลี่ยนวิธีพื้นฐานการผลิตหน้าจอประสิทธิภาพสูงและในไม่ช้าการแสดงผลแบบสามมิติและการเพิ่มประสิทธิภาพของจอแสดงผลแบบสามมิติสำหรับผู้บริโภคจะกลายเป็นภาพที่พบบ่อยเช่นเดียวกับการสแกนลายนิ้วมือบนมือถือในปัจจุบัน ข้อดีของ OLED คือไม่ต้องใช้แบล็คไลท์ (Backlight) ฉะนั้นจะทำให้จอแสดงผลนั้นบางลงและไม่เปล่งแสงบริเวณที่เป็นสีดำทำให้ใช้พลังงานน้อยลงเช่นกัน (สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OLED ได้ที่ Howstuffworks.com) ความสว่างของจอแสดงผล OLED ถูกพิจารณาจากระดับขนาดพิกเซลซึ่งแต่ละพิกเซลประกอบด้วย Sub-pixel สามสี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งเมื่อส่องสว่างในระดับต่างๆ ก็จะสามารถสร้างสรรค์ออกมาเป็นสีต่างๆได้การปรับปรุงความสว่างและความสม่ำเสมอของสีในจอแสดงผล OLED สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพิกเซลย่อยแต่ละสีแยกกัน ขั้นตอนทั่วไปเริ่มต้นจากการเปิดพิกเซลย่อยสีเดียวกันทั้งหมด แล้วจึงถ่ายภาพโดยใช้เครื่องมือแบบ imaging colorimeter ซึ่งผู้ใช้สามารถวัดและบันทึกความสว่างของแต่ละ sub-pixel หลังจากนั้นกระบวนการนี้จะทำซ้ำสำหรับสีที่เหลืออยู่ ดังเช่นภาพตัวอย่างด้านซ้ายมือ…
-
เคล็ด(ไม่)ลับและเทคนิคสำหรับการวัดและควบคุมคุณภาพของสัญญาณไฟแบ็คไลท์ (Backlit Symbol)
ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ไปจนถึงโรงภาพยนต์ขนาดใหญ่หรือแผงควบคุมของรถยนต์ไปจนถึงสัญลักษณ์การคาดเข็มขัดนิรภัย Backlit Symbol หรือสัญญาณไฟแบ็คไลท์ อยู่รอบๆตัวเราในชีวิตประจำวัน สัญญาณไฟแบคไลท์ส่องสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงที่อยู่พื้นผิวด้านหลัง ที่เรียกว่า Backlight unit (BLU) สัญลักษณ์และตัวอักษร จะถูกตัดให้แสดง เพื่อบอกความหมายต่างๆ โดยใช้แสงสว่างจากแหล่งกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น ป้าย EXIT ที่ติดอยู่ที่ทางออกของโรงภาพยนต์ สัญญาณไฟแบ็คไลท์ถูกใช้และถูกให้ความสำคัญมากในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบินและยานพาหนะ ซึ่งต้องทำให้มั่นใจว่าสัญญาณไฟที่ปรากฎนั้นสามารถแสดงต่อผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนและถูกต้องแม้ในสภาวะแวดล้อมที่อาจจะมีข้อจำกัดในที่มืดหรือแสงน้อย โดยผู้ผลิตสัญญาณไฟแบ็คไลท์ต้องให้ความสำคัญการตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์สัญญาณไฟแบ็คไลท์ เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆด้านประสิทธิภาพและเพื่อให้ภาพชัดเจนตามที่ต้องการ สัญลักษณ์ไฟแบ็คไลท์เหล่านั้นจึงจำเป็นต้องถูกทดสอบอย่างรอบคอบและระมัดระวังทั้งด้านความสว่าง (luminance), สีของสัญลักษณ์, ลักษณะรูปร่างที่ปรากฎ, ความสม่ำเสมอของภาพ (ทั้งในบริเวณของสักษณ์นั้นๆและภาพใกล้เคียง) รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจถูกทดสอบด้วย ProMetric® Imaging Photometers ของ Radiant Vision System ได้ถูกนำมาใช้ในรูปแบบของการทดสอบอย่างแม่นยำสัญลักษณ์ backlit นี้สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างในอุตสาหกรรมต่างๆที่นำมาใช้ร่วมกับทั้งProMetric®ซอฟแวร์และTrueTest™อัตโนมัติภาพซอฟแวร์การตรวจสอบ Tips & Tricks ในชุดของคลิปวิดีโอด้านล่างผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Radiant แสดงให้เห็นถึงการทดสอบและคุณสมบัติที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่อย่างสำหรับการทดสอบสัญลักษณ์เรืองแสงในแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของเรา Automatic Points of Interest (Auto-POI) ฟังก์ชั่น Auto-POI ที่มีอยู่ในทั้งแพลตฟอร์ม ProMetric และ TrueTest สามารถวัดค่าของสัญลักษณ์แบ็คไลท์ (backlit symbols)ได้ง่ายยิ่งขึ้น…