การวัดสีในอุตสาหกรรมอาหาร

แชร์หน้านี้

“สี”เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้า นอกจากนี้ “สี” ยังสื่อถึงความสดใหม่,รสชาติ, คุณภาพของอาหารนั้น

การประเมินสีและการวัดค่าสีจึงเป็นอีกกระบวนการที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

การวัดสีในอุตสาหกรรมอาหาร โดยทั่วไป ใช้หน่วยสี CIE L*a*b* โดยที่

  • ค่า L*เป็นค่าความสว่าง ซึ่งค่า L*สามารถมีค่ามากกว่า 100 ได้ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ภายในตัวอย่างมีส่วนประกอบที่สามารถสะท้อนแสงได้(สีเมทาลิค) ทำให้ค่า L เกิน 100 แต่กรณีนี้ไม่ค่อยพบในอุตสาหกรรมอาหาร 
  • ค่า a* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี

+ a* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีแดง

–  a* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีเขียว

  • ค่า b* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี

+b* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีเหลือง

– b* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีน้ำเงิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวัดสีอาหาร สามารถวัดได้ตั้งแต่วัตถุดิบต่างๆ ไปจนถึงอาหารพร้อมทาน สิ่งแรกที่ต้องคำนึงเมื่อต้องการวัดสีอาหาร  คือ ลักษณะของตัวอย่าง 

ยกตัวอย่างเช่น ตัวอย่างบางชนิด มีลักษณะของแข็ง ซึ่งของแข็งกับของเหลว มีการเตรียมตัวอย่างที่ต่างกัน หากเป็นของแข็งในเครื่องวัดสีส่วนใหญ่สามารถใช้เครื่องวัดสี วัดที่ชิ้นงานได้เลย แต่หากชิ้นตัวอย่างเป็นของเหลวหรือของเล็กที่มีขนาดเล็ก เช่น ผงปรุงรสต่างๆ หรือ แป้ง ข้าว จำเป็นต้องมีภาชนะที่ใส่ตัวอย่าง (การวัดสีผ่านภาชนะที่ใส่ตัวอย่าง อาจจะต้องคำนึงเรื่องการหักเหของแสงด้วย  เรามีการเขียนบทความเกี่ยวกับ เลือกใช้อุปกรณ์/ภาชนะใส่ตัวอย่างให้เหมาะกับตัวอย่างสำหรับงานวัดสี คลิกที่นี้เพื่อนอ่านเพิ่มเติม)

ลักษณะของตัวอย่างที่แตกต่างกัน รูปแบบการวัดค่าสีจึงต่างกัน เพื่อให้ได้ค่าการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำ รวมไปถึงรูปแบบการวัดที่เหมาะสม

      นอกจากลักษณะของแข็งและของเหลว เราจำเป็นต้องดูเรื่องความโปร่งแสงของตัวอย่างด้วย จากภาพด้านล่าง ตัวอย่างที่เป็น แอปเปิ้ล กับ ตัวอย่างที่เป็นเครื่องดื่ม แน่นอนว่าแอปเปิ้ลจะมีความทึบแสง แสงจะไม่สามารถส่งผ่านแอปเปิ้ลได้ ดังนั้น การวัดสีของแอปเปิ้ล หรือ ตัวอย่างที่แสงไม่สามรถส่องผ่านได้ ต้องวัดเป็นด้วยวิธีการวิธีการสะท้อน (reflectance) ส่วนเครื่องดื่มหรือตัวอย่างที่แสงสามารถส่องผ่านได้ ไม่สามารถวัดแบบสะท้อนได้เพราะแสงผ่านตัวอย่างออกไปทำให้ไม่สามารถวัดแบบสะท้อนได้ ต้องวัดด้วยวิธีการส่องผ่าน (transmittance) ปัจจุบันระบบการวัดสีในเครื่องวัดสี มี 2 ระบบ  คือ วิธีการส่องผ่าน (transmittance) และ วิธีการสะท้อน (reflectance)

