บรรยากาศการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจภาษาสี ที่ Taiyo Technology Industry (Thailand) จังหวัดสุมทรปาการ โดยมีพนักงานผู้ใช้งานเครื่องวัดสีเข้าร่วมการอบรม โดยหัวข้อการบรรยายในครั้งนี้คือ ทำความเข้าใจ ภาษาของสี ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องวัดสี มีความเข้าใจการใช้งานเครื่องวัดสีมากยิ่งขึ้น การบรรยายครั้งนี้ บรรยายโดย คุณรัชดาภรณ์ Sale Manager จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ซึ่งหลักจากจบการบรรยายมีการทำแบบทดสอบเพื่อเช็คความเข้าใจ หากคุณเป็นผู้ใช้งานเครื่องวัดสีหรือกำลังศึกษาเรื่องการวัดสี เนื้อหาส่วนนี้เหมาะกับคุณเป็นอย่างมาก เป็นความรู้พื้นฐานที่ไม่สามารถละเลยได้ โดยคุณสามารถดาวน์โหลดสไลด์เดียวกับการบรรยายนี้ และทำแบบทดสอบเพื่อเช็คความมั่นใจ ได้ฟรีโดย คลิกลิ้งค์นี้ เราได้จัดทำเนื้อหาและแบบทดสอบเป็นแบบ e-learning เพื่ออำนวยความสะดวก เมื่อทำแบบทดสอบผ่าน 70% ท่านจะได้รับประกาศนียบัตรจากทางเราส่งอัติโนมัติไปที่ e-mail ของท่าน *ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ* สามารถดูได้ทุกเวลา หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 Line…
-
-
บรรยายการอบรมการใช้งานเครื่องวัดสีที่ ม.พะเยา
บรรยายการอบรมการใช้งานเครื่องวัดสีที่ ม.พะเยา จัดขึ้นเมื่อ 14 กันยายน 2563 ที่ผ่านมาโดยคุณภัทรินทร์ (พลอย) Sales Executive ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดสี บรรยายกาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและได้รับความสนใจจากนักศึกษาและอาจารย์เป็นอย่างดี การบรรยายในครั้งนี้เป็นการแนะนำวิธีใช้งานเครื่องวัดสี รุ่น CR-400 พร้อมสาธิตการใช้งานเครื่องมือ ปัจจุบันทางเราได้จัดทำคลิปวิดีโอสาธิตการใช้งานเครื่องวัดสีรุ่น CR-400 และการแก้ไข error code ผู้สนใจสามารถเข้ามาดูได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ค่ะ การใช้งานเครื่องวัดสี CR-400 ตอนที่ 1 คลิก คลิปนี้จะเป็นการอธิบายส่วนต่างๆของเครื่องวัดสี CR-400 การใส่กระดาษที่ตัว Data processer การเสียบปลั๊กและการใส่ถ่านที่ถูกต้อง เพื่อรักษาเครื่องใช้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น การใช้งานเครื่องวัดสี CR-400 ตอนที่ 2 คลิก คลิปนี้จะเป็นการอธิบายส่วนต่างๆของการตั้งต่า Index set การตั้งค่าต่างๆ การทำ Calibration เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจและตั้งค่าได้อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิด error…
-
TDEM เยี่ยมชมห้องปฎิบัติการ
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ทีม service ของเซ็นเทเซีย ได้ต้อนรับตัวแทนบริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) จ.ระยอง เพื่อเข้าชมความพร้อมห้องปฎิบัติการสอบเทียบและซ่อมเครื่องวัดสีของ Konica Minolta ทีม service ของ เซ็นเทเซีย ต้องขอขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจกับเราค่ะ งานบริการด้านการสอบเทียบของเราใช้มาตรฐานการสอบเทียบเดียวกับผู้ผลิต โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนผ่านการอบรมจากบริษัทผู้ผลิตทั้งหมดแล้ว ท่านสามารถดูใบรับรองต่างๆ ได้ที่ ลิ้งค์นี้ค่ะ หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี
-
การวัดแสง LED สำหรับฟาร์มเกษตรในโรงเรือน
เกษตรส่วนใหญ่พบปัญหาการปลูกพืชและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น ฝนตกมากหรือน้อยเกินไป สภาพอากาศที่แปรปรวน ฝูงแมลงและตั๊กแตนต่างๆ รวมถึงความโชคร้ายจากธรรมชาติที่ทำลายพืชผลในชั่วข้ามคืน พืชผลที่สดใหม่และปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นในทุกสังคม การนำเทคโนโลยีแสง LED มาทำเกษตรในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่และปลอดภัยหลังจากที่จังหวัดมิยางิ ทางตะวันออกของญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และส่งผลให้เกิดสึนามิในปี 2011 พวกเขาพยายามหาวิธีต่างๆเพื่อให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด รวมไปถึงจัดหาอาหารสดใหม่ที่ปราศจากสารปนเปื้อนให้ประชากร Shigeharu Shimarmura ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพืชวิทยาชาวญี่ปุ่น มีความคิดค้นการใช้เทคโนโลยี LED เพื่อสร้างฟาร์มเกษตรในโรงเรือนที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยในโรงเรือนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 25,000 ตารางฟุตและเปิดใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2014 ขณะนี้มีการผลิตผักกาดหอมสดเกือบ 10,000 หัวในแต่ละวัน แสง LED ที่ใช้ ได้รับการออกแบบพิเศษโดย General Electric และปล่อยความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทั้งกลางวันและกลางคืน Shimamura ใช้ระบบ LED นี้ ปลูกผักกาดหอมที่อุดมด้วยสารอาหารได้เร็วกว่าฟาร์มกลางแจ้งถึงสองเท่าครึ่ง สภาพแวดล้อมแบบปิดจะสามารถช่วยลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด โดยลดลงจากประมาณ 50% (โดยเฉลี่ยสำหรับฟาร์มกลางแจ้ง) เหลือเพียง 10% นอกจากนี้ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้นและทำให้การใช้น้ำในฟาร์มมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เพียง 1% ของการใช้น้ำปกติในสภาพแวดล้อมแบบเปิด Shimamura เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารได้ทั่วโลก ซึ่งแน่นอนการใช้ระบบ LED นี้ แสงของ LED เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด การจะมีระบบที่ดีต้องมีการควบคุมที่ดี…
-
การควบคุมสีของเครื่องเทศ
การใช้เครื่องเทศปรุงอาหารนั้นนอกจากใช้แต่งกลิ่นแล้วยังใช้ในการแต่งสีและถนอมอาหารด้วยลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติเฉพาะตัวในการต้านจุลชีพของเครื่องเทศต่างๆนี้ จึงทำให้เครื่องเทศนิยมใช้ในการถนอมเนื้อสัตว์และอาหาร ซึ่งนอกจากการใช้ถนอมอาหารนั้นลักษณะกายภาพของเครื่องเทศเหล่านี้อีกอย่างที่สำคัญ คือ สี มีการนิยมให้เครื่องเทศต่างๆมาใช้ในการปรุงอาหารเพื่อให้เกิดความน่าดึงดูดต่อผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะเป็นอาหารหรือไม่สิ่งที่ดึงดูดลูกค้าอย่างแรกคือ สี ในปัจจุบันการควบคุมสีของเครื่องเทศจึงได้รับความสนใจจากผู้ผลิตมากขึ้นและไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เนื่องจากการควบคุมสีของเครื่องเทศนี้มีส่วนช่วยให้ผู้ผลิตสามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธุรกิจของท่านเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ การควบคุมสีของเครื่องเทศจะยิ่งช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการตรวจสอบได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ข้อมูลสียังช่วยในการศึกษาอายุการเก็บรักษา (shelf life), ความเบี่ยงเบนของสี, สภาพการเก็บรักษานั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ผลิตหลายแห่งให้ความสำคัญกับการควบคุมสีของเทศ สามารถอ่านบทความ เครื่องวัดสีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อดูเครื่องวัดสีที่มีการจัดทำสรุปไว้ให้ค่ะ เครื่องวัดสีที่เหมาะสำหรับการวัดสีของเครื่องเทศ บทความนี้จะขอแนะนำเครื่องวัดสีจากแบรนด์ Konica Minolta Spectrophotometer CM-5 ซึ่งมีขนาดพื้นที่การวัดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ สามารถใช้อุปกรณ์เสริมได้แก่ ถ้วยแก้ว (Petri dish) อุปกรณ์เสริมที่เป็นภาชนะแก้วมีหลายขนาด เพื่อรองรับตัวอย่างเครื่องเทศในรูปแบบที่แตกต่างกัน หากตัวอย่างอาจมีลักษณะผงขนาดเล็กหรือผงละเอียด ทางเราขอแนะนำให้ใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยของการวัดเนื่องจากจะช่วยให้สามารถแสดงข้อมูลสีเครื่องเทศได้ดีขึ้น เพื่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำการวัดค่าเฉลี่ยสามารถทำได้อย่างง่ายด้วยเครื่องวัดสีรุ่น Spectrophotometer CM-5 ในตัวเลือกการหาค่าเฉลี่ยอัตโนมัติ (auto average) หรือการหาค่าเฉลี่ยด้วยตนเอง (manual average) ฟังก์ชันการหาค่าเฉลี่ยพร้อมตัวเลือกที่แตกต่างกันในเครื่องวัดสี…
-
การวัดสีในอุตสาหกรรมอาหาร
“สี”เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้า นอกจากนี้ “สี” ยังสื่อถึงความสดใหม่,รสชาติ, คุณภาพของอาหารนั้น การประเมินสีและการวัดค่าสีจึงเป็นอีกกระบวนการที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร การวัดสีในอุตสาหกรรมอาหาร โดยทั่วไป ใช้หน่วยสี CIE L*a*b* โดยที่ ค่า L*เป็นค่าความสว่าง ซึ่งค่า L*สามารถมีค่ามากกว่า 100 ได้ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ภายในตัวอย่างมีส่วนประกอบที่สามารถสะท้อนแสงได้(สีเมทาลิค) ทำให้ค่า L เกิน 100 แต่กรณีนี้ไม่ค่อยพบในอุตสาหกรรมอาหาร ค่า a* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี + a* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีแดง – a* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีเขียว ค่า b* เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของสี +b* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีเหลือง – b* : ค่าสีมีแนวโน้มไปทางสีน้ำเงิน บทความที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.1 การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.2 การวัดสีอาหาร สามารถวัดได้ตั้งแต่วัตถุดิบต่างๆ ไปจนถึงอาหารพร้อมทาน…
-
วัดค่าแสงจอแสดงผลแบบโค้งได้อย่างไร
จอแสดงผลที่ถูกนำมาออกแบบให้เหมาะกับขนาดและรูปร่างของเสา A (ซ้าย) และ จอแสดงผลที่ถูกนำมาใช้ที่แผงประตูข้างแบบไม่มีรอยต่อ (ขวา) เป็นการออกแบบที่ระหยัดพื้นที่และไม่รบกวนทัศวิสัยในการมองเห็น (ที่มา: Flexenable) จอแสดงผลในแวดวงยานยนต์ทุกวันนี้ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นดังที่เราจะเห็นได้จากผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายที่นำมาใช้เพราะเห็นถึงประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แผงหน้าปัด/แผงควบคุมภายในห้องโดยสาร จอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบสีบนกระจกหน้า