อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบเข้มงวดที่สุด โดยต้องผ่านการตรวจสอบกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ แม้ว่าวิธีที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) จะเป็นวิธีสำคัญในการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา แต่ HPLC มีต้นทุนสูงและใช้เวลานาน ในการตรวจสอบตัวอย่างที่มีปริมาณมาก ทั้งเวลาและต้นทุนจึงอาจจะเป็นข้อจำกัดสำหรับวิธีนี้ ด้วยความต้องการวิธีการและเทคนิคการตรวจสอบคุณภาพยาที่ไม่ทำลายตัวอย่างและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นแรงผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ และที่ล้ำหน้าที่สุดคือ การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging : HSI ) การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging : HSI ) การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมเป็นการผสมผสานระหว่างเทคนิคการถ่ายภาพและการสเปกโตรสโคปีขั้นสูง ซึ่งต่างจากวิธีการถ่ายภาพแบบเดิมที่จับภาพได้เฉพาะช่องสีแดง เขียว และน้ำเงิน การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมนั้นจับภาพช่วงคลื่นแสงที่กว้างขึ้น โดยครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นในช่วงที่ visible จนถึงอินฟาเรด (infrared) ความสามารถพิเศษนี้ทำให้ภาพสเปกตรัมแบบไฮเปอร์สเปกตรัล สามารถจับภาพข้อมูลสเปกตรัมละเอียดจำนวนมากในแต่ละพิกเซลของภาพได้ และสร้างข้อมูลสามมิติที่เรียกว่า ไฮเปอร์สเปกตรัลคิวบ์ (Hyperspectral Cube) ในชุดข้อมูลสามมิตินี้ แต่ละพิกเซลจะมีพิกัดเชิงพื้นที่พร้อมกับสเปกตรัมทั้งหมด ทำให้เห็นภาพรวมที่ครอบคลุมและละเอียดของฉากหรือวัตถุที่ถ่ายภาพ ตัวอย่างภาพประกอบของการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ในการถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจความจำเพาะของสเปกตรัมที่แตกต่างกันของวัสดุ วัสดุแต่ละชนิดจะแสดงรูปแบบเฉพาะของการโต้ตอบของแสง (เช่น การสะท้อนแสง) ที่ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อให้เกิด Spectral Fingerprint ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถใช้เพื่อแยกแยะคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพของวัสดุต่างๆ ได้ ด้วยศักยภาพในการระบุวัสดุที่มีความแม่นยำสูงและมีรายละเอียดสูง การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมจึงกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นเกษตรกรรม…
-
-
สรุปการเลือกเครื่องวัดสี 2024 สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
เครื่องวัดสีแต่ละรุ่น ล้วนมีความสามารถและฟังก์ชั่นต่างกัน การเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับการใช้งานหรือเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับตัวอย่างที่เราต้องการจะวัดค่าสี เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้องนั้นยังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับใครหลายคน ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องวัดสีสักเครื่องนึง ก่อนซื้อเครื่องวัดสีต้องรู้อะไรบ้าง ? 