• บทความ

    CM-36dG Series กับฟังก์ชันการวิเคราะห์และการปรับความยาวคลื่น (WAA)

         เครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ออกแบบมาเพื่อวัดวัสดุที่มีสีอย่างแม่นยำและความคงที่ในการวัดซ้ำ(repeatability) โดยทั่วไปความยาวคลื่นของเครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์จะมีการเบี่ยงเบนอย่างสม่ำเสมอตามการใช้งานซ้ำๆ เมื่อเวลาผ่านไป ความคลาดเคลื่อนนี้สามารถเกิดขึ้นเองได้แม้จะเป็นเครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ที่แม่นยำที่สุด และอาจทำให้ผลการวัดผันแปรได้ นอกจากนี้ อุณหภูมิและความชื้นโดยรอบยังสามารถส่งผลต่อผลการวัดที่ผันผวนตลอดทั้งวันและในแต่ละวัน        เครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ Konica Minolta CM-36dG , CM-36dGVและCM-36d มาพร้อมกับฟังก์ชันการวิเคราะห์และการปรับความยาวคลื่น (WAA)  ซึ่งสามารถตรวจจับและแก้ไขการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความยาวคลื่นได้โดยอัตโนมัติ เมื่อรวมกับการสอบเทียบจากโรงงานหรือการสอบเทียบประจำปี ยิ่งทำให้เครื่องวัดสีมีการวัดที่เสถียรและแม่นยำมากขึ้น           เครื่องมือทั้งสามมีความคงที่ในการวัดซ้ำ(repeatability)สูงที่ σ∆E*ab < 0.02 สำหรับ CM-36dG และ CM-36dGV และ σ∆E*ab < 0.03 สำหรับ CM-36d ด้วย CM-36dG และ CM-36dGV นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างระหว่างเครื่องมือ Inter Intrument Agreement (IIA) ΔE*ab< 0.12 การใช้เครื่องมือที่มีค่า Inter Intrument Agreement (IIA) ที่แคบ นั่นคือ…

  • บทความ

    การประเมินคุณภาพแป้งด้วยการวัดสี

               แป้งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับอาหาร ตั้งแต่ขนมปัง บิสกิต ไปจนถึงเส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งที่ได้จากข้าวสาลีให้ผลผลิตหลายประเภท สีของแป้งมักจะบ่งบอกถึงคุณภาพของแป้งซึ่งสามารถประเมินได้โดยการวัดความสว่างและความเหลืองของแป้ง ความสว่างได้รับผลกระทบจากปริมาณรำและกระบวนการขัดสี ส่วนความเหลืองจะเกี่ยวข้องกับเม็ดสีแคโรทีนอยด์ของข้าวสาลี เดิมทีจะมีการประเมินสีของแป้งด้วยสายตา วิธีนี้เป็นแบบเฉพาะบุคคล เนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อม ซึ่งแสงและสีโดยรอบก็อาจส่งผลต่อการประเมินค่าสี แต่ปัจจุบันเครื่องวัดสีมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นหน่วยสี CIE LAB สำหรับวัดสีของแป้ง ควรให้ความสำคัญกับค่าสี L* และ b* เพราะค่า L* คือการวัดความสว่าง โดยที่ 0 เป็นสีดำ และ 100 คือสีขาว และค่า b* หมายถึงช่วงสีน้ำเงินถึงเหลือง โดยที่ค่า b* เป็น + จะบ่งชี้ถึงความเหลือง สำหรับความสามารถในการวัดซ้ำ (repeatability)  การเตรียมตัวอย่างแป้งควรเตรียมให้เหมือนกันในทุกการวัด เช่น ขนาดตัวอย่าง ภาชนะ และอื่นๆ          เครื่องวัดสีที่แนะนำและเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมในหลายๆอุตสาหกรรม อาจจะมีหลายคนที่คุ้นเคยกับ Konica Minolta รุ่น…

  • บทความ

    การวัดสปาร์คเคิล(Repeatable Sparkle Measurement)เพื่อควบคุมคุณภาพของหน้าจอแสดงผลแบบเคลือบฟิล์มป้องกันแสงสะท้อน

