CMS: Camera Monitor Systems – ระบบกล้องมองข้างและมองหลังภายในรถยนต์ 1 1.กล้องที่ติดตั้งภายในรถยนต์ บันทึกภาพ measurement chart ด้วยกล้องภายในรถยนต์ 2 2.จอแสดงผลที่ติดตั้งภายในรถยนต์ ฉาพภาพของ measurement chart ที่ถูกบันทึกด้วย กล้องภายในรถยนต์ 3 3.เครื่องวัดแสง ProMetric I series วัดค่าแสง-สีของภาพ measurement chart ที่ภาพบนจอภายในรถยนต์ (1) กล้องที่ติดตั้งภายในรถยนต์ บันทึกภาพ measurement chartด้วยกล้องภายในรถยนต์ (2) จอแสดงผลที่ติดตั้งภายในรถยนต์ ฉาพภาพของ measurement chart ที่ถูกบันทึกด้วยกล้องภายในรถยนต์ (3) เครื่องวัดแสง ProMetric I series วัดค่าแสง-สีของภาพ measurement chart ที่ภาพบนจอภายในรถยนต์ เมื่อมิถุนายน 2016 ที่ผ่านมา, Ministry of Land,…
-
-
显示器特性测量
显示器都必须进行测定和校准以确保质量标准。在显示计量学中,CIE 1931和CIE 1976色彩空间广泛用于描述和指定颜色。被广泛测试的显示器项目包括白平衡,色彩色域,Gamma,对比度,均匀度以及闪烁度(Flicker)。 CIE 1931 Yxy CIE 1976 Yu’v’ 白平衡 显示器的色温必须在整个亮度范围内保持一致。白平衡的调整有助于确保显示能精确反映被摄物的色彩状况。白平衡调整涉及建立显示器的白平衡点,并调整红色,绿色和蓝色(RGB)的光输出,从而正确地重现白平衡点。 色彩色域 若想让显示器准确地显示多种颜色,色域评估是必需的。色域涵盖范围与面积是通过各RGB坐标在CIE 1931和CIE 1976色彩空间上所形成的三角形。三角形越大就代表显示器的重现色彩的能力高。sRBG, Adobe RGB 和DCI–P3是应用最广泛的色域标准。 Gamma 显示器通过信号(输入)产生亮度(输出)。输入信号与输出亮度的比例关系并非线性。输入信号增加50%并不等于亮度增加50%,而是取决于gamma。若想让显示器在整个亮度范围内都能准确地显示真实色彩,gamma校正是必需的。亮度范围0-100%内测量每一阶的亮度,并且确保白色在整个亮度范围内始终是中性的。 对比度 对比度指的是显示器能产生的最亮的白色与最暗的黑色的比率。对比度越大,显示器能产生的图像将显得清晰醒目以及色彩鲜明艳丽。若对比度小,显示器能产生的图像会显得灰蒙蒙的。测试对比度是通过测量16点黑白相间色块,并且取得8个白色区域亮度平均值和8个黑色区域亮度平均值之间的比值。由于对比度高度依赖于最暗的图案亮度水平,因此需要能测量极低亮度的显示测试仪器。 均匀度 均匀度测试分为亮度均匀性,色度均匀性和对比度均匀性。广泛均匀度测试位置与位置定义规则分为5点、9点和13点。公式如下所述: 亮度均匀性 均匀度 = (Lmin / Lmax) x 100% 非均匀度 = ((Lmax – Lmin) / Lmax) x 100% 色度均匀性 Δu‘v’ = ((u’1 – u’2)2 + (v’1 – v’2)2)1/2 比度均匀性5点、9点和13点 非均匀度 = ((Cmax – Cmin) / Cmax)…
-
เกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของจอแสดงผลในปัจจุบัน
ทุกวันนี้เราแทบจะนึกถึงยุคที่เรายังไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายเหมือนเช่นทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคมินเลเนี่ยมหรือวัยรุ่นในปัจจุบันที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือใช้กันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปัจจุบันนี้มีคนจำนวนไม่น้อยกว่า 2.71 พันล้านคนที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกวันนี้จอแสดงผลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก มีการนำไปใช้ในหลายสถานที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทั้งสภาพแสงและมุมมองก็แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือในห้องนอนที่มืดสนิท, การใช้ระบบนำทางบนท้องถนนที่สภาพแสงดวงอาทิตย์จ้า, การใช้จอคอมพิวเตอร์ภายใต้หลอดไฟในสำนักงาน หรือรวมไปจนถึงการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือขณะที่อยู่ใต้แสงกระพริบของป้ายโฆษณาใจกลางเมือง ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์แสดงผลเหล่านี้มีคุณสมบัติตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้ในทุกๆสภาพการใช้งานในปัจจุบัน โดยการตรวจสอบด้วยสายตาคือส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานของผู้ผลิตจอภาพ (Display panel makers) และผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงผล (Device manufacturers) ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติพื้นฐานและการปรับจอแสดงผลให้สอดคล้องกับสายตาของผู้บริโภค