1. ต้องรู้จักลักษณะทางกายภาพของตัวอย่าง เช่น พื้นผิวตัวอย่าง มีความมันเงาหรือไม่, พื้นผิวตัวอย่างเรียบหรือขรุขระ, ตัวอย่างมีความโค้ง หรือตัวอย่างมีความโปร่งแสงหรือไม่ เป็นเฉดสีลักษณะพิเศษหรือไม่ ลักษณะต่างๆเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ตัดสินใจเครื่องวัดสีได้เหมาะสมกับงานมากขึ้น เพราะเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นนั้นมีหลักการอ่านค่าสีต่างกัน มีพื้นที่การวัดไม่เท่ากัน เช่น การวัดค่าสีตัวอย่างโปร่งแสงจะเลือกใช้การวัดในโหมดการวัดการส่งผ่าน (Transmittance) ต่างจากตัวอย่างทึบแสงจะเลือกใช้การวัดในโหมดการสะท้อนแสง (Reflectance mode) 2. สิ่งสำคัญมากๆควรรู้ว่า ต้องการวัดค่าสีเป็นหน่วยอะไร (หน่วยที่นิยมมากที่สุดคือ L*a*b) เนื่องจาก เครื่องวัดสีบางรุ่นนั้น อาจจะไม่สามารถวัดค่าสีได้ทุกหน่วย และในบางรุ่นสามารถวัดค่าสีได้ทุกหน่วย แต่ก็อาจจะเกินความจำเป็นที่จะใช้งาน แน่นอนว่าเครื่องวัดที่สามารถวัดได้ทุกหน่วยย่อมมีราคาที่สูงกว่า เครื่องวัดสีที่สามารถวัดได้บางหน่วย (หากยังไม่รู้จักหน่วยสีต่างๆ อยากแนะนำให้อ่านเรื่องหน่วยสีเพิ่มเติมก่อนนะคะ หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 1 และ หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 2) 3.บริการหลังการขาย เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมากๆที่หลายคนอาจจะลืมเรื่องนี้ไป เครื่องวัดค่าสี 1 เครื่องมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 5-10 ปีหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่นอกจากการใช้งานแล้วการดูแลการเก็บรักษาเครื่องวัดสีเป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม มีหลายคนที่เลือกเครื่องวัดสีโดยไม่สนใจเรื่องบริการหลังการขาย…
-
การวัดสีขนมปังและเกล็ดขนมปัง
ขนมปังหรือเกล็ดขนมปัง มีทั้งสีขาวไปจนถึงสีส้ม ขึ้นอยู่กับส่วนผสมต่างๆของสูตรขนมปังสูตรนั้นๆ เราจะสามารถส่งขนมปังของเราให้ลูกค้าได้ต่อเมื่อได้ตรวจสอบคุณภาพของขนมปังและเกล็ดขนมปังแล้ว การตรวจสอบคุณภาพของขนมปัง จากที่เราได้สอบถามผู้ผลิตขนมปัง และ เกล็ดขนมปัง มานั้น พบว่า “สีของขนมปัง” เป็น 1 ในตัวแปรที่สำคัญในการยอมรับของลูกค้า แต่การตรวจสอบสีของขนมปังและเกล็ดขนมปังนั้น มีหลายที่ใช้สายตาในการประเมินสี แน่นอนว่าการประเมินสีด้วยสายตาไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องตามมาตรฐานใดๆและไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม การประเมินสีด้วยสายตานั้นมีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้การประเมินสีไม่ถูกต้อง เช่น แหล่งแสงขณะประเมินสี, ขนาดของตัวอย่างที่ประเมินสี, สีพื้นหลังในขณะประเมินสี เป็นต้น หากคุณมีเวลาเราอยากแนะนำให้คุณอ่านบทความ ข้างล่างนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องของการวัดสีเพิ่มขึ้น การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.1 การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.2 การประเมินสีหรือการวัดค่าสีด้วยเครื่องวัดสีนั้น จะช่วยประหยัดเวลาและได้ค่าสีที่ถูกต้องของสีขนมปังและเกล็ดขนมปังนั้นจริงๆ นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายและสื่อสารค่าสีให้กับลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ของเราได้ เนื่องจากตั้วเครื่องวัดสีจะอ่านค่าสีออกมาเป็นหน่วยที่ใช้กันสากล หน่วยสีที่นิยมใช้มากที่สุดคือ L*a*b* บทความที่เกี่ยวข้อง : หน่วยสีพื้นฐานที่ควรรู้ ตอนที่ 2 การเลือกเครื่องวัดสีสำหรับวัดสีขนมปังและเกล็ดขนมปัง ควรดูความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก…
-
วัดสีมะม่วง
เราสามารถรู้ถึงรสชาติของมะม่วง รู้ระดับความสุก ความสดของมะม่วง สายพันธุ์ของมะม่วง หรือแม้แต่คุณภาพของมะม่วงได้จากสีมะม่วง ดังนั้นในการปลูกตลอดจนการเก็บรักษามะม่วง สีเป็นสิ่งแรกที่สังเกตเห็นและใช้ในการประเมินความสดและคุณภาพของมะม่วง การประเมินสีมะม่วง แม้ว่าสีของมะม่วงจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่อย่างที่ได้แนะนำไป การประเมินสีด้วยสายตานั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การประเมินสีผิดไป ไม่ว่าจะเป็นแสงที่ยืนดูมะม่วงในขณะนั้น ขนาดของมะม่วง ฉากหลังที่วางมะม่วง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ควบคุมด้วยเครื่องมือวัดสี (หรือหลายคนอาจจะเรียกว่า เครื่องยิงสี เครื่องวัดเฉดสี) เครื่องวัดสีสามารถให้ค่าสีที่แม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของมะม่วงได้ โดยการตรวจสอบคุณภาพของมะม่วงจากสีตลอดการเจริญเติบโตของมะม่วง เครื่องมือวัดสีของมะม่วง มะม่วงเป็นตัวอย่างทึบแสง เครื่องมือวัดสีทำงานโดยส่องแสงไปบนมะม่วงแล้ววัดแสงที่สะท้อนกลับหรือถูกดูดกลืน จากนั้นคำนวณค่าตรีศูล X, Y และ Z ซึ่งสามารถคำนวณเพิ่มเติมเป็นหน่วยสีระบบต่างๆ เช่น CIE L*a*b*และCIE L*C*h พิกัด L* คือความสว่างของสี ในขณะที่พิกัด a* และ b* คือพิกัดของสี พิกัด C* คือความเข้มของสี และพิกัด h คือมุมของสี ข้อมูลจากการวัดค่าสีของมะม่วง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยสามารถใช้ค่าสีของมะม่วง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสีในมะม่วง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาปรับปรุงกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว…
-
วัดสีเนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi)
เนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลาและมีการใช้ทำอาหารอย่างหลากหลาย เช่น ซุป สตูว์ ฯลฯ และยังสามารถ ขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ลูกชิ้นปลา ปูอัด เป็นต้น สำหรับผู้ผลิต เนื้อสัมผัสของเนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi) รูปร่างหน้าตาของอาหารมีความสำคัญต่อการเลือกซื้อและการสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน รูปร่างหน้าตาของอาหารโดยเฉพาะ สีของอาหารในทางอุตสาหกรรมอาหาร มักใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพอาหารและอาจส่งผลทางอ้อมต่อการตัดสินรสชาติของอาหาร การประเมินสีของเนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi) การประเมินสีด้วยสายตา มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณตัวอย่างที่นำมาวัดค่าในแต่ละวัดที่จำนวนมากสำหรับการผลิตโรงงานแปรรูปอาหารต่างๆ การใช้สายตาในการประเมินสีมีความเสี่ยงในการประเมินผิดพลาดหรือแม้แต่การประเมินไม่ครบตามจำนวนที่ต้องประเมิน และนอกจากข้อจำกัดเรื่องปริมาณแล้วยังมีเรื่องความถูกต้องในการประเมินสีและการแยกแยะสีของแต่ละคนที่มีความต่างกัน ยิ่งความแตกต่างน้อย ยิ่งทำให้การแยกแยะของแต่ละคนมีความแตกต่างกันมากขึ้น เราขอแนะนำให้ใช้เครื่องวัดสีในการวัดสี เมื่ออ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่ง!! คิดว่าเพราะเราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องวัดสี Konica Minolta ทำให้เราแนะนำให้ใช้เครื่องวัดสี แต่การใช้เครื่องวัดสีจะช่วยตัดปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการวัดสี ทำให้ได้ค่าสีที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น อ่านเพิ่มเติมปัจจัยที่มีผลต่อการวัดสี สี : ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.1…
-
อบรมเครื่องวัดสีภายในบริษัท Musashi Paint Manufacturing (Thailand) Co.,Ltd.
บรรยากาศการอบรมภายในบริษัท Musashi Paint Manufacturing (Thailand) Co.,Ltd. เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 คุณรัชฎาภรณ์ นิยมรัตน และ คุณ พงศ์ธันวา วารินตะ จากบริษัท เซ็นเทเซีย ได้เข้าไปอบรมภายในให้กับพนักงานของ Musashi Paint Manufacturing (Thailand) Co.,Ltd. เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องวัดสี โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้ วิธีการแก้ไขค่า Error ต่างๆของเครื่อง การตั้งค่าการใช้งานเครื่องกับเฉดสีฉูดฉาด (Work shop) วิธีการใช้งานเครื่อง และการตั้งค่าเครื่องทั่วไป การดูแลรักษา และข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือวัด ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทางเรายินดีเข้าไปอบรมให้กับผู้ใช้งานเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้งานเครื่องวัดสีมากขึ้น หากต้องการให้เราเข้าไปอบรมการใช้งานเครื่องมือ หรือ ทฤษฎีการวัดสี สามารถติอต่อเราเข้ามาได้ตามช่องทางการติดต่อของเรา โดยกิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับลูกค้าที่มีการซื้อเครื่องวัดสีจากทางเซ็นเทเซีย หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์…
-
สอบเทียบเครื่องวัดสีต่างจากการสอบเทียบเครื่องมือวัดทั่วไปต่างกันอย่างไรบ้าง
เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือวัด ที่มีความเฉพาะ ไม่แนะนำให้สอบเทียบกับศูนย์สอบเทียบทั่วไป เนื่องจากการสอบเทียบที่ศูนย์สอบเทียบทั่วไป เป็นเพียงการวัดหรือการเทียบค่าการวัดสีเท่านั้น ไม่สามารถตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องวัดสีได้ ไม่สามารถปรับแก้ไขค่าต่างๆเมื่อทำการสอบเทียบแล้วค่าผิดปกติ ไม่ตรงตามมาตรฐาน ไม่สามารถตรวจเช็คอะไหล่ต่างๆภายในเครื่องวัดสี ไม่สามารถซ่อมแซมอาการผิดปกติต่างๆของเครื่องวัดสี แม้จะเป็นห้องแลปที่ได้รับการรับรอง ISO 17025 แต่ความเฉพาะของเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์ใช้ อุปกรณ์ในการสอบเทียบแตกต่างกัน ไม่มีอุปกรณ์สอบเทียบที่สามารถสอบเทียบเครื่องวัดสีได้ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ การสอบเทียบตามศูนย์สอบเทียบทั่วไปจริงเป็นเพียงการวัดค่าเทียบกับแผ่นสีสอบเทียบ และหากการสอบเทียบได้ค่าผิดเพื้ยนไป จะไม่สามารถปรับค่าให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเราได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายและการสอบเทียบ การซ่อม จากแบรนด์ Konica Minolta โดยตรงทำให้เรามีขั้นตอนการสอบเทียบเช่นเดียวกับผู้ผลิต อุปกรณ์การสอบเทียบ อะไหล่ทั้งหมด อยู่ภายใต้มาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องวัดสีพร้อมมีการตรวจสอบอยู่เสมอ ขั้นตอนที่แตกต่างจากการสอบเทียบทั่วไป (สอบเทียบเครื่องวัดสี) Functions Check เครื่องวัดสีจะมีหลักการทำงานใกล้เคียงการในหลายๆแบรนด์ แต่จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์แตกต่างกัน เมื่อฟังก์ชั่นการทำงานมีความผิดปกติเกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อการวัดค่าสี การสอบเทียบเครื่องมือวัดทั่วไป ไม่สามารถตรวจเช็คฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องวัดสีได้ จะดีกว่าไหมหากเครื่องวัดสีของเราได้รับการตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานอยู่สม่ำเสมอ เพื่อหาการทำงานที่ผิดปกติ และเพื่อให้เครื่องวัดสีมีค่าการวัดสีที่ถูกต้องและแม่นยำอยู่เสมอ Backup Data เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือวัดที่มีการเก็บข้อมูลการวัดสีไว้ภายในเครื่อง ซึ่งในบางรุ่นหากไม่มีโปรแกรมเพิ่มเติม จะไม่สามารถดึงข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ได้ทำให้ข้อมูลการวัดค่าสีทั้งหมดอยู่ภายในตัวเครื่องวัดสีเท่านั้น…
-
ขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างมีความสำคัญสำหรับการวัดสีอย่างไร ?
ในหลายๆบทความเราได้พูดถึงการวัดสีหรือเทคนิคการวัดสี แต่วันนี้จะขอพูดถึงการเลือกขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างซึ่งเป็นส่วนนึงของการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดสี เซลล์แก้ว (Glass Cell) เซลล์แก้ว (Glass Cell) สำหรับงานวัดสี จำเป็นต้องเป็นแก้วที่ไม่ทำให้เกิดการหักเหของแสง สำหรับการวัดสีนั้นเซลล์แก้ว (Glass Cell) นิยมใช้กับตัวอย่างที่เป็นของเหลวที่มีความโปร่งแสง แล้วต้องเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเท่าไร? การเลือกขนาดให้เหมาะกับตัวอย่างให้พิจารณาจากลักษณะตัวอย่างเป็นหลัก ดูความโปร่งแสงของตัวอย่าง ว่ามีความโปร่งแสงมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการวัดสีโดยใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) จะเป็นการวัดสีแบบส่องผ่าน ดังนั้นจำเป็นต้องให้แสงส่องผ่านตัวอย่างได้ หากตัวอย่างมีสีความเข้มหรือโปร่งแสงน้อย ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านตัวอย่างไปได้ ในทางกลับกันหากตัวอย่างค่อนข้างใสหรือมีความโปร่งแสงค่อนข้างมาก ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดใหญ่จะเหมาะสมกว่า หากเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเล็ก จะทำให้เครื่องวัดสีวัดค่าสีได้ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบค่าสีตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง จำเป็นต้องใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเดียวกันเท่านั้น หากใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดต่างกัน จะไม่สามารถนำค่าสีมาเทียบกันได้เลย ค่าสีจะไม่เท่ากันแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างเดียวกัน…
-
การวัดสีในอุตสาหกรรมยานยนต์
ภาพโดย Krzysztof Przybylak จาก Pixabay กว่าจะได้รถยนต์มา 1 คัน นอกจากการตรวจาอบสอบระบบต่างๆของรถยนต์แล้ว รูปลักษณ์ของรถยนต์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ในทางอุตสาหกรรมยานยนต์ การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์แต่ละส่วนนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนนำมาประกอบ แน่นอนว่าชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีการตรวจสอบแตกต่างกัน การตรวจสอบสีของรถยนต์ แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนภายนอกและภายในรถยนต์ การวัดสีภายนอกรถยนต์ สีของรถโดยเฉพาะรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน 2 ชิ้นติดกันควรมีความกลมกลืนไม่ทำให้เกิดการสะดุดตา ปัจจุบันสีของรถมีการพัฒนาให้มีความหรูหรา โดดเด่นมากขึ้นซึ่งสีใหม่ๆเหล่านี้มีเทคนิคพิเศษในการพ่น การเคลือบที่ต้องการความพิธีพิถันมากขึ้นเช่นเดียวกับการตรวจสอบที่ต้องเพิ่มความละเอียดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างการพ่นสี หรือเคลือบสีรถยนต์ หากการวัดสีรถยนต์ที่เป็นสี solid เครื่องวัดสีทั่วไปสามารถวัดได้ แต่หากเป็นสีกลุ่มเมทาลิค สีมุก สีแคนดี้ กลุ่มสีที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมุมมองเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสีเหล่านี้จะมี effect pigment เช่น สีกลุ่มเมทาลิคซึ่งภายในเนื้อสีจะมี aluminum flake ที่สามารถเพิ่มการสะท้อนแสงเมื่อมีแสงมาตกกระทบ ดังนั้นในบางมุมจะเห็นสีมีความสว่างมากขึ้น บางมุมมองเห็นสีทึบมากขึ้น และนอกจาก effect pigment ที่เกิดจาก aluminum…
-
การวัดสีส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์
การตกแต่งภายในของรถ เป็นอีกปัจจัยในการเลือกซื้อรถยนต์และเนื่องจากความคาดหวังของลูกค้าและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ภายในของรถประกอบด้วยส่วนประกอบหลายอย่างตั้งแต่คอนโซลกลางและแผงหน้าปัดไปจนถึงขอบประตูและที่นั่ง สีและรูปลักษณ์ของส่วนประกอบเหล่านี้ต้องเข้ากันได้อย่างกลมกลืน เพื่อให้ได้ภายในรถที่สวยงามน่าดึงดูดใจมากที่สุด แต่เมื่อมีส่วนประกอบหลายชิ้นมาประกอบกัน อาจจะเกิดความแตกต่างของสีระหว่างส่วนประกอบต่างๆขึ้นมา เนื่องจากความแตกต่างในวัสดุ, สารให้สีและกระบวนการขึ้นรูป เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสีของส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์มีความกลมกลืนกัน ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีการตรวจสอบส่วนประกอบทั้งหมดนี้ การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ ภายในรถยนต์ สิ่งที่ลูกค้าจะมองเห็นสิ่งแรกนั่นคือ ”สี” ในทางอุตสาหกรรม เราไม่แนะนำให้ใช้สายตาประเมินสี เนื่องจากมหลายๆปัจจัยที่ต้องควบคุมไม่ให้ส่งผลต่อการประเมินค่าสีด้วยสายตา (เราอยากแนะนำให้คุณอ่านบทความเรื่อง สภาพวะต่างๆที่มีผลต่อการปรากฏของสี เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีผลในการประเมินสีด้วยสายตา คลิกอ่านที่นี้) นอกจากเรื่องปัจจัยที่ต้องควบคุมแล้วยังมีเรื่องของจำนวนตัวอย่างและเวลาประเมินสีของส่วนประกอบต่างๆในรถยนต์ เราอยากแนะนำเป็นเครื่องวัดสีที่สามารถวัดสีได้แม่นยำและรวดเร็ว เครื่องวัดสีจะช่วยควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินสีต่างๆได้เป็นอย่างดี การใช้เครื่องมือวัดสีและปริภูมิสี CIE L*a*b* กำหนดสีเป้าหมายหลักและรวบรวมตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายกัน จากนั้นวัดตัวอย่างและใช้ค่า L*a*b* เพื่อสร้างขีดจำกัดความคลาดเคลื่อนของสี เพื่อการตรวจสอบสีที่ง่ายและรวดเร็ว นอกจากสีแล้วการวัดความเงาก็มีความสำคัญเช่นกัน ส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์มีค่า L*a*b* ใกล้เคียงกัน แต่พื้นผิวของส่วนประกอบต่างๆอาจมีลักษณะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เฉดสีของส่วนประกอบภายในรถยนต์ที่มีผิวเคลือบมันจะมีสีเข้มมากกว่าส่วนที่ไม่ได้เคลือบเงา ซึ่งความแตกต่างนี้จะสังเกตุได้ชัดเจน แม้ว่าค่า L*a*b* ใกล้เคียงกัน ในทางอุตสาหกรรมการตรวจสอบที่แม่นยำ ถูกต้องและรวดเร็วเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องวัดสีที่พัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการที่ตัวเครื่องวัดสีสามารถวัดได้ทั้งสีและความเงาของตัวอย่างในการกดวัดแค่ครั้งเดียว สำหรับงานวัดสีส่วนต่างๆภายในรถยนต์เราขอแนะนำเครื่องวัดสี Spectrophotometer…