• บทความ

    ขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างมีความสำคัญสำหรับการวัดสีอย่างไร ?

              ในหลายๆบทความเราได้พูดถึงการวัดสีหรือเทคนิคการวัดสี แต่วันนี้จะขอพูดถึงการเลือกขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างซึ่งเป็นส่วนนึงของการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดสี เซลล์แก้ว (Glass Cell) เซลล์แก้ว (Glass Cell) สำหรับงานวัดสี จำเป็นต้องเป็นแก้วที่ไม่ทำให้เกิดการหักเหของแสง สำหรับการวัดสีนั้นเซลล์แก้ว (Glass Cell) นิยมใช้กับตัวอย่างที่เป็นของเหลวที่มีความโปร่งแสง แล้วต้องเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเท่าไร?  การเลือกขนาดให้เหมาะกับตัวอย่างให้พิจารณาจากลักษณะตัวอย่างเป็นหลัก ดูความโปร่งแสงของตัวอย่าง ว่ามีความโปร่งแสงมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการวัดสีโดยใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) จะเป็นการวัดสีแบบส่องผ่าน ดังนั้นจำเป็นต้องให้แสงส่องผ่านตัวอย่างได้ หากตัวอย่างมีสีความเข้มหรือโปร่งแสงน้อย ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านตัวอย่างไปได้ ในทางกลับกันหากตัวอย่างค่อนข้างใสหรือมีความโปร่งแสงค่อนข้างมาก ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดใหญ่จะเหมาะสมกว่า หากเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเล็ก จะทำให้เครื่องวัดสีวัดค่าสีได้ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก         ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบค่าสีตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง จำเป็นต้องใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเดียวกันเท่านั้น หากใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดต่างกัน จะไม่สามารถนำค่าสีมาเทียบกันได้เลย ค่าสีจะไม่เท่ากันแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างเดียวกัน…

  • บทความ

    Radiant กับการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม Display

    ห้องคลีนรูมแห่งใหม่ในโรงงานซูโจวของ Radiant             ปัจจุบันอุตสาหกรรมหน้าจอมีการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก เห็นได้จากหน้าจอต่างๆที่อยู่ตามบ้าน, ที่ทำงาน, ศูนย์การค้า และสถานที่สาธารณะต่างๆ ปริมาณการผลิตจอแบน (flat-panel display) ในปี 2017 ผลิตได้ประมาณ 231 ล้านตารางเมตร คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 20221 การผลิตจะเพิ่มเป็น 327 ล้านตารางเมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 70% เพื่อรองรับการขยายกิจกรรมการผลิตจอแสดงผลทั่วโลกและจัดหาโซลูชันการทดสอบคุณภาพของหน้าจอ Radiant Vision System: RVS ได้ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศจีน เมืองซูโจว ทั้งในส่วนของการผลิตและให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคด้วย การเติบโตของตลาดจอแสดงผลมาจากหลายๆปัจจัย การใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ และ ลาตินอเมริกา การเพิ่มการใช้อุปกรณ์แสดงผลแบบสวมศีรษะ (AR/MR) และแว่นตาอัจฉริยะ (Smart glasses) ทั้งในด้านอุตสาหกรรม, การศึกษา และการดูแลสุขภาพ การขยายตัวของป้ายดิจิตอลและวีดิโอวอลล์ในร้านค้าปลีก, การแข่งขันกีฬา, งานอีเวนต์ และสำหรับการใช้งานระบบขนส่งมวลชน การใช้หน้าจอสัมผัสและจอแสดงผลแบบอินเทอร์แอคทีฟที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การชำระเงินด้วยตนเองในร้านขายของชำไปจนถึงเครื่องใช้ในบ้านอัจฉริยะ ไปจนถึงแผงขายของตามสถานที่ท่องเที่ยว…

  • บทความ

    การวัดสีในอุตสาหกรรมยานยนต์

    ภาพโดย Krzysztof Przybylak จาก Pixabay            กว่าจะได้รถยนต์มา 1 คัน นอกจากการตรวจาอบสอบระบบต่างๆของรถยนต์แล้ว รูปลักษณ์ของรถยนต์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์  ในทางอุตสาหกรรมยานยนต์ การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์แต่ละส่วนนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนนำมาประกอบ แน่นอนว่าชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีการตรวจสอบแตกต่างกัน การตรวจสอบสีของรถยนต์ แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนภายนอกและภายในรถยนต์ การวัดสีภายนอกรถยนต์ สีของรถโดยเฉพาะรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน 2 ชิ้นติดกันควรมีความกลมกลืนไม่ทำให้เกิดการสะดุดตา ปัจจุบันสีของรถมีการพัฒนาให้มีความหรูหรา โดดเด่นมากขึ้นซึ่งสีใหม่ๆเหล่านี้มีเทคนิคพิเศษในการพ่น การเคลือบที่ต้องการความพิธีพิถันมากขึ้นเช่นเดียวกับการตรวจสอบที่ต้องเพิ่มความละเอียดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างการพ่นสี หรือเคลือบสีรถยนต์          หากการวัดสีรถยนต์ที่เป็นสี solid เครื่องวัดสีทั่วไปสามารถวัดได้ แต่หากเป็นสีกลุ่มเมทาลิค สีมุก สีแคนดี้ กลุ่มสีที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมุมมองเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสีเหล่านี้จะมี effect pigment เช่น สีกลุ่มเมทาลิคซึ่งภายในเนื้อสีจะมี aluminum flake ที่สามารถเพิ่มการสะท้อนแสงเมื่อมีแสงมาตกกระทบ ดังนั้นในบางมุมจะเห็นสีมีความสว่างมากขึ้น บางมุมมองเห็นสีทึบมากขึ้น และนอกจาก effect pigment ที่เกิดจาก aluminum…

  • กิจกกรรม

    สาธิตการใช้งาน Specim IQ ที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

               เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ที่ผ่านมานี้ ทาง Centasia ซึ่งมีคุณศุภฤกษ์และคุณภัทรินทร์ ร่วมกับ Konica Minolta โดยมีคุณ Kosuke Inakazu  ได้มีโอกาสเข้าไปสาธิตการใช้งานเครื่อง SPECIM IQ ที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่            การสาธิตในครั้งนี้ใช้ Specim IQ ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral imaging (HSI) ถ่ายให้เห็นภาพรวมของใบพืช เพื่อตรวจสอบความเขียวของใบพืช โรคพืช  อีกทั้งยังสามารถเขียนค่าสัมพันธ์กับค่า SPAD ได้  หากคุณสนใจให้เรานำให้เรานำกล้องถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral imaging (HSI) อย่างเครื่อง Specim IQ ไปสาธิตกับงานวิจัยของคุณ สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่างค่ะ        ภาพด้านล่างนี้เป็นภาพบรรยากาศการสาธิต ซึ่งทีมงานของเราต้องขอขอบคุณอาจารย์ นักศึกษา ของคณะเกษตรศาสตร์…

  • กิจกกรรม

    สาธิตการใช้งาน Specim IQ ที่ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

               เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ทาง Centasia ซึ่งมีคุณศุภฤกษ์และคุณภัทรินทร์ ร่วมกับ Konica Minolta โดยมีคุณ Kosuke Inakazu  ได้มีโอกาสเข้าไปสาธิตการใช้งานเครื่อง SPECIM IQ ที่คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่            การสาธิตในครั้งนี้ใช้ Specim IQ ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral imaging (HSI)  แยกประเภทของเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยทดลองนำเนื้อไก่และเนื้อหมูมาผสมกัน แล้วใช้ Specim IQ แยกเนื้อเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้ Specim IQ ตรวจสอบไขมันในเนื้อสัตว์ ตัวอย่างเนื้อสัตว์ที่นำมาตรวจสอบไขมันในครั้งนี้ คือ เนื้อวัว  และการตรวจสอบเมลานิลในเนื้อไก่ดำ หากคุณสนใจให้เรานำให้เรานำกล้องถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม Hyperspectral imaging (HSI) อย่างเครื่อง Specim IQ ไปสาธิตกับงานวิจัยของคุณ สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่างค่ะ…

