ขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างมีความสำคัญสำหรับการวัดสีอย่างไร ?

แชร์หน้านี้

          ในหลายๆบทความเราได้พูดถึงการวัดสีหรือเทคนิคการวัดสี แต่วันนี้จะขอพูดถึงการเลือกขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างซึ่งเป็นส่วนนึงของการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดสี

เซลล์แก้ว (Glass Cell)

เซลล์แก้ว (Glass Cell) สำหรับงานวัดสี จำเป็นต้องเป็นแก้วที่ไม่ทำให้เกิดการหักเหของแสง สำหรับการวัดสีนั้นเซลล์แก้ว (Glass Cell) นิยมใช้กับตัวอย่างที่เป็นของเหลวที่มีความโปร่งแสง

แล้วต้องเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเท่าไร?

 การเลือกขนาดให้เหมาะกับตัวอย่างให้พิจารณาจากลักษณะตัวอย่างเป็นหลัก ดูความโปร่งแสงของตัวอย่าง ว่ามีความโปร่งแสงมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการวัดสีโดยใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) จะเป็นการวัดสีแบบส่องผ่าน ดังนั้นจำเป็นต้องให้แสงส่องผ่านตัวอย่างได้ หากตัวอย่างมีสีความเข้มหรือโปร่งแสงน้อย ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านตัวอย่างไปได้

ในทางกลับกันหากตัวอย่างค่อนข้างใสหรือมีความโปร่งแสงค่อนข้างมาก ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดใหญ่จะเหมาะสมกว่า หากเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเล็ก จะทำให้เครื่องวัดสีวัดค่าสีได้ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก

        ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบค่าสีตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง จำเป็นต้องใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเดียวกันเท่านั้น หากใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดต่างกัน จะไม่สามารถนำค่าสีมาเทียบกันได้เลย ค่าสีจะไม่เท่ากันแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างเดียวกัน เช่น รูปด้านล่าง ตัวอย่างชนิดเดียวกัน (ตัวเดียวกัน) นำมาใส่เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาด 20 mm. และ 10 mm. จะเห็นว่าสีต่างกันแม้มองด้วยตาเปล่า แน่นอนว่าเมื่อวัดค่าสีด้วยเครื่องวัดสีจึงมีค่าที่แตกกัน เนื่องจากเครื่องวัดสีวัดค่าสีสอดคล้องกับสายตามนุษย์

ตัวอย่างชนิดเดียวกัน (ตัวเดียวกัน) นำมาใส่เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาด 20 mm.(ซ้าย) และ 10 mm. (ขวา) แม้ว่าจะเป็นสารตัวเดียวกันแต่ใส่เซลล์ขนาดต่างกัน เมื่อวัดค่าสีจะได้ค่าที่ต่างกัน สอดคล้องกับที่สายตามองเห็น

สำหรับขนาดของเซลล์แก้ว (Glass Cell) จะมี 3 ขนาด คือ 20 mm. , 10 mm. , 2 mm. นอกจากเซลล์แก้ว (Glass Cell)  ก็ยังมีเป็นเซลล์พลาสติกในขนาดเดียวกัน (ข้อมูลของอุปกรณ์เสริมของเครื่องวัดสีของแบรนด์ Konica Minolta)

CM-A97 (2 mm.)
CM-A98 (10 mm.)
CM-A99 (20 mm.)

          นอกจากเซลล์แก้ว (Glass Cell) ที่ใช้สำหรับการวัดตัวอย่างแบบส่องผ่านแล้วแล้วยังมี Petri dish สำหรับวัดตัวอย่างแบบสะท้อน ซึ่งการเลือกขนาดจะง่ายกว่าแบบส่องผ่าน เพียงแค่ใส่ตัวอย่างให้เพียงพอต่อการวัด เช็คด้วยสารตาด้วยการมองด้านล่าง Petri dish ว่ามีแสงผ่านตัวอย่างได้ไหม หากมีแสงผ่านให้ได้ให้ใส่ตัวอย่างเพิ่มแล้วเกลี่ยให้ผิวสม่ำเสมอ ส่วนจะกดให้แน่นหรือเคาะเบาๆเพื่อให้ตัวอย่างแน่นนั้น หากทำต้องทำแบบเดียวกันกับทุกตัวอย่างที่เอาค่ามาเปรียบเทียบกัน

 สำหรับขนาดของ Petri dish มีขนาดต่างๆดังนี้ (ข้อมูลของอุปกรณ์เสริมของเครื่องวัดสีของแบรนด์ Konica Minolta)

  • CM-A128 : ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 มม. และมีความลึก 15 มม. 
  • CM-50 : ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 มม. และมีความลึก 50 มม. 
  • CM-A502 : ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 มม. และมีความลึก 38 มม. 
  • CM-A504 : ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 34 มม. และมีความลึก 33 มม. 
  • CM-A506 : ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 มม. และมีความลึก 58 มม. 

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี