ห้องคลีนรูมแห่งใหม่ในโรงงานซูโจวของ Radiant ปัจจุบันอุตสาหกรรมหน้าจอมีการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก เห็นได้จากหน้าจอต่างๆที่อยู่ตามบ้าน, ที่ทำงาน, ศูนย์การค้า และสถานที่สาธารณะต่างๆ ปริมาณการผลิตจอแบน (flat-panel display) ในปี 2017 ผลิตได้ประมาณ 231 ล้านตารางเมตร คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 20221 การผลิตจะเพิ่มเป็น 327 ล้านตารางเมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 70% เพื่อรองรับการขยายกิจกรรมการผลิตจอแสดงผลทั่วโลกและจัดหาโซลูชันการทดสอบคุณภาพของหน้าจอ Radiant Vision System: RVS ได้ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศจีน เมืองซูโจว ทั้งในส่วนของการผลิตและให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคด้วย การเติบโตของตลาดจอแสดงผลมาจากหลายๆปัจจัย การใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ และ ลาตินอเมริกา การเพิ่มการใช้อุปกรณ์แสดงผลแบบสวมศีรษะ (AR/MR) และแว่นตาอัจฉริยะ (Smart glasses) ทั้งในด้านอุตสาหกรรม, การศึกษา และการดูแลสุขภาพ การขยายตัวของป้ายดิจิตอลและวีดิโอวอลล์ในร้านค้าปลีก, การแข่งขันกีฬา, งานอีเวนต์ และสำหรับการใช้งานระบบขนส่งมวลชน การใช้หน้าจอสัมผัสและจอแสดงผลแบบอินเทอร์แอคทีฟที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การชำระเงินด้วยตนเองในร้านขายของชำไปจนถึงเครื่องใช้ในบ้านอัจฉริยะ ไปจนถึงแผงขายของตามสถานที่ท่องเที่ยว…
-
-
ใหม่!! เครื่องวัดแสงและจอแสดงผลด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายความละเอียดสูง
เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้วที่ Radiant Vision Systems ได้ผลิตเครื่องวัดแสง ProMetric® Imaging Colorimeters & Photometers ที่มีประสิทธิภาพการวัดแสงด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพในระดับชั้นนำ ของอุตสาหกรรมสำหรับการทดสอบและการวัดชิ้นงานต่างๆที่ให้แสงสว่างได้ และในบทความนี้ เราจะขอแนะนำเครื่องวัดแสงรุ่นใหม่ ที่พัฒนาให้มีความละเอียดสูงถึง 61 เมกะพิกเซล สามารถตรวจับข้อมูลได้หลายล้านจุดต่อการวัดในหนึ่งครั้ง เพิ่มความเที่ยงตรงสูงสุด (Precision) เพิ่มความแม่นยำในการวัด (Accuracy) เพิ่มช่วงไดนามิกสูงสุดที่ 76 dB ยังคงความรวดเร็วในการวัด (เร็วถึง 0.5 วินาทีต่อการวัดหนึ่งครั้ง) ProMetric I61 (61-megapixel ) Imaging Colorimeter ProMetric Y61 (61-megapixel)Imaging Photometer ProMetric Y45 (45-megapixel)Imaging Photometer MEASUREMENT CAPABILITIES : ความสามารถของเครื่อง COLORIMETRIC(adds color capabilities) CIE Chromaticity…
-
Case study : ระบบการประเมินการมองเห็นของจอแสดงผลชนิด Head-Up Display (จอแสดงผลบนกระจก)
ฟังก์ชันการประเมินคุณภาพของจอภาพแบบอัตโนมัติที่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่ ระบบการประเมินการมองเห็นของจอแสดงผลชนิด Head-Up Display (จอแสดงผลบนกระจก) SAE J1757-2 มาตรฐานอุตสาหรรมแรกที่ได้รับการตีพิมพ์สำหรับการวิเคราะห์การมองเห็นจอแสดงผลบนกระจก (Head-Up Display, HUD) ได้กำหนดวิธีการประเมินการมองเห็นภาพเสมือนจริงของ HUD จากมุมมองของคนขับขี่Konica Minolta ได้สร้างระบบการประเมินที่เป็นไปตามมาตรฐาน SAE J1757-2 