• บทความ

    การตรวจสอบคุณภาพยาโดยใช้การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม (HSI)

    อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบเข้มงวดที่สุด โดยต้องผ่านการตรวจสอบกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ แม้ว่าวิธีที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง  High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) จะเป็นวิธีสำคัญในการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา แต่ HPLC มีต้นทุนสูงและใช้เวลานาน ในการตรวจสอบตัวอย่างที่มีปริมาณมาก ทั้งเวลาและต้นทุนจึงอาจจะเป็นข้อจำกัดสำหรับวิธีนี้ ด้วยความต้องการวิธีการและเทคนิคการตรวจสอบคุณภาพยาที่ไม่ทำลายตัวอย่างและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นแรงผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ และที่ล้ำหน้าที่สุดคือ การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging : HSI ) การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging : HSI ) การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมเป็นการผสมผสานระหว่างเทคนิคการถ่ายภาพและการสเปกโตรสโคปีขั้นสูง ซึ่งต่างจากวิธีการถ่ายภาพแบบเดิมที่จับภาพได้เฉพาะช่องสีแดง เขียว และน้ำเงิน การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมนั้นจับภาพช่วงคลื่นแสงที่กว้างขึ้น โดยครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นในช่วงที่ visible จนถึงอินฟาเรด (infrared) ความสามารถพิเศษนี้ทำให้ภาพสเปกตรัมแบบไฮเปอร์สเปกตรัล สามารถจับภาพข้อมูลสเปกตรัมละเอียดจำนวนมากในแต่ละพิกเซลของภาพได้ และสร้างข้อมูลสามมิติที่เรียกว่า ไฮเปอร์สเปกตรัลคิวบ์ (Hyperspectral Cube) ในชุดข้อมูลสามมิตินี้ แต่ละพิกเซลจะมีพิกัดเชิงพื้นที่พร้อมกับสเปกตรัมทั้งหมด ทำให้เห็นภาพรวมที่ครอบคลุมและละเอียดของฉากหรือวัตถุที่ถ่ายภาพ ตัวอย่างภาพประกอบของการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ในการถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจความจำเพาะของสเปกตรัมที่แตกต่างกันของวัสดุ วัสดุแต่ละชนิดจะแสดงรูปแบบเฉพาะของการโต้ตอบของแสง (เช่น การสะท้อนแสง) ที่ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อให้เกิด Spectral Fingerprint ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถใช้เพื่อแยกแยะคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพของวัสดุต่างๆ ได้ ด้วยศักยภาพในการระบุวัสดุที่มีความแม่นยำสูงและมีรายละเอียดสูง การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมจึงกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นเกษตรกรรม…

  • บทความ

    สรุปการเลือกเครื่องวัดสี 2024 สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์

            เครื่องวัดสีแต่ละรุ่น ล้วนมีความสามารถและฟังก์ชั่นต่างกัน การเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับการใช้งานหรือเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับตัวอย่างที่เราต้องการจะวัดค่าสี เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้องนั้นยังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับใครหลายคน ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องวัดสีสักเครื่องนึง ก่อนซื้อเครื่องวัดสีต้องรู้อะไรบ้าง ? 1. ต้องรู้จักลักษณะทางกายภาพของตัวอย่าง  เช่น พื้นผิวตัวอย่าง มีความมันเงาหรือไม่, พื้นผิวตัวอย่างเรียบหรือขรุขระ, ตัวอย่างมีความโค้ง หรือตัวอย่างมีความโปร่งแสงหรือไม่ เป็นเฉดสีลักษณะพิเศษหรือไม่ ลักษณะต่างๆเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ตัดสินใจเครื่องวัดสีได้เหมาะสมกับงานมากขึ้น เพราะเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นนั้นมีหลักการอ่านค่าสีต่างกัน มีพื้นที่การวัดไม่เท่ากัน เช่น การวัดค่าสีตัวอย่างโปร่งแสงจะเลือกใช้การวัดในโหมดการวัดการส่งผ่าน (Transmittance) ต่างจากตัวอย่างทึบแสงจะเลือกใช้การวัดในโหมดการสะท้อนแสง (Reflectance mode) 2. สิ่งสำคัญมากๆควรรู้ว่า ต้องการวัดค่าสีเป็นหน่วยอะไร (หน่วยที่นิยมมากที่สุดคือ L*a*b) เนื่องจาก เครื่องวัดสีบางรุ่นนั้น อาจจะไม่สามารถวัดค่าสีได้ทุกหน่วย และในบางรุ่นสามารถวัดค่าสีได้ทุกหน่วย แต่ก็อาจจะเกินความจำเป็นที่จะใช้งาน แน่นอนว่าเครื่องวัดที่สามารถวัดได้ทุกหน่วยย่อมมีราคาที่สูงกว่า เครื่องวัดสีที่สามารถวัดได้บางหน่วย (หากยังไม่รู้จักหน่วยสีต่างๆ อยากแนะนำให้อ่านเรื่องหน่วยสีเพิ่มเติมก่อนนะคะ หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 1 และ  หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 2) 3.บริการหลังการขาย เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมากๆที่หลายคนอาจจะลืมเรื่องนี้ไป เครื่องวัดค่าสี 1 เครื่องมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 5-10 ปีหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่นอกจากการใช้งานแล้วการดูแลการเก็บรักษาเครื่องวัดสีเป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม มีหลายคนที่เลือกเครื่องวัดสีโดยไม่สนใจเรื่องบริการหลังการขาย…