จอแสดงข้อมูลหรือแผงควบคุมระบบสัมผัสบนพวงมาลัย จอแสดงผลข้อมูล, ระบบควบคุมและความบันเทิงบนคอนโซลกลาง ประกอบด้วย ข้อมูลการนำทาง การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร ระบบควบคุมเสียง/วิทยุ ฟังก์ชันอื่นๆของรถยนต์ เช่น กล้องแสดงภาพในขณะที่รถถอยหลัง กระจกมองด้านหลังและด้านข้างรถที่มีระบบการตรวจจับ ระบบกล้องมองข้างแบบเรียลไทม์ (CMS) จอแสดงความบันเทิงด้านหลังเบาะสำหรับผู้โดยสารด้านหลัง ด้วยรูปแบบการทำงานที่หลากหลายนี้ทำให้เหล่านักออกแบบต้องใช้ความคิดมากขึ้นในการนำจอชนิดต่างๆมาใช้ร่วมกัน ชิ้นส่วนภายในรถยนต์เองก็มักเป็นพื้นที่โค้งทำให้ยากต่อการนำจอแสดงผลชนิดเรียบ (Flat panel displays) มาออกแบบใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์ส่วนอื่นให้กลมกลืน ด้วยเทคโนโลยีจอโค้งและจอรูปทรงอิสระ (Free form display) แบบใหม่นี้ทำให้การนำจอไปใช้ภายในส่วนต่างๆของรถยนต์ร่วมกันมีความเป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น การนำจอแสดงผลมาใช้ในตำแหน่งของเสา A หรือการนำมาใช้ที่แผงประตูข้าง หรือการนำมาใช้ที่แผงควบคุม และการนำมาใช้ที่ด้านหลังของเบอะที่นั่ง เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นกับการออกแบบของจอแสดงผลเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้จริง ซึ่งจอเหล่านี้ก็จำเป็นต้องได้รับมาตรฐานเป็นไปตามที่อุตสาหกรรมกำหนดเพื่อให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันกับจอแสดงผลในรูปแบบเดิม การตรวจสอบคุณสมบัติของจอโค้งจึงนับเป็นความท้าทายใหม่ของแวดวงการวัดค่าทางด้านมาตรวิทยา บริษัท Radiant Vision Systems…
-
การวัดค่าแสงไฟกระพริบหรือที่รู้จักกันว่า Flickering ในหน้าจอ
แสงไฟกระพริบ หรือที่เรียกว่า Flickering ในหน้าจอแสดงผล เป็นปรากฎการณ์ที่สามารถมองเห็นได้บนพื้นหลังของหน้าจอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับประเภทของเทคโนโลยีการผลิตหน้าจอ ซึ่งแม้ผูต้ใช้งานหน้าจอไม่สามารถมองเห็นหรือสังเกตุได้ แต่แสงกระพริบ (Flicker) อาจจะส่งผลให้ผู้ใช้งานหน้าจอมีความอ่อนล้าทางสายตา นั่นเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตหลายรายพยายามแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อให้ผู้ใช้งานพึงพอใจในสินค้ามากที่สุด ภาพที่ 1 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มของแสงคงที่ ลักษณะหน้าจอแบบนี้จะไม่มีแสงกระพริบ ภาพที่ 2 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มแสงคงที่ แต่มีบางช่วงขาดหายไป หน้าจอลักษณะนี้จะปรากฎแสงกระพริบ ภาพที่ 3 แสดงถึงหน้าจอที่มีแสงและความเข้มของแสง ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ หน้าจอในลักษณะนี้จะปรากฎแสงกระพริบ เมื่อความเข้มของการปล่อยแสงเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอระหว่างเฟรม จะเกิดแสงกระพริบที่มีความถี่สูง เนื่องจากความถี่ที่เกิดขึ้นนี้ สูงกว่าความถี่ที่เรามองเห็น จึงแทบจะสังเกตไม่เห็นด้วยสายตา ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดความผันผวนในเฟรม ได้แก่ – ไม่มีการปล่อยแสงในระหว่างการรีเฟรช – การปรับความกว้างพัลส์ (PWM) – การควบคุมความเข้ม (ความสว่างต่ำ) ในหน้าจอ OLED – การรั่วไหลของวงจรเปล่งแสง สำหรับการแสดงผล LCD การเกิดแสงกระพริบ เกิดจากการกลับขั้วเมื่อตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าทั้งบวกและลบ ดังนั้นขั้วของสัญญาณภาพที่ส่งไปยัง LCD จะกลับด้านทุกเฟรม (ระยะเวลาการซิงโครไนซ์แนวตั้ง)…