ตัวอย่างการใช้จอแสดงผลของผู้คนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามวิธีการทดสอบในขั้นตอนของการออกแบบและการผลิตได้ควบคุมปัจจัยสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น การวัดในห้องมืดควบคุมไม่ให้มีแสงจากภายนอก, กำหนดระยะห่างในการทดสอบ, กำหนดมุมที่ตรวจสอบแสงของจอ หรือการโฟกัส เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการบ่งบอกถึงความสว่าง, สีของจอ หรือคุณสมบัติอื่นๆได้สอดคล้องกับสายตา แค่ในสภาพการใช้งานจริงๆแล้วผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนหรือจอแสดงผลเคลื่อนที่อื่นๆไม่ได้ใช้งานภายใต้สภาวะที่กำหนดเช่นเดียวกับบผู้ผลิตได้ DXOMARK บริษัทสัญชาติฝรั่งเศลผู้ให้บริการทางด้านวิศวกรรม เป็นบริษัทที่ให้ความสนใจถึงเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลภายใต้การทดสอบในสภาวะการใช้งานจริง DXOMARK เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคและผู้ผลิตมาอย่างยาวนานในฐานะผู้ให้ข้อมูลการจัดอันดับและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลรุ่นใหม่ในท้องตลาด โดยใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ตามการใช้งานจริง การประเมินคุณภาพของอุปกรณ์แสดงผลจากประสบการณ์ผู้ใช้งาน เมื่อไม่นานนี้ DXOMARK ได้พัฒนาระบบการทดสอบ Display Bench…
-
การวัดแสงจอป้ายโฆษณา LED ดิจิทัล (Digital LED Billboards)
ป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลเป็น สื่อโฆษณาประเภทหนึ่งใช้สำหรับกลางแจ้ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันซึ่งต่างจากป้ายโฆษณาทั่วไปที่เป็นภาพนิ่ง เนื่องจากสามารถสื่อสารข้อมูลต่างๆให้กับผู้รับข้อมูลได้มากขึ้นและยังสร้างความน่าสนใจมากกว่าป้ายโฆษณาแบบทั่วไป ป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลต้องการความสว่างในระดับสูงเพื่อให้อ่านได้ชัดเจน เมื่อสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงอาจมีความส่องสว่างหลายพันแคนเดลาต่อตารางเมตร (cd / m 2 ) หรือ หลายพันnits หากใช้ความส่องสว่างระดับเดียวกันในเวลากลางคืนป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลโดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนอาจเป็นภัยคุกคามต่อทัศนวิสัยของผู้ขับขี่และความปลอดภัยในการจราจร นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองไฟฟ้าและอาจทำให้เกิดการสึกหรอบนจอแสดงผลโดยไม่จำเป็นเนื่องจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น เพื่อจัดการข้อกังวลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีการวัดความส่องสว่างของป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลโดยใช้เครื่อง Luminance Meter ในการระบุความส่องสว่างสูงสุดของป้ายโฆษณา โดยจะทำการวัดค่าในขณะที่ปรับให้ป้าย LED เป็นสีขาวและค่ากำลังไฟปรับเป็นค่าสูงสุด เนื่องจากป้ายโฆษณาสามารถแสดงภาพหลายสี เช่น แดง, น้ำเงิน ซึ่งแต่ละสีล้วนมีค่าความส่องสว่างที่น้อยกว่าสีขาวทั้งสิ้น สำหรับการวัดความส่องสว่างทั้งหมดของพื้นที่ป้ายโฆษณา เนื่อจากป้ายมีขนาดที่ใหญ่มาก เราสามารถทำการวัดได้โดยแยกการวัดออกเป็นแต่ละส่วนของป้าย ทำการวัดในช่วงเวลาเดียวกันแล้วจึงนำค่าที่ได้ในแต่ละส่วนมาเฉลี่ยเป็นค่าของพื้นที่ป้ายทั้งหมด การวัดและปรับค่าความสว่างป้ายโฆษณา LED ดิจิทัล เพื่อความสว่างที่เหมาะสมที่สุดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน…
-
การปรับเทียบจอแสดงผล
จอภาพประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น LED, LCD หรือ OLED ที่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และทีวี การปรับเทียบจอแสดงผลเหล่านี้ช่วยให้แน่ใจว่าการสร้างสีของทั้งวิดีโอและภาพถ่ายมีความถูกต้องและสม่ำเสมอ สำหรับการปรับเทียบจอแสดงผลการตรวจสอบ มีประเด็นสำคัญที่จะพูดในบทความนี้คือการปรับจุดสีขาวและแกมมา จุดสีขาว (White point) หรือที่เรียกว่าอุณหภูมิสี (color temperature) ของจอแสดงผลใช้เพื่ออธิบายสีของแสงสีขาวที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสง ในจอแสดงผลเอาต์พุตแสงสำหรับสีแดง (R) สีเขียว (G) และสีน้ำเงิน (B) จะถูกปรับเพื่อให้ได้สีขาวที่ต้องการซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานอ้างอิงของอุตสาหกรรม แกมมาคือการวัดระดับความสว่างตั้งแต่เฉดสีที่อ่อนที่สุดไปจนถึงเฉดสีเข้มที่สุด เนื่องจากการสร้างสีของจอแสดงผลขึ้นอยู่กับการรวมกันของ RGB การได้รับความสม่ำเสมอจึงจำเป็นต้องแก้ไขช่องสามสีภายในแต่ละเฉดสีทีละสี เครื่องมือปรับเทียบจอภาพและการแสดงผลเช่น Konica Minolta Display Color Analyzer CA-410 สามารถช่วยให้ผู้ใช้ตรวจสอบและปรับจุดสีขาวและแกมม่าได้อย่างง่ายดาย หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี
-
การทดสอบอินเทอร์เฟซหน้าจอและอุปกรณ์ (Screen And Devices Testing)
หน้าจอสัมผัสเป็นมาตรฐานใน สมาร์ทโฟน, เครื่องคิดเงิน, ตู้ให้ข้อมูลอัตโนมัติ(information kiosks),อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้นำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจนและถูกต้อง ประสิทธิภาพและคุณภาพของจอแสดงผลจึงมีความสำคัญมาก จอแสดงผลต้องสามารถนำเสนอข้อมูลที่อ่านได้ภายใต้สภาพภาพที่แตกต่างกัน หากต้องการใช้อุปกรณ์ในสภาพแวดล้อมที่มืดหรือมีแสงน้อย จอแสดงผลจะต้องเปล่งแสงเพียงพอเพื่อลดความเครียดในการปรับตัวและแสงสะท้อนที่ไม่สบายตาในขณะเดียวกันยังคงความชัดเจนไว้ หากต้องใช้อุปกรณ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้าหน้าจอต้องมีคอนทราสต์เพียงพอที่จะอ่านได้ ความคมชัดและสีเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประสิทธิภาพของจอแสดงผลและทั้งสองอย่างจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญภายใต้มุมมองและสภาพแสงที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือต้องทำการวัดในช่วงของมุมต่างๆที่ผู้ใช้อาจใช้ภายใต้ระดับแสงแวดล้อมต่างๆ นอกจากความคมชัดสีและมุมมองแล้วการวัดประสิทธิภาพของจอแสดงผลยังมี การตรวจสอบสมดุลสีขาว การตรวจสอบแกมมา / ระดับสีเทา การวัดการสั่นไหว การวัดช่วงสี การตรวจสอบข้อบกพร่องของพิกเซล การประเมินเอฟเฟกต์ประกายไฟป้องกันแสงสะท้อน ด้วยเทคโนโลยีการแสดงผลที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วการทดสอบการแสดงผลจึงมีความซับซ้อนและสร้างความสับสนให้กับนักพัฒนามากขึ้น ไม่ว่าคุณกำลังมองหาข้อมูลหรือที่กำลังมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่จะอธิบายลักษณะการแสดงผลของตรวจสอบ ทางเราขอแนะนำเครื่องตรวจสอบหน้าจอเครื่องทดสอบหน้าจอที่ทาง Konica Minolta, Radiant Vision System และ Instrument Systems พัฒนามาเพื่อการวัดหน้าจอโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น spectroradiometers หรือการวัดด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพ colorimeters/photometers ทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาสำหรับการวัดหน้าจอ หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี
-
พารามิเตอร์การวัดหน้าจอที่สำคัญ : Display Mura
อุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆในปัจจุบันต้องการคุณภาพและความคมชัดของจอแสดงผลมากขึ้น ตั้งแต่สมาร์ทโฟน , โทรทัศน์ไปจนถึงVR headsets และแผงหน้าปัดรถยนต์ ซึ่งนอกเหนือจากความสว่าง , chromaticity , ความคมชัด, uniformity และมุมมองการวัด viewing angle ล้วนเป็นพารามิเตอร์การวัดหน้าจอที่สำคัญ แต่ยังมีอีกพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญอีกอย่างก็คือ จอแสดงผลมูร่า (display mura) Mura มาจากคำภาษาญี่ปุ่นหมายถึง คราบ, ความมัวหมองหรือสิ่งผิดปกติ ซึ่งในอุตสาหกรรมการแสดงผล mura ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายความผิดปกติและขุ่นมัว มีผลต่อการแสดงผล LCDs หรือหน้าจอแบบ OLEDs โดยทั่วไปแล้ว Display mura จะเป็นจุดที่มีคอนทราสต์ต่ำหรือมีรอยเปื้อนที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์ในการตรวจสอบและนั่นอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการแสดงผลหรือฟังก์ชันการทำงาน โดยทั่วไปแล้ว Display mura เกิดจากข้อบกพร่องของกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการประกอบและขั้นตอนการเชื่อมด้วยแสง โดยทั่วไปแล้วจอแสดงผลประกอบด้วยวัสดุหลายชั้นและวัสดุพิมพ์ที่ยึดติดกัน น่าเสียดายที่ไม่สามารถเชื่อมต่อเลเยอร์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำตลอดเวลา นอกจากนี้สิ่งสกปรกหรืออนุภาคปนเปื้อนในระหว่างการผลิตความไม่สม่ำเสมอของแสงพื้นหลังและความไม่สอดคล้องกัน pixels/sub-pixelsของเอาต์พุต เป็นสาเหตุของการเกิด Display mura …
-
วัดค่าแสงจอแสดงผลแบบโค้งได้อย่างไร
จอแสดงผลที่ถูกนำมาออกแบบให้เหมาะกับขนาดและรูปร่างของเสา A (ซ้าย) และ จอแสดงผลที่ถูกนำมาใช้ที่แผงประตูข้างแบบไม่มีรอยต่อ (ขวา) เป็นการออกแบบที่ระหยัดพื้นที่และไม่รบกวนทัศวิสัยในการมองเห็น (ที่มา: Flexenable) จอแสดงผลในแวดวงยานยนต์ทุกวันนี้ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นดังที่เราจะเห็นได้จากผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายที่นำมาใช้เพราะเห็นถึงประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แผงหน้าปัด/แผงควบคุมภายในห้องโดยสาร จอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบสีบนกระจกหน้า จอแสดงข้อมูลหรือแผงควบคุมระบบสัมผัสบนพวงมาลัย จอแสดงผลข้อมูล, ระบบควบคุมและความบันเทิงบนคอนโซลกลาง ประกอบด้วย ข้อมูลการนำทาง การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร ระบบควบคุมเสียง/วิทยุ ฟังก์ชันอื่นๆของรถยนต์ เช่น กล้องแสดงภาพในขณะที่รถถอยหลัง กระจกมองด้านหลังและด้านข้างรถที่มีระบบการตรวจจับ ระบบกล้องมองข้างแบบเรียลไทม์ (CMS) จอแสดงความบันเทิงด้านหลังเบาะสำหรับผู้โดยสารด้านหลัง ด้วยรูปแบบการทำงานที่หลากหลายนี้ทำให้เหล่านักออกแบบต้องใช้ความคิดมากขึ้นในการนำจอชนิดต่างๆมาใช้ร่วมกัน ชิ้นส่วนภายในรถยนต์เองก็มักเป็นพื้นที่โค้งทำให้ยากต่อการนำจอแสดงผลชนิดเรียบ (Flat panel displays) มาออกแบบใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์ส่วนอื่นให้กลมกลืน ด้วยเทคโนโลยีจอโค้งและจอรูปทรงอิสระ (Free form display) แบบใหม่นี้ทำให้การนำจอไปใช้ภายในส่วนต่างๆของรถยนต์ร่วมกันมีความเป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น การนำจอแสดงผลมาใช้ในตำแหน่งของเสา A หรือการนำมาใช้ที่แผงประตูข้าง หรือการนำมาใช้ที่แผงควบคุม และการนำมาใช้ที่ด้านหลังของเบอะที่นั่ง เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นกับการออกแบบของจอแสดงผลเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้จริง ซึ่งจอเหล่านี้ก็จำเป็นต้องได้รับมาตรฐานเป็นไปตามที่อุตสาหกรรมกำหนดเพื่อให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันกับจอแสดงผลในรูปแบบเดิม การตรวจสอบคุณสมบัติของจอโค้งจึงนับเป็นความท้าทายใหม่ของแวดวงการวัดค่าทางด้านมาตรวิทยา บริษัท Radiant Vision Systems…