  • บทความ

    นอกจากค่าสี ต้องดูค่าอะไรบ้าง?

                สินค้า 1 ชิ้น ไม่ได้มีแค่ “สี” แต่ยังมีความเงา ที่เป็นลักษณะภายนอกที่มองเห็นและมีผลต่อการประเมินค่าสีของชิ้นงาน  โดยเฉพาะชิ้นงานที่เป็นไฮกลอสหรือมีความมันเงามาก การประเมินสีและการประเมินคุณภาพจำเป็นต้องวัดความเงาและพารามิเตอร์อื่นๆเพิ่มเติมด้วย เพื่อแก้ปัญหาต่างๆของชิ้นงานได้ เช่น ปัญหา “ผิวเปลือกส้ม” ที่พบได้มากในชิ้นงานที่มีการพ่นสี การเคลือบสี ทำให้ผิวของชิ้นงานไม่เรียบ ไม่สม่ำเสมอ คุณภาพของชิ้นงานลดลง บทความนี้จะพามารู้จักพารามิเตอร์เหล่านั้นพร้อมแนะนำเครื่องวัดที่ใช้ พารามิเตอร์ที่ควรทำความรู้จัก 1. Gloss: ความเงา สายตาของเราสามารถแยกความแตกต่างของความเงาได้ แต่การประเมินด้วยสายตานั้นไม่ใช่การประเมินที่ดี เนื่องจากสายตาของแต่ละคน การตัดสินใจ และการสื่อสาร ไม่เหมือนกัน อาจจะมีคล้ายกัน แต่ไม่สามารถเอาความคล้ายกันมาตัดสินหรือประเมินชิ้นงานได้ ความเงาเป็นปฏิกิริยาระหว่างแสงกับพื้นผิว แสงใด ๆ ที่สะท้อนจากพื้นผิวโดยไม่เปลี่ยนสเปกตรัมเรียกว่า ความเงา และมุมที่ใช้ในการวัดควรใช้ตามสภาพความเงาของตัวอย่าง พื้นผิวด้าน 85 ° กึ่งเงา 60° ความเงาสูง 20° ในทางปฎิบัติ หากวัดชิ้นงานที่มุม 60° ได้ค่า gloss มากกว่า 70 GU แนะนำให้ใช้มุมวัดที่ 20°…

  • บทความ

    การวัดสีในอุตสาหกรรมยานยนต์

    ภาพโดย Krzysztof Przybylak จาก Pixabay            กว่าจะได้รถยนต์มา 1 คัน นอกจากการตรวจาอบสอบระบบต่างๆของรถยนต์แล้ว รูปลักษณ์ของรถยนต์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์  ในทางอุตสาหกรรมยานยนต์ การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์แต่ละส่วนนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนนำมาประกอบ แน่นอนว่าชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีการตรวจสอบแตกต่างกัน การตรวจสอบสีของรถยนต์ แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนภายนอกและภายในรถยนต์ การวัดสีภายนอกรถยนต์ สีของรถโดยเฉพาะรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน 2 ชิ้นติดกันควรมีความกลมกลืนไม่ทำให้เกิดการสะดุดตา ปัจจุบันสีของรถมีการพัฒนาให้มีความหรูหรา โดดเด่นมากขึ้นซึ่งสีใหม่ๆเหล่านี้มีเทคนิคพิเศษในการพ่น การเคลือบที่ต้องการความพิธีพิถันมากขึ้นเช่นเดียวกับการตรวจสอบที่ต้องเพิ่มความละเอียดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างการพ่นสี หรือเคลือบสีรถยนต์          หากการวัดสีรถยนต์ที่เป็นสี solid เครื่องวัดสีทั่วไปสามารถวัดได้ แต่หากเป็นสีกลุ่มเมทาลิค สีมุก สีแคนดี้ กลุ่มสีที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมุมมองเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสีเหล่านี้จะมี effect pigment เช่น สีกลุ่มเมทาลิคซึ่งภายในเนื้อสีจะมี aluminum flake ที่สามารถเพิ่มการสะท้อนแสงเมื่อมีแสงมาตกกระทบ ดังนั้นในบางมุมจะเห็นสีมีความสว่างมากขึ้น บางมุมมองเห็นสีทึบมากขึ้น และนอกจาก effect pigment ที่เกิดจาก aluminum…

  • บทความ

    การวัดสีส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์

              การตกแต่งภายในของรถ เป็นอีกปัจจัยในการเลือกซื้อรถยนต์และเนื่องจากความคาดหวังของลูกค้าและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ภายในของรถประกอบด้วยส่วนประกอบหลายอย่างตั้งแต่คอนโซลกลางและแผงหน้าปัดไปจนถึงขอบประตูและที่นั่ง สีและรูปลักษณ์ของส่วนประกอบเหล่านี้ต้องเข้ากันได้อย่างกลมกลืน เพื่อให้ได้ภายในรถที่สวยงามน่าดึงดูดใจมากที่สุด แต่เมื่อมีส่วนประกอบหลายชิ้นมาประกอบกัน อาจจะเกิดความแตกต่างของสีระหว่างส่วนประกอบต่างๆขึ้นมา เนื่องจากความแตกต่างในวัสดุ, สารให้สีและกระบวนการขึ้นรูป เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสีของส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์มีความกลมกลืนกัน ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีการตรวจสอบส่วนประกอบทั้งหมดนี้ การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ ภายในรถยนต์ สิ่งที่ลูกค้าจะมองเห็นสิ่งแรกนั่นคือ ”สี”  ในทางอุตสาหกรรม เราไม่แนะนำให้ใช้สายตาประเมินสี เนื่องจากมหลายๆปัจจัยที่ต้องควบคุมไม่ให้ส่งผลต่อการประเมินค่าสีด้วยสายตา (เราอยากแนะนำให้คุณอ่านบทความเรื่อง สภาพวะต่างๆที่มีผลต่อการปรากฏของสี  เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีผลในการประเมินสีด้วยสายตา คลิกอ่านที่นี้)        นอกจากเรื่องปัจจัยที่ต้องควบคุมแล้วยังมีเรื่องของจำนวนตัวอย่างและเวลาประเมินสีของส่วนประกอบต่างๆในรถยนต์ เราอยากแนะนำเป็นเครื่องวัดสีที่สามารถวัดสีได้แม่นยำและรวดเร็ว เครื่องวัดสีจะช่วยควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินสีต่างๆได้เป็นอย่างดี การใช้เครื่องมือวัดสีและปริภูมิสี CIE L*a*b* กำหนดสีเป้าหมายหลักและรวบรวมตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายกัน จากนั้นวัดตัวอย่างและใช้ค่า L*a*b* เพื่อสร้างขีดจำกัดความคลาดเคลื่อนของสี เพื่อการตรวจสอบสีที่ง่ายและรวดเร็ว นอกจากสีแล้วการวัดความเงาก็มีความสำคัญเช่นกัน           ส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์มีค่า L*a*b* ใกล้เคียงกัน แต่พื้นผิวของส่วนประกอบต่างๆอาจมีลักษณะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เฉดสีของส่วนประกอบภายในรถยนต์ที่มีผิวเคลือบมันจะมีสีเข้มมากกว่าส่วนที่ไม่ได้เคลือบเงา ซึ่งความแตกต่างนี้จะสังเกตุได้ชัดเจน แม้ว่าค่า L*a*b* ใกล้เคียงกัน ในทางอุตสาหกรรมการตรวจสอบที่แม่นยำ ถูกต้องและรวดเร็วเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องวัดสีที่พัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการที่ตัวเครื่องวัดสีสามารถวัดได้ทั้งสีและความเงาของตัวอย่างในการกดวัดแค่ครั้งเดียว สำหรับงานวัดสีส่วนต่างๆภายในรถยนต์เราขอแนะนำเครื่องวัดสี Spectrophotometer…

  • คอร์สออนไลน์

    การวัดสีและความเงาสำหรับสีรถยนต์ภายนอก

          ก่อนหน้าเราได้มีการจัดการสัมมนาออนไลน์ ผ่าน Ms Team ในหัวข้อ “การวัดสีและความเงาสำหรับสีรถยนต์ภายนอก (Automotive – Exterior Color Measurement)” เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการวัดสีสำหรับยานยนต์โดยเฉพาะ ซึ่งมีหัวข้อการบรรยายดังนี้ ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีและหน่วยวัดสี การวัดค่าสี Solid vs. Metallic การเลือกใช้ Gloss meter และเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับตรวจสอบพื้นผิวชิ้นงาน Q&A (คำถามจากผู้ลงทะเบียนรอบบรรยายสด) เนื้อหานี้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานหรือผู้สนใจ ในการวัดสี ในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะเนื้อหามีการพูดตั้งแต่พื้นฐาน ดังนั้นทุกคนสามารถเข้าฟังได้ ขั้นตอนการเข้าดูบันทึกบรรยาย 1.กรอกแบบฟอร์ม   คลิกที่ลิ้งค์นี้  2.หลังจากกดส่งแบบฟอร์ม มีลิ้งค์วิดีโอ ท้ายแบบฟอร์ม เนื่องจากไม่ใช่การบรรยายสด หากมีข้อซักถาม สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างค่ะ     หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา      ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี

  • บทความ

    Case Study : กรณีศึกษาการทดสอบเทคโนโลยีแสดงผล HUD บนกระหน้ารถ

    A typical after-market HUD: the display area is limited to a small transparent screen mounted on the dashboard, nicknamed a “dashboard wart” by one industry commentator. (Image: © NAVDY) Head-up displays (HUDs) เป็นเทคโนโลยีแสดงผลบนกระหน้ารถ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเห็นข้อมูลการขับขี่ได้ โดยจะออกแบบให้มองเห็นพอดีกับสายตาขณะขับขี่บนท้องถนน โดยไม่จำเป็นต้องก้มลงมองแผงหน้าปัดรถยนต์                 Head-up displays (HUDs) ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในทศวรรษที่ 1940 และถูกใช้โดยนักบินทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดที่สำคัญไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับเครื่องบินหรือรถยนต์ HUDs จะฉายข้อมูลกึ่งโปร่งใสโดยตรงในมุมมองของผู้ขับขี่ โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิธีการฉายภาพและเทคโนโลยีการแสดงผลได้ถูกพัฒนามากขึ้น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เราได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจากหน้าจอ 2D…

  • บทความ

    การรวมกันทางเทคนิคของโฟโตมิเตอร์และการแสดงภาพด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบ Backlit Symbol หรือไฟสัญญาณแบ็คไลท์ อย่างมีประสิทธิภาพสูง

    อุตสาหกรรมยานยนต์กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาสูงสุดในการออกแบบและผลิตรถยนต์ เนื่องจากเทคโนโลยี ความคาดหวังของผู้บริโภค และกลไกของตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความปลอดภัยยังคงอยู่ในระดับแนวหน้า ส่วนประกอบหลักคือระบบไฟสัญญาณมีความสำคัญต่อระบบปลอดภัยของรถยนต์ทุกคัน ระบบไฟสัญญาณจะส่งข้อมูลที่สำคัญไปยังผู้ขับขี่และอำนวยความสะดวกในขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัยในทุกสภาวะแสงรอบด้าน หรือทุกสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง แผงหน้าปัดควบคุมสเหมือนเป็นศูนย์กลางแสดงข้อมูลเป็นภาพสัญญาลักษณ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีมาตรวัดเรืองแสง สัญลักษณ์ ไฟสัญญาณ และไฟเตือน เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถและตรวจสอบสถานะได้ ส่วนประกอบไฟสัญญาณต่างๆ ยังถูกติดตั้งในสแต็คตรงกลาง เช่นปุ่มควบคุมแบบไฟแบ็คไลท์ ปุ่มและแป้นหมุนที่เรืองแสง และหน้าจอแสดงผลที่มีจีพีเอส อินโฟเทนเมนท์ให้ความบันเทิง และแผงควบคุมและให้ข้อมูลสภาพแวดล้อม                ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี LED มีความก้าวหน้า, เทคโนโลยีจอแสดงผลแบบใหม่ เช่น OLED มีรูปทรงอิสระ/โค้งมน ได้ผลักดันให้นักออกแบบยานยนต์ทำการออกแบบจอแสดงผลที่มีรูปทรง คุณสมบัติหลากหลายมากขึ้น รวมถึงการออกแบบ สัญญาณไฟแบ็คไลท์ ระบบควบคุม และไฟส่องสว่างในทุกพื้นที่ภายในห้องโดยสาร ในขณะเดียวกันระบบเซ็นเซอร์ในรถยนต์ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์แก่ผู้ขับขี่เพิ่มมากขึ้น เช่น ระบบเตือนรถร่วมทางในระยะใกล้เป็นไอคอนบนจอแสดงผลหรือในกระจกมองข้าง มาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนดให้ชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีการเรืองแสงหรือส่องสว่าง เช่น ไฟเตือนและไฟแสดงสัญญาณ ต้องตรงตามข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับค่าความส่องสว่าง ค่าสีของแสง ความชัดเจนและรูปร่าง องค์ประกอบเหล่านี้ต้องได้รับการทดสอบตามกฎหมายด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ตลอดจนข้อกำหนดทางคุณภาพภายในกระบวนการผลิต เนื่องจากเทคโนโลยีมีการพัฒนา ความซับซ้อนของข้อกำหนดการตรวจสอบก็เช่นกัน ภาพไอคอนและไฟสัญญาณแบ็คไลท์ทั่วไปบนแผงหน้าปัดรถยนต์ ข้อกำหนดการตรวจสอบชิ้นส่วนภายในยานยนต์ที่มีการเรืองแสงการทดสอบประสิทธิภาพการรับรู้ทางสายตาและคุณภาพของชิ้นส่วนยานยนต์ที่เรืองแสงทั้งหมดจำเป็นต้องมีโซลูชันที่สามารถให้ค่าการทดสอบดังนี้ การวัดค่าสมบูรณ์ (absolute…

  • บทความ

    การตรวจสอบเทคโนโลยีแสดงผลภาพบนกระจกหน้ารถ หรือ Head up display (HUD)

    HUD สำหรับยานยนต์เชิงพาณิชย์เครื่องแรกอยู่ใน ปี 1988 Oldsmobile Cutlass Supreme (ภาพ: © General Motors)          เทคโนโลยีแสดงผลภาพบนกระจกหน้า (HUD) เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเห็นข้อมูลการขับขี่ได้โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์  รวมทั้งความคาดหวังของลูกค้าด้านคุณภาพของภาพและประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น เริ่มตั้งแต่บนเครื่องบินสงครามโลกครั้งที่ 2จนถึง HUD สำหรับยานยนต์เครื่องแรกจาก General Motors ในปี 1988 จนถึงปัจจุบัน ระบบ HUD ได้พัฒนามาไกลในด้าน UI หรือปัจจัยในการเชื่อมต่อกับผู้ขับขี่ที่สามารถมองเห็นได้ซับซ้อนและสวยงามมากขึ้น          ปัจจุบัน HUD ได้รับการบรรจุเป็นอุปกรณ์มาตรฐานหรืออุปกรณ์ทางเลือกจากผู้ผลิตรถยนต์มากกว่า 30 รายทั่วโลก สามารถพบได้ในรถยนต์หรู อย่างเช่น BMW, Mercedes-Benz, Jaguar และ Rolls Royce แม้แต่รถระดับกลางและ SUV จากผู้ผลิตต่างๆ เช่น Hyundai, Volvo, Mazda, Audi, Chevrolet…

  • กิจกกรรม,  คอร์สออนไลน์

    LIVE WEBINAR : AUTOMOTIVE EXTERIOR COLOR MANAGEMENT

                  สัมมนาออนไลน์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการวัดสีในอุตสาหกรรมยานยนต์  หัวข้อการบรรยายจะพูดถึง การวัดสีรถยนต์ภายนอก (automotive exterior color management) เปรียบเทียบสเปคหรือจุดเด่นของเครื่องวัดสีแบบ multi angle spectrophotometer รุ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอย่าง Konica Minolta CM-512m3A กับรุ่นล่าสุด Konica Minolta CM-M6 Live demo สาธิตการวัดค่าสีด้วยเครื่องวัดสี การอ่านค่าสี แน่นอนว่าตัวอย่างที่ใช้สาธิตเป็นสี metallic, white pearl  สัมมนาหัวข้อนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ และผู้สนใจการบรรยายจะเปิดรอบทั่วไป ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14:00 น. – 15:30 น.  ผ่านโปรแกรม Microsoft Team *ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น* ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป https://forms.gle/ivPuuTw4xiwwGtMC6 เนื้อหาบรรยายในรอบทั่วไป จะไม่มีการลงรายละเอียดเชิงลึก หากต้องการปรึกษาการวัดสีด้วยข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบริษัทของคุณ สามารถติดต่อ…