    แสงโดยรอบสามารถทำให้เกิดแสงสะท้อนที่เหมือนกระจกบนหน้าจอแสดงผลของรถยนต์ ทำให้ภาพมัวและทำให้การมองเห็นภาพและอ่านตัวอักษรได้ยาก            จอภาพหรือจอแสดงผลเช่น คอนโซลหน้ารถและแผงหน้าปัดควบคุม มีตำแหน่งการวางหน้าจอที่ถูกกำหนดไว้คงที่ โดยต้องสัมพันธ์กับการมองของผู้ขับขี่และสภาพแสงที่เปลี่ยนแปลง ในขณะใช้งานหรือการขับขี่ จอภาพในรถยนต์เหล่านี้ต้องสามารถดูได้ในทุกสภาพแสงแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไปแล้วฟิล์มป้องกันแสงสะท้อน (anti-glare : AG) จะนำไปใช้กับจอแสดงผลเพื่อลดแสงสะท้อนจากแหล่งกำเนิดแสง เช่น แสงแดดและโคมไฟถนน เพื่อให้ข้อมูลสำคัญปรากฏชัดเจนแก่ผู้โดยสารและผู้ขับขี่รถยนต์ ฟิล์มและสารเคลือบ AG มีพื้นผิวโครงสร้างที่ช่วยให้แสงโดยรอบกระเจิงออกจากหน้าจอแสดงผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณแสงในมุมสะท้อน อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นผิวนี้ยังรบกวนแสงที่ปล่อยออกมาจากพิกเซลของจอแสดงผลอีกด้วย การรบกวนของพื้นผิว AG กับรูปทรงพิกเซลของจอแสดงผลทำให้เกิดเอฟเฟกต์ภาพที่เรียกว่า “ประกายหรือสปาร์คเคิล” (Sparkle) มีผลทำให้ความคมชัดของจอแสดงผลลดลงและอาจปรากฏเป็นเม็ดเล็กหรือพร่ามัวต่อผู้ขับขี่ การวัดด้วยการถ่ายภาพโดยระบบทดสอบ ตามภาพแสดงให้เห็นการเคลือบด้วยชั้นของ AG (ภาพขวา) แสดงคุณสมบัติที่ปรากฎต่อสายตา ซึ่งรวมถึงการเกิดประกาย ความมัวและการกระจายตัวของสปาร์คเคิล            โครงสร้างจุลภาคขนาดเล็กที่มีเหลี่ยมคล้ายเพชรที่ประกอบเป็นเลเยอร์ AG ทำหน้าที่เป็นเลนส์ขนาดเล็ก sparkly เกิดขึ้นเมื่อแสงที่ปล่อยออกมาจากพิกเซลที่แสดงแต่ละพิกเซลหักเหโดยเลนส์เหล่านี้ (ความแปรปรวนของพื้นผิว) แสงที่ตัดผ่านพื้นที่พิกเซล ทำให้เกิดการรบกวนและกระจาย แสงที่หักเหจะปรากฏ ” sparkly ” ส่งสัญญาณรบกวนทางสายตา ซึ่งความท้าทายในการผลิตจอแสดงผลแบบเคลือบ AG คือการทำให้แน่ใจว่าพื้นผิว…

  • บทความ

    ตัวช่วยควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมการเกษตร

                    ผลิตผลจากการเกษตรเป็นแหล่งอาหารที่เราทุกเราต้องการ การจะได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพด้านต่างๆ ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละสายพันธ์ หรือผลิตผลที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทมากมายที่ออกแบบเครื่องมือวัดสำหรับการนำไปใช้ในงานที่หลากหลาย เช่นเดียวกับ Konica Minolta ที่มีเครื่องมือวัดสำหรับการวัดสี แสง และhyperspectral imaging วัดแสงเพื่อการเกษตร         การทำเกษตรแบบแนวตั้ง (vertical farming) เป็นการเพาะปลูกในโรงเรือน ปลูกเป็นชั้น การเพาะปลูกในลักษณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ สามารถควบคุมปริมาณแสง ความชื้น อุณหภูมิให้พอเหมาะต่อพืชที่เพาะปลูกได้  หลายที่เลือกใช้หลอด LED เป็นแหล่งกำเนิดแสงให้กับพืชที่เพาะปลูก         การหาแสงสว่างที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญและเข้าใจผลลัพธ์และความสามารถในการจัดหาพลังงานที่จำเป็นเพื่อการเติบโตของพืช เครื่องมือวัดแสงเพื่อการเกษตร ทาง Konica Minolta มีเครื่องมีวัดแสงหลากหลายรุ่น ยกตัวอย่างเช่น  Illuminance Meter T-10A ,  Illuminance Spectrophotometer CL-500A เป็นต้น สามารถวัดค่า lux, Correlated Color…

