หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 1 : มาศึกษาเรื่องปริภูมิสีกันเถอะ(Color space)

แชร์หน้านี้

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สีจะประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ คือ

  • สีสัน (Hue)
  • ความสว่าง (Lightness)
  • ความอิ่มตัว (Saturation) 

ลักษณะเหล่านี้ถูกนำมาสร้างแบบจำลองสีหลังจากนั้นได้มีการคิดค้นหาวิธีการวัดสีในเชิงตัวเลขเพื่อให้คนสามารถสื่อสารเรื่องสีได้อย่างง่ายขึ้นและแม่นยำ

โดยองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสีและแสง คือ The  Commission International  Del’ Eclairage (CIE)  มีระบบที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุดอยู่  2  ระบบคือ

ระบบ Yxy

ซึ่งเริ่มใช้ในปี ค.ศ.1931  คำนวณจากค่าไตรสติมูลลัส  XYZ  ตามมาตรฐานของ  CIE 

ระบบ  L*a*b*

เริ่มนำมาใช้ในปี  1976  ซึ่งทำให้ความแตกต่างของสีมีระยะสัมพันธ์ใกล้กับความแตกต่างที่มองเห็นด้วยสายตามากขึ้น ปริภูมิ (Color Space) เหล่านี้ ถูกนำมาใช้ในสื่อสารในระบบสีของโลกอยู่ในปัจจุบัน

  • ค่า L*เป็นค่าความสว่าง ซึ่งค่า L*สามารถมีค่ามากกว่า 100 ได้ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ภายในตัวอย่างมีส่วนประกอบที่สามารถสะท้อนแสงได้(สีเมทาลิค) ทำให้ค่า L เกิน 100 แต่กรณีนี้ไม่ค่อยพบในอุตสาหกรรมอาหาร 
  • ค่า a* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี

                    + a* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีแดง

                   –  a* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีเขียว

  • ค่า b* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี

                     +b* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีเหลือง

                    – b* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีน้ำเงิน

ค่าไตรสติมูลัส XYZ และ ปริภูมิสี  Yxy

ค่าไตรสติมูลัส XYZ และปริภูมิ Yxy ถือว่าพัฒนามาจากระบบสี CIE ซึ่งมีแนวพื้นฐานมาจากทฤษฏี 3 องค์ประกอบ (Three-component theory)  ในการมองเห็น  ได้กล่าวไว้ว่า ตาของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ไวแสง 3 สี คือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ซึ่งสีทั้งหมดที่เรามองเห็นเกิดจากการผสมของสามสีหลัก

ในปี ค.ศ. 1931  CIE  ได้ให้กำหนดมาตรฐานการมองเห็นของมนุษย์เพื่อให้ได้ฟังก์ชั่นความไวแสงของเซลล์ทั้งสาม (Color-Matching Function)  x(λ),y(λ), และ z(λ) ดังรูปที่ 1  ค่าไตรสติมูลสั  XYZ   

รูปที่ 1 ความไวแสงของตามษุษย์ (Color-Matching Functions/1931 Standard Observer)

แต่เนื่องจากค่าไตรสิมูลัส  XYZ  นี้  นำไปแปลความหมายของสีได้ค่อนข้างยาก  ดังนั้น  CIE  จึงนำเสนอปริภูมิสีใหม่ในปี  1931  เป็นรูปกราฟ 2 มิติ โดยไม่รวมความสว่างเข้ามาด้วย เรียกว่า ปริภูมิ  Yxy (Yxy Color Space)  ทั้งนี้ให้ Y แทนค่าความสว่าง (ค่าไตรสติมูลัส Y)  ส่วนค่า x  และ y คือ  ค่าสัมประสิทธิ์ของสีที่จากากรคำนวนค่าไตรสติมูลัส  XYZ  ไดอะแกรม

ค่าไตรสติมูลัส XYZ (CIE 1993)

ค่าไตรสติมูลัสที่พิจารณาจากฟังก์ชั่น x (λ), y (λ) และ z (λ) กำหนดโดย CIE ในปี 1993 โดยปกติค่าไตรสติมูลัส XYZ จะระบุที่ 2 องศา ซึ่งจะเหมาะกับมุมการมองเห็นที่ 4 องศา

รูปที่ 2 ไดอะแกรมสี x,y ปี 1931

ฟรี !! แบบทดสอบความเข้าใจ ความรู้พื้นฐาน การวัดสี  คลิก

หากสนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาฟรีเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการวัดสีและการวัดแสง

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้คะ

ัYOUTUBE