ด้วยเครื่องวัดสีของแสงที่ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายและโปรแกรมเฉพาะที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเฉพาะสำหรับแอพพิเคชั่นนี้ SAE J1757-2 ระบบการมองเห็นจอแสดงผลบนกระจกของยานยนต์: Optical System HUD for Automotive ที่สอดคล้องกับ[ระบบการประเมินการมองเห็นของจอแสดงผลบนกระจก]โดยการวัดทางด้านภาพทั้งหมดจากระบบจอ HUD ที่รวดเร็วและความละเอียดสูง ProMetric Series เครื่องวัดความส่องสว่างและสีของแสงด้วยเทคโนโลยีภาพถ่าย พร้อม TrueTest (HUD module) โปรแกรมการตรวจสอบอัตโนมัติ Radiant Vision System ProMetric มาพร้อมกับเลนส์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจับภาพเสมือนจริงจากจอ HUD ได้ถูกต้องแม่นยำ สำหรับการติดตั้งระบบด้วยเครื่องวัด ProMetric series จะถูกติดตั้งในตำแหน่งสายตาที่ผู้ขับขี่มอง (eye box) เพื่อวัดภาพเสมือนจริงที่ถูกฉายและปรากฎบนกระจกหน้ารถยนต์ (Windscreen) หรือปรากฎบนจอกระจก (Combiner)กับโปรแกรม TrueTest ที่พัฒนาเฉพาะเพื่อรูปแบบการทดสอบที่สามารถประเมินค่าของภาพเสมือนจริงบนจอภาพได้ เช่น การผิดเพี้ยนไปจากตำแหน่ง, ภาพซ้อน (Ghosting…
-
การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม
การตรวจจับหรือวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุ เราต้องตรวจสอบก่อนว่า แสงมีปฏิสัมพันธ์กับวัสดุอย่างไรโดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของสเปกตรัม สเปกตรัมของวัสดุแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับลายนิ้วมือของเรา สำหรับการระบุเอกลักษณ์ เราสามารถระบุได้จากสเปกตรัมของวัสดุด้วยการทำความเข้าใจปริมาณของแสงที่สะท้อน ส่องผ่าน หรือเปล่งแสงออกมาในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ การถ่ายภาพสเปกตรัมเป็นเทคนิคที่รวมการวัดสเปกตรัมกับการถ่ายภาพดิจิทัลไว้ด้วยกัน ต่างจากกล้องทั่วไปที่จับแสงเป็นสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียวภายในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ กล้องถ่ายภาพสเปกตรัมสามารถจับแสงในช่วงความยาวคลื่นช่วงสั้นโดยเริ่มจากช่วง UV ผ่านช่วงที่มองเห็นได้ และ ช่วงอินฟราเรดของสเปกตรัม ความสามารถในการตรวจสอบสเปกตรัมที่กว้างช่วยให้ระบุและแยกแยะสารต่างๆ ที่ไม่สามารถแยกได้ด้วยสายตาในสสารตัวอย่างได้ง่ายขึ้น ด้วยสีหรือความแตกต่างทางเคมี การถ่ายภาพสเปกตรัมสามารถแบ่งออกเป็น ภาพถ่ายแบบมัลติสเปกตรัม Multispectral Imaging (MSI) และภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral Imaging (HSI) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง MSI และ HSI คือความละเอียดของสเปกตรัม กล้อง HSI จะวัดแสงในแถบความยาวคลื่นที่แคบจำนวนมาก อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กล้อง MSI จะวัดเฉพาะแถบความยาวคลื่นจำนวนไม่ต่อเนื่องบางช่วงเท่านั้น กล้อง HSI…
-
ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตัมคืออะไร
สสารหรือวัสดุทุกชิ้นมีปฏิสัมพันธ์กับแสงในลักษณะเฉพาะ สเปกตรัมของสสาร กล่าวคือ ปริมาณแสงที่สะท้อน เปล่งออกมา หรือส่งผ่านสสารนั้นแตกต่างกันไปตามความยาวคลื่นที่แตกต่างกันอย่างไร ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเคมีของสสารและลักษณะทางกายภาพ การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตัม Hyperspectral Imaging (HSI) เป็นเทคนิคที่ผสมผสานทั้งการวัดสเปกตรัมและการถ่ายภาพดิจิทัล ช่วยให้ระบุประเภท ชนิด ทำแผนภูมิ และคัดแยกสสารได้ง่ายตามความแตกต่างของคุณสมบัติทางชีววิทยา เคมี หรือทางกายภาพ HSI ถูกใช้มากขึ้นในงานวิจัยมากมาย เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ การวิจัยพืชพรรณ การเกษตรที่แม่นยำ การวิเคราะห์อาหาร ฯลฯ Specim ผู้บุกเบิกและผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม มีเครื่องมือและโซลูชันการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัมที่หลากหลายซึ่งครอบคลุมความยาวคลื่น ตั้งแต่ช่วงตามองเห็นและอินฟราเรดระยะใกล้ไปจนถึงคลื่นความร้อน เทคโนโลยี HSI ของ Specim ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากในด้านการวิจัยต่างๆ สำรวจแอปพลิเคชันการวิจัยทั้งหมดของเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตัมคืออะไร ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมให้ข้อมูลอะไรบ้าง หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี
-
การตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์ได้ในการวัดค่าเพียงครั้งเดียวทั้งความสว่าง, สีและความผิดปกติอื่นๆ
สัญญาณไฟแบคไลท์บนแผงหน้าปัดรถยนต์ (ซ้าย) และแบคไลท์ภายในห้องโดยสารเครื่องบิน (ขวา) สัญญาณไฟแบคไลท์ (Backlit signs) หรือปุ่มสัญลักษณ์ที่มีแสงไฟส่องจากด้านหลังมีอยู่มากมายรอบๆตัวเรา เช่น ปุ่มกด, สัญลักษณ์, ลูกบิด, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิก และแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ สัญญาณไฟแบคไลท์ถูกนำมาใช้ในหลากหลายแอพพลิเคชั่นที่ต้องการให้สามารถมองแสงได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่มีแสงหรือแสงน้อย เช่น ภายในห้องโดยสารของเครื่องบินและรถยนต์ ในอุตสาหกรรมมีการควบคุมคุณภาพความสว่าง, สีของแสงของสัญญาณไฟแบคไลท์อย่างเข้มงวดเนื่องจากเป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้และและความปลอดภัยของผู้โดยสาร การประเมินคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์และปุ่มสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นความท้าทาย เนื่องจากคุณภาพการมองเห็นแต่ละสัญลักษณ์ถูกกำหนดด้วยคุณสมบัติด้านการวัดแสงและสี (Photometric) ที่ต้องสอดคล้องกับสายตา และความถูกต้องของรูปร่าง, ขนาดของสัญลักษณ์ ซึ่งจำเป็นต้องถูกทดสอบอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและฟังก์ชันการทำงานถูกต้อง การวัดความสว่าง, สี, ขนาด, รูปร่าง, ความสม่ำเสมอ (ทั้งภายในหนึ่งสัญลักษณ์และระหว่างสัญลักษณ์ในชิ้นงานชุดเดียวกัน) เป็นสิ่งสำคัญซึ่งจำเป็นต้องสามารถแยกความแตกต่างระหว่างบริเวณที่แสงสว่างกับพื้นหลังของสัญลักษณ์ได้แม่นยำเพื่อที่จะบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ในปัจจุบันมีระบบการวัดและวิเคราะห์ค่าแสงและสี (Photometric measurement systems) ที่สอดคล้องกับสายตา แต่ยังคงไม่สามารถระบุรูปร่างของสัญลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกันหรือไม่สามารถตรวจสอบตัวอักษรได้แม่นยำ ในทางกลับกันเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้หลักการตรวจสอบทางกายภาพ (Machine vision equipment) ก็สามารถตรวจสอบได้เพียงความถูกต้องของการระบุตำแหน่งพื้นที่ของสัญลักษณ์และความแตกต่างกันของรูปร่าง แต่ไม่สามารถบอกคุณสมบัติทางด้านแสงและสีได้ ระบบการวัดและวิเคราะห์ค่าแสงและสี (Photometric measurement systems) ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินพื้นที่การกระจายตัวแสงและสีของแหล่งกำเนิด หรือการประเมินแสงและสีของจอแสดงผลสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นการที่จะตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณไฟแบคไลท์จำเป็นต้องสอดคล้องกับสายตามนุษย์มีการใช้งานร่วมกันระหว่างเครื่องมือและโปรแกรมวิเคราะห์…
-
มุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล
ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) ระดับโลก มีการเพิ่มความซับซ้อนในการรับรองคุณภาพสีของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ตัวอย่างชิ้นงานทางกายภาพจำนวนมากในห่วงโซ่อุปทาน (supply chains) จึงจำเป็นที่จะต้องถูกตรวจสอบคุณภาพสีอย่างสม่ำเสมอ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการจำนวนมากในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสีและการเคลือบพื้นผิว รวมไปถึงอุตสาหกรรมพลาสติก กำลังมุ่งสู่การจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล เพื่อลดตัวอย่างทางกายภาพที่มีราคาแพงและปรับปรุงประสิทธิภาพ ขั้นตอนแรกในการดำเนินการจัดการข้อมูลสีดิจิตอลคือ การกำหนดวิธีการวัดสีแล้วแบ่งปันให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ตัวอย่างของวิธีการที่กำหนดไว้อย่างดีรวมถึง กำหนดรุ่นของเครื่องมือที่ใช้ และระบุระบบ (Geometry) ของการวัดของเครื่องมือรุ่นนั้นๆ กำหนดมุมมองมาตรฐาน (Observer) และแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐาน ที่เลือกใช้ (Illuminant) กำหนดหน่วยสีที่ใช้ (Color space) และ ค่าขอบเขตการยอมรับ (Tolerance) กำหนดขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดค่า และวิธีการนำเสนอ กำหนดแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ตรวจสอบตัวอย่างด้วยสายตา ซึ่ง 1 ในข้อกำหนดในการจัดการข้อมูลการวัดค่าสีแบบดิจิตัล คือ การใช้เครื่องมือที่มีค่า Inter Intrument Agreement (IIA) ที่แคบ นั่นคือ ความสามารถในการวัดค่าได้ใกล้เคียงกันระหว่างเครื่องวัดสีโมเดลนั้นๆ และค่าความสามารถในการวัดซ้ำ(Repeatability) ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลการวัดค่าสีดิจิตอลของเครื่องมือหลายๆเครื่อง ในรุ่นเดียวกันยังคงที่และเชื่อถือได้ในทุกตำแหน่ง วิธีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสีและความเงาภายในซัพพลายเชน (Supply Chain) ในห่วงโซ่อุปทาน (supply…
-
เคล็ด(ไม่)ลับและเทคนิคสำหรับการวัดและควบคุมคุณภาพของสัญญาณไฟแบ็คไลท์ (Backlit Symbol)
ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ไปจนถึงโรงภาพยนต์ขนาดใหญ่หรือแผงควบคุมของรถยนต์ไปจนถึงสัญลักษณ์การคาดเข็มขัดนิรภัย Backlit Symbol หรือสัญญาณไฟแบ็คไลท์ อยู่รอบๆตัวเราในชีวิตประจำวัน สัญญาณไฟแบคไลท์ส่องสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงที่อยู่พื้นผิวด้านหลัง ที่เรียกว่า Backlight unit (BLU) สัญลักษณ์และตัวอักษร จะถูกตัดให้แสดง เพื่อบอกความหมายต่างๆ โดยใช้แสงสว่างจากแหล่งกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น ป้าย EXIT ที่ติดอยู่ที่ทางออกของโรงภาพยนต์ สัญญาณไฟแบ็คไลท์ถูกใช้และถูกให้ความสำคัญมากในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบินและยานพาหนะ ซึ่งต้องทำให้มั่นใจว่าสัญญาณไฟที่ปรากฎนั้นสามารถแสดงต่อผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนและถูกต้องแม้ในสภาวะแวดล้อมที่อาจจะมีข้อจำกัดในที่มืดหรือแสงน้อย โดยผู้ผลิตสัญญาณไฟแบ็คไลท์ต้องให้ความสำคัญการตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์สัญญาณไฟแบ็คไลท์ เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆด้านประสิทธิภาพและเพื่อให้ภาพชัดเจนตามที่ต้องการ สัญลักษณ์ไฟแบ็คไลท์เหล่านั้นจึงจำเป็นต้องถูกทดสอบอย่างรอบคอบและระมัดระวังทั้งด้านความสว่าง (luminance), สีของสัญลักษณ์, ลักษณะรูปร่างที่ปรากฎ, ความสม่ำเสมอของภาพ (ทั้งในบริเวณของสักษณ์นั้นๆและภาพใกล้เคียง) รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจถูกทดสอบด้วย ProMetric® Imaging Photometers ของ Radiant Vision System ได้ถูกนำมาใช้ในรูปแบบของการทดสอบอย่างแม่นยำสัญลักษณ์ backlit นี้สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างในอุตสาหกรรมต่างๆที่นำมาใช้ร่วมกับทั้งProMetric®ซอฟแวร์และTrueTest™อัตโนมัติภาพซอฟแวร์การตรวจสอบ Tips & Tricks ในชุดของคลิปวิดีโอด้านล่างผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Radiant แสดงให้เห็นถึงการทดสอบและคุณสมบัติที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่อย่างสำหรับการทดสอบสัญลักษณ์เรืองแสงในแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของเรา Automatic Points of Interest (Auto-POI) ฟังก์ชั่น Auto-POI ที่มีอยู่ในทั้งแพลตฟอร์ม ProMetric และ TrueTest สามารถวัดค่าของสัญลักษณ์แบ็คไลท์ (backlit symbols)ได้ง่ายยิ่งขึ้น…
-
เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2020
ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay ปี 2020 ก้าวสู่ทศวรรษใหม่เป็นช่วงเวลาที่เราจะคาดการณ์และจับตาดูเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะมาเป็นกระแสในปี 2020 และในอนาคตแนวโน้มของเทคโนโลยีในบทความนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่คงต้องให้ระยะเวลาเป็นคนตัดสินซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงบางเทคโนโลยี เช่น IT, AR/VR, หน้าจอแสดงผล, ยานยนต์ ภาพรวมแนวโน้มของเทคโนโลยี จากผลวิจัยของ Gartner (บริษัทวิจัยและให้ปรึกษาข้อมูลเชิงลึกกับองค์กรธุกิจ) คาดการณ์สำหรับ 10 “Strategic technology trends” แนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงกับสังคมในปี 2020 นี้ Gartner วิเคราะห์ถึงเทคโนโลยีที่กำลังจะมีบทบาททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอีก 5 ข้างหน้า แนวโน้วที่ Gartner กล่าวถึงมีดังนี้ Hyperautomation – เทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกันระหว่าง machine learning (ส่วนการเรียนรู้ของเครื่องมือ เป็นสมองของ AI), โปรแกรมสำเร็จรูป, และเครื่องมืออัตโนมัตที่ทำงานแทนมนุษย์ 2. Human Augmentation – การนำเทคโนโลยีรู้แบบใหม่มาช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกายภาพ หรือความรู้ความเข้าใจ หรือมาช่วยเรื่องสภาพแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ เช่น อุปกรณ์ส่วมใส่รูปแบบใหม่ที่สามารถช่วยเพิ่มความสามารถของมนุษย์นด้านต่างๆได้ Autonomous Things – นอกจากการทำงานที่เชื่อต่อกันของสถาปัตยกรรมกับ IoT แล้ว ในอนาคตอุปกรณ์หลากหลายชนิดรอบตัวเราจะใช้ปัญญาประดิษฐ์…