  • บทความ

    Case Study : กรณีศึกษาการทดสอบเทคโนโลยีแสดงผล HUD บนกระหน้ารถ

    A typical after-market HUD: the display area is limited to a small transparent screen mounted on the dashboard, nicknamed a “dashboard wart” by one industry commentator. (Image: © NAVDY) Head-up displays (HUDs) เป็นเทคโนโลยีแสดงผลบนกระหน้ารถ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเห็นข้อมูลการขับขี่ได้ โดยจะออกแบบให้มองเห็นพอดีกับสายตาขณะขับขี่บนท้องถนน โดยไม่จำเป็นต้องก้มลงมองแผงหน้าปัดรถยนต์                 Head-up displays (HUDs) ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในทศวรรษที่ 1940 และถูกใช้โดยนักบินทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดที่สำคัญไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับเครื่องบินหรือรถยนต์ HUDs จะฉายข้อมูลกึ่งโปร่งใสโดยตรงในมุมมองของผู้ขับขี่ โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิธีการฉายภาพและเทคโนโลยีการแสดงผลได้ถูกพัฒนามากขึ้น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เราได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจากหน้าจอ 2D…

  • บทความ

    การตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารด้วย Hyperspectral Imaging

    รูปที่ 1 HSI สามารถระบุลักษณะไขมันในเนื้อสัตว์ได้พร้อมกันและรวดเร็ว และตรวจจับวัตถุที่ไม่ต้องการ เช่น ไม้และพลาสติกจากเนื้อสัตว์              คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภค การตรวจสอบลักษณะภายนอกและองค์ประกอบต่างๆของอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยภายใต้ดูแลขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตลอดจนความคาดหวังของผู้บริโภค         การตรวจสอบมีหลายวิธี แต่วิธีการที่แพร่หลายในปัจจุบัน บางวิธีต้องการการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน นอกจากนี้ด้วยวิธีการตรวจสอบมักทำลายตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบ         ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาภาพไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging หรือ HSI) เป็นเทคนิคที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร เป็นวัดปฏิกิริยาระหว่างแสง (การสะท้อน การส่งผ่าน ฯลฯ) และวัสดุผ่านกล้องไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อให้ได้ spectral signatures หรือ spectral fingerprints วัสดุทุกชิ้นมี spectral signatures ที่เป็นเอกลักษณ์ และ spectral fingerprints เหล่านี้มีข้อมูลเชิงปริมาณ ที่สามารถใช้เพื่อระบุลักษณะ และแยกแยะวัสดุเพิ่มเติม ดังแสดงในรูปที่ 1 HSI การถ่ายภาพแบบ full-spectral imaging…

  • บทความ

    การรวมกันทางเทคนิคของโฟโตมิเตอร์และการแสดงภาพด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบ Backlit Symbol หรือไฟสัญญาณแบ็คไลท์ อย่างมีประสิทธิภาพสูง

    อุตสาหกรรมยานยนต์กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาสูงสุดในการออกแบบและผลิตรถยนต์ เนื่องจากเทคโนโลยี ความคาดหวังของผู้บริโภค และกลไกของตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความปลอดภัยยังคงอยู่ในระดับแนวหน้า ส่วนประกอบหลักคือระบบไฟสัญญาณมีความสำคัญต่อระบบปลอดภัยของรถยนต์ทุกคัน ระบบไฟสัญญาณจะส่งข้อมูลที่สำคัญไปยังผู้ขับขี่และอำนวยความสะดวกในขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัยในทุกสภาวะแสงรอบด้าน หรือทุกสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง แผงหน้าปัดควบคุมสเหมือนเป็นศูนย์กลางแสดงข้อมูลเป็นภาพสัญญาลักษณ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีมาตรวัดเรืองแสง สัญลักษณ์ ไฟสัญญาณ และไฟเตือน เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถและตรวจสอบสถานะได้ ส่วนประกอบไฟสัญญาณต่างๆ ยังถูกติดตั้งในสแต็คตรงกลาง เช่นปุ่มควบคุมแบบไฟแบ็คไลท์ ปุ่มและแป้นหมุนที่เรืองแสง และหน้าจอแสดงผลที่มีจีพีเอส อินโฟเทนเมนท์ให้ความบันเทิง และแผงควบคุมและให้ข้อมูลสภาพแวดล้อม                ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี LED มีความก้าวหน้า, เทคโนโลยีจอแสดงผลแบบใหม่ เช่น OLED มีรูปทรงอิสระ/โค้งมน ได้ผลักดันให้นักออกแบบยานยนต์ทำการออกแบบจอแสดงผลที่มีรูปทรง คุณสมบัติหลากหลายมากขึ้น รวมถึงการออกแบบ สัญญาณไฟแบ็คไลท์ ระบบควบคุม และไฟส่องสว่างในทุกพื้นที่ภายในห้องโดยสาร ในขณะเดียวกันระบบเซ็นเซอร์ในรถยนต์ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์แก่ผู้ขับขี่เพิ่มมากขึ้น เช่น ระบบเตือนรถร่วมทางในระยะใกล้เป็นไอคอนบนจอแสดงผลหรือในกระจกมองข้าง มาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนดให้ชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีการเรืองแสงหรือส่องสว่าง เช่น ไฟเตือนและไฟแสดงสัญญาณ ต้องตรงตามข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับค่าความส่องสว่าง ค่าสีของแสง ความชัดเจนและรูปร่าง องค์ประกอบเหล่านี้ต้องได้รับการทดสอบตามกฎหมายด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ตลอดจนข้อกำหนดทางคุณภาพภายในกระบวนการผลิต เนื่องจากเทคโนโลยีมีการพัฒนา ความซับซ้อนของข้อกำหนดการตรวจสอบก็เช่นกัน ภาพไอคอนและไฟสัญญาณแบ็คไลท์ทั่วไปบนแผงหน้าปัดรถยนต์ ข้อกำหนดการตรวจสอบชิ้นส่วนภายในยานยนต์ที่มีการเรืองแสงการทดสอบประสิทธิภาพการรับรู้ทางสายตาและคุณภาพของชิ้นส่วนยานยนต์ที่เรืองแสงทั้งหมดจำเป็นต้องมีโซลูชันที่สามารถให้ค่าการทดสอบดังนี้ การวัดค่าสมบูรณ์ (absolute…

  • บทความ

    การตรวจสอบเทคโนโลยีแสดงผลภาพบนกระจกหน้ารถ หรือ Head up display (HUD)

    HUD สำหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์เครื่องแรกอยู่ใน ปี 1988 Oldsmobile Cutlass Supreme (ภาพ: © General Motors)          เทคโนโลยีแสดงผลภาพบนกระจกหน้า (HUD) เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเห็นข้อมูลการขับขี่ได้โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์  รวมทั้งความคาดหวังของลูกค้าด้านคุณภาพของภาพและประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น เริ่มตั้งแต่บนเครื่องบินสงครามโลกครั้งที่ 2จนถึง HUD สำหรับยานยนต์เครื่องแรกจาก General Motors ในปี 1988 จนถึงปัจจุบัน ระบบ HUD ได้พัฒนามาไกลในด้าน UI หรือปัจจัยในการเชื่อมต่อกับผู้ขับขี่ที่สามารถมองเห็นได้ซับซ้อนและสวยงามมากขึ้น          ปัจจุบัน HUD ได้รับการบรรจุเป็นอุปกรณ์มาตรฐานหรืออุปกรณ์ทางเลือกจากผู้ผลิตรถยนต์มากกว่า 30 รายทั่วโลก สามารถพบได้ในรถยนต์หรู อย่างเช่น BMW, Mercedes-Benz, Jaguar และ Rolls Royce แม้แต่รถระดับกลางและ SUV จากผู้ผลิตต่างๆ เช่น Hyundai, Volvo, Mazda, Audi, Chevrolet…