         เครื่องวัดสีแบบพกพาส่วนใหญ่จะเป็นการวัดด้วยวิธีการสะท้อน (reflectance) ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับตัวอย่างที่โปร่งแสง หากตัวอย่างของคุณเป็นแบบโปร่งแสง เราจะแนะนำเป็นเครื่องตั้งโต้ะเป็นเครื่องที่มีเซ็นเซอร์แบบ spectral นอกจากจะสามารถคัดแยกสีได้มากกว่า ละเอียดกว่า แบบ Chromaแล้ว (เครื่องวัดสีแบบพกพา มีทั้งแบบแบบ Chromaและแบบ spectral) เครื่องตั้งโต้ะจะสามารถวัดได้ทั้งวิธีการส่องผ่าน (transmittance) และ วิธีการสะท้อน (reflectance) ซึ่งคลอบคลุมมากกว่าเครื่องวัดสีแบบพกพา ด้วยฟังก์ชั่นที่มากกว่าของเครื่องวัดสีแบบตั้งโต้ะ แน่นอนว่าราคาเครื่องวัดสีแบบตั้งโต้ะจะสูงกว่าเครื่องวัดสีแบบพกพา

แล้วถ้ามีเครื่องวัดสีแบบพกพา แต่ยังไม่พร้อมซื้อเครื่องวัดสีแบบตั้งโต๊ะ สามารถใช้เครื่องวัดสีแบบพกพาวัดสีด้วยวิธีการส่องผ่าน (transmittance)ได้ไหม ?

หากต้องการใช้เครื่องวัดสีแบบพกพาวัดตัวอย่างโปร่งแสงจริงๆ ต้องมีฉากหลังมาวางไว้หลังตัวอย่าง ซึ่งฉากหลังนี่ควรเป็นสีเดียวกัน และ ไม่มีสีที่ส่งผลต่อสีของตัวอย่าง เราแนะนำให้ใช้เป็นสีขาว ในเครื่องวัดสีแบบพกพาบางรุ่นมีอุปกรณ์เสริมทำให้เซ็ตตำแหน่งและฉากหลังได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น

แนะนำเครื่องวัดสีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
เครื่องวัดสีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ CM-5
  • วัดได้ทั้ง 2 ระบบ สามารถวัดได้ทั้ง 2 ระบบ ทั้งวิธีวิธีการส่องผ่าน (transmittance) และวิธีการสะท้อน (reflectance)
  • ใช้งานง่ายแค่ 3 ขั้นตอน เปิดเครื่อง-วางตัวอย่าง-กดวัดค่า
  • จอ LCD สีขนาดใหญ่ อ่านง่ายแสดงข้อมูลได้ทั้งกราฟและตัวเลข พร้อมแสดงผล PASS / FAIL 
  • สามารถวัดได้ในหน่วยสี L*a*b*, L*C*h, Hunter Lab, Yxy, XYZ, Munsell
  • สามารถเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟ
  • สามารถเชื่อมต่อคีบอร์ด เพื่อให้พิมพ์ง่ายยิ่งขึ้น
  • มีช่องสำหรับเสียบ USB
  • มี color index ต่างๆ ที่ครอบคลุมการวัดสี
เครื่องวัดสี CM-5
Color Index สำหรับการวัดแบบ Reflectance
      • MI
      • WI (ASTM E 313-73, ASTM E 313-96)
      • YI (ASTM E 313-73, ASTM E 313-96,
      • ASTM D 1925)
      • ISO Brightness
      • B (ASTM E 313-73)
Color Index สำหรับการวัดแบบ  Transmittance
    • Gardner
    • Iodine Color Number
    • Hazen/APHA
    • European Pharmacopoeia
    • US Pharmacopeia

            เครื่องวัดสีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ รุ่น CM-5 เป็นเครื่องที่เหมาะกับการวัดสีอาหารมากที่สุด เพราะตัวเครื่องรองรับการวัดทั้งระบบ ทั้งวิธีวิธีการส่องผ่าน (transmittance) และวิธีการสะท้อน (reflectance) และ color index ที่คลอบคลุม ทำให้ไม่ว่าตัวอย่างจะเป็นลักษณะของแข็ง ของเหลว ผง หรือไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่โปร่งแสง หรือซอสที่ทึบแสง เครื่องวัดสีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ รุ่น CM-5 ก็สามารถวัดตัวอย่างได้อย่างง่ายๆ นอกจากนี้เครื่องวัดสีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ รุ่น CM-5 สามารถทำงานได้พร้อมวิเคราะห์ผลต่างๆได้ด้วยตัวเครื่องเอง ไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้

ตัวประมวลผล (ซ้าย) หัววัด CR-400 (กลาง) หัววัด CR-410 (ขวา)
เครื่องวัดสีโครมามิเตอร์ CR-400 และ CR-410
  • เครื่องวัดสีแบบพกพา ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่หรือถ่าน AA และ AAA ได้
  • ใช้งานง่าย
  • หัววัดและตัวประมวลผลแยกกันได้ สามารถให้หัววัด วัดค่าสีอย่างเดียวหรือต่อเข้ากับตัวประมวลผลเพื่อคำนวณข้อมูลทางสถิติและพิมพ์ข้อมูลการวัดสี
  • หน้าจอ LCD สามารถแสดงข้อมูล PASS / FAIL และกราฟความแตกต่างของสี
  • แหล่งแสงสามารถเลือกได้ทั้งแหล่งแสง C และ D65
  • สามารถเก็บข้อมูลได้ 2000 ค่า เมื่อเชื่อมต่อกับตัวประมวลผล หากไม่เชื่อมต่อกับตัวประมวลผลสามารถเก็บข้อมูลได้ 1000 ค่า

 

ตัวประมวลผล สามารถคำนวณค่าทางสถิติได้เป็นค่าข้อมูลการวัดสีได้ในตัว

หัววัด CR-400 วัดค่าและแสดงค่าสีบนหน้าจอ LCD หัววัดมีกระจกแก้วกั้น ป้องกันไม่ให้ตัวอย่างเข้าสู่หัววัด ทำให้สามารถวัดชิ้นงานที่มีความชื้นได้หรือวัดตัวอย่างที่เป็นผงได้

หัววัด CR-410 ความสามารถเช่นเดียวกับหัววัด CR-400 แต่มีพื้นที่การวัดมากกว่า (ขนาดหัววัดใหญ่กว่า หัววัด CR-400) ทำให้เหมาะกับงานที่สีไม่สม่ำเสมอ หรือตัวอย่างจำพวกเม็ด เช่น เมล็ดขาว 

           เครื่องวัดสีโครมามิเตอร์ CR-400 และ CR-410 เป็นเครื่องวัดสีที่นิยมในหลายๆอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเครื่องวัดสีแบบพกพา สามารถวัดชิ้นงานต่างๆในภาคสนามได้ ตัวหัววัดสามารถถอดแยกจากตัวประมวลผลได้ (ตัวประมวลผล หรือ data processer หรือที่หลายๆคนเรียกว่าเครื่องปริ้น เนื่องจากตัวประมวลสามารถปริ้นค่าวัดสีของตัวอย่างได้ ซึ่งจริงๆนอกจากปริ้นค่าการวัดสีได้ ยังสามารถวิเคราะห์ค่าทางสถิติและใช้สำหรับการตั้งค่าต่างๆของเครื่องวัดสี CR-400/CR-410) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อใช้ให้รองรับกับการวัดค่าสีให้ครอบคลุม เช่น Powdered sample holder set, Granular Attachment, Petri dish Measurement set, Trans reflectance measurement set (อ่านรายละเอียดของอุปกรณ์เสริมต่างๆ คลิกที่นี้)

เครื่องวัดสีคัลเลอร์รีดเดอร์ CR-10 Plus และ CR-20
  • เครื่องกะทัดรัด พกพาง่าย ใช้งานง่าย (เปิดเครื่องแล้ว วัดค่า) แล้วแสดงผลบนหน้าจอ LCD
  • มีหน่วยความจำในตัวเครื่องสามารถเก็บค่าข้อมูลการวัดสีได้สูงสุด 1000 ค่า
  • สามารถวัดค่าผ่านคอมพิวเตอร์ได้เมื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องซื้อซอฟแวร์เพิ่ม (On board Utility Software application)
เครื่องวัดสี CR-10 Plus
เครื่องวัดสี CR-20

CR-10 Plus

  • วัดค่าสีแสดงค่าความแตกต่างของสี Δ E * ab, Δ (L * a * b *), Δ (L * C * H *)
  • หน้าจอ 4 ภาษาอังกฤษ, จีนตัวย่อ, ญี่ปุ่น

CR-20

  • วัดค่าและแสดงค่าสีในระบบ L * a * b *, L * C * h, Yxy, XYZ, Munsell
  • หน้าจอภาษา 2 ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่น
  • มีดัชนีสี
          • WI (CIE / ASTM E 313-96),
          • สี (CIE / ASTM E 313-96)
          • YI (ASTM E 313-96)

      เครื่องวัดสีคัลเลอร์รีดเดอร์ CR-10 Plus และ CR-20 เป็นเครื่องวัดสีแบบพกพา เป็นตัวเริ่มต้นของเครื่องวัดสี พกพาง่ายและสะดวก ใช้งานง่าย เครื่องวัดสีทั้ง 2 รุ่นมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันจุดต่างทั้ง 2 รุ่นนี้อยู่ที่ เครื่องวัดสีคัลเลอร์รีดเดอร์ CR-10 Plus วัดค่าสีออกมาเป็น ค่าสีแสดงค่าความแตกต่างของสี Δ E * ab, Δ (L * a * b *), Δ (L * C * H *) เป็นการเปรียบเทียบชิ้นงาน standard หรือ Target เทียบกับตัวอย่าง ส่วนเครื่องวัดสีคัลเลอร์รีดเดอร์ CR-20 จะวัดค่าสีออกมาเป็นค่า L * a * b *, L * C * h, Yxy, XYZ, Munsell ซึ่งคุณอาจจะต้องลองพิจารณาจากความต้องการว่า ต้องการผลในลักษณะใด ต้องการเป็นค่าความแตกต่าง หรือ ค่าสีนั้นๆ

        สำหรับบทความนี้เราแนะนำทั้งหมด 4 รุ่น คือ รุ่น CM-5, CR-400/CR-410, CR-20 และ CR-10Plus ซึ่งเป็นเครื่องวัดสีที่นิยมใช้ในการวัดสีอาหารและหลายๆคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตามาบ้าง นอกจากเครื่องวัดสีทั้ง 4 รุ่นนี้ยังมีรุ่นอื่นๆสามารถวัดสีของอาหารได้ แต่ถ้าต้องการการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้ซอฟแวร์ Spectramagic NX มาใช้ร่วมกับเครื่องวัดสีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ไปอีกขั้น ยกตัวอย่างเช่น Spectramagic NX  มีกราฟที่ครอบคลุมและการประเมินความแตกต่างของสี

        สามารถเลือกจากกราฟต่างๆ ร่วมกับสมการการประเมินความแตกต่างของสี แสดง Pass/Fail ในสมการการประเมินความแตกต่างของสี ระบบ CIE 1994 หรือ CIE DE2000 และดัชนีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร พลาสติก สีและสารเคลือบ เครื่องสำอาง ยา สิ่งทอ เป็นต้น  ความคลาดเคลื่อนในรูปวงกลมหรือวงรี สามารถปรับได้โดยอัตโนมัติหรือผู้ใช้งานสามารถปรับแก้ไขให้ได้ตามมาตรฐานที่ใช้ได้  นอกจากนี้ Spectramagic NX ยังมีฟังก์ชัน ” User Index ” ที่ช่วยให้คุณกำหนดค่าสมการสีที่กำหนดเองได้สูงสุด 3 สมการเพื่อให้ตรงตามข้อกำหนดเฉพาะของอุตสาหกรรมสำหรับการประเมินสีของคุณโดยเฉพาะ

Spectramagic NX สามารถให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแก้ไข ในหลายๆส่วนได้เพื่อให้ต้องกับความต้องการมากที่สุด นี่เป็นอีกจุดที่น่าสนใจที่ทำให้หลายคนเลือกใช้ Spectramagic NX

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี