• คอร์สออนไลน์

    หลักการวัดค่าแสงและสี

          ก่อนหน้าเราได้มีการจัดการสัมมนาออนไลน์ ผ่าน MS Team ในหัวข้อ “หลักการวัดค่าแสงและสี : PRINCIPLES OF LIGHT AND COLOR MEASUREMENT” เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของแสงและสี ในการบรรยายนี้จะเป็นเรื่องแสงเป็นหลัก ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมมาก และเนื้อหาในการบรรยายเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเลือกใช้เครื่องวัดแสง เราจึงได้นำบันทึกบรรยายสดในสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อนี้ นำมาเผยแพร่ให้ผู้สนใจ โดยมีหัวข้อการบรรยายดังนี้ ทฤษฎีแสงและสี แสงคืออะไร? การรับรู้แสงและสีของสายตามนุษย์ในเชิงปริมาณ การรับรู้แสงและสี ฟังก์ชันความไวแสงของสายตามนุษย์ การคำนวณค่าสี เครื่องมือและระบบการวัดค่าแสงและสี อุปกรณ์สำหรับการวัดแสง ข้อดีของการวัดค่าแสงด้วยเทคโนโลยีทางภาพ ตัวอย่างการนำไปใช้ เนื้อหานี้เหมาะสำหรับทุกคน เนื่องจากเป็นการปูพื้นฐานในเรื่องของแสงและสี  ขั้นตอนการเข้าดูบันทึกบรรยาย 1.กรอกแบบฟอร์ม   คลิกที่ลิ้งค์นี้  2.หลังจากกดส่งแบบฟอร์ม มีลิ้งค์วิดีโอ 3.ทำแบบทดสอบความเข้าใจ 4.รอรับประกาศนียบัตร เมื่อผ่าน 70% ขึ้นไป เนื่องจากไม่ใช่การบรรยายสด หากมีข้อซักถาม สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างค่ะ     หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา      ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code…

  • บทความ

    การทดสอบประสิทธิภาพ Head-Up Display ตามมาตรฐานสากล

    Head-Up Display: HUD คืออะไร HUD คือ จอแสดงผลที่ใช้เทคโนโลยีการฉายภาพหรือข้อมูลในรูปแบบกึ่งโปร่งใสลงบนกระจก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องละสายตาออกจากท้องถนน HUD จึงเป็นระบบที่จะช่วยเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ให้มากยิ่งขึ้น การทำงานของ HUD จะประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ Projector Unit ระบบฉายภาพ Combiner ปัจจุบันมีที่ใช้กันอยู่ 2 รูปแบบ คือ “Combiner HUD” แผ่นกระจกที่วางด้วยหน้าผู้ขับขี่ และ “Windshield HUD” กระจกหน้ารถ Video Pattern Generator ระบบสร้างภาพและข้อมูล  ปัจจุบันมีมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของ HUD คือ SAE J1757-2 : Optical System HUD for Automotive มาตรฐานนี้ระบุถึงวิธีการในการวัดเพื่อประเมินประสิทธิภาพการมองเห็นของ HUD ภายใต้สภาวะแสงแวดล้อมตามการใช้งานทั่วไป และยังครอบคลุมถึงการวัดประเมินภายในอาคารโดยมีการจำลองแสงจากภายนอกอีกด้วย ในมาตรฐานนี้ยังครอบคลุมการประเมินประสิทธิภาพของ HUD ทั้ง 2 รูปแบบ คือ Windshield HUD และ Combiner…

  • บทความ

    ตัวช่วยควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมการเกษตร

                    ผลิตผลจากการเกษตรเป็นแหล่งอาหารที่เราทุกเราต้องการ การจะได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพด้านต่างๆ ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละสายพันธ์ หรือผลิตผลที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทมากมายที่ออกแบบเครื่องมือวัดสำหรับการนำไปใช้ในงานที่หลากหลาย เช่นเดียวกับ Konica Minolta ที่มีเครื่องมือวัดสำหรับการวัดสี แสง และhyperspectral imaging วัดแสงเพื่อการเกษตร         การทำเกษตรแบบแนวตั้ง (vertical farming) เป็นการเพาะปลูกในโรงเรือน ปลูกเป็นชั้น การเพาะปลูกในลักษณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ สามารถควบคุมปริมาณแสง ความชื้น อุณหภูมิให้พอเหมาะต่อพืชที่เพาะปลูกได้  หลายที่เลือกใช้หลอด LED เป็นแหล่งกำเนิดแสงให้กับพืชที่เพาะปลูก         การหาแสงสว่างที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญและเข้าใจผลลัพธ์และความสามารถในการจัดหาพลังงานที่จำเป็นเพื่อการเติบโตของพืช เครื่องมือวัดแสงเพื่อการเกษตร ทาง Konica Minolta มีเครื่องมีวัดแสงหลากหลายรุ่น ยกตัวอย่างเช่น  Illuminance Meter T-10A ,  Illuminance Spectrophotometer CL-500A เป็นต้น สามารถวัดค่า lux, Correlated Color…

  • บทความ

    Case Study : กรณีศึกษาการทดสอบเทคโนโลยีแสดงผล HUD บนกระหน้ารถ

    A typical after-market HUD: the display area is limited to a small transparent screen mounted on the dashboard, nicknamed a “dashboard wart” by one industry commentator. (Image: © NAVDY) Head-up displays (HUDs) เป็นเทคโนโลยีแสดงผลบนกระหน้ารถ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเห็นข้อมูลการขับขี่ได้ โดยจะออกแบบให้มองเห็นพอดีกับสายตาขณะขับขี่บนท้องถนน โดยไม่จำเป็นต้องก้มลงมองแผงหน้าปัดรถยนต์                 Head-up displays (HUDs) ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในทศวรรษที่ 1940 และถูกใช้โดยนักบินทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดที่สำคัญไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับเครื่องบินหรือรถยนต์ HUDs จะฉายข้อมูลกึ่งโปร่งใสโดยตรงในมุมมองของผู้ขับขี่ โดยไม่ต้องละสายตาจากถนน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิธีการฉายภาพและเทคโนโลยีการแสดงผลได้ถูกพัฒนามากขึ้น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เราได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจากหน้าจอ 2D…

  • บทความ

    ใหม่!! เครื่องวัดแสงและจอแสดงผลด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายความละเอียดสูง

             เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้วที่ Radiant Vision Systems ได้ผลิตเครื่องวัดแสง ProMetric® Imaging Colorimeters & Photometers ที่มีประสิทธิภาพการวัดแสงด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพในระดับชั้นนำ ของอุตสาหกรรมสำหรับการทดสอบและการวัดชิ้นงานต่างๆที่ให้แสงสว่างได้      และในบทความนี้ เราจะขอแนะนำเครื่องวัดแสงรุ่นใหม่ ที่พัฒนาให้มีความละเอียดสูงถึง 61 เมกะพิกเซล สามารถตรวจับข้อมูลได้หลายล้านจุดต่อการวัดในหนึ่งครั้ง เพิ่มความเที่ยงตรงสูงสุด (Precision) เพิ่มความแม่นยำในการวัด (Accuracy) เพิ่มช่วงไดนามิกสูงสุดที่ 76 dB ยังคงความรวดเร็วในการวัด (เร็วถึง 0.5 วินาทีต่อการวัดหนึ่งครั้ง)  ProMetric I61 (61-megapixel ) Imaging Colorimeter ProMetric Y61 (61-megapixel)Imaging Photometer ProMetric Y45 (45-megapixel)Imaging Photometer MEASUREMENT CAPABILITIES : ความสามารถของเครื่อง COLORIMETRIC(adds color capabilities) CIE Chromaticity…

  • บทความ

    การประเมินคุณสมบัติสีของแสง

    แสงสว่างมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานจำนวนมาก แสงที่เหมาะสมจะช่วยให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกหรือให้การมองเห็นที่เหมาะสมสำหรับศัลยแพทย์ในห้องผ่าตัด การจัดแสงที่ดีมักเกี่ยวข้องกับความสว่างและความสว่างสม่ำเสมอ แต่นอกเหนือจากการประเมินการส่องสว่างของแหล่งกำเนิดแสงแล้วการประเมินอุณหภูมิสี (CCT) และคุณสมบัติการแสดงสีก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน อุณหภูมิสี ในอุตสาหกรรมแสงสว่างCCTจะระบุลักษณะสี / คุณลักษณะของแหล่งกำเนิดแสง แสดงในหน่วยของอุณหภูมิสัมบูรณ์ที่เรียกว่าเคลวิน (K) แสงจะปรากฏเป็นสีน้ำเงินหาก CCT มีค่ามากกว่า 4000k และสิ่งที่อยู่ด้านล่างจะมีลักษณะเป็นสีแดง ดัชนีการแสดงผลสี (CRI) CRIได้รับการพัฒนาโดย International Commission on Illumination (CIE) ในปี 1965 และแก้ไขในปี 1974 โดยจะวัดความสามารถของแหล่งกำเนิดแสงในการแสดงสีของวัตถุอย่างแม่นยำโดยเปรียบเทียบกับแหล่งอ้างอิงที่รู้จักกันทั่วไป เช่น แสงกลางวัน CRI ประกอบด้วยสีมาตรฐาน 8 สี (R1 ถึง R8) และสีพิเศษ 7 สี (R9 ถึง R15) CRI (Ra) โดยเฉลี่ยคำนวณจากค่าเฉลี่ยของสีมาตรฐานทั้งหมด (R1 ถึง R8) และค่าที่สูงกว่าจะแสดงถึงคุณภาพของแสงที่ดีกว่าโดย 100 เป็นค่าสูงสุด มาถึงตรงนี้สิ่งที่จะไม่กล่าวถึงคงจะไม่ได้ นั่นคือ เครื่องที่สามารถวัดค่าเหล่านี้ได้ ทางเราจะแนะนำเป็นเครื่อง Konica Minolta…

  • บทความ

    เกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของจอแสดงผลในปัจจุบัน

    ทุกวันนี้เราแทบจะนึกถึงยุคที่เรายังไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายเหมือนเช่นทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคมินเลเนี่ยมหรือวัยรุ่นในปัจจุบันที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือใช้กันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปัจจุบันนี้มีคนจำนวนไม่น้อยกว่า 2.71 พันล้านคนที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอย่างน้อย 1 เครื่อง              ทุกวันนี้จอแสดงผลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก มีการนำไปใช้ในหลายสถานที่ที่มีสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทั้งสภาพแสงและมุมมองก็แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือในห้องนอนที่มืดสนิท, การใช้ระบบนำทางบนท้องถนนที่สภาพแสงดวงอาทิตย์จ้า, การใช้จอคอมพิวเตอร์ภายใต้หลอดไฟในสำนักงาน หรือรวมไปจนถึงการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือขณะที่อยู่ใต้แสงกระพริบของป้ายโฆษณาใจกลางเมือง     ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์แสดงผลเหล่านี้มีคุณสมบัติตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้ในทุกๆสภาพการใช้งานในปัจจุบัน โดยการตรวจสอบด้วยสายตาคือส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานของผู้ผลิตจอภาพ (Display panel makers) และผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงผล (Device manufacturers) ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติพื้นฐานและการปรับจอแสดงผลให้สอดคล้องกับสายตาของผู้บริโภค  ตัวอย่างการใช้จอแสดงผลของผู้คนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามวิธีการทดสอบในขั้นตอนของการออกแบบและการผลิตได้ควบคุมปัจจัยสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น การวัดในห้องมืดควบคุมไม่ให้มีแสงจากภายนอก, กำหนดระยะห่างในการทดสอบ, กำหนดมุมที่ตรวจสอบแสงของจอ หรือการโฟกัส เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการบ่งบอกถึงความสว่าง, สีของจอ หรือคุณสมบัติอื่นๆได้สอดคล้องกับสายตา แค่ในสภาพการใช้งานจริงๆแล้วผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนหรือจอแสดงผลเคลื่อนที่อื่นๆไม่ได้ใช้งานภายใต้สภาวะที่กำหนดเช่นเดียวกับบผู้ผลิตได้       DXOMARK บริษัทสัญชาติฝรั่งเศลผู้ให้บริการทางด้านวิศวกรรม เป็นบริษัทที่ให้ความสนใจถึงเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลภายใต้การทดสอบในสภาวะการใช้งานจริง DXOMARK เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคและผู้ผลิตมาอย่างยาวนานในฐานะผู้ให้ข้อมูลการจัดอันดับและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จอแสดงผลรุ่นใหม่ในท้องตลาด โดยใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ตามการใช้งานจริง การประเมินคุณภาพของอุปกรณ์แสดงผลจากประสบการณ์ผู้ใช้งาน       เมื่อไม่นานนี้ DXOMARK ได้พัฒนาระบบการทดสอบ Display Bench…

  • บทความ

    การวัดแสงจอป้ายโฆษณา LED ดิจิทัล (Digital LED Billboards)

                     ป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลเป็น สื่อโฆษณาประเภทหนึ่งใช้สำหรับกลางแจ้ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันซึ่งต่างจากป้ายโฆษณาทั่วไปที่เป็นภาพนิ่ง เนื่องจากสามารถสื่อสารข้อมูลต่างๆให้กับผู้รับข้อมูลได้มากขึ้นและยังสร้างความน่าสนใจมากกว่าป้ายโฆษณาแบบทั่วไป ป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลต้องการความสว่างในระดับสูงเพื่อให้อ่านได้ชัดเจน เมื่อสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงอาจมีความส่องสว่างหลายพันแคนเดลาต่อตารางเมตร (cd / m 2 ) หรือ หลายพันnits หากใช้ความส่องสว่างระดับเดียวกันในเวลากลางคืนป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลโดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนอาจเป็นภัยคุกคามต่อทัศนวิสัยของผู้ขับขี่และความปลอดภัยในการจราจร นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองไฟฟ้าและอาจทำให้เกิดการสึกหรอบนจอแสดงผลโดยไม่จำเป็นเนื่องจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น เพื่อจัดการข้อกังวลเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีการวัดความส่องสว่างของป้ายโฆษณา LED ดิจิทัลโดยใช้เครื่อง Luminance Meter ในการระบุความส่องสว่างสูงสุดของป้ายโฆษณา           โดยจะทำการวัดค่าในขณะที่ปรับให้ป้าย LED เป็นสีขาวและค่ากำลังไฟปรับเป็นค่าสูงสุด เนื่องจากป้ายโฆษณาสามารถแสดงภาพหลายสี เช่น แดง, น้ำเงิน ซึ่งแต่ละสีล้วนมีค่าความส่องสว่างที่น้อยกว่าสีขาวทั้งสิ้น  สำหรับการวัดความส่องสว่างทั้งหมดของพื้นที่ป้ายโฆษณา เนื่อจากป้ายมีขนาดที่ใหญ่มาก เราสามารถทำการวัดได้โดยแยกการวัดออกเป็นแต่ละส่วนของป้าย ทำการวัดในช่วงเวลาเดียวกันแล้วจึงนำค่าที่ได้ในแต่ละส่วนมาเฉลี่ยเป็นค่าของพื้นที่ป้ายทั้งหมด          การวัดและปรับค่าความสว่างป้ายโฆษณา LED ดิจิทัล เพื่อความสว่างที่เหมาะสมที่สุดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน…

  • บทความ

    พารามิเตอร์การวัดหน้าจอที่สำคัญ : Display Mura

                 อุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆในปัจจุบันต้องการคุณภาพและความคมชัดของจอแสดงผลมากขึ้น ตั้งแต่สมาร์ทโฟน , โทรทัศน์ไปจนถึงVR headsets และแผงหน้าปัดรถยนต์  ซึ่งนอกเหนือจากความสว่าง , chromaticity , ความคมชัด, uniformity และมุมมองการวัด viewing angle ล้วนเป็นพารามิเตอร์การวัดหน้าจอที่สำคัญ แต่ยังมีอีกพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญอีกอย่างก็คือ จอแสดงผลมูร่า (display mura)  Mura มาจากคำภาษาญี่ปุ่นหมายถึง คราบ, ความมัวหมองหรือสิ่งผิดปกติ ซึ่งในอุตสาหกรรมการแสดงผล mura ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายความผิดปกติและขุ่นมัว มีผลต่อการแสดงผล LCDs หรือหน้าจอแบบ OLEDs โดยทั่วไปแล้ว Display mura จะเป็นจุดที่มีคอนทราสต์ต่ำหรือมีรอยเปื้อนที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์ในการตรวจสอบและนั่นอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการแสดงผลหรือฟังก์ชันการทำงาน           โดยทั่วไปแล้ว Display mura เกิดจากข้อบกพร่องของกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการประกอบและขั้นตอนการเชื่อมด้วยแสง โดยทั่วไปแล้วจอแสดงผลประกอบด้วยวัสดุหลายชั้นและวัสดุพิมพ์ที่ยึดติดกัน น่าเสียดายที่ไม่สามารถเชื่อมต่อเลเยอร์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำตลอดเวลา นอกจากนี้สิ่งสกปรกหรืออนุภาคปนเปื้อนในระหว่างการผลิตความไม่สม่ำเสมอของแสงพื้นหลังและความไม่สอดคล้องกัน  pixels/sub-pixelsของเอาต์พุต เป็นสาเหตุของการเกิด Display mura    …

  • การวัดแสง LED สำหรับฟาร์มเกษตรในโรงเรือน
    บทความ

    การวัดแสง LED สำหรับฟาร์มเกษตรในโรงเรือน

    เกษตรส่วนใหญ่พบปัญหาการปลูกพืชและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น ฝนตกมากหรือน้อยเกินไป สภาพอากาศที่แปรปรวน ฝูงแมลงและตั๊กแตนต่างๆ รวมถึงความโชคร้ายจากธรรมชาติที่ทำลายพืชผลในชั่วข้ามคืน พืชผลที่สดใหม่และปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นในทุกสังคม การนำเทคโนโลยีแสง LED มาทำเกษตรในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่และปลอดภัยหลังจากที่จังหวัดมิยางิ ทางตะวันออกของญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และส่งผลให้เกิดสึนามิในปี 2011 พวกเขาพยายามหาวิธีต่างๆเพื่อให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด รวมไปถึงจัดหาอาหารสดใหม่ที่ปราศจากสารปนเปื้อนให้ประชากร Shigeharu Shimarmura ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพืชวิทยาชาวญี่ปุ่น มีความคิดค้นการใช้เทคโนโลยี LED เพื่อสร้างฟาร์มเกษตรในโรงเรือนที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยในโรงเรือนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 25,000 ตารางฟุตและเปิดใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2014 ขณะนี้มีการผลิตผักกาดหอมสดเกือบ 10,000 หัวในแต่ละวัน แสง LED ที่ใช้ ได้รับการออกแบบพิเศษโดย General Electric และปล่อยความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทั้งกลางวันและกลางคืน Shimamura ใช้ระบบ LED นี้ ปลูกผักกาดหอมที่อุดมด้วยสารอาหารได้เร็วกว่าฟาร์มกลางแจ้งถึงสองเท่าครึ่ง สภาพแวดล้อมแบบปิดจะสามารถช่วยลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุด โดยลดลงจากประมาณ 50% (โดยเฉลี่ยสำหรับฟาร์มกลางแจ้ง) เหลือเพียง 10% นอกจากนี้ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้นและทำให้การใช้น้ำในฟาร์มมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เพียง 1% ของการใช้น้ำปกติในสภาพแวดล้อมแบบเปิด Shimamura เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารได้ทั่วโลก ซึ่งแน่นอนการใช้ระบบ LED นี้ แสงของ LED เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด การจะมีระบบที่ดีต้องมีการควบคุมที่ดี…