  • บทความ

    การวัดสีชิ้นงานที่มีความเงา

    การวัดสีสินค้าสิ่งที่จำเป็น เป็นดูแลลักษณะภายนอกของสินค้าให้สวยงามและน่าซื้อ แต่การวัดสีสินค้าบางชนิด มีเอฟเฟกต์ของพื้นผิวมามีปัจจัยกับค่าสี เช่น ความมันวาว ที่ถูกนำมาใช้ให้สินค้าสองชิ้นที่มีสีใกล้เคียงกันดูแตกต่างกัน  อันที่มีระดับความมันวาวสูงกว่าจะดูเข้มและอิ่มตัวมากกว่าอีกอันหนึ่ง ในกรณีดังกล่าว การประเมินทั้งสีและความมันวาวเป็นสิ่งจำเป็นเพื่ออธิบายและวิเคราะห์ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ แม้ว่าเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์จำนวนมากสามารถอ่านค่าความเงาที่สัมพันธ์กันได้ แต่ก็ไม่ใช่การวัดความเงาที่แท้จริง นอกจากนี้ เครื่องวัดความเงาส่วนใหญ่ไม่มีการวัดมุมของความเงา จึงทำให้ผู้ใช้งานหลายคน ใช้เครื่องวัดความเงาร่วมกับเครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ การสลับไปมาระหว่างเครื่องมือนั้นอาจทำให้เป็นตำแหน่งที่วัดเปลี่ยนไป             ปัจจุบันเครื่องวัดสีแบบสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ได้พัฒนามากขึ้นทำให้สามารถวัดได้ทั้งสีและความเงา ในบทความนี้จะขอแนะนำ เครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ Konica Minolta CM-36dG เป็นรุ่นที่ออกมาใหม่ มาพร้อมเซ็นเซอร์ความเงา 60° ในตัว ทำให้สามารถวัดสีและความเงาพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ CM-36dG ออกแบบมาให้ทันสมัยมากขึ้นด้วยแผงสถานะที่อ่านง่ายและฟังก์ชันการดูตัวอย่างที่ช่วยลดข้อผิดพลาดของกระบวนการวัด พื้นที่การวัดที่แตกต่างกันสี่แบบคือ Ø4.0 มม., Ø8.0 มม., Ø16.0 มม. และ Ø25.4 มม.เพื่อตอบสนองความต้องการในการวัดที่แตกต่างกัน ค่าความต่างระหว่างตัวเครื่อง (IIA) ที่ ∆E*ab < 0.12 (ค่าเฉลี่ยของแผ่น BCRA 12 ชิ้น) และ ±0.2 GU (0…

  • บทความ

    วัดสีซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว(Citrus Fruits)

                การเลือกซื้อผลไม้ของผู้บริโภคมักใช้สีในการตัดสินใจเลือกซื้อ โดยเลือกจากสีที่สื่อถึงความสดและรสชาติของผลไม้  นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในทั้งระยะก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว          กระบวนการสุกของซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มีลักษณะเฉพาะด้วยวิวัฒนาการของสี และมักใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อกำหนดเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม โดยทั่วไปสีของผลไม้จะมีการประเมินสายตา แม้ว่าจะเป็นวิธีที่รวดเร็วและราคาไม่แพงในการประเมินสี แต่ก็มีแนวโน้มที่มนุษย์จะลำเอียงในการเลือกสี (อ่านปัจจัยที่มีผลต่อการวัดสีด้วยสายตา) นอกจากนี้ สีและแสงโดยรอบยังส่งผลต่อการประเมินสีอีกด้วย ทุกวันนี้เครื่องมือวัดสีพร้อมใช้งานและใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการประเมินสีที่รวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ และมีความสม่ำเสมอ        ด้วยเครื่องมือวัดสี สีของซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  เช่น ความเขียวและสีเหลืองของส้ม สามารถประเมินได้อย่างง่ายดายโดยใช้ หน่วยสีCIE L*a*b*และ หน่วยสี CIE L*C*h นอกจากนี้สามารถตั้งค่าขอบเขตของสี (color tolerance) เพื่อตั้งเป็นเกณฑ์ให้เครื่องวัดสี การประเมิน Pass/Fail ได้อย่างรวดเร็ว              สำหรับการวัดสีซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จะขอแนะนำเป็นเครื่องวัดสี  Konica Minolta Chroma Meter CR-400 series ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและส่วนผสม…