-
การวัดค่าแสงไฟกระพริบหรือที่รู้จักกันว่า Flickering ในหน้าจอ
แสงไฟกระพริบ หรือที่เรียกว่า Flickering ในหน้าจอแสดงผล เป็นปรากฎการณ์ที่สามารถมองเห็นได้บนพื้นหลังของหน้าจอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับประเภทของเทคโนโลยีการผลิตหน้าจอ ซึ่งแม้ผูต้ใช้งานหน้าจอไม่สามารถมองเห็นหรือสังเกตุได้ แต่แสงกระพริบ (Flicker) อาจจะส่งผลให้ผู้ใช้งานหน้าจอมีความอ่อนล้าทางสายตา นั่นเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตหลายรายพยายามแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อให้ผู้ใช้งานพึงพอใจในสินค้ามากที่สุด ภาพที่ 1 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มของแสงคงที่ ลักษณะหน้าจอแบบนี้จะไม่มีแสงกระพริบ ภาพที่ 2 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มแสงคงที่ แต่มีบางช่วงขาดหายไป หน้าจอลักษณะนี้จะปรากฎแสงกระพริบ ภาพที่ 3 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มของแสง ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ หน้าจอในลักษณะนี้จะปรากฎแสงกระพริบ เมื่อความเข้มของการปล่อยแสงเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอระหว่างเฟรม จะเกิดแสงกระพริบที่มีความถี่สูง เนื่องจากความถี่ที่เกิดขึ้นนี้ สูงกว่าความถี่ที่เรามองเห็น จึงแทบจะสังเกตไม่เห็นด้วยสายตา ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดความผันผวนในเฟรม ได้แก่ – ไม่มีการปล่อยแสงในระหว่างการรีเฟรช – การปรับความกว้างพัลส์ (PWM) – การควบคุมความเข้ม (ความสว่างต่ำ) ในหน้าจอ OLED – การรั่วไหลของวงจรเปล่งแสง สำหรับการแสดงผล LCD การเกิดแสงกระพริบ เกิดจากการกลับขั้วเมื่อตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าทั้งบวกและลบ ดังนั้นขั้วของสัญญาณภาพที่ส่งไปยัง LCD จะกลับด้านทุกเฟรม (ระยะเวลาการซิงโครไนซ์แนวตั้ง)…
-
การตรวจสอบคุณภาพหน้าจอ (Display) ด้วยอัตราส่วนความคมชัด (Contrast ratio)
อัตราส่วนความคมชัด (contrast ratio) คือหนึ่งในพารามิเตอร์ที่สำคัญในหน่วยวัดคุณภาพความแตกต่างของความสว่างระหว่างหน้าจอที่แสดงความสว่างสูงสุดในหน้าจอขาวและดำ อัตราส่วนความคมชัด (contrast ratio) ที่สูงนั้นย่อมดีกว่า เนื่องจาก จอภาพที่มีค่า contrast ratio สูงๆ จะสามารถแสดงภาพได้ลึกและสมจริง ในขณะที่จอภาพที่มีค่า contrast ratio ต่ำๆ จะให้ภาพที่ไม่ดำสนิท ไม่มีมิติ เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะที่มีแสงสว่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหน้าจอมีค่า contrast ratio เท่ากับ 5,000 ต่อ 1 หมายความว่า ภาพจะแสดงความสว่างของสีขาวมากกว่าสีดำ 5,000 เท่าและจะสามารถแสดงค่าการแสดงผลของหน้าจอได้ดีแม้ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า เพื่อที่จะตรวจสอบคุณภาพของอัตราส่วนความคมชัดของหน้าจอ จำเป็นจะต้องใช้กระดานลายตาราง (checkerboard) และเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำสูงในการตรวจสอบ โดยจะทำการวัดที่ตรงกึ่งกลางของตารางลายสีขาวและตามด้วยกึ่งกลางของตารางลายสีดำ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ยิ่งขนาดของตารางเล็กลง จะทำให้ค่าอัตราส่วนความคมชัดมีค่าต่ำ และนอกจากนี้ ค่าอัตราส่วนความคมชัดยังขึ้นอยู่กับระดับความสว่างของส่วนที่มืดที่สุด Konica Minolta Color…