  • บทความ

    การวัดสีส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์

              การตกแต่งภายในของรถ เป็นอีกปัจจัยในการเลือกซื้อรถยนต์และเนื่องจากความคาดหวังของลูกค้าและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ภายในของรถประกอบด้วยส่วนประกอบหลายอย่างตั้งแต่คอนโซลกลางและแผงหน้าปัดไปจนถึงขอบประตูและที่นั่ง สีและรูปลักษณ์ของส่วนประกอบเหล่านี้ต้องเข้ากันได้อย่างกลมกลืน เพื่อให้ได้ภายในรถที่สวยงามน่าดึงดูดใจมากที่สุด แต่เมื่อมีส่วนประกอบหลายชิ้นมาประกอบกัน อาจจะเกิดความแตกต่างของสีระหว่างส่วนประกอบต่างๆขึ้นมา เนื่องจากความแตกต่างในวัสดุ, สารให้สีและกระบวนการขึ้นรูป เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสีของส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์มีความกลมกลืนกัน ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีการตรวจสอบส่วนประกอบทั้งหมดนี้ การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ ภายในรถยนต์ สิ่งที่ลูกค้าจะมองเห็นสิ่งแรกนั่นคือ ”สี”  ในทางอุตสาหกรรม เราไม่แนะนำให้ใช้สายตาประเมินสี เนื่องจากมหลายๆปัจจัยที่ต้องควบคุมไม่ให้ส่งผลต่อการประเมินค่าสีด้วยสายตา (เราอยากแนะนำให้คุณอ่านบทความเรื่อง สภาพวะต่างๆที่มีผลต่อการปรากฏของสี  เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีผลในการประเมินสีด้วยสายตา คลิกอ่านที่นี้)        นอกจากเรื่องปัจจัยที่ต้องควบคุมแล้วยังมีเรื่องของจำนวนตัวอย่างและเวลาประเมินสีของส่วนประกอบต่างๆในรถยนต์ เราอยากแนะนำเป็นเครื่องวัดสีที่สามารถวัดสีได้แม่นยำและรวดเร็ว เครื่องวัดสีจะช่วยควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินสีต่างๆได้เป็นอย่างดี การใช้เครื่องมือวัดสีและปริภูมิสี CIE L*a*b* กำหนดสีเป้าหมายหลักและรวบรวมตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายกัน จากนั้นวัดตัวอย่างและใช้ค่า L*a*b* เพื่อสร้างขีดจำกัดความคลาดเคลื่อนของสี เพื่อการตรวจสอบสีที่ง่ายและรวดเร็ว นอกจากสีแล้วการวัดความเงาก็มีความสำคัญเช่นกัน           ส่วนประกอบต่างๆภายในรถยนต์มีค่า L*a*b* ใกล้เคียงกัน แต่พื้นผิวของส่วนประกอบต่างๆอาจมีลักษณะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เฉดสีของส่วนประกอบภายในรถยนต์ที่มีผิวเคลือบมันจะมีสีเข้มมากกว่าส่วนที่ไม่ได้เคลือบเงา ซึ่งความแตกต่างนี้จะสังเกตุได้ชัดเจน แม้ว่าค่า L*a*b* ใกล้เคียงกัน ในทางอุตสาหกรรมการตรวจสอบที่แม่นยำ ถูกต้องและรวดเร็วเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องวัดสีที่พัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการที่ตัวเครื่องวัดสีสามารถวัดได้ทั้งสีและความเงาของตัวอย่างในการกดวัดแค่ครั้งเดียว สำหรับงานวัดสีส่วนต่างๆภายในรถยนต์เราขอแนะนำเครื่องวัดสี Spectrophotometer…

  • บทความ,  หนังสือ

    การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.2

              หากมองรอบๆตัว สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา ล้วนมีสีที่แตกต่างและหลากหลาย แม้ว่าเราจะมองสีที่เหมือนกันแต่การที่เราจะอธิบายสีให้อีกคนฟังแล้วนึกภาพสีเป็นสีเดียวกับสีที่เรามองเห็นนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เนื่องจากสีต่างจากความยาวหรือน้ำหนักตรงที่ ไม่มีมาตราส่วนทางกายภาพสำหรับการวัดสี ทำให้ไม่น่าเป็นไปได้ที่ทุกคนจะตอบแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราพูดถึงผู้คนว่า “ทะเลสีฟ้า” หรือ “ท้องฟ้าสีฟ้า” แต่ละคนจะจินตนาการถึงสีฟ้าที่แตกต่างกัน เพราะประสบการณ์การจดจำสีหรือการเรียนรู้สีแต่ละสี แต่ละเฉดสีที่ผ่านมาจะแตกต่างกัน นี่คือปัญหาของสื่อสารสี ลองมาเริ่มทำความเข้าใจในแต่ละประเด็น (ข้อมูลเนื้อหานี้เราได้มาจากหนังสือ Precise Color Communication จาก Konica Minolta มีการปรับคำหรือยกตัวอย่างที่แตกต่างเพื่อให้อ่านง่ายมากขึ้น หากต้องการอ่านต้นฉบับสามารถ คลิกที่ลิ้งค์นี้ ) เราขอแนะนำให้อ่านตามหัวข้อเหล่านี้ทั้งหมด หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 ส่วน สำหรับส่วนที่ 1 มีหัวข้อดังนี้ แอปเปิ้ลนี้สีอะไร? สภาพวะต่างๆที่มีผลต่อการปรากฏของสี สองลูกสีแดง คุณจะอธิบายความแตกต่างระหว่างสีของพวกเขากับใครบางคนอย่างไร โลกของสีประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ : สีสัน ความสว่าง ความอิ่มตัว สร้างแบบจำลองสีด้วย สีสัน ความสว่าง ความอิ่มตัว เราสามารถวัดสีเป็นตัวเลขได้ด้วยการสร้างสเกล สีสัน ความสว่าง และความอิ่มตัว ปริภูมิสี มาวัดสีต่างๆ…

  • บทความ,  หนังสือ

    การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.1

              หากมองรอบๆตัว สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา ล้วนมีสีที่แตกต่างและหลากหลาย แม้ว่าเราจะมองสีที่เหมือนกันแต่การที่เราจะอธิบายสีให้อีกคนฟังแล้วนึกภาพสีเป็นสีเดียวกับสีที่เรามองเห็นนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เนื่องจากสีต่างจากความยาวหรือน้ำหนักตรงที่ ไม่มีมาตราส่วนทางกายภาพสำหรับการวัดสี ทำให้ไม่น่าเป็นไปได้ที่ทุกคนจะตอบแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราพูดถึงผู้คนว่า “ทะเลสีฟ้า” หรือ “ท้องฟ้าสีฟ้า” แต่ละคนจะจินตนาการถึงสีฟ้าที่แตกต่างกัน เพราะประสบการณ์การจดจำสีหรือการเรียนรู้สีแต่ละสี แต่ละเฉดสีที่ผ่านมาจะแตกต่างกัน นี่คือปัญหาของสื่อสารสี ลองมาเริ่มทำความเข้าใจในแต่ละประเด็น (ข้อมูลเนื้อหานี้เราได้มาจากหนังสือ Precise Color Communication จาก Konica Minolta มีการปรับคำหรือยกตัวอย่างที่แตกต่างเพื่อให้อ่านง่ายมากขึ้น หากต้องการอ่านต้นฉบับสามารถ คลิกที่ลิ้งค์นี้ ) เราขอแนะนำให้อ่านตามหัวข้อเหล่านี้ทั้งหมด หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 ส่วน  สำหรับส่วนที่ 1 มีหัวข้อดังนี้ แอปเปิ้ลนี้สีอะไร? สภาพวะต่างๆที่มีผลต่อการปรากฏของสี สองลูกสีแดง คุณจะอธิบายความแตกต่างระหว่างสีของพวกเขากับใครบางคนอย่างไร โลกของสีประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ : สีสัน ความสว่าง ความอิ่มตัว สร้างแบบจำลองสีด้วย สีสัน ความสว่าง ความอิ่มตัว เราสามารถวัดสีเป็นตัวเลขได้ด้วยการสร้างสเกล สีสัน ความสว่าง และความอิ่มตัว  ปริภูมิสี มาวัดสีต่างๆ…

  • คอร์สออนไลน์

    ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร

          ก่อนหน้าเราได้มีการจัดการสัมมนาออนไลน์ ผ่าน Zoom ในหัวข้อ “ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร” เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีอาหารและผลิตผลทางการเกษตร มีการสาธิตการใช้งานวัดตัวอย่างจริง ในเครื่องวัดสี รุ่นต่างๆ เนื้อหาครั้งนี้ เราได้รวมรวบเครื่องมือวัดสี วัดแสง วัดคลอโรฟิลด์ พร้อมสาธิตบางส่วนเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น เนื้อหาในการบรรยายเราหวังว่าจะสามารถช่วยคุณในการเลือกเครื่องวัดสีที่เหมาะกับงานของคุณได้ โดยมีหัวข้อการบรรยายดังนี้ ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีและหน่วยวัดสี วิธีการเลือกใช้เครื่องวัดสี แนะนำสินค้าและบริการของบริษัท การทดสอบวัดสีด้วยเครื่องวัดสี (สาธิตการใช้งาน) คำถามจากผู้ลงทะเบียน เนื้อหานี้เหมาะสำหรับทุกคน ที่สนใจหรือผู้ที่กำลังมองหาเครื่องวัดสีสำหรับการวัดค่าสี  ขั้นตอนการเข้าดูบันทึกบรรยาย 1.กรอกแบบฟอร์ม   คลิกที่ลิ้งค์นี้  2.หลังจากกดส่งแบบฟอร์ม มีลิ้งค์วิดีโอ ท้ายแบบฟอร์ม 3.ทำแบบทดสอบความเข้าใจ โปรดสังเกตุใต้คลิปวิดีโอมีสไลด์การบรรยายและแบบทดสอบ 4.รอรับประกาศนียบัตร เมื่อผ่าน 80% ขึ้นไป เนื่องจากไม่ใช่การบรรยายสด หากมีข้อซักถาม สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างค่ะ     หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา      ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี

  • คอร์สออนไลน์

    การวัดสีและความเงาสำหรับสีรถยนต์ภายนอก

          ก่อนหน้าเราได้มีการจัดการสัมมนาออนไลน์ ผ่าน Ms Team ในหัวข้อ “การวัดสีและความเงาสำหรับสีรถยนต์ภายนอก (Automotive – Exterior Color Measurement)” เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการวัดสีสำหรับยานยนต์โดยเฉพาะ ซึ่งมีหัวข้อการบรรยายดังนี้ ความรู้พื้นฐานสำหรับการวัดสีและหน่วยวัดสี การวัดค่าสี Solid vs. Metallic การเลือกใช้ Gloss meter และเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับตรวจสอบพื้นผิวชิ้นงาน Q&A (คำถามจากผู้ลงทะเบียนรอบบรรยายสด) เนื้อหานี้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานหรือผู้สนใจ ในการวัดสี ในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะเนื้อหามีการพูดตั้งแต่พื้นฐาน ดังนั้นทุกคนสามารถเข้าฟังได้ ขั้นตอนการเข้าดูบันทึกบรรยาย 1.กรอกแบบฟอร์ม   คลิกที่ลิ้งค์นี้  2.หลังจากกดส่งแบบฟอร์ม มีลิ้งค์วิดีโอ ท้ายแบบฟอร์ม เนื่องจากไม่ใช่การบรรยายสด หากมีข้อซักถาม สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างค่ะ     หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา      ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่อีเมล [email protected] เบอร์ 02-361-3730  Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี