อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบเข้มงวดที่สุด โดยต้องผ่านการตรวจสอบกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ แม้ว่าวิธีที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) จะเป็นวิธีสำคัญในการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา แต่ HPLC มีต้นทุนสูงและใช้เวลานาน ในการตรวจสอบตัวอย่างที่มีปริมาณมาก ทั้งเวลาและต้นทุนจึงอาจจะเป็นข้อจำกัดสำหรับวิธีนี้ ด้วยความต้องการวิธีการและเทคนิคการตรวจสอบคุณภาพยาที่ไม่ทำลายตัวอย่างและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นแรงผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ และที่ล้ำหน้าที่สุดคือ การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging : HSI ) การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม (hyperspectral imaging : HSI ) การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมเป็นการผสมผสานระหว่างเทคนิคการถ่ายภาพและการสเปกโตรสโคปีขั้นสูง ซึ่งต่างจากวิธีการถ่ายภาพแบบเดิมที่จับภาพได้เฉพาะช่องสีแดง เขียว และน้ำเงิน การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมนั้นจับภาพช่วงคลื่นแสงที่กว้างขึ้น โดยครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นในช่วงที่ visible จนถึงอินฟาเรด (infrared) ความสามารถพิเศษนี้ทำให้ภาพสเปกตรัมแบบไฮเปอร์สเปกตรัล สามารถจับภาพข้อมูลสเปกตรัมละเอียดจำนวนมากในแต่ละพิกเซลของภาพได้ และสร้างข้อมูลสามมิติที่เรียกว่า ไฮเปอร์สเปกตรัลคิวบ์ (Hyperspectral Cube) ในชุดข้อมูลสามมิตินี้ แต่ละพิกเซลจะมีพิกัดเชิงพื้นที่พร้อมกับสเปกตรัมทั้งหมด ทำให้เห็นภาพรวมที่ครอบคลุมและละเอียดของฉากหรือวัตถุที่ถ่ายภาพ ตัวอย่างภาพประกอบของการถ่ายภาพไฮเปอร์สเปกตรัม ในการถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัม สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจความจำเพาะของสเปกตรัมที่แตกต่างกันของวัสดุ วัสดุแต่ละชนิดจะแสดงรูปแบบเฉพาะของการโต้ตอบของแสง (เช่น การสะท้อนแสง) ที่ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อให้เกิด Spectral Fingerprint ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถใช้เพื่อแยกแยะคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพของวัสดุต่างๆ ได้ ด้วยศักยภาพในการระบุวัสดุที่มีความแม่นยำสูงและมีรายละเอียดสูง การถ่ายภาพแบบไฮเปอร์สเปกตรัมจึงกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นเกษตรกรรม…
-
-
สรุปการเลือกเครื่องวัดสี 2024 สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
เครื่องวัดสีแต่ละรุ่น ล้วนมีความสามารถและฟังก์ชั่นต่างกัน การเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับการใช้งานหรือเลือกเครื่องวัดสีให้เหมาะกับตัวอย่างที่เราต้องการจะวัดค่าสี เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้องนั้นยังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับใครหลายคน ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องวัดสีสักเครื่องนึง ก่อนซื้อเครื่องวัดสีต้องรู้อะไรบ้าง ? 1. ต้องรู้จักลักษณะทางกายภาพของตัวอย่าง เช่น พื้นผิวตัวอย่าง มีความมันเงาหรือไม่, พื้นผิวตัวอย่างเรียบหรือขรุขระ, ตัวอย่างมีความโค้ง หรือตัวอย่างมีความโปร่งแสงหรือไม่ เป็นเฉดสีลักษณะพิเศษหรือไม่ ลักษณะต่างๆเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ตัดสินใจเครื่องวัดสีได้เหมาะสมกับงานมากขึ้น เพราะเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นนั้นมีหลักการอ่านค่าสีต่างกัน มีพื้นที่การวัดไม่เท่ากัน เช่น การวัดค่าสีตัวอย่างโปร่งแสงจะเลือกใช้การวัดในโหมดการวัดการส่งผ่าน (Transmittance) ต่างจากตัวอย่างทึบแสงจะเลือกใช้การวัดในโหมดการสะท้อนแสง (Reflectance mode) 2. สิ่งสำคัญมากๆควรรู้ว่า ต้องการวัดค่าสีเป็นหน่วยอะไร (หน่วยที่นิยมมากที่สุดคือ L*a*b) เนื่องจาก เครื่องวัดสีบางรุ่นนั้น อาจจะไม่สามารถวัดค่าสีได้ทุกหน่วย และในบางรุ่นสามารถวัดค่าสีได้ทุกหน่วย แต่ก็อาจจะเกินความจำเป็นที่จะใช้งาน แน่นอนว่าเครื่องวัดที่สามารถวัดได้ทุกหน่วยย่อมมีราคาที่สูงกว่า เครื่องวัดสีที่สามารถวัดได้บางหน่วย (หากยังไม่รู้จักหน่วยสีต่างๆ อยากแนะนำให้อ่านเรื่องหน่วยสีเพิ่มเติมก่อนนะคะ หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 1 และ หน่วยสีพื้นฐาน ตอนที่ 2) 3.บริการหลังการขาย เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมากๆที่หลายคนอาจจะลืมเรื่องนี้ไป เครื่องวัดค่าสี 1 เครื่องมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 5-10 ปีหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่นอกจากการใช้งานแล้วการดูแลการเก็บรักษาเครื่องวัดสีเป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม มีหลายคนที่เลือกเครื่องวัดสีโดยไม่สนใจเรื่องบริการหลังการขาย…
-
การวัดสีขนมปังและเกล็ดขนมปัง
ขนมปังหรือเกล็ดขนมปัง มีทั้งสีขาวไปจนถึงสีส้ม ขึ้นอยู่กับส่วนผสมต่างๆของสูตรขนมปังสูตรนั้นๆ เราจะสามารถส่งขนมปังของเราให้ลูกค้าได้ต่อเมื่อได้ตรวจสอบคุณภาพของขนมปังและเกล็ดขนมปังแล้ว การตรวจสอบคุณภาพของขนมปัง จากที่เราได้สอบถามผู้ผลิตขนมปัง และ เกล็ดขนมปัง มานั้น พบว่า “สีของขนมปัง” เป็น 1 ในตัวแปรที่สำคัญในการยอมรับของลูกค้า แต่การตรวจสอบสีของขนมปังและเกล็ดขนมปังนั้น มีหลายที่ใช้สายตาในการประเมินสี แน่นอนว่าการประเมินสีด้วยสายตาไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องตามมาตรฐานใดๆและไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม การประเมินสีด้วยสายตานั้นมีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้การประเมินสีไม่ถูกต้อง เช่น แหล่งแสงขณะประเมินสี, ขนาดของตัวอย่างที่ประเมินสี, สีพื้นหลังในขณะประเมินสี เป็นต้น หากคุณมีเวลาเราอยากแนะนำให้คุณอ่านบทความ ข้างล่างนี้ จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องของการวัดสีเพิ่มขึ้น การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.1 การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.2 การประเมินสีหรือการวัดค่าสีด้วยเครื่องวัดสีนั้น จะช่วยประหยัดเวลาและได้ค่าสีที่ถูกต้องของสีขนมปังและเกล็ดขนมปังนั้นจริงๆ นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายและสื่อสารค่าสีให้กับลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ของเราได้ เนื่องจากตั้วเครื่องวัดสีจะอ่านค่าสีออกมาเป็นหน่วยที่ใช้กันสากล หน่วยสีที่นิยมใช้มากที่สุดคือ L*a*b* บทความที่เกี่ยวข้อง : หน่วยสีพื้นฐานที่ควรรู้ ตอนที่ 2 การเลือกเครื่องวัดสีสำหรับวัดสีขนมปังและเกล็ดขนมปัง ควรดูความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก…
-
นอกจากค่าสี ต้องดูค่าอะไรบ้าง?
สินค้า 1 ชิ้น ไม่ได้มีแค่ “สี” แต่ยังมีความเงา ที่เป็นลักษณะภายนอกที่มองเห็นและมีผลต่อการประเมินค่าสีของชิ้นงาน โดยเฉพาะชิ้นงานที่เป็นไฮกลอสหรือมีความมันเงามาก การประเมินสีและการประเมินคุณภาพจำเป็นต้องวัดความเงาและพารามิเตอร์อื่นๆเพิ่มเติมด้วย เพื่อแก้ปัญหาต่างๆของชิ้นงานได้ เช่น ปัญหา “ผิวเปลือกส้ม” ที่พบได้มากในชิ้นงานที่มีการพ่นสี การเคลือบสี ทำให้ผิวของชิ้นงานไม่เรียบ ไม่สม่ำเสมอ คุณภาพของชิ้นงานลดลง บทความนี้จะพามารู้จักพารามิเตอร์เหล่านั้นพร้อมแนะนำเครื่องวัดที่ใช้ พารามิเตอร์ที่ควรทำความรู้จัก 1. Gloss: ความเงา สายตาของเราสามารถแยกความแตกต่างของความเงาได้ แต่การประเมินด้วยสายตานั้นไม่ใช่การประเมินที่ดี เนื่องจากสายตาของแต่ละคน การตัดสินใจ และการสื่อสาร ไม่เหมือนกัน อาจจะมีคล้ายกัน แต่ไม่สามารถเอาความคล้ายกันมาตัดสินหรือประเมินชิ้นงานได้ ความเงาเป็นปฏิกิริยาระหว่างแสงกับพื้นผิว แสงใด ๆ ที่สะท้อนจากพื้นผิวโดยไม่เปลี่ยนสเปกตรัมเรียกว่า ความเงา และมุมที่ใช้ในการวัดควรใช้ตามสภาพความเงาของตัวอย่าง พื้นผิวด้าน 85 ° กึ่งเงา 60° ความเงาสูง 20° ในทางปฎิบัติ หากวัดชิ้นงานที่มุม 60° ได้ค่า gloss มากกว่า 70 GU แนะนำให้ใช้มุมวัดที่ 20°…
-
วัดสีมะม่วง
เราสามารถรู้ถึงรสชาติของมะม่วง รู้ระดับความสุก ความสดของมะม่วง สายพันธุ์ของมะม่วง หรือแม้แต่คุณภาพของมะม่วงได้จากสีมะม่วง ดังนั้นในการปลูกตลอดจนการเก็บรักษามะม่วง สีเป็นสิ่งแรกที่สังเกตเห็นและใช้ในการประเมินความสดและคุณภาพของมะม่วง การประเมินสีมะม่วง แม้ว่าสีของมะม่วงจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่อย่างที่ได้แนะนำไป การประเมินสีด้วยสายตานั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การประเมินสีผิดไป ไม่ว่าจะเป็นแสงที่ยืนดูมะม่วงในขณะนั้น ขนาดของมะม่วง ฉากหลังที่วางมะม่วง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ควบคุมด้วยเครื่องมือวัดสี (หรือหลายคนอาจจะเรียกว่า เครื่องยิงสี เครื่องวัดเฉดสี) เครื่องวัดสีสามารถให้ค่าสีที่แม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของมะม่วงได้ โดยการตรวจสอบคุณภาพของมะม่วงจากสีตลอดการเจริญเติบโตของมะม่วง เครื่องมือวัดสีของมะม่วง มะม่วงเป็นตัวอย่างทึบแสง เครื่องมือวัดสีทำงานโดยส่องแสงไปบนมะม่วงแล้ววัดแสงที่สะท้อนกลับหรือถูกดูดกลืน จากนั้นคำนวณค่าตรีศูล X, Y และ Z ซึ่งสามารถคำนวณเพิ่มเติมเป็นหน่วยสีระบบต่างๆ เช่น CIE L*a*b*และCIE L*C*h พิกัด L* คือความสว่างของสี ในขณะที่พิกัด a* และ b* คือพิกัดของสี พิกัด C* คือความเข้มของสี และพิกัด h คือมุมของสี ข้อมูลจากการวัดค่าสีของมะม่วง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยสามารถใช้ค่าสีของมะม่วง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสีในมะม่วง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาปรับปรุงกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว…
-
วัดสีเนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi)
เนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลาและมีการใช้ทำอาหารอย่างหลากหลาย เช่น ซุป สตูว์ ฯลฯ และยังสามารถ ขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ลูกชิ้นปลา ปูอัด เป็นต้น สำหรับผู้ผลิต เนื้อสัมผัสของเนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi) รูปร่างหน้าตาของอาหารมีความสำคัญต่อการเลือกซื้อและการสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน รูปร่างหน้าตาของอาหารโดยเฉพาะ สีของอาหารในทางอุตสาหกรรมอาหาร มักใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพอาหารและอาจส่งผลทางอ้อมต่อการตัดสินรสชาติของอาหาร การประเมินสีของเนื้อปลาบดหรือซูริมิ (surimi) การประเมินสีด้วยสายตา มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณตัวอย่างที่นำมาวัดค่าในแต่ละวัดที่จำนวนมากสำหรับการผลิตโรงงานแปรรูปอาหารต่างๆ การใช้สายตาในการประเมินสีมีความเสี่ยงในการประเมินผิดพลาดหรือแม้แต่การประเมินไม่ครบตามจำนวนที่ต้องประเมิน และนอกจากข้อจำกัดเรื่องปริมาณแล้วยังมีเรื่องความถูกต้องในการประเมินสีและการแยกแยะสีของแต่ละคนที่มีความต่างกัน ยิ่งความแตกต่างน้อย ยิ่งทำให้การแยกแยะของแต่ละคนมีความแตกต่างกันมากขึ้น เราขอแนะนำให้ใช้เครื่องวัดสีในการวัดสี เมื่ออ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่ง!! คิดว่าเพราะเราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องวัดสี Konica Minolta ทำให้เราแนะนำให้ใช้เครื่องวัดสี แต่การใช้เครื่องวัดสีจะช่วยตัดปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการวัดสี ทำให้ได้ค่าสีที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น อ่านเพิ่มเติมปัจจัยที่มีผลต่อการวัดสี สี : ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี การสื่อสารสีอย่างแม่นยำ (Precise Color Communication) ส่วนที่ 1.1…
-
สอบเทียบเครื่องวัดสีต่างจากการสอบเทียบเครื่องมือวัดทั่วไปต่างกันอย่างไรบ้าง
เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือวัด ที่มีความเฉพาะ ไม่แนะนำให้สอบเทียบกับศูนย์สอบเทียบทั่วไป เนื่องจากการสอบเทียบที่ศูนย์สอบเทียบทั่วไป เป็นเพียงการวัดหรือการเทียบค่าการวัดสีเท่านั้น ไม่สามารถตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องวัดสีได้ ไม่สามารถปรับแก้ไขค่าต่างๆเมื่อทำการสอบเทียบแล้วค่าผิดปกติ ไม่ตรงตามมาตรฐาน ไม่สามารถตรวจเช็คอะไหล่ต่างๆภายในเครื่องวัดสี ไม่สามารถซ่อมแซมอาการผิดปกติต่างๆของเครื่องวัดสี แม้จะเป็นห้องแลปที่ได้รับการรับรอง ISO 17025 แต่ความเฉพาะของเครื่องวัดสีแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์ใช้ อุปกรณ์ในการสอบเทียบแตกต่างกัน ไม่มีอุปกรณ์สอบเทียบที่สามารถสอบเทียบเครื่องวัดสีได้ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ การสอบเทียบตามศูนย์สอบเทียบทั่วไปจริงเป็นเพียงการวัดค่าเทียบกับแผ่นสีสอบเทียบ และหากการสอบเทียบได้ค่าผิดเพื้ยนไป จะไม่สามารถปรับค่าให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเราได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายและการสอบเทียบ การซ่อม จากแบรนด์ Konica Minolta โดยตรงทำให้เรามีขั้นตอนการสอบเทียบเช่นเดียวกับผู้ผลิต อุปกรณ์การสอบเทียบ อะไหล่ทั้งหมด อยู่ภายใต้มาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องวัดสีพร้อมมีการตรวจสอบอยู่เสมอ ขั้นตอนที่แตกต่างจากการสอบเทียบทั่วไป (สอบเทียบเครื่องวัดสี) Functions Check เครื่องวัดสีจะมีหลักการทำงานใกล้เคียงการในหลายๆแบรนด์ แต่จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์แตกต่างกัน เมื่อฟังก์ชั่นการทำงานมีความผิดปกติเกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อการวัดค่าสี การสอบเทียบเครื่องมือวัดทั่วไป ไม่สามารถตรวจเช็คฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องวัดสีได้ จะดีกว่าไหมหากเครื่องวัดสีของเราได้รับการตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานอยู่สม่ำเสมอ เพื่อหาการทำงานที่ผิดปกติ และเพื่อให้เครื่องวัดสีมีค่าการวัดสีที่ถูกต้องและแม่นยำอยู่เสมอ Backup Data เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือวัดที่มีการเก็บข้อมูลการวัดสีไว้ภายในเครื่อง ซึ่งในบางรุ่นหากไม่มีโปรแกรมเพิ่มเติม จะไม่สามารถดึงข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ได้ทำให้ข้อมูลการวัดค่าสีทั้งหมดอยู่ภายในตัวเครื่องวัดสีเท่านั้น…
-
ขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างมีความสำคัญสำหรับการวัดสีอย่างไร ?
ในหลายๆบทความเราได้พูดถึงการวัดสีหรือเทคนิคการวัดสี แต่วันนี้จะขอพูดถึงการเลือกขนาดของเซลล์ใส่ตัวอย่างซึ่งเป็นส่วนนึงของการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวัดสี เซลล์แก้ว (Glass Cell) เซลล์แก้ว (Glass Cell) สำหรับงานวัดสี จำเป็นต้องเป็นแก้วที่ไม่ทำให้เกิดการหักเหของแสง สำหรับการวัดสีนั้นเซลล์แก้ว (Glass Cell) นิยมใช้กับตัวอย่างที่เป็นของเหลวที่มีความโปร่งแสง แล้วต้องเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเท่าไร? การเลือกขนาดให้เหมาะกับตัวอย่างให้พิจารณาจากลักษณะตัวอย่างเป็นหลัก ดูความโปร่งแสงของตัวอย่าง ว่ามีความโปร่งแสงมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการวัดสีโดยใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) จะเป็นการวัดสีแบบส่องผ่าน ดังนั้นจำเป็นต้องให้แสงส่องผ่านตัวอย่างได้ หากตัวอย่างมีสีความเข้มหรือโปร่งแสงน้อย ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านตัวอย่างไปได้ ในทางกลับกันหากตัวอย่างค่อนข้างใสหรือมีความโปร่งแสงค่อนข้างมาก ควรเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell)ที่มีขนาดใหญ่จะเหมาะสมกว่า หากเลือกเซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเล็ก จะทำให้เครื่องวัดสีวัดค่าสีได้ไม่ถูกต้องเท่าไรนัก ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบค่าสีตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง จำเป็นต้องใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดเดียวกันเท่านั้น หากใช้เซลล์แก้ว (Glass Cell) ขนาดต่างกัน จะไม่สามารถนำค่าสีมาเทียบกันได้เลย ค่าสีจะไม่เท่ากันแม้ว่าจะเป็นตัวอย่างเดียวกัน…
-
Radiant กับการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม Display
ห้องคลีนรูมแห่งใหม่ในโรงงานซูโจวของ Radiant ปัจจุบันอุตสาหกรรมหน้าจอมีการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก เห็นได้จากหน้าจอต่างๆที่อยู่ตามบ้าน, ที่ทำงาน, ศูนย์การค้า และสถานที่สาธารณะต่างๆ ปริมาณการผลิตจอแบน (flat-panel display) ในปี 2017 ผลิตได้ประมาณ 231 ล้านตารางเมตร คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 20221 การผลิตจะเพิ่มเป็น 327 ล้านตารางเมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 70% เพื่อรองรับการขยายกิจกรรมการผลิตจอแสดงผลทั่วโลกและจัดหาโซลูชันการทดสอบคุณภาพของหน้าจอ Radiant Vision System: RVS ได้ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศจีน เมืองซูโจว ทั้งในส่วนของการผลิตและให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคด้วย การเติบโตของตลาดจอแสดงผลมาจากหลายๆปัจจัย การใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ และ ลาตินอเมริกา การเพิ่มการใช้อุปกรณ์แสดงผลแบบสวมศีรษะ (AR/MR) และแว่นตาอัจฉริยะ (Smart glasses) ทั้งในด้านอุตสาหกรรม, การศึกษา และการดูแลสุขภาพ การขยายตัวของป้ายดิจิตอลและวีดิโอวอลล์ในร้านค้าปลีก, การแข่งขันกีฬา, งานอีเวนต์ และสำหรับการใช้งานระบบขนส่งมวลชน การใช้หน้าจอสัมผัสและจอแสดงผลแบบอินเทอร์แอคทีฟที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การชำระเงินด้วยตนเองในร้านขายของชำไปจนถึงเครื่องใช้ในบ้านอัจฉริยะ ไปจนถึงแผงขายของตามสถานที่ท่องเที่ยว…
-
การวัดสีในอุตสาหกรรมยานยนต์
ภาพโดย Krzysztof Przybylak จาก Pixabay กว่าจะได้รถยนต์มา 1 คัน นอกจากการตรวจาอบสอบระบบต่างๆของรถยนต์แล้ว รูปลักษณ์ของรถยนต์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ในทางอุตสาหกรรมยานยนต์ การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์แต่ละส่วนนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนนำมาประกอบ แน่นอนว่าชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีการตรวจสอบแตกต่างกัน การตรวจสอบสีของรถยนต์ แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนภายนอกและภายในรถยนต์ การวัดสีภายนอกรถยนต์ สีของรถโดยเฉพาะรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน 2 ชิ้นติดกันควรมีความกลมกลืนไม่ทำให้เกิดการสะดุดตา ปัจจุบันสีของรถมีการพัฒนาให้มีความหรูหรา โดดเด่นมากขึ้นซึ่งสีใหม่ๆเหล่านี้มีเทคนิคพิเศษในการพ่น การเคลือบที่ต้องการความพิธีพิถันมากขึ้นเช่นเดียวกับการตรวจสอบที่ต้องเพิ่มความละเอียดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างการพ่นสี หรือเคลือบสีรถยนต์ หากการวัดสีรถยนต์ที่เป็นสี solid เครื่องวัดสีทั่วไปสามารถวัดได้ แต่หากเป็นสีกลุ่มเมทาลิค สีมุก สีแคนดี้ กลุ่มสีที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมุมมองเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสีเหล่านี้จะมี effect pigment เช่น สีกลุ่มเมทาลิคซึ่งภายในเนื้อสีจะมี aluminum flake ที่สามารถเพิ่มการสะท้อนแสงเมื่อมีแสงมาตกกระทบ ดังนั้นในบางมุมจะเห็นสีมีความสว่างมากขึ้น บางมุมมองเห็นสีทึบมากขึ้น และนอกจาก effect pigment ที่เกิดจาก aluminum…