เลือกเครื่องวัดสีอย่างไรให้เหมาะกับงาน ตอนที่ 1

แชร์หน้านี้

        เครื่องวัดสีคืออะไร? จำเป็นแค่ไหน? ไม่มีได้หรือไม่? หากยังมีคำถามเหล่านี้กวนใจ อยากให้ทุกคนลองทำความรู้จักเครื่องวัดสีเพิ่มอีกสักนิด อาจจะลองกดแท็ก วัดสี เพื่ออ่านบทความที่เครื่องวัดสีช่วยในการวัดสีในแต่ละอุตสาหกรรมได้มากน้อยแค่ไหน

          ส่วนคำถามว่า จำเป็นแค่ไหน เครื่องวัดสีเป็นเหมือนเครื่องวัดชนิดหนึ่ง แต่มีความพิเศษด้วยเทคโนโลยี ช่วยวัดค่าสีที่ให้ค่าในระบบค่าสีที่ใช้สากลได้ คำว่าสากลนี้ หมายถึง เราสามารถสื่อสารหรือบอกรายละเอียดของสีได้กับทุกคนที่ใช้ระบบสีเดียวกัน (ระบบหน่วยสี L*a*b* คือหน่วยที่ความนิยมใช้อย่างกว้างขวาง) นอกจากความสะดวกในการสื่อสารแล้ว (อ่านบทความเกี่ยวข้อง ทำไมต้องใช้เครื่องวัดสี)

แล้วไม่มีเครื่องวัดสีได้ไหม อยากใช้สายตาในการประเมินค่าสีก็สมารถทำได้ หากสามารถควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านค่าสีด้วยสายได้ ( อ่านบทความเกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินสีด้วยสายตา)

          โดยส่วนใหญ่เมื่อใช้สายตาวัดสี มักจะใช้ ตู้เทียบสี เพื่อควบคุมแหล่งแสง และ ใช้ pantone เป็นการระบุค่าสี ซึ่งค่าที่ได้ก็จะไม่ใช่ค่าจริงๆของสีตัวอย่าง  และบางคนที่ต้องการปรับแก้ไขค่าสีในงาน R&D อาจจะมีการใช้ปรแกรมต่างๆเพิ่มเข้ามา แต่ข้อควรระวังสำหรับวิธีนี้ นอกจากการควบคุมตัวแปรที่ส่งผลต่อการวัดสีด้วยสายตาแล้ว อีกปัจจัยที่ต้องระวังคือ แผ่นpantone นั้นมีอายุการใช้งานเมื่อเวลาผ่านไป สีจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาโดยที่สายตาไม่สามารถแยกแยะได้ทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่เสมอ ความถี่ในการเปลี่ยนนั้นจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน เช่น ใช้งานบ่อย เก็บไม่ดี สีก็เปลี่ยนแปลง

       การวัดสีด้วยสายตา เป็นวิธีที่สามารถทำได้เมื่อควบคุมตัวแปรต่างๆได้ แต่ไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความถูกต้อง, แม่นยำและงานที่ต้องมีตัวอย่างจำนวนมาก งานประเภทนี้ควรใช้เป็นเครื่องวัดสีมากกว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าช่วยประหยัดเวลาในการวัดสีและการเตรียมตัวอย่าง ค่าสีที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องวัดสีเป็นค่าสีของตัวอย่างนั้นจริงๆ นอกจากนี้เครื่องบางรุ่นมี color index หรือ ดัชนีของสี ที่สามารถนำค่าไปใช้งานได้เลย ซึ่งลดความยุ่งยากของขั้นตอนในการวัดไปได้มาก

  ยกตัวอย่าง color index ที่มีในเครื่องวัดสี หลายคนคุ้นเคย เช่น

  • Gardner
  • Iodine Color Number
  •  Hazen/APHA
  • European Pharmacopoeia
  • US Pharmacopeia
  • WI (ASTM E 313-73, ASTM E 313-96)
  •  YI (ASTM E 313-73, ASTM E 313-96, ASTM D 1925)
  • ISO Brightness
  • B (ASTM E 313-73) เป็นต้น
จนถึงตรงนี้เมื่อรู้จักเครื่องวัดสีแล้ว เรามาดูวิธีเลือกเครื่องวัดสีในเหมาะกับงานของเรา
ประเภทเครื่องวัดสี แบ่งตามเซ็นเซอร์ของเครื่องวัดสี

เครื่องวัดสีมี 2 ประเภทหากแบ่งตามเซ็นเซอร์
  • แบบเซ็นเซอร์แบบไตรสิมูรัส (Tristimulus type)
  • เซ็นเซอร์แบบสเปคทรัล (Spectral type )

เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้สีของสายตามนุษย์กับเซ็นเซอร์แต่ละชนิดของเครื่องวัดสี

ด้านขวาคือองค์ประกอบที่มนุษย์มองเห็นสี

การอ่านค่าสี ของเครื่องวัดสีที่มีเซ้นเซอร์แบบไตรสิมูรัส (Tristimulus type)
การอ่านค่าสี ของเครื่องวัดสีที่มีเซ้นเซอร์แบบแบบสเปคทรัล (Spectral type )

เปรียบเทียบเครื่องวัดสี ระหว่าง  Tristimulus type กับ Spectral type

Tristimulus type

  • แหล่งกำเนิดแสงมีจำกัด
  • ไม่สามารถเลือก Observer ได้
  • ค่าที่ได้ Tristimulus values

Spectral type

  • มีแหล่งกำเนิดแสงให้เลือกหลากหลาย
  • สามารถเลือก Observer ได้
  • ค่าที่ได้ Spectra data

การนำไปใช้กับชนิดของเซ็นเซอร์ Tristimulus type กับ Spectral type

Tristimulus type

  • ควรใช้ค่าในลักษณะเปรียบเทียบ Color Difference
  • ใช้ในงานควบคุมคุณภาพ / การผลิต
  • มีฟังก์ชั่น User Calibration เพิ่มความแม่นยำ
  • ใช้งานง่าย ไม่ต้องตั้งค่ายุ่งยาก

Spectral type

  • ได้ค่าจริงของวัตถุ Absolute Data
  • ใช้ในงานวิจัย / วิเคราะห์
  • ใช้งานร่วมกับโปรแกรม Color Matching ได้
  • จำเป็นต้องเข้าใจค่า และต้องตั้งค่าพื้นฐานก่อนการใช้งาน

ยกตัวอย่างเครื่องวัดสีที่มีเซ็นเซอร์แบบ Tristimulus type กับ Spectral type

ในบทความถัดไป จะมาทำความรู้จักเครื่องวัดสี ที่แบ่งประเภทตาม Geometries

หรือสามารถกดฟังบันทึกการบรรยายย้อนหลังของเราในหัวข้อ สัมมนาออนไลน์ ประเภทของเครื่องวัดสีและวิธีการเลือกใช้ ได้ที่ลิ้งค์นี้ คลิก

    หากต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาและกระบวนการจัดการสีและแสงของคุณหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสีและแสงของเรา 

    ให้เราช่วยคุณในการเลือกวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับความต้องการในการวัดของคุณสามารถติดต่อเพื่อข้อมูลหรือคำแนะในการกำหนดขั้นตอนการวัดค่าสีและแสงเพิ่มเติมได้ที่

ได้ที่อีเมล [email protected]

เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664 

Line : https://lin.ee/6cpcTtD หรือสแกน QR code ด้านข้างนี้ค่ะ

สามารถติดตามช่องYoutubeของเราเพื่อรับชมวิดีโอการสาธิตเครื่องมือ และการแนะนำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องวัดสี