-
การตรวจสอบคุณภาพหน้าจอ (Display) ด้วยอัตราส่วนความคมชัด (Contrast ratio)
อัตราส่วนความคมชัด (contrast ratio) คือหนึ่งในพารามิเตอร์ที่สำคัญในหน่วยวัดคุณภาพความแตกต่างของความสว่างระหว่างหน้าจอที่แสดงความสว่างสูงสุดในหน้าจอขาวและดำ อัตราส่วนความคมชัด (contrast ratio) ที่สูงนั้นย่อมดีกว่า เนื่องจาก จอภาพที่มีค่า contrast ratio สูงๆ จะสามารถแสดงภาพได้ลึกและสมจริง ในขณะที่จอภาพที่มีค่า contrast ratio ต่ำๆ จะให้ภาพที่ไม่ดำสนิท ไม่มีมิติ เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะที่มีแสงสว่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหน้าจอมีค่า contrast ratio เท่ากับ 5,000 ต่อ 1 หมายความว่า ภาพจะแสดงความสว่างของสีขาวมากกว่าสีดำ 5,000 เท่าและจะสามารถแสดงค่าการแสดงผลของหน้าจอได้ดีแม้ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า เพื่อที่จะตรวจสอบคุณภาพของอัตราส่วนความคมชัดของหน้าจอ จำเป็นจะต้องใช้กระดานลายตาราง (checkerboard) และเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำสูงในการตรวจสอบ โดยจะทำการวัดที่ตรงกึ่งกลางของตารางลายสีขาวและตามด้วยกึ่งกลางของตารางลายสีดำ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ยิ่งขนาดของตารางเล็กลง จะทำให้ค่าอัตราส่วนความคมชัดมีค่าต่ำ และนอกจากนี้ ค่าอัตราส่วนความคมชัดยังขึ้นอยู่กับระดับความสว่างของส่วนที่มืดที่สุด Konica Minolta Color…
-
การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว
เมื่อผิวหนังได้รับรังสียูวีจากแสงแดด ทำให้เกิดการก่อตัวของจุดกระและเป็นสาเหตุของปัญหาผิวหมองคล้ำ ปัญหาเหล่านี้ทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจ ทำให้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางค์เกี่ยวกับผิวขาวได้รับความนิยมอย่างมากและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า การวิเคราะห์และการประเมินผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาวในด้านผู้ผลิตนั้นการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว สามารถทำได้โดยการวัดสีของผลิตภัณฑ์และสีผิวที่หมองคล้ำ ตามปกติแล้วหน่วยสีค่า L* (ความสว่าง) ของระบบวัดสี L*a*b* ใช้เพื่อวัดระดับเมลานินของสีผิว การเพิ่มขึ้นของค่า L* หมายถึงการลดลงของระดับเมลานิน (ผิวสว่างขึ้น) ในขณะที่การลดลงของค่า L* จะบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของระดับเมลานิน (ผิวหมองคล้ำลง) การลดลงของค่า L* อาจเกิดจากการอักเสบที่ผิวหนังซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มปริมาณของเม็ดสีฮีโมโกลบินในผิวหนัง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว โปรแกรมวิเคราะห์ผิว Konica Minolta Skin Analysis software (CM-SA) พร้อมด้วยเครื่องวัดสีรุ่น Spectrophotometer CM-700d เป็นโซลูชันที่คุ้มค่าสำหรับการวัดสีและการวัดเม็ดสีผิวหนัง ซึ่งสามารถวัดเมลานิน ฮีโมโกลบิน และดัชนีวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิน รวมถึงการวัดค่าสีในครั้งเดียว หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี