การเลือกซื้อผลไม้ของผู้บริโภคมักใช้สีในการตัดสินใจเลือกซื้อ โดยเลือกจากสีที่สื่อถึงความสดและรสชาติของผลไม้ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในทั้งระยะก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว กระบวนการสุกของซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มีลักษณะเฉพาะด้วยวิวัฒนาการของสี และมักใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อกำหนดเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม โดยทั่วไปสีของผลไม้จะมีการประเมินสายตา แม้ว่าจะเป็นวิธีที่รวดเร็วและราคาไม่แพงในการประเมินสี แต่ก็มีแนวโน้มที่มนุษย์จะลำเอียงในการเลือกสี (อ่านปัจจัยที่มีผลต่อการวัดสีด้วยสายตา) นอกจากนี้ สีและแสงโดยรอบยังส่งผลต่อการประเมินสีอีกด้วย ทุกวันนี้เครื่องมือวัดสีพร้อมใช้งานและใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการประเมินสีที่รวดเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ และมีความสม่ำเสมอ ด้วยเครื่องมือวัดสี สีของซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ความเขียวและสีเหลืองของส้ม สามารถประเมินได้อย่างง่ายดายโดยใช้ หน่วยสีCIE L*a*b*และ หน่วยสี CIE L*C*h นอกจากนี้สามารถตั้งค่าขอบเขตของสี (color tolerance) เพื่อตั้งเป็นเกณฑ์ให้เครื่องวัดสี การประเมิน Pass/Fail ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการวัดสีซิตรัสฟรุตหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จะขอแนะนำเป็นเครื่องวัดสี Konica Minolta Chroma Meter CR-400 series ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและส่วนผสม…
-
-
เลือกเครื่องวัดสีอย่างไรให้เหมาะกับงาน ตอนที่ 1
เครื่องวัดสีคืออะไร? จำเป็นแค่ไหน? ไม่มีได้หรือไม่? หากยังมีคำถามเหล่านี้กวนใจ อยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักเครื่องวัดสีเพิ่มอีกสักนิด อาจจะลองกดแท็ก วัดสี เพื่ออ่านบทความที่เครื่องวัดสีช่วยในการวัดสีในแต่ละอุตสาหกรรมได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนคำถามว่า จำเป็นแค่ไหน เครื่องวัดสีเป็นเหมือนเครื่องวัดชนิดหนึ่ง แต่มีความพิเศษด้วยเทคโนโลยี ช่วยวัดค่าสีที่ให้ค่าในระบบค่าสีที่ใช้สากลได้ คำว่าสากลนี้ หมายถึง เราสามารถสื่อสารหรือบอกรายละเอียดของสีได้กับทุกคนที่ใช้ระบบสีเดียวกัน (ระบบหน่วยสี L*a*b* คือหน่วยที่ความนิยมใช้อย่างกว้างขวาง) นอกจากความสะดวกในการสื่อสารแล้ว (อ่านบทความเกี่ยวข้อง ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี) แล้วไม่มีเครื่องวัดสีได้ไหม อยากใช้สายตาในการประเมินค่าสีก็สมารถทำได้ หากสามารถควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านค่าสีด้วยสายได้ ( อ่านบทความเกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา) โดยส่วนใหญ่เมื่อใช้สายตาวัดสี มักจะใช้ ตู้เทียบสี เพื่อควบคุมแหล่งแสง และ ใช้ pantone เป็นการระบุค่าสี ซึ่งค่าที่ได้ก็จะไม่ใช่ค่าจริงๆของสีตัวอย่าง และบางคนที่ต้องการปรับแก้ไขค่าสีในงาน R&D อาจจะมีการใช้ปรแกรมต่างๆเพิ่มเข้ามา แต่ข้อควรระวังสำหรับวิธีนี้ นอกจากการควบคุมตัวแปรที่ส่งผลต่อการวัดสีด้วยสายตาแล้ว อีกปัจจัยที่ต้องระวังคือ แผ่นpantone นั้นมีอายุการใช้งานเมื่อเวลาผ่านไป สีจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาโดยที่สายตาไม่สามารถแยกแยะได้ทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่เสมอ…
-
ใหม่!! เครื่องวัดแสงและจอแสดงผลด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายความละเอียดสูง
เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้วที่ Radiant Vision Systems ได้ผลิตเครื่องวัดแสง ProMetric® Imaging Colorimeters & Photometers ที่มีประสิทธิภาพการวัดแสงด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพในระดับชั้นนำ ของอุตสาหกรรมสำหรับการทดสอบและการวัดชิ้นงานต่างๆที่ให้แสงสว่างได้ และในบทความนี้ เราจะขอแนะนำเครื่องวัดแสงรุ่นใหม่ ที่พัฒนาให้มีความละเอียดสูงถึง 61 เมกะพิกเซล สามารถตรวจับข้อมูลได้หลายล้านจุดต่อการวัดในหนึ่งครั้ง เพิ่มความเที่ยงตรงสูงสุด (Precision) เพิ่มความแม่นยำในการวัด (Accuracy) เพิ่มช่วงไดนามิกสูงสุดที่ 76 dB ยังคงความรวดเร็วในการวัด (เร็วถึง 0.5 วินาทีต่อการวัดหนึ่งครั้ง) ProMetric I61 (61-megapixel ) Imaging Colorimeter ProMetric Y61 (61-megapixel)Imaging Photometer ProMetric Y45 (45-megapixel)Imaging Photometer MEASUREMENT CAPABILITIES : ความสามารถของเครื่อง COLORIMETRIC(adds color capabilities) CIE Chromaticity…
-
กล้องไฮเปอร์สเปกตรัม SPECIM IQ
กล้องถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral imaging (HSI) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการตรวจสอบ พืชผล พืชพรรณ หรือ ผักในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ข้อมูลพื้นฐาน เช่น สรีรวิทยา โครงสร้าง หรือชีวเคมีของพืช สามารถตรวจวัดได้โดยไม่ทำลายตัวอย่าง ในช่วงเวลาต่างๆ ด้วยกล้องถ่ายภาพ HSI ตัวอย่างเช่น สามารถใช้ตรวจสอบความเครียดของพืชในกระบวนการฟีโนไทป์หรือรูปแบบการเกษตรที่นำเอาเทคโนโลยีและการจัดการข้อมูลมาใช้ภายในฟาร์ม กระบวนการวัดและการใช้งานกล้อง HSI ส่วนมากค่อนข้างซับซ้อน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความต้องการกล้อง HSI ที่ใช้งานง่ายเพิ่มขึ้น ขอแนะนำ Specim IQ ซึ่งเป็นกล้องไฮเปอร์สเปกตรัมแบบใช้มือถือที่ออกแบบมาเพื่อให้ตรงกับความต้องการที่ทันสมัยของเทคโนโลยี HSI กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมแบบออลอินวันใช้เทคโนโลยี push-broom (สแกนเชิงเส้น) Specim IQ มาพร้อมกับการใช้งานบนกราฟิกที่เรียบง่าย ซึ่งให้ผลการวัดและข้อมูลเชิงลึกได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้โมเดลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนหรือทักษะการประมวลผลขั้นสูง กระบวนการจัดการข้อมูลพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ขั้นตอนก่อนการประมวลผลและการจัดหมวดหมู่ สามารถใช้ได้จากซอฟต์แวร์ภายในกล้องได้ หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา …
-
การประเมินคุณภาพเนื้อสัตว์ด้วยภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม
อุตสาหกรรมอาหารให้ปัจจุบัน มีการแข่งขันสูงและใส่ใจคุณภาพเป็นอย่างมาก การประเมินและวิเคราะห์คุณสมบัติภายในและลักษณะภายนอกของเนื้อสัตว์ เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับผู้ผลิตเนื้อสัตว์รวมไปถึงผู้ผลิตอาหารแปรรูป ปัจจัยสำคัญต่อการคัดแยกและรับรองคุณภาพของเนื้อสัตว์ คุณสมบัติภายในเช่น ปริมาณไขมัน และปริมาณน้ำมีผลต่อรสชาติของเนื้อสัตว์ โดยที่คุณสมบัติภายนอกเช่น สี ผู้บริโภคนิยมใช้เพื่อบ่งบอกถึงความสด ใหม่และคุณภาพของเนื้อสัตว์ การประเมินคุณภาพของเนื้อสัตว์มีวิธีการที่หลากหลาย เช่น ตรวจสอบด้วยสายตา, ตรวจสอบด้วยสีจากกล้องที่มีฟิลเตอร์โดยเฉพาะ หรือทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินและวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้มักจะต้องทำลายตัวอย่าง ใช้เวลานานและไม่เหมาะในการผลิตที่ต้องการความรวดเร็ว นอกจากนั้นยังต้องสุ่มตัวอย่างในพื้นที่หรือ ปริมาณน้อยเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันเราสามารถประเมินคุณภาพเนื้อสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำลายตัวอย่างและมีความแม่นยำได้ด้วย กล้องถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral Imaging (HSI) กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมรุ่น Specim IQ และ FX series ให้ความละเอียดของสเปกตรัมสูงทั้งในช่วงสเปกตรัมที่ตามนุษย์มองเห็น (VIS) และช่วงอินฟราเรดระยะใกล้ (NIR) สามารถแสดงความแตกต่างได้มากกว่าสิ่งที่ดวงตามองเห็น นอกจากนี้กล้องเหล่านี้สามารถวัดช่วงสเปกตรัมที่แคบและต่อเนื่องกันจำนวนมาก ดังนั้นจึงสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับคุณสมบัติภายในและภายนอกของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี …
-
กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมบันทึกข้อมูลได้อย่างไร
ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral imaging (HSI) เป็นการวัดแบบไม่ทำลายตัวอย่างซึ่งสามารถให้สเปกตรัมการสะท้อนแสงแบบสองมิติที่มีรายละเอียดสูงของสสารตัวอย่างในวัสดุเป้าหมาย เราสามารถใช้กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อรวบรวมข้อมูลสเปกตรัมของสสารตัวอย่างโดยบันทึกสเปกตรัมนับพันหรือหลายแสนสเปกตรัมแทนที่จะเป็นสเปกตรัมเพียงค่าเดียว ในหนึ่งภาพถ่ายจะเป็นการรวบรวมสเปกตรัมของแต่ละพิกเซล ฉนั้นในแต่ละพิกเซลจะมีสเปกตรัมที่สมบูรณ์และรวบรวมเป็นภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมที่สมบูรณ์ ก่อนบันทึกข้อมูลด้วยกล้องไฮเปอร์สเปกตรัม จำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบหลักสามประการ ได้แก่ ความยาวคลื่นของกล้องไฮเปอร์สเปกตรัม แหล่งกำเนิดแสงใช้ในการส่องสว่าง และแผ่นสีขาวมาตราฐานในการอ้างอิงการสะท้อนแสง ชมวิดีโอการศึกษาด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม กล้องไฮเปอร์สเปกตรัมบันทึกข้อมูลได้อย่างไร? ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จจำนวนมากขึ้นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเอนกประสงค์ของไฮเปอร์สเปกตรัมถูกใช้ในการวิจัยอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างของสสารตัวอย่างที่นำมาวัดได้แก่ พืช, ผลไม้, ปฐพีวิทยา, โดยสเปกตรัมการสะท้อนจะแสดงถึงโปรไฟล์สเปกตรัมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ช่วยให้ตรวจจับพารามิเตอร์ที่สำคัญในการผลิตอาหาร ธรณีวิทยาและการเกษตรที่แม่นยำ หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี
-
การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ในการวิจัยพืชและการเกษตร
เมื่อพืชต้องเผชิญกับสภาวะความเครียด เช่น แสงที่มีความเข้มสูง และขาดสารอาหาร อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืชและผลผลิต จากการศึกษาพบว่าการสะสมของเม็ดสี เช่น แอนโธไซยานิน มีความสัมพันธ์ กับความเครียดประเภทต่างๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องระบุอาการเครียดในพืช เช่น ตั้งแต่เริ่มมีการสะสมของแอนโธไซยานิน การเริ่มปรากฏของแอนโธไซยานินและเม็ดสีประเภทอื่น ๆ มักจะเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ ทำให้ยากต่อการระบุ หรือประเมินด้วยสายตา วิธีการที่ใช้อยู่ในการหาปริมาณแอนโธไซยานิน และเม็ดสีประเภทอื่นๆ มักจะอาศัยการประเมินด้วยสายตา หรือการวิเคราะห์ทางเคมี ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจมีความซับซ้อน ใช้เวลานาน ต้องทำลายตัวอย่าง และมีค่าใช้จ่ายสูง กล้องที่ใช้ระบบการอ้างอิงจากภาพ โดยใช้สีและฟิลเตอร์ และ การถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม (HSI) กำลังได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถตรวจสอบสิ่งที่ต้องการ โดยไม่ต้องไม่ต้องทำลายตัวอย่าง กล้องที่ใช้ระบบการอ้างอิงจากภาพ โดยใช้สีและฟิลเตอร์ สามารถจำแนกลักษณะของวัตถุตามสี หรือรูปร่างได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสามารถบันทึกแสงได้ เฉพาะในช่วงที่ตาคนมองเห็น คือ สีแดง เขียว และน้ำเงิน (RGB) ความสามารถในการระบุชนิดของสสารจึงน้อยมาก …
-
การวัดปริมาณคลอโรฟิลล์อย่างแม่นยำด้วยการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม
คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุหรือเม็ดสีที่สำคัญของพืชที่ดูดซับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง พืชที่มีสุขภาพดีโดยทั่วไปจะมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูง และปริมาณจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อช่วงอายุของใบเพิ่มขึ้นหรือเมื่อพืชอยู่ภายใต้ความเครียด[1] ดังนั้น เราจึงมักใช้ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัมเพื่อตรวจสอบและศึกษาความสมบูรณ์ สุขภาพและการเจริญเติบโตของพืช เช่น ความเครียด ภาวะโภชนาการของพืช เป็นต้น นอกจากนี้ คลอโรฟิลล์ยังสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางอ้อมของธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นพารามิเตอร์สำคัญที่ใช้กันทั่วไปในการบริหารจัดการทางการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด วิธีดั้งเดิมในการตรวจวัดปริมาณคลอโรฟิลล์คือ วิธีทางเคมีซึ่งต้องทำในห้องปฏิบัติการ โดยมีขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการเก็บเกี่ยวใบจากพืชตัวอย่างและการสกัดคลอโรฟิลล์โดยใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ หลังจากนั้นจะใช้ HPLC โครมาโตกราฟี เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสกัดที่ยุ่งยาก ซึ่งทำลายใบพืชและไม่สามารถตรวจสอบ ติดตามลักษณะของพืชเมื่อเวลาผ่านไป ในทางตรงกันข้าม ภาพถ่ายไฮเปอร์สเปกตรัม hyperspectral imaging (HSI)[2] เป็นเทคโนโลยีใหม่โดยวัดปริมาณคลอโรฟิลล์แบบไม่ทำลายตัวอย่าง ตรวจวัดรวดเร็ว และเที่ยงตรง HSI เป็นการผสมผสานระหว่างการวัดสเปกตรัมและการถ่ายภาพดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี HSI โครงสร้างทางกายภาพของพืช เช่น ใบและลำต้น สามารถรตรวจวัดได้จากเทคนิคการถ่ายภาพดิจิทัล และข้อมูลทางสรีรวิทยาหรือชีวเคมีจากการวัดสเปกตรัม โดยตรวจวัดด้วยช่วงสเปกตรัมที่แคบและต่อเนื่องกันแล้วนำมาเชื่อมต่อกันได้เป็นสเปกตรัมที่สมบูรณ์จำนวนมาก กล้องถ่ายภาพ HSI มีหลากหลายประเภท เช่น แบบสแกนเชิงเส้น (push…
-
การทำความเข้าใจในพื้นฐานของการวัดสี
สีเป็นองค์ประกอบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม สีสามารถมีอิทธิพลต่อการซื้อและมักใช้เป็นตัวแปรในการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ เมื่อสีของผลิตภัณฑ์อยู่นอกช่วงสีที่คาดหวังหรือแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ติดกันบนชั้นวาง เรามักจะมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องหรือคุณภาพต่ำ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของเราในที่สุด ด้วยพลังของสีในการบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และกระตุ้นการซื้อ เจ้าของแบรนด์หรือผู้ผลิตจะต้องทำการผลิตสินค้าที่ได้สีที่ต้องการอย่างแม่นยำและสม่ำเสมอ แต่การสื่อสารด้วยสีที่แม่นยำอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากสีเป็นรูปแบบหนึ่งของการรับรู้และต้องอาศัยการตีความของแต่ละคน แม้ว่าคนสองคนกำลังดูวัตถุเดียวกัน แต่ละคนจะใช้การอ้างอิงและประสบการณ์ของตนเองเพื่ออธิบายหรือเรียกสีที่เห็นแตกต่างกัน ด้วยหลากหลายวิธีในการแสดงสี เราจะสามารถสื่อสารสี หรือ อธิบายสีที่ต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจตรงกับเราได้อย่างไร ? เพื่อการสื่อสารสีที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ อันดับแรกเราต้องเข้าใจคุณลักษณะทั้ง 3 ของสี ได้แก่ เฉดสี ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี เฉดสี เป็นคำทั่วไปที่ใช้อธิบายสี เช่น สีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน ความสว่าง อธิบายถึงความสว่างหรือความมืดของเฉดสีนั้นๆ ความอิ่มตัวของสี (Hue) อธิบายถึงความสดใสหรือความหมองคล้ำ ด้วยคุณสมบัติ 3 ประการนี้ เราสามารถสื่อถึงสีของผลิตภัณฑ์ เช่น ลิปสติกสีแดง เป็นสีแดงสดและที่มีความสดใส แม้ว่าการสื่อสารด้วยสีรูปแบบนี้สามารถช่วยอธิบายสีได้ดีขึ้น แต่ก็ยังกว้างเกินไปสำหรับการสื่อสารสีที่แม่นยำ ตัวอย่างเช่น หากสีของผลิตภัณฑ์เข้มกว่าที่ตั้งใจไว้มาก เราจะระบุความสว่างที่แม่นยำผ่านระบบสีมาตรฐานที่รู้จักและใช้งานในระดับสากลได้อย่างไร? เช่นเดียวกับน้ำหนักหรือขนาดที่เราสามารถวัดด้วยมาตราส่วนจริง สีสามารถแสดงเป็นตัวเลขได้โดยใช้ระบบที่เรียกว่าหน่วยสี CIE L*a*b* พื้นที่สี CIE…
-
การควบคุมสีของยา
การจัดยาหรือการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ความชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการผิดพลาดในการจ่ายยา และสีเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับการจัดการยาซึ่งทำให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ นอกจากประโยชน์ด้านความปลอดภัยแล้ว สีของยามีผลต่อการรับรู้ของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาอีกด้วย จากการศึกษาพบว่ายาเม็ดสีขาวหรือสีน้ำเงินมีรสขม ในขณะที่เม็ดสีชมพูมีรสหวานกว่าเม็ดสีแดง การศึกษาอื่นๆพบว่าผู้ป่วยมักจะหยุดกินยาตามใบสั่งแพทย์เมื่อยามีการเปลี่ยนแปลงสี สำหรับผู้ผลิตยา การพัฒนาสีและเฉดสีของยาแต่ละรุ่นอย่างแม่นยำและสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ การประเมินสีด้วยสายตาอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากการรับรู้สีแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างเฉดสีมักจะมองเห็นและแยกความแตกต่างได้ยากด้วยตาเปล่าของมนุษย์ เครื่องวัดสีแบบสเปคโตรโฟโตมิเตอร์มีความสามารถในการแยกแยะสีและเฉดสีที่ละเอียดอ่อน ให้ความแม่นยำสูง และมีความสามารถในการวัดซ้ำ ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนานั้น ผู้ผลิตยาสามารถใช้สเปคโตรโฟโตมิเตอร์เพื่อวิเคราะห์หรือปรับแต่งสูตรเพื่อพัฒนาสีและเฉดสีของยา ด้วยข้อมูลการวัดสีจากสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อน เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าสีและเฉดสีที่ต้องการนั้นมีความถูกต้องและสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถระบุความแตกต่างของสีและเฉดสีที่ไม่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในระหว่างการตรวจสอบสีขั้นสุดท้าย ทำให้ช่วยดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วหากมีข้อผิดพลาด ในการวัดสีและเฉดสีของยา เครื่องวัดสีรุ่น Spectrophotometer CM-5 พร้อมอุปกรณ์เสริม เช่น หน้ากากวัด(Target Mask) ขนาด 3…